**ดูท่าปม“เยียวยา”ตำรวจระดับ “นายพัน”ที่ได้รับการเยียวยาตามมติ อนุกรรมการข้าราชการตำรวจ(อนุ ก.ตร.) เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ชุดที่มี พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. (สมัยนั้น) เป็นประธานอนุกรรมการ ตามหนังสือคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มีความเห็นเอาไว้ ยังคงตามหลอน“บิ๊กแป๊ะ”พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา แม่ทัพใหญ่สีกากี ไม่จบไม่สิ้น
แม้จะมีคำสั่ง"หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ที่ 6/2559 เรื่องการคัดเลือก หรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ โดยเฉพาะ ข้อ 1. ให้บรรดาการคัดเลือก หรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความ สงบแห่งชาติ หรือ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องที่ได้ดำเนิน การตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย.57 จนถึงวันที่คำสั่งมีผลบังคับใช้ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
น่าจะทำให้ปัญหาต่างๆ หมดไป โดยเฉพาะการ “เยียวยา”ตำรวจที่ อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ มีมติให้เยียวยากว่า100 ราย เพราะต่างมองว่า เมื่อมีคำสั่ง คสช. ตีตราประทับทุกคำสั่งย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย.57 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ทุกอย่างก็น่าจะครอบคลุมถูกต้อง แม้แต่เรื่องการ"เยียวยา" ก็ไม่น่าจะมีข้อยกเว้น
แต่เมื่อคำสั่ง คสช.ดังกล่าว เขียนไว้ในภาพรวมกว้างๆ ไม่ได้จำเพาะเจาะจงรายละเอียดแต่ละเรื่องแต่ละราว ทำให้ต่างฝ่ายต่างก็ตีความเข้าข้างตัวเอง และการตีความเข้าข้างตัวเองก็ส่งผลให้เกิดความกังวลว่า หากจะดำเนินการสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อความผิดพลาด และเกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีกันในอนาคต
เช่นเดียวกับ “ก.ตร.”ต่างก็มีความกังวลต่อปัญหา“เยียวยา”ซึ่งหากไม่ดำเนินการตามที่มีมติเอาไว้ จะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหรือไม่ เพราะอนุ ก.ตร. เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ชุดที่ พล.ต.อ.เอก เป็นประธานอนุกรรมการ มีพล.ต.อ.เขตต์ นิ่มสมบูรณ์ และพล.ต.อ.เหมราช ธารีไทย เป็นรองประธาน อนุก.ตร. ร่วมกับอนุกรรมการ ทั้งพล.ต.อ.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พล.ต.อ.ศุภวุฒิ สังข์อ่อง พล.ต.ท.ธนู ชัยนุกูลศิลา พล.ต.ท.ประกาศ ศาตะมาน พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน และพล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เป็นคำสั่งแต่งตั้งจากหัวหน้า คสช. เช่นกัน
และมีมติให้เยียวยาตำรวจที่ร้องทุกข์กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม หรือ สน.ที่มีปริมาณงานและคุณภาพงานไม่ต่ำกว่าเดิม ในโอกาสแรกที่มีการแต่งตั้ง โดยทุกกองบัญชาการที่มีตำรวจที่ได้รับการเยียวยา ต้องรับไปดำเนินการแต่งตั้งทันที่ ตามมติของ อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ เพราะในคำสั่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ ลงนามดังกล่าว ได้ให้อำนาจหน้าที่ อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนก.ตร.ในเรื่องเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของข้าราชการตำรวจอย่างเด็ดขาด นั่นหมายถึงเมื่อ อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ชี้ให้เยียวยาก็เป็นอันจบขั้นตอน กองบัญชาการต่างๆ ต้องรับไปปฏิบัติ
