ปัญญาพลวัตร
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
เป็นดังที่คาดการณ์เอาไว้ว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จและนำไปลงประชามติ การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆในสังคมจะทวีความเข้มข้นมากขึ้น การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มพลังทางการเมืองก็จะมีมากขึ้นไปด้วย ปมปัญหาหลักคือรัฐบาลและกลุ่มพลังทางการเมืองมีความปรารถนาและค่านิยมไม่ตรงกัน ขณะที่รัฐบาลต้องการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม แต่กลุ่มพลังทางการเมืองต้องการแสดงออกเสรีภาพทางการเมือง
รัฐบาลมีความปรารถนาให้กระบวนการลงประชามติดำเนินการไปอย่างเรียบร้อยราบรื่น มีการแสดงออกทางความคิดได้ตามสมควรโดยกำหนดกรอบเอาไว้และประสงค์ให้กลุ่มทางการเมืองแสดงความคิดต่อสาธารณะเท่าที่จำเป็น หากไม่แสดงออกได้ก็ยิ่งดี ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนหรือคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลมีความเชื่อว่าหากให้กลุ่มพลังทางการเมืองออกมาแสดงความคิดเห็นและรณรงค์สนับสนุนหรือคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน และทำให้ความขัดแย้งขยายตัว จนยากแก่การควบคุม
เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าวรัฐบาลจึงกำหนดมาตรการที่มีโทษรุนแรงเอาไว้ในมาตรา 61 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา61 ห้ามการกระทำหลายอย่างและระบุโทษอย่างรุนแรงแก่ผู้ที่ฝ่าฝืน ข้อความที่กำหนดไว้และสร้างความหวั่นไหวแก่กลุ่มทางการเมืองมากคือ “ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย” ซึ่งหากใครหรือกลุ่มใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษจำคุกหนึ่งถึงสิบปี ปรับไม่เกินสองแสนบาท และตัดสิทธิในการเลือกตั้งด้วย
สำหรับการกระทำที่ถือว่าเป็นการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยคือ การดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง
พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 สองวันต่อมา (24 เม.ย.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะโดยสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติอย่างชัดเจน นานสุเทพให้เหตุผลว่า คำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญยอมรับความเป็นจริงทางการเมืองไทย และเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปตามที่ กปปส.ได้เคยเรียกร้องเอาไว้หลายเรื่อง เช่น การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปตำรวจ และการปฏิรูปการศึกษา
เมื่อนายสุเทพ ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะได้ มีหรือที่กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามอย่าง แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะยอมสงบปากสงบคำ ในวันเดียวกัน นปช.ก็ได้ออกมาแถลงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดโครงสร้างทางการเมืองในลักษณะที่ถอยหลัง ซึ่ง คสช.มีอำนาจต่อเนื่องเพราะมีวุฒิสมาชิกเป็นฐาน และจะนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต
เมื่อสองกลุ่มพลังทางการเมืองหลักออกมาประกาศจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญในที่สาธารณะอย่างชัดเจนเช่นนี้แล้ว ฝ่ายรัฐบาลก็ย่อมอยู่เฉยไม่ได้ ดังนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจึงได้ออกมาปรามโดยระบุว่า การเคลื่อนไหวของ นปช.และ กปปส. ไม่สามารถทำได้เพราะมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติแล้ว และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการห้ามรณรงค์โฆษณาชัดเจน รัฐบาลกำลังให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาว่าทำผิดกฎหมายหรือไม่ พลเอกประวิตรยังกล่าวย้ำว่า ต้องการให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเองโดยไม่ประสงค์ให้ใครมาชี้นำ รัฐบาลไม่ได้ห้ามการพูดหรือแสดงความคิดเห็น แต่ควรพูดคุยกันในบ้านส่วนตัว และสื่อมวลชนไม่ต้องไปถามแล้ว
ถัดมาในวันที่ 27 เม.ย. ฝ่ายรัฐก็ได้ดำเนินการเชือดไก่ให้ลิงดู นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้งซึ่งมีความกระตือรือร้นอย่างยิ่งในการบังคับใช้กฎหมายการออกเสียงประชามติได้ไปแจ้งความดำเนินคดีแก่บุคคลหนึ่ง ที่นายสมชัยเห็นว่าละเมิดกฎหมายประชามติ หลังรับแจ้งความไม่นาน ตำรวจก็ตามจับผู้ที่ถูกกล่าวหาได้ภายในวันเดียวกัน นับว่ามีตำรวจมีประสิทธิสูงในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ชนิดที่ว่าหาได้ยากยิ่งในสังคมไทย
