ปัญญาพลวัตร
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
หากมองในเชิงบวก การลงประชามติ เป็นการมอบอำนาจการตัดสินใจในประเด็นสำคัญของบ้านเมืองแก่ประชาชนทุกคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ประชามติได้รับการมองว่าเป็นการใช้ประชาธิปไตยทางตรงซึ่งหลายประเทศนำมาเป็นกลไกทางการเมืองเพื่อเป็นส่วนเสริมของประชาธิปไตยแบบตัวแทน อย่างไรก็ตามมีข้อถกเถียงเกี่ยวการลงประชามติหลายประเด็นที่น่าสนใจ
รูปแบบของประชามติเป็นการตั้งคำถามปลายปิดซึ่งส่วนใหญ่มีตัวเลือก 2 ตัวคือ “เห็นด้วย” และ”ไม่เห็นด้วย” ต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตัดสินใจ อย่างก็ตามในบางกรณีอาจมีตัวเลือกหลายตัวก็ได้ เช่น ประเทศนิวซีแลนด์มีการจัดลงประชามติเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งโดยมีตัวเลือกถึง 5 ตัว
ประเด็นสำคัญที่มักทำประชามติกัน คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประเด็น เช่น ระบบการเลือกตั้ง และ การเปลี่ยนแปลงดินแดนของประเทศ ต่อมาในบางประเทศได้มีการจัดให้มีการลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เช่น ประเทศไทย สำหรับประเทศที่นิยมใช้ประชามติเป็นเครื่องมือการตัดสินใจทางการเมืองมากที่สุดคือ สวิสเซอร์แลนด์ รองลงมาคือ ออสเตรเลีย
โดยปกติการตัดสินใจทางการเมืองที่สำคัญของประเทศต่างๆจะรวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาลและรัฐสภา (มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม) คำถามคือทำไมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจึงต้องทำประชามติอีก ในเมื่อพวกเขาได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้มาทำการตัดสินใจแทนแล้ว
เหตุผลมี 2 ด้าน ด้านแรกค่อนไปในทางบวก นั่นคือการขยายการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนต่อประเด็นสำคัญ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่านักการเมืองที่เป็นรัฐบาลตระหนักว่าประเด็นที่เป็นรากฐานของประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องให้พลเมืองมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยตรง เช่น การเปลี่ยนประมุขของประเทศ (กรณีออสเตรเลีย) หรือการแยกเป็นประเทศของรัฐควิเบกในประเทศแคนาดา
เหตุผลด้านที่สองมีลักษณะค่อนไปในทางลบซึ่งมี 2 ประการ อย่างแรกคือรัฐบาลประสงค์หลีกเลี่ยงความยากลำบากในการตัดสินใจ หรือหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในการตัดสินใจ เพราะหวั่นเกรงว่าหากตัดสินใจผิดพลาดจะมีผลกระทบต่อคะแนนนิยมของตนเอง จึงผลักภาระการตัดสินใจไปให้ประชาชนทำแทน รัฐบาลที่ไม่มั่นใจในเสถียรภาพและความนิยมของตนเองมักมีแนวโน้มเลือกทางออกโดยการจัดให้ประชาชนลงประชามติในประเด็นที่มีความขัดแย้ง เพื่อให้ตนจะได้มีข้ออ้างในการปฏิเสธความรับผิดชอบ หากผลการลงประชามติส่งผลกระทบทางลบในอนาคต
ประการที่สอง มีลักษณะตรงข้ามกับอย่างแรก กล่าวคือ รัฐบาลใช้ประชามติเป็นเครื่องมือรองรับความชอบธรรมแก่กฎหมายหรืออำนาจพิเศษบางอย่าง กรณีแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลมีความเข้มแข็งและเชื่อมั่นว่าสามารถทำให้ประชาชนสนับสนุนแนวทางที่ตนเองต้องการได้
ประเทศไทยมีการจัดประชามติไปแล้วครั้งหนึ่ง และกำลังจัดอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2559 เป็นประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ การจัดประชามติในประเทศไทยจัดขึ้นภายใต้รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทั้งสองครั้งเกิดจากการผลักดันของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและเห็นชอบโดยรัฐบาลในขณะนั้น