ที่สำคัญ การยื่นเรื่องร้องทุกข์ของเหล่าตำรวจดังกล่าว ก็ไม่ได้ร้องเรื่องคำสั่งแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นคำสั่งไม่ถูกต้อง หรือขอให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง แต่เป็นการร้องทุกข์ว่า ได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรม จน อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ แต่งตั้งขึ้น มีการพิจารณารายละเอียดข้อมูลและมีมติให้ได้รับการ"เยียวยา"
ในการประชุม ก.ตร. ช่วงปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา จึงมอบหมายให้ พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร รอง ผบ.ตร. ในฐานะประธาน อนุ ก.ตร.กฎหมาย นำเรื่องที่ อนุ ก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ มีมติให้เยียวยาตำรวจนั้น คำสั่ง คสช.ที่ 6/2559 มีผลมาหักล้างได้หรือไม่
กระทั้งล่าสุดต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อนุ ก.ตร.กฎหมาย ที่มีพล.ต.อ.ชัยยง นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน ประชุมกรรมการร่วมกับ กองคดี กองอุทธรณ์ สำนักงานกฎหมายและสอบสวน ตัวแทนนักกฎหมาย ตัวแทนกฤษฎีกา เพื่อหารือประเด็นดังกล่าวได้ข้อสรุป มติ อนุ.ก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ที่มีมติให้เยียวยาตำรวจนั้น คำสั่ง คสช.ที่ 6/2559 ไม่มีผลมาลบล้างมติ
ว่ากันว่าผลการประชุมดังกล่าว อนุ ก.ตร. กฎหมายได้รายงานให้ ผบ.ตร. ทราบแล้ว ซึ่งน่าจะทำให้ ตำรวจที่ได้รับการเยียวยา น่าจะ เฮ!!!! กันดังๆ หลังมีกระแสข่าวในทำนองให้สิ้นหวัง ไร้กำลังใจมาตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนเสียงเฮ!!! ของเหล่า “นายพัน”ที่ได้รับการเยียวยา ซึ่งต่างมีความหวังจะได้รับการแต่งตั้งกลับคืนตำแหน่งเดิม หรือหน่วยงานเดิมตามติ อนุ ก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ในการแต่งตั้งตำรวจระดับ“นายพัน”ตำแหน่ง สารวัตร(สว.) - รองผู้บังคับการ(รองผบก.) ประจำปี 2558 ที่มีกำหนดดำเนินการแต่งตั้งตลอดช่วงเดือนเม.ย.นี้ และคำสั่งมีผลพร้อมกับในวันที่ 29 เม.ย.59 มีโอกาส เฮ...เก้อ สูง!!!
เพราะตามไทม์ไลน์การแต่งตั้งโยกย้ายระดับ “นายพัน”ที่มีการเคาะเอาไว้ วันจันทร์ที่ 11 เม.ย. ทาง บช. จะส่งรายชื่อผู้ที่ไม่ครบ 2 ปี และกรณีที่ต้องขอรับความเห็นชอบหรือขออนุมัติจาก ก.ตร. และวันจันทร์ที่ 18 เม.ย. ทาง บช.จะรับทราบผลกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 2 ปี วันอังคารที่ 26 เม.ย. จะรับทราบผลการพิจารณาจาก ก.ตร. และจัดทำคำสั่ง ถัดมาวันพุธที่ 27 เม.ย. ผบช.ก็มีคำสั่งแต่งตั้ง เพื่อให้มีผลบังคับใช้วันที่ 29 เม.ย. แล้ว
ไม่มีช่วงเวลาใดให้แทรกเรื่อง “เยียวยา”เข้าไปในระยะเวลาการจัดทำบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้เลย เพราะความเห็นของ อนุ ก.ตร.กฎหมาย ชุดพล.ต.อ.ชัยยง นอกจาก ผบ.ตร. จะต้องพิจารณาแล้ว ต้องให้ ก.ตร.รับทราบผลการพิจารณาด้วย เมื่อยังไม่มีการนำเรื่องเสนอที่ประชุม ก.ตร. ความเห็นดังกล่าวก็ยังไม่มีผลใด
ยกเว้น พล.ต.อ.จักรทิพย์ จะเร่งเปิดประชุม ก.ตร.วาระพิเศษ เพื่อเสนอความเห็นเรื่องการเยียวยาให้ ก.ตร.พิจารณา และแจ้งให้ บช.ทราบเพื่อนำรายชื่อตำรวจที่ได้รับมติเยียวยาไปดำเนินการแต่งตั้งโยกย้ายในบัญชีการแต่งตั้งของแต่ละกองบัญชาการ
แต่มีคำถามว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะรีบเร่งดำเนินการเช่นนั้นให้กับตำรวจกลุ่มนี้หรือไม่ ในเมื่อตลอดเวลาที่ผ่านมา ตำรวจที่ได้รับการเยียวยา เหมือนจะเป็นกลุ่มที่ถูกรังเกียจ ถูกกีดกัน ไม่ให้เข้ามาแบ่งโควตา แบ่งเก้าอี้ ในการแต่งตั้งตำรวจระดับ สว.-รองผบก.ประจำปี 2558 ครั้งนี้