พร้อมกันนั้น พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ก็ได้ออกมาแถลงว่า เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียที่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จำนวน 10 คน กรุงเทพฯ 8 คน และ จ.ขอนแก่น 2 คน ในขั้นแรกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมไว้ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่พูดคุยหาข้อมูลรายละเอียด เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ที่ถูกเชิญตัวเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร มีเจตนาอย่างไร มีการจ้างวานหรือไม่ มีความเชื่อมโยงอย่างไร ส่วนในขั้นที่ 2 เป็นการพิจารณาพฤติกรรมว่าควรจะดำเนินคดีต่อผู้ที่ได้รับการเชิญตัวมาหรือไม่
สถานการณ์ที่ผมหยิบยกมาข้างต้นบ่งชี้ว่ารัฐบาล คสช. และหน่วยงานอื่นๆของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการออกเสียงประชามติมีความจริงจังอย่างสูงยิ่งในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ และเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ส่งสัญญาณว่า “ถ้าใครทำผิดกฎหมายก็จับหมด ทยอยจับไปเรื่อยๆ... กฎหมายมีแล้วคนต้องทำตามกฎหมาย ถ้ามีกฎหมายแล้วไม่ทำตามจะเขียนไว้ทำไม” ความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายการออกเสียงประชามติและกฎหมายอื่นๆ ก็คงจะมีมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามกลุ่มพลังทางการเมืองมองว่า การที่รัฐบาลใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการสร้างความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนมากเกินไป กลุ่มทางการเมืองที่เรียกว่า “พลเมืองผู้ห่วงใย” ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ และนักพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องรัฐบาลให้เปิดโอกาสแก่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น ถกแถลงเหตุผลโดยสุจริตและสร้างสรรค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญทั้งในเชิงสนับสนุนและคัดค้าน และระบุว่า การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การนำผู้ที่มีความคิดเห็นต่างไปปรับทัศนคติเป็นการลดความชอบธรรมของกระบวนการทำประชามติอีกด้วย และพรรคเพื่อไทยก็ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายการออกเสียงประชามติอีกด้วย
ผมประเมินว่า การบังคับใช้กฎหมายการออกเสียงประชามติอย่างจริงจัง และจับกุมผู้ละเมิดดำเนินคดีอย่างเข้มงวด คงจะสร้างความหวาดหวั่นแก่คนจำนวนไม่น้อย ทำให้คนเหล่านั้นปิดปากเงียบ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับสถานการณ์และความเป็นไปของบ้านเมืองอีกต่อไป อย่างไรก็ตามก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังยืนกรานจุดยืนของตนเอง และแสดงความคิดเห็นต่อไปไม่ว่าจะสนับสนุนหรือคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม
แน่นอนว่าการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มทางการเมืองนั้นมีทั้งเป็นไปโดยสุจริตตามอุดมการณ์ทางการเมืองของตนเอง และมีทั้งกลุ่มที่ซ่อนเร้นเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์และอำนาจของตนเอง แต่หากรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายโดยไม่แยกแยะและดำเนินคดีกับทุกกลุ่มที่แสดงความคิดเห็น จำนวนคนที่ถูกจับกุมก็จะมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆในช่วงสามเดือนก่อนลงประชามติ
หากมีคนถูกจับกุมมากขึ้นโดยไม่จำกัดว่าใครเป็นใคร เช่น จับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายจตุพร พรหมพันธ์ นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย หรือผู้ที่ลงชื่อในแถลงการณ์ทางการเมืองต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชนที่เผยแพร่ข้อความเหล่านั้นด้วย กระแสการทางการเมืองก็อาจตีกลับ เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลก็อาจมีมากยิ่งขึ้น การต่อต้านรัฐบาลทั้งในที่แจ้งและที่ลับก็อาจขยายออกไป และกลายเป็นวงจรขยายขอบเขตออกไปเรื่อยๆ
ศิลปะในการปกครองและบังคับใช้กฎหมายอย่างมีดุลยภาพเป็นสิ่งสำคัญต่อการบริหารบ้านเมืองในเวลานี้ สิ่งที่ต้องไตร่ตรองและทำความเข้าใจให้มากคืออะไรคือดุลภาพระหว่างความเข้มงวดแบบสุดขั้วและความหย่อนยานแบบละเลย และอะไรคือดุลยภาพระหว่างการกดทับกับการผ่อนคลายทางการเมือง หากเข้าใจและใช้อย่างเหมาะสม สังคมไทยก็อาจผ่านข้ามความขัดแย้งรุนแรงที่กำลังคืบคลานเข้ามาในรอบใหม่ได้ แต่หากไม่เข้าใจและทำแบบสุดโต่งความตึงเครียดของสังคมก็จะเพิ่มขึ้น
ฝากเอาไว้ว่า ตามกฎของระบบ หากระบบใดถูกกดดันมากจนเกินไป หรือขาดความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างดุลยภาพใหม่ ระบบนั้นย่อมตกอยู่ในความเสี่ยงของการเสื่อมสลาย