เหตุผลของการจัดประชามติร่างรัฐธรรมนูญของประเทศไทยดูเหมือนจะแตกต่างจากกรณีประเทศอื่นๆอยู่บางประการ อย่างในครั้งแรกดูเหมือนเหตุผลหลักคือการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญว่าได้รับการเห็นชอบจากประชาชน ซึ่งคาดหวังว่าหากนักการเมืองหรือรัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในภายหลังจะทำได้ยาก รวมทั้งเพื่อใช้เป็นมาตรการในการป้องกันการรัฐประหารด้วย แต่ก็ปรากฏภายหลังว่าความจริงทางการเมืองที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับความคาดหวังอย่างสิ้นเชิง
การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้เป็นกลไกที่มีประสิทธิผลในการสร้างความศักดิ์สิทธิ์แก่รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่คำถามคือทำไมรัฐบาลจึงตัดสินใจจัดให้มีประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้อีก
มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความคิดเชิงเลียนแบบในกลุ่มผู้ร่างและผู้มีอำนาจรัฐว่า เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ต้องมีการลงประชามติ เพื่อสร้างเป็นประเพณีทางการเมืองแบบไทยๆขึ้นมา
การจัดให้มีประชามติยังเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์รัฐบาลดูดี เพราะเท่ากับเป็นการมอบอำนาจการตัดสินใจแก่ประชาชน ผู้มีอำนาจสามารถอ้างได้ว่า แม้จะเข้าสู่อำนาจด้วยวิธีการที่โลกตะวันตกไม่ยอมรับ แต่ก็ยังคำนึงถึงหลักประชาธิปไตย โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นหลักการปกครองประเทศในอนาคต
เหตุผลที่เป็นไปได้อีกอย่างคือ การสนับสนุนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเป็นตามกลไกทางจิตของความรู้สึกเชิงชดเชย เพื่อลดความรู้สึกผิดต่อการกระทำบางอย่างที่อาจดำรงอยู่ในจิตใต้สำนึกของกลุ่มผู้ร่างและผู้มีอำนาจรัฐ
อย่างไรก็ตามการจัดประชามติของไทยในครั้งนี้มีความประหลาดเกิดขึ้น นั่นคือมีการตั้งคำถามพ่วงเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจให้แก่วุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งเข้าไปอีกประเด็น เรื่องนี้บ่งบอกถึงเจตนาในการใช้ประชามติเพื่อสนองความต้องการของตนเองอย่างชัดเจน และยังสะท้อนความไร้แก่นสารของประชามติในครั้งนี้มากยิ่งขึ้น
ผนวกกับการออกกฎหมายการลงประชามติ ซึ่งมีข้อกำหนดให้มีการแสดงความคิดและเผยแพร่ความคิดได้อย่างจำกัด การห้ามรณรงค์สนับสนุนหรือคัดค้านอีกด้วย และการกำหนดโทษอย่างรุนแรงต่อผู้ฝ่าฝืน ทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ทางการเมืองผ่านกระบวนการประชามติเกิดขึ้นได้ยาก ทำให้เสียงผู้คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญและการเพิ่มอำนาจวุฒิสมาชิกแผ่วเบาลงไป และทำให้ฝ่ายปรปักษ์ของรัฐบาลมีช่องทางการโจมตีรัฐบาลน้อยลง
เมื่อมีการวางแผนป้องกันอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการรณรงค์ประชามติอย่างรัดกุมเช่นนี้แล้ว รัฐบาลและเครือข่ายอำนาจย่อมคาดหวังว่า ร่างรัฐธรรมนูญและการเพิ่มอำนาจวุฒิสมาชิกคงจะได้รับการเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่เป็นแน่ แต่จะเป็นอย่างที่คาดหวังหรือไม่ คงจะได้รู้กันในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
หลายคนคงตัดสินใจแล้วว่าจะไปลงประชามติครั้งนี้หรือไม่ และจะลงอย่างไร แต่คนจำนวนมากอาจยังไม่ตัดสินใจ คนหลายคนประกาศต่อสาธารณะอย่างชัดเจนแล้วว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง บางคนก็ประกาศว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่รับคำถามพ่วง ส่วนผู้ที่ประกาศว่าจะรับทั้งรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง นอกจาก สปท. และสนช. ที่สนับสนุนการตั้งคำถามพ่วงแล้ว ผมยังไม่เห็นใครประกาศว่าจะรับทั้งสองเรื่อง
ในส่วนของผมนั้น ประเด็นการเพิ่มอำนาจวุฒิสมาชิก ผมไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน สำหรับประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญ ผมเห็นด้วยในบางประเด็น และไม่เห็นด้วยในบางประเด็น
แต่ในเรื่องการไปลงประชามติหรือไม่ ผมยังไม่ตัดสินใจครับ ขณะกำลังรวบรวมข้อมูลและแสวงหาเหตุผล เพื่อนำมาไตร่ตรองและชั่งน้ำหนักอยู่ว่า จะไปลงประชามติดีหรือไม่ด้วยเหตุผลแบบใด
