ริมฝั่งเจ้าพระยา
โดย...สุนันท์ ศรีจันทรา
หลายคนคงลืมไปแล้วว่า พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสีย 100 ล้านบาท ฐานทำให้เสียสิทธิในการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด การไม่ได้รับเงินเดือน การเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติยศ
ความทรงจำคดีพล.ต.ท.สุชาติถูกรื้อฟื้นขึ้นมา หลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง โดยมีคำวินิจฉัยที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสะท้อนถึงองค์กรตำรวจที่มีพฤติกรรมช่วยพวกพ้องอย่างน่าเกลียด
พล.ต.ท.สุชาติถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลว่า มีความผิดวินัยร้ายแรง ในคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
แต่พล.ต.ท.สุชาติก็เหมือนกับนายตำรวจใหญ่อีกหลายนายที่ต้องรับผิดชอบในคดีสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาฯ และการปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯในหลายพื้นที่ โดยแม้จะถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิดร้ายแรง ถูกให้ออกจากราชการ แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับกลับเข้ามาใหม่ ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งใหญ่โตขึ้น
พล.ต.อ.พัชวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. มีความผิดในคดีสลายการชุมนุม7ตุลาฯ ถูกปลดออกจากราชการ แต่ศาลปกครองกลางสั่งให้คืนตำแหน่ง และได้รับการยกโทษปลดออก
พล.ต.ต.มานิต วงศ์สมบูรณ์ หรือ”โอ๋ สืบ6”อดีตรองผู้บังคับการตำรวจนครบาล6 ซึ่งนำอันธพาลมาทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯที่ดักรอต่อต้านนายทักษิณ ชินวัตร บริเวณเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ถูกชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง ถูกให้ออก ต่อมาร้องศาลปกครองเชียงใหม่ และได้กลับรับราชการ
พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ ผู้บังคับการตำรวจจังหวัดอุดร ยืนดูคนเสื้อแดงรุมทำร้ายกลุ่มพันธมิตรที่หนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่24 กรกฎาคม 2551 ถูกชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง ต้องออกจากราชการ แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอนุมัติกลับเข้ารับราชการใหม่
ไม่มีตำรวจคนใดต้องรับโทษอย่างจริงจัง จากการสลายการชุมนุมและการทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯ แม้ ป.ปช.จะชี้มูลความผิดก็ตาม เพราะสำนักงานตำรวจแห่งชาติช่วยฟอกตัวตำรวจด้วยกันเองจนเกลี้ยงเกลา
ไม่เฉพาะความผิดเกี่ยวกับคดีสลายการชุมนุมฯ เท่านั้น ตำรวจที่กระทำความผิดร้ายแรงคดีอื่นๆ สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ช่วยพวกพ้องกลับเข้ามากินเงินเดือนภาษีของประชาชนตามเดิม
สำหรับคำตัดสินยกฟ้องการเรียกค่าชดเชยของพล.ต.ท.สุชาตินั้น ศาลปกครองกลางมีคำวินิจฉัยว่า การที่ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรง สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพียงใช้ดุลพินิจ ปลดออกหรือไล่ออกเท่านั้น จะไปวินิจฉัยว่าพล.ต.ท.สุชาติไม่ผิดไม่ได้
และการอุทธรณ์ ก็อุทธรณ์ได้เฉพาะดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาในคำสั่งลงโทษเท่านั้น ซึ่งโทษการปลดออก ถือเป็นเบาที่สุดแล้ว ไม่มีเหตุใดที่ต้องอุทธรณ์อีก
ดังนั้นมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.)ที่ว่า พล.ต.ท.สุชาติ ไม่ได้ทำผิดร้ายแรงตามที่ป.ป.ช.ชี้มูล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมติการยกโทษและให้พล.ต.ท.กลับเข้ารับราชการ จึงเหมือนไม่มีอยู่เลย ผู้บัญชาการการตำรวจแห่งชาติจึงไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร. ส่วนสิทธิประโยชน์ต่างที่พึงได้ พล.ต.ท.สุชาติก็รับไปหมดแล้ว
คำวินิจฉัยศาลปกครองคดีพล.ต.ท.สุชาติเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงพฤติกรรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในความพยายามเปลี่ยนผิดให้เป็นถูก เปลี่ยนดำให้เป็นขาว แลเป็นต้นตอที่ทำให้ตำรวจกระทำความผิด โดยไม่เกรงกลัวถูกลงโทษ เพราะเมื่อกระทำผิด นายจะช่วยลูกน้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะช่วยให้กลับรับราชการใหม่