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
เป็นดังที่คาดการณ์เอาไว้ว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จและนำไปลงประชามติ การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆในสังคมจะทวีความเข้มข้นมากขึ้น การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มพลังทางการเมืองก็จะมีมากขึ้นไปด้วย ปมปัญหาหลักคือรัฐบาลและกลุ่มพลังทางการเมืองมีความปรารถนาและค่านิยมไม่ตรงกัน ขณะที่รัฐบาลต้องการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม แต่กลุ่มพลังทางการเมืองต้องการแสดงออกเสรีภาพทางการเมือง
รัฐบาลมีความปรารถนาให้กระบวนการลงประชามติดำเนินการไปอย่างเรียบร้อยราบรื่น มีการแสดงออกทางความคิดได้ตามสมควรโดยกำหนดกรอบเอาไว้และประสงค์ให้กลุ่มทางการเมืองแสดงความคิดต่อสาธารณะเท่าที่จำเป็น หากไม่แสดงออกได้ก็ยิ่งดี ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนหรือคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลมีความเชื่อว่าหากให้กลุ่มพลังทางการเมืองออกมาแสดงความคิดเห็นและรณรงค์สนับสนุนหรือคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน และทำให้ความขัดแย้งขยายตัว จนยากแก่การควบคุม
เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าวรัฐบาลจึงกำหนดมาตรการที่มีโทษรุนแรงเอาไว้ในมาตรา 61 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา61 ห้ามการกระทำหลายอย่างและระบุโทษอย่างรุนแรงแก่ผู้ที่ฝ่าฝืน ข้อความที่กำหนดไว้และสร้างความหวั่นไหวแก่กลุ่มทางการเมืองมากคือ “ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย” ซึ่งหากใครหรือกลุ่มใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษจำคุกหนึ่งถึงสิบปี ปรับไม่เกินสองแสนบาท และตัดสิทธิในการเลือกตั้งด้วย
สำหรับการกระทำที่ถือว่าเป็นการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยคือ การดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง
พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 สองวันต่อมา (24 เม.ย.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะโดยสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติอย่างชัดเจน นานสุเทพให้เหตุผลว่า คำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญยอมรับความเป็นจริงทางการเมืองไทย และเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปตามที่ กปปส.ได้เคยเรียกร้องเอาไว้หลายเรื่อง เช่น การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปตำรวจ และการปฏิรูปการศึกษา
เมื่อนายสุเทพ ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะได้ มีหรือที่กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามอย่าง แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะยอมสงบปากสงบคำ ในวันเดียวกัน นปช.ก็ได้ออกมาแถลงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดโครงสร้างทางการเมืองในลักษณะที่ถอยหลัง ซึ่ง คสช.มีอำนาจต่อเนื่องเพราะมีวุฒิสมาชิกเป็นฐาน และจะนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต
เมื่อสองกลุ่มพลังทางการเมืองหลักออกมาประกาศจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญในที่สาธารณะอย่างชัดเจนเช่นนี้แล้ว ฝ่ายรัฐบาลก็ย่อมอยู่เฉยไม่ได้ ดังนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจึงได้ออกมาปรามโดยระบุว่า การเคลื่อนไหวของ นปช.และ กปปส. ไม่สามารถทำได้เพราะมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติแล้ว และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการห้ามรณรงค์โฆษณาชัดเจน รัฐบาลกำลังให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาว่าทำผิดกฎหมายหรือไม่ พลเอกประวิตรยังกล่าวย้ำว่า ต้องการให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเองโดยไม่ประสงค์ให้ใครมาชี้นำ รัฐบาลไม่ได้ห้ามการพูดหรือแสดงความคิดเห็น แต่ควรพูดคุยกันในบ้านส่วนตัว และสื่อมวลชนไม่ต้องไปถามแล้ว
ถัดมาในวันที่ 27 เม.ย. ฝ่ายรัฐก็ได้ดำเนินการเชือดไก่ให้ลิงดู นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้งซึ่งมีความกระตือรือร้นอย่างยิ่งในการบังคับใช้กฎหมายการออกเสียงประชามติได้ไปแจ้งความดำเนินคดีแก่บุคคลหนึ่ง ที่นายสมชัยเห็นว่าละเมิดกฎหมายประชามติ หลังรับแจ้งความไม่นาน ตำรวจก็ตามจับผู้ที่ถูกกล่าวหาได้ภายในวันเดียวกัน นับว่ามีตำรวจมีประสิทธิสูงในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ชนิดที่ว่าหาได้ยากยิ่งในสังคมไทย