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
หากมองในเชิงบวก การลงประชามติ เป็นการมอบอำนาจการตัดสินใจในประเด็นสำคัญของบ้านเมืองแก่ประชาชนทุกคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ประชามติได้รับการมองว่าเป็นการใช้ประชาธิปไตยทางตรงซึ่งหลายประเทศนำมาเป็นกลไกทางการเมืองเพื่อเป็นส่วนเสริมของประชาธิปไตยแบบตัวแทน อย่างไรก็ตามมีข้อถกเถียงเกี่ยวการลงประชามติหลายประเด็นที่น่าสนใจ
รูปแบบของประชามติเป็นการตั้งคำถามปลายปิดซึ่งส่วนใหญ่มีตัวเลือก 2 ตัวคือ “เห็นด้วย” และ”ไม่เห็นด้วย” ต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตัดสินใจ อย่างก็ตามในบางกรณีอาจมีตัวเลือกหลายตัวก็ได้ เช่น ประเทศนิวซีแลนด์มีการจัดลงประชามติเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งโดยมีตัวเลือกถึง 5 ตัว
ประเด็นสำคัญที่มักทำประชามติกัน คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประเด็น เช่น ระบบการเลือกตั้ง และ การเปลี่ยนแปลงดินแดนของประเทศ ต่อมาในบางประเทศได้มีการจัดให้มีการลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เช่น ประเทศไทย สำหรับประเทศที่นิยมใช้ประชามติเป็นเครื่องมือการตัดสินใจทางการเมืองมากที่สุดคือ สวิสเซอร์แลนด์ รองลงมาคือ ออสเตรเลีย
โดยปกติการตัดสินใจทางการเมืองที่สำคัญของประเทศต่างๆจะรวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาลและรัฐสภา (มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม) คำถามคือทำไมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจึงต้องทำประชามติอีก ในเมื่อพวกเขาได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้มาทำการตัดสินใจแทนแล้ว
เหตุผลมี 2 ด้าน ด้านแรกค่อนไปในทางบวก นั่นคือการขยายการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนต่อประเด็นสำคัญ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่านักการเมืองที่เป็นรัฐบาลตระหนักว่าประเด็นที่เป็นรากฐานของประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องให้พลเมืองมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยตรง เช่น การเปลี่ยนประมุขของประเทศ (กรณีออสเตรเลีย) หรือการแยกเป็นประเทศของรัฐควิเบกในประเทศแคนาดา
เหตุผลด้านที่สองมีลักษณะค่อนไปในทางลบซึ่งมี 2 ประการ อย่างแรกคือรัฐบาลประสงค์หลีกเลี่ยงความยากลำบากในการตัดสินใจ หรือหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในการตัดสินใจ เพราะหวั่นเกรงว่าหากตัดสินใจผิดพลาดจะมีผลกระทบต่อคะแนนนิยมของตนเอง จึงผลักภาระการตัดสินใจไปให้ประชาชนทำแทน รัฐบาลที่ไม่มั่นใจในเสถียรภาพและความนิยมของตนเองมักมีแนวโน้มเลือกทางออกโดยการจัดให้ประชาชนลงประชามติในประเด็นที่มีความขัดแย้ง เพื่อให้ตนจะได้มีข้ออ้างในการปฏิเสธความรับผิดชอบ หากผลการลงประชามติส่งผลกระทบทางลบในอนาคต
ประการที่สอง มีลักษณะตรงข้ามกับอย่างแรก กล่าวคือ รัฐบาลใช้ประชามติเป็นเครื่องมือรองรับความชอบธรรมแก่กฎหมายหรืออำนาจพิเศษบางอย่าง กรณีแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลมีความเข้มแข็งและเชื่อมั่นว่าสามารถทำให้ประชาชนสนับสนุนแนวทางที่ตนเองต้องการได้
ประเทศไทยมีการจัดประชามติไปแล้วครั้งหนึ่ง และกำลังจัดอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2559 เป็นประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ การจัดประชามติในประเทศไทยจัดขึ้นภายใต้รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทั้งสองครั้งเกิดจากการผลักดันของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและเห็นชอบโดยรัฐบาลในขณะนั้น
