กกพ.แจ้งข่าวดีค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft งวดใหม่ (พ.ค.-ส.ค.59) จะลดลงอีก รอบอร์ดเคาะตัวเลข ชี้ปัจจัยหลักทั้งค่าเงินบาท ราคาน้ำมัน การใช้ไฟ ดีกว่าที่เคยประเมินเอาไว้ทำให้ต้นทุนลดต่ำ วงในเผยมีโอกาสลุ้นลดได้มากกว่า 5 สตางค์ต่อหน่วย
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)และในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(Ft) ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟกับประชาชนงวดใหม่(พ.ค.-ส.ค.59)ล่าสุดจากการประเมินเบื้องต้นพบหลายปัจจัยมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวมลดต่ำลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้จึงทำให้ค่าไฟฟ้าจะลดลงอย่างแน่นอนแต่จะเป็นอัตราใดคงจะต้องรอให้มีการพิจารณาตัวเลขที่ชัดเจนจากบอร์ด กกพ.อีกครั้งหนึ่ง
"เดิมทีมีหลายปัจจัยที่ทำให้กกพ.เองก็กังวลว่าทิศทางค่าไฟจะไปในทิศทางขาขึ้นหรือไม่อย่างดีก็อาจทรงตัวแต่ปรากฏว่าสถานการณ์หลายอย่างดีขึ้นมากจึงทำให้ค่าไฟงวดใหม่จะลดลงแน่นอนแต่เท่าใดต้องรอดูอีกหน่อย" นายวีระพลกล่าว
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่า Ft งวดใหม่ลดลงมีดังนี้ 1. ความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่ชะลอตัวลงจากที่คาดการณ์ไว้ตามซึ่งสะท้อนจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือGDP ที่มีการปรับคาดการณ์โดยรวมที่ลดต่ำลง 2. อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นมาเคลื่อนไหวระหว่าง 35-36บาทต่อเหรียญสหรัฐจากเดิมที่อยู่ระดับ 37-38 บาทต่อเหรียญฯ 3. ราคาน้ำมันที่ภาพรวมยังคงทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่องซึ่งมีผลสะท้อนมายังราคาก๊าซธรรมชาติที่ลดลงต่อเนื่อง
4.ต้นทุนเงินอุดหนุนพลังงานทดแทนจะปรับเพิ่มขึ้นทั้งรูปของอัตราส่วนเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้า (ADDER) และการรับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in-Tariff (FIT) ที่เดิมคาดการณ์ว่าโครงการพลังงานทดแทนโดยเฉพาะการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยังไม่เข้าระบบเดิมหรือโซลาร์ค้างท่อจะมีการทยอยเข้ามามากในขณะนี้แต่ปรากฏว่าไม่สามารถจ่ายไฟเข้าระบบหรือ COD ได้ทันทำให้ต้นทุนส่วนนี้ที่คิดว่าจะสูงขึ้นมากก็ลดลง
" หากพิจารณาส่วนของ ADDER และ FiT ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีผลทำให้ต้นทุนค่าไฟสูงขึ้นถึง 18.6 สตางค์ต่อหน่วยโดยเฉพาะโครงการโซลาร์ค้างท่อที่มีการทยอยเข้าระบบกว่า 400เมกะวัตต์ซึ่งค่าไฟงวดก.ย.-ธ.ค.ยอมรับว่าต้นทุนส่วนนี้อาจจะมีส่วนสำคัญในการทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกแต่ กกพ.ก็มีนโยบายที่จะดูแลค่าไฟฟ้าเฉลี่ยทั้งปีไม่ให้ปรับขึ้น"นายวีระพลกล่าว
นายไกรสีห์ กรรณสูต กรรมการ กกพ.กล่าวว่า ค่าFt งวดใหม่นี้ลดลงแน่นอนและมีแนวโน้มจะลดลงมากหากเทียบกับงวดที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.59) ที่ลดลง 1.57 สตางค์ต่อหน่วย ( Ft อยู่ที่ลบ 4.80 สตางค์ต่อ หน่วยรวมค่าไฟฐาน อยู่ที่ 3.7076 บาทต่อหน่วย) แต่ตัวเลขที่ลดลงจะเป็นเท่าใดคงต้องรอการพิจารณาอีกครั้ง
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ภาพรวมค่า Ft ในงวดพ.ค.-ส.ค.59 คาดว่าจะมีการปรับลดลงมากกว่า5 สตางค์ต่อหน่วยแต่ทั้งนี้คงต้องอยู่ที่กกพ.จะพิจารณารายละเอียดในเรื่องของต้นทุนต่างๆ ที่จะนำมาคำนวณว่าที่สุดจะเป็นอัตราใดแน่ อย่างไรก็ตามระยะยาวสิ่งที่กังวลคือพลังงานทดแทนที่จะเข้าระบบมากขึ้นในปี 2559และในระยะยาวไม่ว่าจะเป็นโซลาร์บนหลังคาบ้าน โซลาร์ค้างท่อและอื่นๆ ที่จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตไฟที่สูงขึ้นและยังไม่สามารถเป็นพลังงานหลักในการผลิตได้ดังนั้นไทยยังจำเป็นต้องอาศัยเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือแม้แต่ถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด.
