ผู้จัดการรายวัน360-โฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินยืนยัน ศาลปกครองรับคำฟ้องปมทวงคืนทรัพย์สิน ปตท. เป็นของรัฐ โดยมี 3 หน่วยงานรัฐ "คลัง-พลังงาน-ปตท." เป็นผู้ถูกฟ้องคดี หลังไม่ดำเนินการตามมติ ครม. ส่วนบุคคลอีก 8 ราย ศาลไม่รับฟ้อง เหตุพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว และไม่อยู่ในอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน
นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการและโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า ศาลปกครองมีคำสั่งรับคำฟ้องปมทวงคืนทรัพย์สินจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไว้พิจารณาแล้ว โดยมี 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัทปตท. เป็นผู้ถูกฟ้องคดี โดยศาลระบุเหตุผลว่า ผู้ตรวจฯ มีสิทธิฟ้องทั้ง 3 หน่วยงาน เพราะถือเป็นหน่วยงานทางปกครองของรัฐตามมาตรา 42 ประกอบ มาตรา 43 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีทางปกครอง 2542 ซึ่งศาลก็รับในส่วนนี้ไว้พิจารณาแล้ว
ส่วนบุคคลทั้ง 8 ที่ศาลไม่รับนั้น คนเหล่านั้นพ้นจากกการดำรงตำแหน่งไปแล้ว ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในขณะที่ผู้ตรวจฯ ยื่นฟ้อง ดังนั้น บุคคลทั้ง 8 จึงไม่อยู่ในอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำสั่งของศาลปกครองในคดีนี้ ระบุเป็นคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา (ผู้ถูกฟ้องคดีบางราย) โดยเนื้อหาของคำสั่งระบุว่า กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 ที่เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ) และขอให้เพิกถอนมติ ครม.วันที่ 10 ส.ค.2553 ที่รับทราบผลการดำเนินการตามคำพิพากษาที่กระทรวงพลังงานเสนอนั้น เป็นการเสนอข้อหาต่อศาลที่มีลักษณะคดีเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 แต่โดยที่มติครม. 18 ธ.ค.2550 เป็นเพียงการกำหนดแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงมิได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่บุคคลใดที่จะเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้แต่อย่างใด ซึ่งศาลเห็นว่ามูลเหตุแห่งการฟ้องคดีที่แท้จริงมาจากการที่ผู้ตรวจฯ เห็นว่า กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ผู้รับมอบทรัพย์สินคืนจากบริษัท ปตท. ไม่ดำเนินการตามคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธ.ค.2550 และกระทรวงพลังงาน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ในฐานะกระทรวงเจ้าสังกัดบริษัท ปตท. ละเลยไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงพอแปลความได้ว่า ประสงค์ที่แท้จริงในการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดิน คือ การฟ้องว่าหน่วยงานผู้ถูกฟ้องคดีละเลยไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้แบ่งแยกทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 14 (2) ประกอบมาตรา 13 (1) (ก) พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินในการเสนอเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัย กรณีเห็นว่า กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครองโดยไม่ชักช้า และมาตรา 43 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ บัญญัติให้ผู้ตรวจฯมีสิทธิและหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา 42 ผู้ตรวจฯ จึงมีสิทธิฟ้องกระทรวงการคลัง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) กระทรวงพลังงาน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ) และบริษัท ปตท. (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 10) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลปกครอง
ส่วนในกรณีนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นายกรณ์ จาติกวณิช ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล นายประสิทธิ์ สืบชนะ นายอำนวย ปรีมนวงศ์ และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ แม้บุคคลเหล่านี้จะเคยดำรงตำแหน่งในหน่วยงานทางปกครองและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีการแบ่งแยกทรัพย์สิน แต่เมื่อได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วในวันที่ผู้ตรวจฯ ฟ้องคดี บุคคลเหล่านี้ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ผู้ตรวจฯ มีสิทธิจะฟ้องคดีได้ จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในส่วนบุคคลทั้ง 8 นี้ ไว้พิจารณา
ก่อนหน้านี้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2559 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีนี้ในส่วนบุคคล โดยให้เหตุผลว่า "ผู้ตรวจการแผ่นดินตั้งใจฟ้องบุคคลในคดีนี้ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เมื่อบุคคลเหล่านี้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว จึงมิใช่เจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมาย" และ "การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินตั้งใจยื่นฟ้องบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีตำแหน่งในขณะยื่นฟ้อง ณ วันที่ 4 เม.ย.2559 นั้น จึงย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลธรรมดาได้" ทั้งนี้ ศาลยังไม่มีคำสั่งเรียกให้ทำคำให้การสำหรับผู้ถูกฟ้องคดีที่เป็นองค์กร คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และปตท. แต่อย่างใด ตอนนี้จึงยังสรุปไม่ได้ว่าศาลจะรับฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 3 หรือไม่
นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการและโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า ศาลปกครองมีคำสั่งรับคำฟ้องปมทวงคืนทรัพย์สินจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไว้พิจารณาแล้ว โดยมี 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัทปตท. เป็นผู้ถูกฟ้องคดี โดยศาลระบุเหตุผลว่า ผู้ตรวจฯ มีสิทธิฟ้องทั้ง 3 หน่วยงาน เพราะถือเป็นหน่วยงานทางปกครองของรัฐตามมาตรา 42 ประกอบ มาตรา 43 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีทางปกครอง 2542 ซึ่งศาลก็รับในส่วนนี้ไว้พิจารณาแล้ว
ส่วนบุคคลทั้ง 8 ที่ศาลไม่รับนั้น คนเหล่านั้นพ้นจากกการดำรงตำแหน่งไปแล้ว ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในขณะที่ผู้ตรวจฯ ยื่นฟ้อง ดังนั้น บุคคลทั้ง 8 จึงไม่อยู่ในอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำสั่งของศาลปกครองในคดีนี้ ระบุเป็นคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา (ผู้ถูกฟ้องคดีบางราย) โดยเนื้อหาของคำสั่งระบุว่า กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 ที่เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ) และขอให้เพิกถอนมติ ครม.วันที่ 10 ส.ค.2553 ที่รับทราบผลการดำเนินการตามคำพิพากษาที่กระทรวงพลังงานเสนอนั้น เป็นการเสนอข้อหาต่อศาลที่มีลักษณะคดีเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 แต่โดยที่มติครม. 18 ธ.ค.2550 เป็นเพียงการกำหนดแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงมิได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่บุคคลใดที่จะเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้แต่อย่างใด ซึ่งศาลเห็นว่ามูลเหตุแห่งการฟ้องคดีที่แท้จริงมาจากการที่ผู้ตรวจฯ เห็นว่า กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ผู้รับมอบทรัพย์สินคืนจากบริษัท ปตท. ไม่ดำเนินการตามคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธ.ค.2550 และกระทรวงพลังงาน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ในฐานะกระทรวงเจ้าสังกัดบริษัท ปตท. ละเลยไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงพอแปลความได้ว่า ประสงค์ที่แท้จริงในการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดิน คือ การฟ้องว่าหน่วยงานผู้ถูกฟ้องคดีละเลยไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้แบ่งแยกทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 14 (2) ประกอบมาตรา 13 (1) (ก) พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินในการเสนอเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัย กรณีเห็นว่า กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครองโดยไม่ชักช้า และมาตรา 43 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ บัญญัติให้ผู้ตรวจฯมีสิทธิและหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา 42 ผู้ตรวจฯ จึงมีสิทธิฟ้องกระทรวงการคลัง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) กระทรวงพลังงาน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ) และบริษัท ปตท. (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 10) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลปกครอง
ส่วนในกรณีนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นายกรณ์ จาติกวณิช ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล นายประสิทธิ์ สืบชนะ นายอำนวย ปรีมนวงศ์ และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ แม้บุคคลเหล่านี้จะเคยดำรงตำแหน่งในหน่วยงานทางปกครองและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีการแบ่งแยกทรัพย์สิน แต่เมื่อได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วในวันที่ผู้ตรวจฯ ฟ้องคดี บุคคลเหล่านี้ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ผู้ตรวจฯ มีสิทธิจะฟ้องคดีได้ จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในส่วนบุคคลทั้ง 8 นี้ ไว้พิจารณา
ก่อนหน้านี้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2559 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีนี้ในส่วนบุคคล โดยให้เหตุผลว่า "ผู้ตรวจการแผ่นดินตั้งใจฟ้องบุคคลในคดีนี้ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เมื่อบุคคลเหล่านี้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว จึงมิใช่เจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมาย" และ "การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินตั้งใจยื่นฟ้องบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีตำแหน่งในขณะยื่นฟ้อง ณ วันที่ 4 เม.ย.2559 นั้น จึงย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลธรรมดาได้" ทั้งนี้ ศาลยังไม่มีคำสั่งเรียกให้ทำคำให้การสำหรับผู้ถูกฟ้องคดีที่เป็นองค์กร คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และปตท. แต่อย่างใด ตอนนี้จึงยังสรุปไม่ได้ว่าศาลจะรับฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 3 หรือไม่