เหตุผลของการจัดประชามติร่างรัฐธรรมนูญของประเทศไทยดูเหมือนจะแตกต่างจากกรณีประเทศอื่นๆอยู่บางประการ อย่างในครั้งแรกดูเหมือนเหตุผลหลักคือการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญว่าได้รับการเห็นชอบจากประชาชน ซึ่งคาดหวังว่าหากนักการเมืองหรือรัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในภายหลังจะทำได้ยาก รวมทั้งเพื่อใช้เป็นมาตรการในการป้องกันการรัฐประหารด้วย แต่ก็ปรากฏภายหลังว่าความจริงทางการเมืองที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับความคาดหวังอย่างสิ้นเชิง
การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้เป็นกลไกที่มีประสิทธิผลในการสร้างความศักดิ์สิทธิ์แก่รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่คำถามคือทำไมรัฐบาลจึงตัดสินใจจัดให้มีประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้อีก
มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความคิดเชิงเลียนแบบในกลุ่มผู้ร่างและผู้มีอำนาจรัฐว่า เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ต้องมีการลงประชามติ เพื่อสร้างเป็นประเพณีทางการเมืองแบบไทยๆขึ้นมา
การจัดให้มีประชามติยังเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์รัฐบาลดูดี เพราะเท่ากับเป็นการมอบอำนาจการตัดสินใจแก่ประชาชน ผู้มีอำนาจสามารถอ้างได้ว่า แม้จะเข้าสู่อำนาจด้วยวิธีการที่โลกตะวันตกไม่ยอมรับ แต่ก็ยังคำนึงถึงหลักประชาธิปไตย โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นหลักการปกครองประเทศในอนาคต
เหตุผลที่เป็นไปได้อีกอย่างคือ การสนับสนุนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเป็นตามกลไกทางจิตของความรู้สึกเชิงชดเชย เพื่อลดความรู้สึกผิดต่อการกระทำบางอย่างที่อาจดำรงอยู่ในจิตใต้สำนึกของกลุ่มผู้ร่างและผู้มีอำนาจรัฐ
อย่างไรก็ตามการจัดประชามติของไทยในครั้งนี้มีความประหลาดเกิดขึ้น นั่นคือมีการตั้งคำถามพ่วงเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจให้แก่วุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งเข้าไปอีกประเด็น เรื่องนี้บ่งบอกถึงเจตนาในการใช้ประชามติเพื่อสนองความต้องการของตนเองอย่างชัดเจน และยังสะท้อนความไร้แก่นสารของประชามติในครั้งนี้มากยิ่งขึ้น
ผนวกกับการออกกฎหมายการลงประชามติ ซึ่งมีข้อกำหนดให้มีการแสดงความคิดและเผยแพร่ความคิดได้อย่างจำกัด การห้ามรณรงค์สนับสนุนหรือคัดค้านอีกด้วย และการกำหนดโทษอย่างรุนแรงต่อผู้ฝ่าฝืน ทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ทางการเมืองผ่านกระบวนการประชามติเกิดขึ้นได้ยาก ทำให้เสียงผู้คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญและการเพิ่มอำนาจวุฒิสมาชิกแผ่วเบาลงไป และทำให้ฝ่ายปรปักษ์ของรัฐบาลมีช่องทางการโจมตีรัฐบาลน้อยลง
เมื่อมีการวางแผนป้องกันอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการรณรงค์ประชามติอย่างรัดกุมเช่นนี้แล้ว รัฐบาลและเครือข่ายอำนาจย่อมคาดหวังว่า ร่างรัฐธรรมนูญและการเพิ่มอำนาจวุฒิสมาชิกคงจะได้รับการเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่เป็นแน่ แต่จะเป็นอย่างที่คาดหวังหรือไม่ คงจะได้รู้กันในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
หลายคนคงตัดสินใจแล้วว่าจะไปลงประชามติครั้งนี้หรือไม่ และจะลงอย่างไร แต่คนจำนวนมากอาจยังไม่ตัดสินใจ คนหลายคนประกาศต่อสาธารณะอย่างชัดเจนแล้วว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง บางคนก็ประกาศว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่รับคำถามพ่วง ส่วนผู้ที่ประกาศว่าจะรับทั้งรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง นอกจาก สปท. และสนช. ที่สนับสนุนการตั้งคำถามพ่วงแล้ว ผมยังไม่เห็นใครประกาศว่าจะรับทั้งสองเรื่อง
ในส่วนของผมนั้น ประเด็นการเพิ่มอำนาจวุฒิสมาชิก ผมไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน สำหรับประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญ ผมเห็นด้วยในบางประเด็น และไม่เห็นด้วยในบางประเด็น
แต่ในเรื่องการไปลงประชามติหรือไม่ ผมยังไม่ตัดสินใจครับ ขณะกำลังรวบรวมข้อมูลและแสวงหาเหตุผล เพื่อนำมาไตร่ตรองและชั่งน้ำหนักอยู่ว่า จะไปลงประชามติดีหรือไม่ด้วยเหตุผลแบบใด