คดี “แพรวา” ที่มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ ซึ่งการดำเนินคดีล่าช้า พลิกไปพลิกมา คดีเสี่ยรถเบนซ์ขับซิ่ง มีเหยื่อถูกสังเวยความบ้าระห่ำ 2 ศพ ตำรวจบกพร่องในหลายกรณี คดีทายาทกระทิงแดงที่ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต ซึ่งบางข้อหาถูกปล่อยให้หมดอายุความ ข้อหาเมาสุราขณะขับขี่ถูกตีตกไป ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของตำรวจอย่างหนัก
แต่สุดท้ายคงไม่มีตำรวจคนใดถูกลงโทษ หรือถ้าจะถูกลงโทษตามกระแสกดดันของสังคม แต่เมื่อเรื่องเงียบ ก็งุบงิบอนุมัติรับกลับเข้ารับราชการตามเดิม
การปล่อยตำรวจใช้ดุลยพินิจลงโทษผู้บังคับบัญชาที่กระทำความผิด กลายเป็นช่องว่างให้ตำรวจช่วยพวกพ้องตัวเอง ตำรวจที่ประพฤติชั่ว จึงไม่ถูกกำจัดพ้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดีแล้วที่ศาลปกครองไม่สั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชดใช้สิทธิประโยชน์ให้พล.ต.ท.สุชาติ เพราะถ้าต้องชดใช้ค่าเสียหาย คงเกิดคดีค่าโง่ขึ้นอีก และเป็นคดีค่าโง่ของตำรวจล้วน
ก.ตร.มีมติรับ พล.ต.ท.สุชาติกลับเข้ารับราชการ แต่ พล.ต.ท.สุชาติกลับฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรียกค่าชดเชย 100 ล้านบาท ถ้าต้องจ่าย สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้เป็นผู้จ่าย แต่จ่ายโดยเงินของภาษีประชาชน
คนที่ต้องรับกรรมคือประชาชน เพราะต้องแบกรับภาระค่าเสียหายให้ตำรวจที่ถูกชี้มูลว่า กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ จนมีประชาชนผู้บริสุทธิ์บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก
คดี 7 ตุลาฯ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนลุกฮือขั้นมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลหุ้นเชิด “ทักษิณ” โดยปราศจากอาวุธ แต่ถูกตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่ไม่เลี้ยง จน แขนขาขาดกระเด็น เสียชีวิตคาที่หลายราย ซึ่งประชาชนควรเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตำรวจที่รับผิดชอบ
แต่ตำรวจที่สั่งสลายการชุมนุม กลับเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย ถ้าต้องจ่ายชดเชย100ล้านบาท จะมีคดีค่าโง่ที่บัดซบ แงะทำให้สังคมเอือมระอาพฤติกรรมตำรวจอีก
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเละเกินเยียวยาแล้ว ต้องผ่าตัดด่วน ต้องปฏิรูปทันที และคงเหลือแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูปตำรวจ
โดย...สุนันท์ ศรีจันทรา
หลายคนคงลืมไปแล้วว่า พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสีย 100 ล้านบาท ฐานทำให้เสียสิทธิในการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด การไม่ได้รับเงินเดือน การเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติยศ
ความทรงจำคดีพล.ต.ท.สุชาติถูกรื้อฟื้นขึ้นมา หลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง โดยมีคำวินิจฉัยที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสะท้อนถึงองค์กรตำรวจที่มีพฤติกรรมช่วยพวกพ้องอย่างน่าเกลียด
พล.ต.ท.สุชาติถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลว่า มีความผิดวินัยร้ายแรง ในคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
แต่พล.ต.ท.สุชาติก็เหมือนกับนายตำรวจใหญ่อีกหลายนายที่ต้องรับผิดชอบในคดีสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาฯ และการปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯในหลายพื้นที่ โดยแม้จะถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิดร้ายแรง ถูกให้ออกจากราชการ แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับกลับเข้ามาใหม่ ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งใหญ่โตขึ้น
พล.ต.อ.พัชวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. มีความผิดในคดีสลายการชุมนุม7ตุลาฯ ถูกปลดออกจากราชการ แต่ศาลปกครองกลางสั่งให้คืนตำแหน่ง และได้รับการยกโทษปลดออก
พล.ต.ต.มานิต วงศ์สมบูรณ์ หรือ”โอ๋ สืบ6”อดีตรองผู้บังคับการตำรวจนครบาล6 ซึ่งนำอันธพาลมาทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯที่ดักรอต่อต้านนายทักษิณ ชินวัตร บริเวณเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ถูกชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง ถูกให้ออก ต่อมาร้องศาลปกครองเชียงใหม่ และได้กลับรับราชการ
พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ ผู้บังคับการตำรวจจังหวัดอุดร ยืนดูคนเสื้อแดงรุมทำร้ายกลุ่มพันธมิตรที่หนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่24 กรกฎาคม 2551 ถูกชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง ต้องออกจากราชการ แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอนุมัติกลับเข้ารับราชการใหม่