** คงต้องจับตาและวัดใจ พล.ต.อ.จักรทิพย์ จะแสดงความเป็นผู้นำ ปกป้อง ดูแล ให้ความเป็นธรรม “ลูกน้อง” แค่ไหน หรือจะเป็นแค่ ผบ.เสียทรง เสียหลัก อย่างที่ถูกตั้งฉายา
แม้จะมีคำสั่ง"หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ที่ 6/2559 เรื่องการคัดเลือก หรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ โดยเฉพาะ ข้อ 1. ให้บรรดาการคัดเลือก หรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความ สงบแห่งชาติ หรือ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องที่ได้ดำเนิน การตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย.57 จนถึงวันที่คำสั่งมีผลบังคับใช้ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
น่าจะทำให้ปัญหาต่างๆ หมดไป โดยเฉพาะการ “เยียวยา”ตำรวจที่ อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ มีมติให้เยียวยากว่า100 ราย เพราะต่างมองว่า เมื่อมีคำสั่ง คสช. ตีตราประทับทุกคำสั่งย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย.57 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ทุกอย่างก็น่าจะครอบคลุมถูกต้อง แม้แต่เรื่องการ"เยียวยา" ก็ไม่น่าจะมีข้อยกเว้น
แต่เมื่อคำสั่ง คสช.ดังกล่าว เขียนไว้ในภาพรวมกว้างๆ ไม่ได้จำเพาะเจาะจงรายละเอียดแต่ละเรื่องแต่ละราว ทำให้ต่างฝ่ายต่างก็ตีความเข้าข้างตัวเอง และการตีความเข้าข้างตัวเองก็ส่งผลให้เกิดความกังวลว่า หากจะดำเนินการสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อความผิดพลาด และเกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีกันในอนาคต
เช่นเดียวกับ “ก.ตร.”ต่างก็มีความกังวลต่อปัญหา“เยียวยา”ซึ่งหากไม่ดำเนินการตามที่มีมติเอาไว้ จะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหรือไม่ เพราะอนุ ก.ตร. เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ชุดที่ พล.ต.อ.เอก เป็นประธานอนุกรรมการ มีพล.ต.อ.เขตต์ นิ่มสมบูรณ์ และพล.ต.อ.เหมราช ธารีไทย เป็นรองประธาน อนุก.ตร. ร่วมกับอนุกรรมการ ทั้งพล.ต.อ.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พล.ต.อ.ศุภวุฒิ สังข์อ่อง พล.ต.ท.ธนู ชัยนุกูลศิลา พล.ต.ท.ประกาศ ศาตะมาน พล.ต.ต.ปัญญา เอ่งฉ้วน และพล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เป็นคำสั่งแต่งตั้งจากหัวหน้า คสช. เช่นกัน
และมีมติให้เยียวยาตำรวจที่ร้องทุกข์กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม หรือ สน.ที่มีปริมาณงานและคุณภาพงานไม่ต่ำกว่าเดิม ในโอกาสแรกที่มีการแต่งตั้ง โดยทุกกองบัญชาการที่มีตำรวจที่ได้รับการเยียวยา ต้องรับไปดำเนินการแต่งตั้งทันที่ ตามมติของ อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ เพราะในคำสั่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ ลงนามดังกล่าว ได้ให้อำนาจหน้าที่ อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนก.ตร.ในเรื่องเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของข้าราชการตำรวจอย่างเด็ดขาด นั่นหมายถึงเมื่อ อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ชี้ให้เยียวยาก็เป็นอันจบขั้นตอน กองบัญชาการต่างๆ ต้องรับไปปฏิบัติ
ที่สำคัญ การยื่นเรื่องร้องทุกข์ของเหล่าตำรวจดังกล่าว ก็ไม่ได้ร้องเรื่องคำสั่งแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นคำสั่งไม่ถูกต้อง หรือขอให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง แต่เป็นการร้องทุกข์ว่า ได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรม จน อนุก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ แต่งตั้งขึ้น มีการพิจารณารายละเอียดข้อมูลและมีมติให้ได้รับการ"เยียวยา"
