วานนี้ (12 พ.ค.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการสร้างความปรองดอง โดยก่อนการประชุม นายเสรี เปิดเผยว่าได้ทำหนังสือเชิญนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ขอให้เข้าร่วมประชุมด้วย แต่นายวิษณุ ได้ส่งตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรีมาร่วมประชุมแทน โดยจะหารือเกี่ยวกับแนวทางนโยบายของรัฐบาล และแนวทางที่เคยศึกษาในการจัดการปัญหา ทิศทางการแก้ปัญหา และการเยียวยาความเสียหาย
นายเสรี กล่าวถึง แนวทางการออกกฎหมายรอการกำหนดโทษ ที่หลายฝ่ายออกมาคัดค้านว่า ไม่ได้รู้สึกถอดใจ เพราะเป็นหนึ่งในแนวทางการทำงานปฏิรูปด้านการเมือง ที่มีการรวบรวมข้อมูลมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ใกล้เคียงกับสิ่งที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มี นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน ได้ศึกษามา พร้อมย้ำว่า แนวทางการรอการกำหนดโทษ เป็นไปตามแนวทางในกฎหมาย ที่ให้สารภาพ และรอการลงโทษ หรือพิพากษาคดีแต่ไม่รวมถึงคดีอาญาร้ายแรง คดีทุจริต และ คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ส่วนที่ฝ่ายการเมืองมีความกังวลเรื่องเงื่อนไขที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการตัดสิทธิ์ทางการเมือง หรือการห้ามชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น ก็เป็นเรื่องที่สามารถคุยกันได้ อาจจะเป็นการตั้งระยะเวลาไว้ช่วงหนึ่ง ซึ่งหลักการนี้ มีจุดประสงค์เพื่อรักษาความสงบในบ้านเมือง พร้อมมองว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วย พยายามสร้างประเด็นทางการเมืองเพื่อให้เกิดปัญหา
"ผมจะเดินหน้าผลักดันแนวทางต่อไป ผ่านกระบวนการกรรมาธิการฯ ตามขั้นตอน ซึ่งสุดท้ายแล้วฝ่ายที่จะตัดสินใจเห็นชอบหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล และคสช. ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยนั้น คงเป็นการแสดงความเป็นห่วงว่า อะไรทำให้เกิดความขัดแย้งก็ไม่ควรทำ แต่คงไม่ได้มีเจตนาห้ามทั้งหมด" นายเสรี กล่าว
ในวันเดียวกันนี้ นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่วัดปทุมวนาราม จากเหตุสลายการชุมนุมเมื่อปี 53 และนายภูมิ มูลศิลป์ รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ ในฐานะตัวแทนจากคณะกรรมศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สปช. ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตสปช. เป็นประธาน ร่วมแถลงข่าวไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอให้ผลักดันกฎหมายรอการกำหนดโทษ ของนายเสรี โดยนายอดุลย์ กล่าวว่า ตนสนับสนุนการสร้างความปรองดองเหมือนที่คนในสังคมอยากเห็น แต่ขอคัดค้านวิธีการพักโทษ ที่ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลการศึกษาที่ชุดนายเอนก ทำไว้ อีกทั้งเชื่อว่า แนวทางดังกล่าวจะ เป็นไปไม่ได้ ประชาชนที่ออกไปชุมนุมใช้สิทธิเสรีภาพออกไปเรียกร้องทางการเมือง ซึ่งผิดหรือถูก ไม่มีใครรู้ แต่กลับให้ไปสารภาพผิดต่อศาล อีกทั้ง การตัดสิทธิห้ามเลือกตั้ง ก็เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ข้อเสนอของนายเสรี จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับโทษเล็กน้อย ฐานผิดกฎหมายความมั่นคง ที่มีอยู่กว่าพันคน แต่ขณะนี้ก็พ้นโทษไปเกือบหมดแล้ว เหลือเพียง 60 –70 คน ที่โดนคดีลักษณะกลางซอยพ่วงด้วย ตนไม่ได้บอกว่าข้อเสนอนี้ผิดหรือถูก แต่มันถึงเวลาแล้วที่ประเทศชาติจะต้องสร้างความปรองดอง การนำเรื่องความมั่นคงมาเป็นข้ออ้าง จะกลายเป็นการสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในที่สุด โดยคนที่จะผลักดันให้เกิดการปรองดองขึ้นได้ ก็ไม่ใช่แค่รัฐบาล หรือฝ่ายการเมือง แต่อย่างเดียว ต้องให้ญาติผู้สูญเสียมีส่วนร่วมด้วย
"อยากฝากถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่า การออกมาเบรกข้อเสนอของนายเสรีนั้นไม่ถูกต้อง ความปรองดองในชาติ คือ สิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงของประเทศจะต้องสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอของนายเสรี หรือแนวทางของคณะกรรมการปรองดอง สปช. ที่อาจนำไปสู่การนิรโทษกรรมในวันข้างหน้าพล.อ.ประวิตร ในฐานะผู้มีบารมีตัวจริง ดำเนินการเหมือนเป็นนายกฯ หรือใครก็ตามในคสช. หากดำเนินการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้ ญาติวีรชนพฤษภา 35 จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนต่อไป" นายอดุลย์ กล่าว
นางพะเยาว์ กล่าวว่า ข้อเสนอนายเสรี เหมือนหักด้ามพร้าด้วยเข่า คดีเกี่ยวกับผู้สูญเสียหลายคดียังคงดำเนินอยู่
แต่แนวทางของนายเสรี จะเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม แกนนำจากทุกสีทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ แต่ญาติผู้เสียชีวิตไม่ได้อะไรเลย เชื่อว่า จะไม่สำเร็จ และถูกต่อต้านอย่างแน่นอน หากรัฐบาลนี้อยากจะผลักดันเรื่องความปรองดอง ดิฉันก็ไม่คัดค้าน แต่วิธีการจะต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ด้านนายภูมิ มูลศิลป์ อดีตกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สปช. กล่าวถึง แนวทางในการเสนอ กม.อำนวยความยุติธรรมเพื่อสร้างสังคมสันติสุข ตามเนื้อหาที่คณะกรรมการฯชุด นายเอนก เสนอมาว่า ในเบื้องต้น จะมีการตั้งคณะกก.ขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งจะเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากสังคม และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่ได้รับผลกระทบ จะพิจารณาคดีความเกี่ยวกับทางการเมือง จะมีการจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ประชาชน และ แกนนำ ซึ่งในส่วนของประชาชน
จะพิจารณาความผิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับ 1. เหตุการณ์ความรุนแรงที่ละเมิดสิทธิ เช่น การฆ่า การลักทรัพย์ ส่วนการเผาจะต้องดูที่เจตนารมณ์ว่ามีแรงจูงใจในทางที่ผิดทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่หากถูกว่าจ้างให้มาเผาโดยตรง ก็จะไม่เข้าข่าย
ในส่วนของแกนนำ ก็จะเปิดช่องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งจะต้องมีการสำนึก รับผิด ซึ่งจะต่างจากคำว่า “ยอมรับผิด” โดยคำว่า “การสำนึกรับผิด”อาจจะหมายถึงการยอมรับว่า การต่อสู้ในอุดมการณ์ทางการเมืองที่เขาคิดว่าถูกต้องนั้น ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ และการดำเนินการต่อจากนั้นจะเป็นไปตามกฎหมายปกติที่มีอยู่โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสังคมทุกภาคส่วนเป็นฉันทามติ ส่วนกรณีหลังจากนั้นก็จะเป็นการพิจารณาต่อไปว่า ควรออกเป็นกฎหมายพิเศษหรือไม่ เช่น กฎหมายนิรโทษกรรมว่าสังคมมีความพร้อมหรือไม่ เพราะ เรื่องนี้เป็นเรื่องเปราะบาง และที่ผ่านมาได้นำไปสู่ความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการนิรโทษกรรมจะเป็นไปตามกรอบที่ไม่รวมไปถึงคดีทุจริตคอร์รัปชั่น คดี ม.112 คดีละเมิดสิทธิบุคคลอื่นโดยการฆ่า เป็นต้น