พร้อมกันนั้น พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ก็ได้ออกมาแถลงว่า เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียที่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จำนวน 10 คน กรุงเทพฯ 8 คน และ จ.ขอนแก่น 2 คน ในขั้นแรกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมไว้ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่พูดคุยหาข้อมูลรายละเอียด เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ที่ถูกเชิญตัวเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร มีเจตนาอย่างไร มีการจ้างวานหรือไม่ มีความเชื่อมโยงอย่างไร ส่วนในขั้นที่ 2 เป็นการพิจารณาพฤติกรรมว่าควรจะดำเนินคดีต่อผู้ที่ได้รับการเชิญตัวมาหรือไม่
สถานการณ์ที่ผมหยิบยกมาข้างต้นบ่งชี้ว่ารัฐบาล คสช. และหน่วยงานอื่นๆของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการออกเสียงประชามติมีความจริงจังอย่างสูงยิ่งในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ และเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ส่งสัญญาณว่า “ถ้าใครทำผิดกฎหมายก็จับหมด ทยอยจับไปเรื่อยๆ... กฎหมายมีแล้วคนต้องทำตามกฎหมาย ถ้ามีกฎหมายแล้วไม่ทำตามจะเขียนไว้ทำไม” ความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายการออกเสียงประชามติและกฎหมายอื่นๆ ก็คงจะมีมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามกลุ่มพลังทางการเมืองมองว่า การที่รัฐบาลใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการสร้างความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนมากเกินไป กลุ่มทางการเมืองที่เรียกว่า “พลเมืองผู้ห่วงใย” ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ และนักพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องรัฐบาลให้เปิดโอกาสแก่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น ถกแถลงเหตุผลโดยสุจริตและสร้างสรรค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญทั้งในเชิงสนับสนุนและคัดค้าน และระบุว่า การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การนำผู้ที่มีความคิดเห็นต่างไปปรับทัศนคติเป็นการลดความชอบธรรมของกระบวนการทำประชามติอีกด้วย และพรรคเพื่อไทยก็ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายการออกเสียงประชามติอีกด้วย
ผมประเมินว่า การบังคับใช้กฎหมายการออกเสียงประชามติอย่างจริงจัง และจับกุมผู้ละเมิดดำเนินคดีอย่างเข้มงวด คงจะสร้างความหวาดหวั่นแก่คนจำนวนไม่น้อย ทำให้คนเหล่านั้นปิดปากเงียบ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับสถานการณ์และความเป็นไปของบ้านเมืองอีกต่อไป อย่างไรก็ตามก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังยืนกรานจุดยืนของตนเอง และแสดงความคิดเห็นต่อไปไม่ว่าจะสนับสนุนหรือคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม
แน่นอนว่าการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มทางการเมืองนั้นมีทั้งเป็นไปโดยสุจริตตามอุดมการณ์ทางการเมืองของตนเอง และมีทั้งกลุ่มที่ซ่อนเร้นเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์และอำนาจของตนเอง แต่หากรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายโดยไม่แยกแยะและดำเนินคดีกับทุกกลุ่มที่แสดงความคิดเห็น จำนวนคนที่ถูกจับกุมก็จะมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆในช่วงสามเดือนก่อนลงประชามติ
หากมีคนถูกจับกุมมากขึ้นโดยไม่จำกัดว่าใครเป็นใคร เช่น จับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายจตุพร พรหมพันธ์ นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย หรือผู้ที่ลงชื่อในแถลงการณ์ทางการเมืองต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชนที่เผยแพร่ข้อความเหล่านั้นด้วย กระแสการทางการเมืองก็อาจตีกลับ เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลก็อาจมีมากยิ่งขึ้น การต่อต้านรัฐบาลทั้งในที่แจ้งและที่ลับก็อาจขยายออกไป และกลายเป็นวงจรขยายขอบเขตออกไปเรื่อยๆ
ศิลปะในการปกครองและบังคับใช้กฎหมายอย่างมีดุลยภาพเป็นสิ่งสำคัญต่อการบริหารบ้านเมืองในเวลานี้ สิ่งที่ต้องไตร่ตรองและทำความเข้าใจให้มากคืออะไรคือดุลภาพระหว่างความเข้มงวดแบบสุดขั้วและความหย่อนยานแบบละเลย และอะไรคือดุลยภาพระหว่างการกดทับกับการผ่อนคลายทางการเมือง หากเข้าใจและใช้อย่างเหมาะสม สังคมไทยก็อาจผ่านข้ามความขัดแย้งรุนแรงที่กำลังคืบคลานเข้ามาในรอบใหม่ได้ แต่หากไม่เข้าใจและทำแบบสุดโต่งความตึงเครียดของสังคมก็จะเพิ่มขึ้น
ฝากเอาไว้ว่า ตามกฎของระบบ หากระบบใดถูกกดดันมากจนเกินไป หรือขาดความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างดุลยภาพใหม่ ระบบนั้นย่อมตกอยู่ในความเสี่ยงของการเสื่อมสลาย