ในการประชุม ก.ตร. ช่วงปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา จึงมอบหมายให้ พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร รอง ผบ.ตร. ในฐานะประธาน อนุ ก.ตร.กฎหมาย นำเรื่องที่ อนุ ก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ มีมติให้เยียวยาตำรวจนั้น คำสั่ง คสช.ที่ 6/2559 มีผลมาหักล้างได้หรือไม่
กระทั้งล่าสุดต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อนุ ก.ตร.กฎหมาย ที่มีพล.ต.อ.ชัยยง นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน ประชุมกรรมการร่วมกับ กองคดี กองอุทธรณ์ สำนักงานกฎหมายและสอบสวน ตัวแทนนักกฎหมาย ตัวแทนกฤษฎีกา เพื่อหารือประเด็นดังกล่าวได้ข้อสรุป มติ อนุ.ก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ที่มีมติให้เยียวยาตำรวจนั้น คำสั่ง คสช.ที่ 6/2559 ไม่มีผลมาลบล้างมติ
ว่ากันว่าผลการประชุมดังกล่าว อนุ ก.ตร. กฎหมายได้รายงานให้ ผบ.ตร. ทราบแล้ว ซึ่งน่าจะทำให้ ตำรวจที่ได้รับการเยียวยา น่าจะ เฮ!!!! กันดังๆ หลังมีกระแสข่าวในทำนองให้สิ้นหวัง ไร้กำลังใจมาตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนเสียงเฮ!!! ของเหล่า “นายพัน”ที่ได้รับการเยียวยา ซึ่งต่างมีความหวังจะได้รับการแต่งตั้งกลับคืนตำแหน่งเดิม หรือหน่วยงานเดิมตามติ อนุ ก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ในการแต่งตั้งตำรวจระดับ“นายพัน”ตำแหน่ง สารวัตร(สว.) - รองผู้บังคับการ(รองผบก.) ประจำปี 2558 ที่มีกำหนดดำเนินการแต่งตั้งตลอดช่วงเดือนเม.ย.นี้ และคำสั่งมีผลพร้อมกับในวันที่ 29 เม.ย.59 มีโอกาส เฮ...เก้อ สูง!!!
เพราะตามไทม์ไลน์การแต่งตั้งโยกย้ายระดับ “นายพัน”ที่มีการเคาะเอาไว้ วันจันทร์ที่ 11 เม.ย. ทาง บช. จะส่งรายชื่อผู้ที่ไม่ครบ 2 ปี และกรณีที่ต้องขอรับความเห็นชอบหรือขออนุมัติจาก ก.ตร. และวันจันทร์ที่ 18 เม.ย. ทาง บช.จะรับทราบผลกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 2 ปี วันอังคารที่ 26 เม.ย. จะรับทราบผลการพิจารณาจาก ก.ตร. และจัดทำคำสั่ง ถัดมาวันพุธที่ 27 เม.ย. ผบช.ก็มีคำสั่งแต่งตั้ง เพื่อให้มีผลบังคับใช้วันที่ 29 เม.ย. แล้ว
ไม่มีช่วงเวลาใดให้แทรกเรื่อง “เยียวยา”เข้าไปในระยะเวลาการจัดทำบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้เลย เพราะความเห็นของ อนุ ก.ตร.กฎหมาย ชุดพล.ต.อ.ชัยยง นอกจาก ผบ.ตร. จะต้องพิจารณาแล้ว ต้องให้ ก.ตร.รับทราบผลการพิจารณาด้วย เมื่อยังไม่มีการนำเรื่องเสนอที่ประชุม ก.ตร. ความเห็นดังกล่าวก็ยังไม่มีผลใด
ยกเว้น พล.ต.อ.จักรทิพย์ จะเร่งเปิดประชุม ก.ตร.วาระพิเศษ เพื่อเสนอความเห็นเรื่องการเยียวยาให้ ก.ตร.พิจารณา และแจ้งให้ บช.ทราบเพื่อนำรายชื่อตำรวจที่ได้รับมติเยียวยาไปดำเนินการแต่งตั้งโยกย้ายในบัญชีการแต่งตั้งของแต่ละกองบัญชาการ
แต่มีคำถามว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะรีบเร่งดำเนินการเช่นนั้นให้กับตำรวจกลุ่มนี้หรือไม่ ในเมื่อตลอดเวลาที่ผ่านมา ตำรวจที่ได้รับการเยียวยา เหมือนจะเป็นกลุ่มที่ถูกรังเกียจ ถูกกีดกัน ไม่ให้เข้ามาแบ่งโควตา แบ่งเก้าอี้ ในการแต่งตั้งตำรวจระดับ สว.-รองผบก.ประจำปี 2558 ครั้งนี้
** คงต้องจับตาและวัดใจ พล.ต.อ.จักรทิพย์ จะแสดงความเป็นผู้นำ ปกป้อง ดูแล ให้ความเป็นธรรม “ลูกน้อง” แค่ไหน หรือจะเป็นแค่ ผบ.เสียทรง เสียหลัก อย่างที่ถูกตั้งฉายา