นายเสรี กล่าวถึง แนวทางการออกกฎหมายรอการกำหนดโทษ ที่หลายฝ่ายออกมาคัดค้านว่า ไม่ได้รู้สึกถอดใจ เพราะเป็นหนึ่งในแนวทางการทำงานปฏิรูปด้านการเมือง ที่มีการรวบรวมข้อมูลมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ใกล้เคียงกับสิ่งที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มี นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน ได้ศึกษามา พร้อมย้ำว่า แนวทางการรอการกำหนดโทษ เป็นไปตามแนวทางในกฎหมาย ที่ให้สารภาพ และรอการลงโทษ หรือพิพากษาคดีแต่ไม่รวมถึงคดีอาญาร้ายแรง คดีทุจริต และ คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ส่วนที่ฝ่ายการเมืองมีความกังวลเรื่องเงื่อนไขที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการตัดสิทธิ์ทางการเมือง หรือการห้ามชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น ก็เป็นเรื่องที่สามารถคุยกันได้ อาจจะเป็นการตั้งระยะเวลาไว้ช่วงหนึ่ง ซึ่งหลักการนี้ มีจุดประสงค์เพื่อรักษาความสงบในบ้านเมือง พร้อมมองว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วย พยายามสร้างประเด็นทางการเมืองเพื่อให้เกิดปัญหา
"ผมจะเดินหน้าผลักดันแนวทางต่อไป ผ่านกระบวนการกรรมาธิการฯ ตามขั้นตอน ซึ่งสุดท้ายแล้วฝ่ายที่จะตัดสินใจเห็นชอบหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล และคสช. ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยนั้น คงเป็นการแสดงความเป็นห่วงว่า อะไรทำให้เกิดความขัดแย้งก็ไม่ควรทำ แต่คงไม่ได้มีเจตนาห้ามทั้งหมด" นายเสรี กล่าว
ในวันเดียวกันนี้ นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่วัดปทุมวนาราม จากเหตุสลายการชุมนุมเมื่อปี 53 และนายภูมิ มูลศิลป์ รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ ในฐานะตัวแทนจากคณะกรรมศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สปช. ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตสปช. เป็นประธาน ร่วมแถลงข่าวไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอให้ผลักดันกฎหมายรอการกำหนดโทษ ของนายเสรี โดยนายอดุลย์ กล่าวว่า ตนสนับสนุนการสร้างความปรองดองเหมือนที่คนในสังคมอยากเห็น แต่ขอคัดค้านวิธีการพักโทษ ที่ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลการศึกษาที่ชุดนายเอนก ทำไว้ อีกทั้งเชื่อว่า แนวทางดังกล่าวจะ เป็นไปไม่ได้ ประชาชนที่ออกไปชุมนุมใช้สิทธิเสรีภาพออกไปเรียกร้องทางการเมือง ซึ่งผิดหรือถูก ไม่มีใครรู้ แต่กลับให้ไปสารภาพผิดต่อศาล อีกทั้ง การตัดสิทธิห้ามเลือกตั้ง ก็เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ข้อเสนอของนายเสรี จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับโทษเล็กน้อย ฐานผิดกฎหมายความมั่นคง ที่มีอยู่กว่าพันคน แต่ขณะนี้ก็พ้นโทษไปเกือบหมดแล้ว เหลือเพียง 60 –70 คน ที่โดนคดีลักษณะกลางซอยพ่วงด้วย ตนไม่ได้บอกว่าข้อเสนอนี้ผิดหรือถูก แต่มันถึงเวลาแล้วที่ประเทศชาติจะต้องสร้างความปรองดอง การนำเรื่องความมั่นคงมาเป็นข้ออ้าง จะกลายเป็นการสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในที่สุด โดยคนที่จะผลักดันให้เกิดการปรองดองขึ้นได้ ก็ไม่ใช่แค่รัฐบาล หรือฝ่ายการเมือง แต่อย่างเดียว ต้องให้ญาติผู้สูญเสียมีส่วนร่วมด้วย
"อยากฝากถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่า การออกมาเบรกข้อเสนอของนายเสรีนั้นไม่ถูกต้อง ความปรองดองในชาติ คือ สิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงของประเทศจะต้องสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอของนายเสรี หรือแนวทางของคณะกรรมการปรองดอง สปช. ที่อาจนำไปสู่การนิรโทษกรรมในวันข้างหน้าพล.อ.ประวิตร ในฐานะผู้มีบารมีตัวจริง ดำเนินการเหมือนเป็นนายกฯ หรือใครก็ตามในคสช. หากดำเนินการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้ ญาติวีรชนพฤษภา 35 จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนต่อไป" นายอดุลย์ กล่าว
นางพะเยาว์ กล่าวว่า ข้อเสนอนายเสรี เหมือนหักด้ามพร้าด้วยเข่า คดีเกี่ยวกับผู้สูญเสียหลายคดียังคงดำเนินอยู่
แต่แนวทางของนายเสรี จะเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม แกนนำจากทุกสีทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ แต่ญาติผู้เสียชีวิตไม่ได้อะไรเลย เชื่อว่า จะไม่สำเร็จ และถูกต่อต้านอย่างแน่นอน หากรัฐบาลนี้อยากจะผลักดันเรื่องความปรองดอง ดิฉันก็ไม่คัดค้าน แต่วิธีการจะต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ด้านนายภูมิ มูลศิลป์ อดีตกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สปช. กล่าวถึง แนวทางในการเสนอ กม.อำนวยความยุติธรรมเพื่อสร้างสังคมสันติสุข ตามเนื้อหาที่คณะกรรมการฯชุด นายเอนก เสนอมาว่า ในเบื้องต้น จะมีการตั้งคณะกก.ขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งจะเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากสังคม และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่ได้รับผลกระทบ จะพิจารณาคดีความเกี่ยวกับทางการเมือง จะมีการจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ประชาชน และ แกนนำ ซึ่งในส่วนของประชาชน
จะพิจารณาความผิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับ 1. เหตุการณ์ความรุนแรงที่ละเมิดสิทธิ เช่น การฆ่า การลักทรัพย์ ส่วนการเผาจะต้องดูที่เจตนารมณ์ว่ามีแรงจูงใจในทางที่ผิดทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่หากถูกว่าจ้างให้มาเผาโดยตรง ก็จะไม่เข้าข่าย
ในส่วนของแกนนำ ก็จะเปิดช่องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งจะต้องมีการสำนึก รับผิด ซึ่งจะต่างจากคำว่า “ยอมรับผิด” โดยคำว่า “การสำนึกรับผิด”อาจจะหมายถึงการยอมรับว่า การต่อสู้ในอุดมการณ์ทางการเมืองที่เขาคิดว่าถูกต้องนั้น ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ และการดำเนินการต่อจากนั้นจะเป็นไปตามกฎหมายปกติที่มีอยู่โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสังคมทุกภาคส่วนเป็นฉันทามติ ส่วนกรณีหลังจากนั้นก็จะเป็นการพิจารณาต่อไปว่า ควรออกเป็นกฎหมายพิเศษหรือไม่ เช่น กฎหมายนิรโทษกรรมว่าสังคมมีความพร้อมหรือไม่ เพราะ เรื่องนี้เป็นเรื่องเปราะบาง และที่ผ่านมาได้นำไปสู่ความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการนิรโทษกรรมจะเป็นไปตามกรอบที่ไม่รวมไปถึงคดีทุจริตคอร์รัปชั่น คดี ม.112 คดีละเมิดสิทธิบุคคลอื่นโดยการฆ่า เป็นต้น