ไม่มีตำรวจคนใดต้องรับโทษอย่างจริงจัง จากการสลายการชุมนุมและการทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯ แม้ ป.ปช.จะชี้มูลความผิดก็ตาม เพราะสำนักงานตำรวจแห่งชาติช่วยฟอกตัวตำรวจด้วยกันเองจนเกลี้ยงเกลา
ไม่เฉพาะความผิดเกี่ยวกับคดีสลายการชุมนุมฯ เท่านั้น ตำรวจที่กระทำความผิดร้ายแรงคดีอื่นๆ สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ช่วยพวกพ้องกลับเข้ามากินเงินเดือนภาษีของประชาชนตามเดิม
สำหรับคำตัดสินยกฟ้องการเรียกค่าชดเชยของพล.ต.ท.สุชาตินั้น ศาลปกครองกลางมีคำวินิจฉัยว่า การที่ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรง สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพียงใช้ดุลพินิจ ปลดออกหรือไล่ออกเท่านั้น จะไปวินิจฉัยว่าพล.ต.ท.สุชาติไม่ผิดไม่ได้
และการอุทธรณ์ ก็อุทธรณ์ได้เฉพาะดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาในคำสั่งลงโทษเท่านั้น ซึ่งโทษการปลดออก ถือเป็นเบาที่สุดแล้ว ไม่มีเหตุใดที่ต้องอุทธรณ์อีก
ดังนั้นมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.)ที่ว่า พล.ต.ท.สุชาติ ไม่ได้ทำผิดร้ายแรงตามที่ป.ป.ช.ชี้มูล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมติการยกโทษและให้พล.ต.ท.กลับเข้ารับราชการ จึงเหมือนไม่มีอยู่เลย ผู้บัญชาการการตำรวจแห่งชาติจึงไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมติ ก.ตร. ส่วนสิทธิประโยชน์ต่างที่พึงได้ พล.ต.ท.สุชาติก็รับไปหมดแล้ว
คำวินิจฉัยศาลปกครองคดีพล.ต.ท.สุชาติเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงพฤติกรรมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในความพยายามเปลี่ยนผิดให้เป็นถูก เปลี่ยนดำให้เป็นขาว แลเป็นต้นตอที่ทำให้ตำรวจกระทำความผิด โดยไม่เกรงกลัวถูกลงโทษ เพราะเมื่อกระทำผิด นายจะช่วยลูกน้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะช่วยให้กลับรับราชการใหม่
คดี “แพรวา” ที่มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ ซึ่งการดำเนินคดีล่าช้า พลิกไปพลิกมา คดีเสี่ยรถเบนซ์ขับซิ่ง มีเหยื่อถูกสังเวยความบ้าระห่ำ 2 ศพ ตำรวจบกพร่องในหลายกรณี คดีทายาทกระทิงแดงที่ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต ซึ่งบางข้อหาถูกปล่อยให้หมดอายุความ ข้อหาเมาสุราขณะขับขี่ถูกตีตกไป ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของตำรวจอย่างหนัก
แต่สุดท้ายคงไม่มีตำรวจคนใดถูกลงโทษ หรือถ้าจะถูกลงโทษตามกระแสกดดันของสังคม แต่เมื่อเรื่องเงียบ ก็งุบงิบอนุมัติรับกลับเข้ารับราชการตามเดิม
การปล่อยตำรวจใช้ดุลยพินิจลงโทษผู้บังคับบัญชาที่กระทำความผิด กลายเป็นช่องว่างให้ตำรวจช่วยพวกพ้องตัวเอง ตำรวจที่ประพฤติชั่ว จึงไม่ถูกกำจัดพ้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดีแล้วที่ศาลปกครองไม่สั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชดใช้สิทธิประโยชน์ให้พล.ต.ท.สุชาติ เพราะถ้าต้องชดใช้ค่าเสียหาย คงเกิดคดีค่าโง่ขึ้นอีก และเป็นคดีค่าโง่ของตำรวจล้วน
ก.ตร.มีมติรับ พล.ต.ท.สุชาติกลับเข้ารับราชการ แต่ พล.ต.ท.สุชาติกลับฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรียกค่าชดเชย 100 ล้านบาท ถ้าต้องจ่าย สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้เป็นผู้จ่าย แต่จ่ายโดยเงินของภาษีประชาชน
คนที่ต้องรับกรรมคือประชาชน เพราะต้องแบกรับภาระค่าเสียหายให้ตำรวจที่ถูกชี้มูลว่า กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ จนมีประชาชนผู้บริสุทธิ์บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก
คดี 7 ตุลาฯ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนลุกฮือขั้นมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลหุ้นเชิด “ทักษิณ” โดยปราศจากอาวุธ แต่ถูกตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่ไม่เลี้ยง จน แขนขาขาดกระเด็น เสียชีวิตคาที่หลายราย ซึ่งประชาชนควรเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตำรวจที่รับผิดชอบ
แต่ตำรวจที่สั่งสลายการชุมนุม กลับเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย ถ้าต้องจ่ายชดเชย100ล้านบาท จะมีคดีค่าโง่ที่บัดซบ แงะทำให้สังคมเอือมระอาพฤติกรรมตำรวจอีก
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเละเกินเยียวยาแล้ว ต้องผ่าตัดด่วน ต้องปฏิรูปทันที และคงเหลือแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูปตำรวจ