โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
เมษาปีนี้ สุดฮ้อนสุดฮ้อตเสียจริงๆ ไม่ว่าจะหลีกลี้หนีไปไหน ความร้อนก็ตามประชิดติดตัว ปานเงาติดตามตน พยายามจะหยุดความคิดปรุงแต่ง แต่อารมณ์ภายนอกก็มากเกินจน “สักแต่ว่า” ทานรับไม่ไหวก็เลยปล่อยให้มันลื่นไหลไปตามสบาย เรียบร้อยโรงเรียนอารมณ์ 6 รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
รู้มืดรู้แจ้ง
คำว่า “รู้” ตัวเดียวคำเดียว แม้จะมีความหมายธรรมดาๆ เช่น เข้าใจ ทราบ ตระหนัก เป็นต้น แต่ลึกๆ แล้วความหมายก็อยู่ในระดับสุดยอด อย่างเช่น... “พุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน”
“รู้ละ” หรือ “รู้แล้วละ” เป็นคำสอนของท่านผู้รู้ หรือครูบาอาจารย์ทั้งหลาย กว่าจะตระหนักรู้ ก็กินเวลามากบ้าง น้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับภูมิรู้ภูมิธรรมของแต่ละบุคคล
รู้มีสองด้าน คือรู้มืด และรู้แจ้ง
รู้มืด เห็นมืด ทำมืด ผลมืด
รู้แจ้ง เห็นแจ้ง ทำแจ้ง ผลแจ้ง
วิถีของบุคคลหรือสังคม หรือโลก ล้วนเดินไปตามทางรู้มืด และรู้แจ้งด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันเพียงว่า อย่างไหนมาก อย่างไหนน้อย
หากมองไม่เห็น ลองดูตัวอย่างประกอบสักเล็กน้อย...
1. ชายเสื้อกั๊ก มุกแป้ก อ่านขาด คสช. ปฏิรูปเหลว ส่อง 5 ปีก็แค่ฝัน!...(MGR Online : 07042559)
2. “ธีรยุทธ” ชี้คนจนแค่เบี้ยในกระดานพัฒนา...(ชวนคิดชวนคุย-นิวส์วัน : 07042559)
3. เปิดกลโกงจากปานามา เปเปอร์ส สวรรค์แก๊ง “ฟอกเงิน-เลี่ยงภาษี”...(แนวหน้า : 07042559)
เพียง 3 ตัวอย่าง ก็คงรู้คงเข้าใจ ว่าอะไรเป็นอะไร หากยังไม่ชัด ก็ดูเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่อ้างถึง
ใครรู้มืด ใครรู้แจ้ง โจทย์นี้ตอบได้ไม่ยากเลย!
และขอถามว่า...
1. อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี นานทีปีละครั้งสองครั้ง ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สังคมบ้านเมือง ต่อกรณีนี้ ใครรู้มืด ใครรู้แจ้ง?
2. กรณีปานามา เปเปอร์ส ที่คนระดับไฮโซ มีเงินมีอำนาจ ไปฟอกเงิน-เลี่ยงภาษี น่าอับอายขายหน้า ใครรู้มืด ใครรู้แจ้ง?
สองโจทย์ไม่ต้องตอบก็ได้ ผมถามตัวเอง และตอบตัวเองได้ หากคุณจะตอบตัวเองบ้าง ก็จะเป็นกุศล หรือเลื่อนระดับตอบสังคมด้วย ก็จะเป็นมหากุศล
แม้จะไม่มีคำตอบมาจากที่ใด แต่คำตอบก็มีอยู่แล้ว นั่นคือพฤติกรรมที่คุณทำแบบลับๆ ล่อๆ มืดๆ มัวๆ ความลับไม่มีในโลก ไม่ถูกเปิดเผยวันนี้ ก็วันต่อๆ ไป
พฤติกรรมที่คุณทำ ที่ผมทำ หรือสิ่งที่คุณเห็น ผมเห็น มันจะเหมือนกันก็ได้ หรือต่างกันก็ได้ เพราะความเห็นต่าง มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่ฉายแสงออกมาจากรากเหง้า อาจจะรากดีหรือรากเน่า ก็ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของแต่ละคน
ท่าน ฟ.ฮีแลร์ (F. Hilaire) หรือเจษฎาธิการฮีแลร์ เป็นปราชญ์แห่งอัสสัมชัญ ครูฝรั่งเศสผู้แตกฉานภาษาไทยเป็นอย่างมาก
ลองดูความสามารถด้านกวีของท่านสักหน่อย คือผลงานกาพย์ยานี 11 บทหนึ่งของท่านที่รู้จักกันแพร่หลาย นั่นคือ...
“สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย”
ซึ่งท่านแปลจากบทกวีของนักบวชชาวอังกฤษชื่อ Frederick Longbridge ที่ว่า... “Two Men Lookout Through the Same Bars ; One Sees mud, the Other Stars”
การอยากหรือบังคับให้คนคิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันฝืนธรรมชาติ
คนคิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน ก็ใช่ว่าจะถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง
คนคิดต่างกัน ทำต่างกัน ก็ใช่ว่าจะถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง
ความถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับมิติ ว่าจะเป็นมิติไหน
สมมติ...ถ้าเป็นประชาธิปไตย ความถูกต้องก็คือ รักษาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ส่วนความไม่ถูกต้อง ก็ตรงกันข้าม ถ้าเป็นเผด็จการ ความถูกต้อง ก็คือรักษาผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย เช่น ทรราช นายทุนสามานย์ผูกขาด ข้าราชการชั่ว นักการเมืองเลว ความไม่ถูกต้องของเผด็จการก็ตรงกันข้าม
รู้มืดรู้แจ้ง ยิ่งดูยิ่งเห็น คนประเภทปากกับใจไม่ตรงกัน เขาใจมืดซะแล้ว และน่าสงสารเขา วิบากกรรมตามทันเขา รวดเร็วปานจรวด!
เส้นแบ่งแห่งจิต
“รู้มืดรู้แจ้ง” คือ “เส้นแบ่งแห่งจิต” จิตของเรามีสองมิติหรือสองด้าน เหมือนสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน
ผมเรียกสองด้านของจิตว่า... “จิตเดิมแท้” กับ “จิตใหม่เทียม”
“จิตเดิมแท้คือรู้แจ้ง” และ “จิตใหม่เทียมคือรู้มืด”
จิตเดิมแท้เป็นวิสังขาร หรืออสังขตธรรม คือไม่ปรุงแต่ง
จิตใหม่เทียม เป็นสังขาร หรือสังขตธรรม คือปรุงแต่ง
จิตใหม่เทียมมาจากจิตเดิมแท้ หรือเกิดจากจิตเดิมแท้ แล้วในที่สุดก็กลับคืนสู่จิตเดิมแท้เปรียบเสมือน...ชีวิตคือการเดินทางออกจากบ้าน แล้วกลับบ้าน
บ้านแท้จริงคือจิตเดิมแท้ที่สว่างไสว และสงบเย็น มันมีอยู่แล้วกับเราทุกคน เพียงแต่เราไม่รู้จักมัน ไม่เห็นมัน ได้แต่ตามหามันไปทั่วโลกทั่วจักรวาล หาในสิ่งที่มีอยู่แล้วกับตัวเอง น่าขำไหม โง่หรือฉลาด
โลกมีหลายมิติ เอาที่เป็นหลักใหญ่ๆ สักสองมิติ คือ โลกียะกับโลกุตตระ
โลกียธรรม คือธรรมอันเป็นวิสัยของโลก โลกุตตรธรรม คือธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก
โลกียบุญ คือบุญที่เป็นวิสัยของโลก อันเป็นบุญที่สร้างขึ้น โดยกิเลสความยึดติด โลกุตตรบุญคือบุญที่พ้นวิสัยแห่งโลก
โลกียปัญญา คือปัญญาอันเป็นวิสัยแห่งโลก ดังเช่นความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ ความฉลาดที่เกิดจากกรรมพันธุ์ โลกุตตรปัญญา คือปัญญาที่พ้นวิสัยแห่งโลก ซึ่งเป็นปัญญาที่ปรากฏโดยธรรมญาณจิตเดิมแท้
โลกสองด้าน หรือสองมิติดังกล่าว คือ โลกียะ และโลกุตตระ
โลกียะ ก็คือ รู้มืด
โลกุตตระ ก็คือ รู้แจ้ง
ทั้งรู้มืดและรู้แจ้ง ก็คือจิตดวงเดียวกัน ด้านไหนชนะก็เป็นผู้ปกครอง ด้านไหนแพ้ก็เป็นผู้ถูกปกครอง
หากเปรียบเทียบความมากความน้อย โลกียะหรือรู้มืด จะมีมากเท่ากับขนควาย ส่วนโลกุตตระหรือรู้แจ้ง จะมีน้อยเท่ากับเขาควาย
โลกียะ หรือรู้มืด อันเป็นวิสัยของโลก จะมีสังขตธรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่งเป็นเครื่องอยู่ (ตรงกันข้ามกับโลกุตตระอันพ้นวิสัยโลก) และมีสมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมติ (ความจริงที่ขึ้นต่อการยอมรับของคน หรือความจริงที่ถือตามกำหนดหมายตกลงกันไว้ของชาวโลก) เป็นเครื่องดำเนินชีวิต
“นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ-พึงข่มคนที่ควรข่ม พึงชมคนที่ควรชม”
นั่นคือพุทธภาษิต ความหมายง่ายๆ “คนชั่วต้องตี-คนดีต้องยกย่อง” ซึ่งเป็นสมมติสัจจะที่ใช้กันทั่วโลก
ในโลกียะหรือรู้มืด ก็มีทั้งดีและชั่ว ชั่วต้องเลิกละ ดีต้องเจริญ เหมือนจะปลูกพืชผัก ต้องกำจัดวัชพืชเสียก่อนจึงจะถูกต้องสมบูรณ์ ได้กินผัก มิใช่ปลูกพืชผักทับวัชพืช สุดท้ายก็ไลฟ์บอย ไม่ได้กินผัก ไม่มีประโยชน์อันใด เหมือนกับจะเอาคนชั่วและคนดีมาสามัคคีกัน รักกันนะๆๆ มันจะเป็นไปได้อย่างไร มันอยู่คนละภพละภูมิ
“สมมติสัจจะ” เล่นบทภายนอก บทภายในก็ควรตระหนักรู้ นั่นคือ... “ปรมัตถสัจจะ” คือความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ ไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคน หรือความจริงตามความหมายขั้นสุดท้าย ที่ตรงต่อสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่น รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น
ตรงนี้ก็คือ โลกุตตระ หรือรู้แจ้ง นั่นเอง
รู้ว่าตนเองกำลังเล่นสมมติ มีชั่วและดี คนชั่วก็มักเล่นบทชั่ว คนดีก็มักเล่นบทดี คนชั่วก็มักหาทางขจัดคนดี และคนดีก็หาทางขจัดคนชั่ว เป็นเรื่องธรรมดาของโลกสมมติ
รู้มืดรู้แจ้ง เส้นแบ่งแห่งจิต จะเอาอะไรให้มากให้น้อย จะเอาอะไรให้ชนะให้แพ้ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล มีอำนาจมากก็แสดงบทบาทมาก มีอำนาจน้อยก็แสดงบทบาทน้อย เราผู้ไม่มีอำนาจ ก็แค่ยืนดูอยู่ข้างเวที เชียร์บ้าง ด่าบ้าง ก็ธรรมดาแค่นั่นเอง
นำพาชีวิต
สังคมที่ผู้นำผู้ปกครองรู้มืด ประชาชนส่วนใหญ่มักจะถูกลอยแพ ปล่อยทิ้งไปตามยถากรรม ไม่มีอนาคต อยู่ไปวันๆ จะมีอนาคตบ้างก็วันหวยออก ทั้งหวยบนดินหวยใต้ดิน ถูกเจ้ามือกินเรียบ นานๆ เข้าต้องไปต่างประเทศคือประเทศอิตาลี เปล่า ไม่ใช่ได้แฟนฝรั่งหรอก หรือไปทำงานแต่ประการใด แต่มีวิถีชีวิตแบบใหม่ “หลบๆ ลี้” เจ้าหนี้มหาโหด อยู่ในไทยแลนด์นี่แหละ
ช่างน่าสงสาร ดูเหมือนรัฐไม่ค่อยนำพาประชาชนเลย หรือประชาชนก็ไม่รู้จักนำพาตัวเอง
ความจริง รัฐก็นำพาอยู่ และประชาชนก็นำพาตัวเองเป็นเลิศ มิเช่นนั้น จะรอดพ้นมือตีนของนักทวงหนี้สุดโหดได้หรือ
แรกๆ ประชาชนก็ศรัทธารัฐบาล หากอยู่ไปไม่เวิร์ก วิกฤตศรัทธาก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ผู้มีสติย่อมวัดระดับจิตอยู่เป็นประจำ ว่าด้านไหนมันสูง ด้านไหนมันต่ำ ระหว่างรู้มืดกับรู้แจ้ง
สู่ทิศจิตรู้
จิตรู้มากมาย ย่อสั้นๆ สองอย่างคือ “รู้มืด” และ “รู้แจ้ง” รู้สองอย่างนี้แหละ จะนำพาชีวิตเราไปสู่ทิศใดก็ได้ ตามที่จิตรู้
จิตมืด จะนำเราไปสู่ที่มืด เช่น หากเราชอบอบายมุข เล่นการพนัน เราก็มักไปคบค้าสมาคมกับพวกนี้ เพราะเป็นพันธุ์เดียวกัน พูดง่ายๆ เข้าใจง่าย
คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น เป็นการพนันที่มีระดับ ไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดธรรม อบายมุข คือหนทางแห่งความฉิบหาย เราและรัฐส่งเสริมให้คนตกอบายได้อย่างไร?
จิตแจ้ง ก็จะนำเราไปสู่ที่แจ้ง เช่น เราชอบอ่านหนังสือธรรมะ ชอบปฏิบัติธรรม ชอบวัดใจตัวเอง เราก็มักไปทางนี้ แม้จะมีคนไปน้อย เราก็พอใจในสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ จิตไม่ฟูไม่แฟบเมื่อกระทบกับสมมติบัญญัติ
จิตมืดจิตแจ้ง ทำให้รู้มืดรู้แจ้ง เห็นมืดเห็นแจ้ง ทำมืดทำแจ้ง แล้วเกิดผลมืดผลแจ้ง นี่คือความจริงของสรรพสิ่ง ตามที่มันเป็น
“รู้มืดรู้แจ้ง
เส้นแบ่งแห่งจิต
นำพาชีวิต
สู่ทิศจิตรู้”
ความจริงแท้ของสรรพสิ่งคือ ไม่มีอะไร ที่มีอะไรต่างๆ มากมาย เพราะเราไปสมมติบัญญัติมันขึ้นมา แล้วก็พากันยึด-แบก-แชร์เพลงทุกขังๆๆ ให้กันและกันอย่างมัวเมา
ไม่อยากทุกข์ ก็หยุดสมมติบัญญัติ ก็จบเรื่อง หากจะมีบ้างตามโลกียะ ก็สักแต่ว่า และดูมันอย่างขบขันแบบผู้รู้ทัน เช่นนั้นเอง
เมษาปีนี้ สุดฮ้อนสุดฮ้อตเสียจริงๆ ไม่ว่าจะหลีกลี้หนีไปไหน ความร้อนก็ตามประชิดติดตัว ปานเงาติดตามตน พยายามจะหยุดความคิดปรุงแต่ง แต่อารมณ์ภายนอกก็มากเกินจน “สักแต่ว่า” ทานรับไม่ไหวก็เลยปล่อยให้มันลื่นไหลไปตามสบาย เรียบร้อยโรงเรียนอารมณ์ 6 รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
รู้มืดรู้แจ้ง
คำว่า “รู้” ตัวเดียวคำเดียว แม้จะมีความหมายธรรมดาๆ เช่น เข้าใจ ทราบ ตระหนัก เป็นต้น แต่ลึกๆ แล้วความหมายก็อยู่ในระดับสุดยอด อย่างเช่น... “พุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน”
“รู้ละ” หรือ “รู้แล้วละ” เป็นคำสอนของท่านผู้รู้ หรือครูบาอาจารย์ทั้งหลาย กว่าจะตระหนักรู้ ก็กินเวลามากบ้าง น้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับภูมิรู้ภูมิธรรมของแต่ละบุคคล
รู้มีสองด้าน คือรู้มืด และรู้แจ้ง
รู้มืด เห็นมืด ทำมืด ผลมืด
รู้แจ้ง เห็นแจ้ง ทำแจ้ง ผลแจ้ง
วิถีของบุคคลหรือสังคม หรือโลก ล้วนเดินไปตามทางรู้มืด และรู้แจ้งด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันเพียงว่า อย่างไหนมาก อย่างไหนน้อย
หากมองไม่เห็น ลองดูตัวอย่างประกอบสักเล็กน้อย...
1. ชายเสื้อกั๊ก มุกแป้ก อ่านขาด คสช. ปฏิรูปเหลว ส่อง 5 ปีก็แค่ฝัน!...(MGR Online : 07042559)
2. “ธีรยุทธ” ชี้คนจนแค่เบี้ยในกระดานพัฒนา...(ชวนคิดชวนคุย-นิวส์วัน : 07042559)
3. เปิดกลโกงจากปานามา เปเปอร์ส สวรรค์แก๊ง “ฟอกเงิน-เลี่ยงภาษี”...(แนวหน้า : 07042559)
เพียง 3 ตัวอย่าง ก็คงรู้คงเข้าใจ ว่าอะไรเป็นอะไร หากยังไม่ชัด ก็ดูเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่อ้างถึง
ใครรู้มืด ใครรู้แจ้ง โจทย์นี้ตอบได้ไม่ยากเลย!
และขอถามว่า...
1. อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี นานทีปีละครั้งสองครั้ง ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สังคมบ้านเมือง ต่อกรณีนี้ ใครรู้มืด ใครรู้แจ้ง?
2. กรณีปานามา เปเปอร์ส ที่คนระดับไฮโซ มีเงินมีอำนาจ ไปฟอกเงิน-เลี่ยงภาษี น่าอับอายขายหน้า ใครรู้มืด ใครรู้แจ้ง?
สองโจทย์ไม่ต้องตอบก็ได้ ผมถามตัวเอง และตอบตัวเองได้ หากคุณจะตอบตัวเองบ้าง ก็จะเป็นกุศล หรือเลื่อนระดับตอบสังคมด้วย ก็จะเป็นมหากุศล
แม้จะไม่มีคำตอบมาจากที่ใด แต่คำตอบก็มีอยู่แล้ว นั่นคือพฤติกรรมที่คุณทำแบบลับๆ ล่อๆ มืดๆ มัวๆ ความลับไม่มีในโลก ไม่ถูกเปิดเผยวันนี้ ก็วันต่อๆ ไป
พฤติกรรมที่คุณทำ ที่ผมทำ หรือสิ่งที่คุณเห็น ผมเห็น มันจะเหมือนกันก็ได้ หรือต่างกันก็ได้ เพราะความเห็นต่าง มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่ฉายแสงออกมาจากรากเหง้า อาจจะรากดีหรือรากเน่า ก็ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของแต่ละคน
ท่าน ฟ.ฮีแลร์ (F. Hilaire) หรือเจษฎาธิการฮีแลร์ เป็นปราชญ์แห่งอัสสัมชัญ ครูฝรั่งเศสผู้แตกฉานภาษาไทยเป็นอย่างมาก
ลองดูความสามารถด้านกวีของท่านสักหน่อย คือผลงานกาพย์ยานี 11 บทหนึ่งของท่านที่รู้จักกันแพร่หลาย นั่นคือ...
“สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย”
ซึ่งท่านแปลจากบทกวีของนักบวชชาวอังกฤษชื่อ Frederick Longbridge ที่ว่า... “Two Men Lookout Through the Same Bars ; One Sees mud, the Other Stars”
การอยากหรือบังคับให้คนคิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันฝืนธรรมชาติ
คนคิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน ก็ใช่ว่าจะถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง
คนคิดต่างกัน ทำต่างกัน ก็ใช่ว่าจะถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง
ความถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับมิติ ว่าจะเป็นมิติไหน
สมมติ...ถ้าเป็นประชาธิปไตย ความถูกต้องก็คือ รักษาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ส่วนความไม่ถูกต้อง ก็ตรงกันข้าม ถ้าเป็นเผด็จการ ความถูกต้อง ก็คือรักษาผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย เช่น ทรราช นายทุนสามานย์ผูกขาด ข้าราชการชั่ว นักการเมืองเลว ความไม่ถูกต้องของเผด็จการก็ตรงกันข้าม
รู้มืดรู้แจ้ง ยิ่งดูยิ่งเห็น คนประเภทปากกับใจไม่ตรงกัน เขาใจมืดซะแล้ว และน่าสงสารเขา วิบากกรรมตามทันเขา รวดเร็วปานจรวด!
เส้นแบ่งแห่งจิต
“รู้มืดรู้แจ้ง” คือ “เส้นแบ่งแห่งจิต” จิตของเรามีสองมิติหรือสองด้าน เหมือนสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน
ผมเรียกสองด้านของจิตว่า... “จิตเดิมแท้” กับ “จิตใหม่เทียม”
“จิตเดิมแท้คือรู้แจ้ง” และ “จิตใหม่เทียมคือรู้มืด”
จิตเดิมแท้เป็นวิสังขาร หรืออสังขตธรรม คือไม่ปรุงแต่ง
จิตใหม่เทียม เป็นสังขาร หรือสังขตธรรม คือปรุงแต่ง
จิตใหม่เทียมมาจากจิตเดิมแท้ หรือเกิดจากจิตเดิมแท้ แล้วในที่สุดก็กลับคืนสู่จิตเดิมแท้เปรียบเสมือน...ชีวิตคือการเดินทางออกจากบ้าน แล้วกลับบ้าน
บ้านแท้จริงคือจิตเดิมแท้ที่สว่างไสว และสงบเย็น มันมีอยู่แล้วกับเราทุกคน เพียงแต่เราไม่รู้จักมัน ไม่เห็นมัน ได้แต่ตามหามันไปทั่วโลกทั่วจักรวาล หาในสิ่งที่มีอยู่แล้วกับตัวเอง น่าขำไหม โง่หรือฉลาด
โลกมีหลายมิติ เอาที่เป็นหลักใหญ่ๆ สักสองมิติ คือ โลกียะกับโลกุตตระ
โลกียธรรม คือธรรมอันเป็นวิสัยของโลก โลกุตตรธรรม คือธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก
โลกียบุญ คือบุญที่เป็นวิสัยของโลก อันเป็นบุญที่สร้างขึ้น โดยกิเลสความยึดติด โลกุตตรบุญคือบุญที่พ้นวิสัยแห่งโลก
โลกียปัญญา คือปัญญาอันเป็นวิสัยแห่งโลก ดังเช่นความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ ความฉลาดที่เกิดจากกรรมพันธุ์ โลกุตตรปัญญา คือปัญญาที่พ้นวิสัยแห่งโลก ซึ่งเป็นปัญญาที่ปรากฏโดยธรรมญาณจิตเดิมแท้
โลกสองด้าน หรือสองมิติดังกล่าว คือ โลกียะ และโลกุตตระ
โลกียะ ก็คือ รู้มืด
โลกุตตระ ก็คือ รู้แจ้ง
ทั้งรู้มืดและรู้แจ้ง ก็คือจิตดวงเดียวกัน ด้านไหนชนะก็เป็นผู้ปกครอง ด้านไหนแพ้ก็เป็นผู้ถูกปกครอง
หากเปรียบเทียบความมากความน้อย โลกียะหรือรู้มืด จะมีมากเท่ากับขนควาย ส่วนโลกุตตระหรือรู้แจ้ง จะมีน้อยเท่ากับเขาควาย
โลกียะ หรือรู้มืด อันเป็นวิสัยของโลก จะมีสังขตธรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่งเป็นเครื่องอยู่ (ตรงกันข้ามกับโลกุตตระอันพ้นวิสัยโลก) และมีสมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมติ (ความจริงที่ขึ้นต่อการยอมรับของคน หรือความจริงที่ถือตามกำหนดหมายตกลงกันไว้ของชาวโลก) เป็นเครื่องดำเนินชีวิต
“นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ-พึงข่มคนที่ควรข่ม พึงชมคนที่ควรชม”
นั่นคือพุทธภาษิต ความหมายง่ายๆ “คนชั่วต้องตี-คนดีต้องยกย่อง” ซึ่งเป็นสมมติสัจจะที่ใช้กันทั่วโลก
ในโลกียะหรือรู้มืด ก็มีทั้งดีและชั่ว ชั่วต้องเลิกละ ดีต้องเจริญ เหมือนจะปลูกพืชผัก ต้องกำจัดวัชพืชเสียก่อนจึงจะถูกต้องสมบูรณ์ ได้กินผัก มิใช่ปลูกพืชผักทับวัชพืช สุดท้ายก็ไลฟ์บอย ไม่ได้กินผัก ไม่มีประโยชน์อันใด เหมือนกับจะเอาคนชั่วและคนดีมาสามัคคีกัน รักกันนะๆๆ มันจะเป็นไปได้อย่างไร มันอยู่คนละภพละภูมิ
“สมมติสัจจะ” เล่นบทภายนอก บทภายในก็ควรตระหนักรู้ นั่นคือ... “ปรมัตถสัจจะ” คือความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ ไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคน หรือความจริงตามความหมายขั้นสุดท้าย ที่ตรงต่อสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่น รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น
ตรงนี้ก็คือ โลกุตตระ หรือรู้แจ้ง นั่นเอง
รู้ว่าตนเองกำลังเล่นสมมติ มีชั่วและดี คนชั่วก็มักเล่นบทชั่ว คนดีก็มักเล่นบทดี คนชั่วก็มักหาทางขจัดคนดี และคนดีก็หาทางขจัดคนชั่ว เป็นเรื่องธรรมดาของโลกสมมติ
รู้มืดรู้แจ้ง เส้นแบ่งแห่งจิต จะเอาอะไรให้มากให้น้อย จะเอาอะไรให้ชนะให้แพ้ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล มีอำนาจมากก็แสดงบทบาทมาก มีอำนาจน้อยก็แสดงบทบาทน้อย เราผู้ไม่มีอำนาจ ก็แค่ยืนดูอยู่ข้างเวที เชียร์บ้าง ด่าบ้าง ก็ธรรมดาแค่นั่นเอง
นำพาชีวิต
สังคมที่ผู้นำผู้ปกครองรู้มืด ประชาชนส่วนใหญ่มักจะถูกลอยแพ ปล่อยทิ้งไปตามยถากรรม ไม่มีอนาคต อยู่ไปวันๆ จะมีอนาคตบ้างก็วันหวยออก ทั้งหวยบนดินหวยใต้ดิน ถูกเจ้ามือกินเรียบ นานๆ เข้าต้องไปต่างประเทศคือประเทศอิตาลี เปล่า ไม่ใช่ได้แฟนฝรั่งหรอก หรือไปทำงานแต่ประการใด แต่มีวิถีชีวิตแบบใหม่ “หลบๆ ลี้” เจ้าหนี้มหาโหด อยู่ในไทยแลนด์นี่แหละ
ช่างน่าสงสาร ดูเหมือนรัฐไม่ค่อยนำพาประชาชนเลย หรือประชาชนก็ไม่รู้จักนำพาตัวเอง
ความจริง รัฐก็นำพาอยู่ และประชาชนก็นำพาตัวเองเป็นเลิศ มิเช่นนั้น จะรอดพ้นมือตีนของนักทวงหนี้สุดโหดได้หรือ
แรกๆ ประชาชนก็ศรัทธารัฐบาล หากอยู่ไปไม่เวิร์ก วิกฤตศรัทธาก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ผู้มีสติย่อมวัดระดับจิตอยู่เป็นประจำ ว่าด้านไหนมันสูง ด้านไหนมันต่ำ ระหว่างรู้มืดกับรู้แจ้ง
สู่ทิศจิตรู้
จิตรู้มากมาย ย่อสั้นๆ สองอย่างคือ “รู้มืด” และ “รู้แจ้ง” รู้สองอย่างนี้แหละ จะนำพาชีวิตเราไปสู่ทิศใดก็ได้ ตามที่จิตรู้
จิตมืด จะนำเราไปสู่ที่มืด เช่น หากเราชอบอบายมุข เล่นการพนัน เราก็มักไปคบค้าสมาคมกับพวกนี้ เพราะเป็นพันธุ์เดียวกัน พูดง่ายๆ เข้าใจง่าย
คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น เป็นการพนันที่มีระดับ ไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดธรรม อบายมุข คือหนทางแห่งความฉิบหาย เราและรัฐส่งเสริมให้คนตกอบายได้อย่างไร?
จิตแจ้ง ก็จะนำเราไปสู่ที่แจ้ง เช่น เราชอบอ่านหนังสือธรรมะ ชอบปฏิบัติธรรม ชอบวัดใจตัวเอง เราก็มักไปทางนี้ แม้จะมีคนไปน้อย เราก็พอใจในสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ จิตไม่ฟูไม่แฟบเมื่อกระทบกับสมมติบัญญัติ
จิตมืดจิตแจ้ง ทำให้รู้มืดรู้แจ้ง เห็นมืดเห็นแจ้ง ทำมืดทำแจ้ง แล้วเกิดผลมืดผลแจ้ง นี่คือความจริงของสรรพสิ่ง ตามที่มันเป็น
“รู้มืดรู้แจ้ง
เส้นแบ่งแห่งจิต
นำพาชีวิต
สู่ทิศจิตรู้”
ความจริงแท้ของสรรพสิ่งคือ ไม่มีอะไร ที่มีอะไรต่างๆ มากมาย เพราะเราไปสมมติบัญญัติมันขึ้นมา แล้วก็พากันยึด-แบก-แชร์เพลงทุกขังๆๆ ให้กันและกันอย่างมัวเมา
ไม่อยากทุกข์ ก็หยุดสมมติบัญญัติ ก็จบเรื่อง หากจะมีบ้างตามโลกียะ ก็สักแต่ว่า และดูมันอย่างขบขันแบบผู้รู้ทัน เช่นนั้นเอง