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)และในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(Ft) ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟกับประชาชนงวดใหม่(พ.ค.-ส.ค.59)ล่าสุดจากการประเมินเบื้องต้นพบหลายปัจจัยมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวมลดต่ำลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้จึงทำให้ค่าไฟฟ้าจะลดลงอย่างแน่นอนแต่จะเป็นอัตราใดคงจะต้องรอให้มีการพิจารณาตัวเลขที่ชัดเจนจากบอร์ด กกพ.อีกครั้งหนึ่ง
"เดิมทีมีหลายปัจจัยที่ทำให้กกพ.เองก็กังวลว่าทิศทางค่าไฟจะไปในทิศทางขาขึ้นหรือไม่อย่างดีก็อาจทรงตัวแต่ปรากฏว่าสถานการณ์หลายอย่างดีขึ้นมากจึงทำให้ค่าไฟงวดใหม่จะลดลงแน่นอนแต่เท่าใดต้องรอดูอีกหน่อย" นายวีระพลกล่าว
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่า Ft งวดใหม่ลดลงมีดังนี้ 1. ความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่ชะลอตัวลงจากที่คาดการณ์ไว้ตามซึ่งสะท้อนจากตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือGDP ที่มีการปรับคาดการณ์โดยรวมที่ลดต่ำลง 2. อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นมาเคลื่อนไหวระหว่าง 35-36บาทต่อเหรียญสหรัฐจากเดิมที่อยู่ระดับ 37-38 บาทต่อเหรียญฯ 3. ราคาน้ำมันที่ภาพรวมยังคงทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่องซึ่งมีผลสะท้อนมายังราคาก๊าซธรรมชาติที่ลดลงต่อเนื่อง
4.ต้นทุนเงินอุดหนุนพลังงานทดแทนจะปรับเพิ่มขึ้นทั้งรูปของอัตราส่วนเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้า (ADDER) และการรับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in-Tariff (FIT) ที่เดิมคาดการณ์ว่าโครงการพลังงานทดแทนโดยเฉพาะการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยังไม่เข้าระบบเดิมหรือโซลาร์ค้างท่อจะมีการทยอยเข้ามามากในขณะนี้แต่ปรากฏว่าไม่สามารถจ่ายไฟเข้าระบบหรือ COD ได้ทันทำให้ต้นทุนส่วนนี้ที่คิดว่าจะสูงขึ้นมากก็ลดลง
" หากพิจารณาส่วนของ ADDER และ FiT ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีผลทำให้ต้นทุนค่าไฟสูงขึ้นถึง 18.6 สตางค์ต่อหน่วยโดยเฉพาะโครงการโซลาร์ค้างท่อที่มีการทยอยเข้าระบบกว่า 400เมกะวัตต์ซึ่งค่าไฟงวดก.ย.-ธ.ค.ยอมรับว่าต้นทุนส่วนนี้อาจจะมีส่วนสำคัญในการทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกแต่ กกพ.ก็มีนโยบายที่จะดูแลค่าไฟฟ้าเฉลี่ยทั้งปีไม่ให้ปรับขึ้น"นายวีระพลกล่าว
นายไกรสีห์ กรรณสูต กรรมการ กกพ.กล่าวว่า ค่าFt งวดใหม่นี้ลดลงแน่นอนและมีแนวโน้มจะลดลงมากหากเทียบกับงวดที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.59) ที่ลดลง 1.57 สตางค์ต่อหน่วย ( Ft อยู่ที่ลบ 4.80 สตางค์ต่อ หน่วยรวมค่าไฟฐาน อยู่ที่ 3.7076 บาทต่อหน่วย) แต่ตัวเลขที่ลดลงจะเป็นเท่าใดคงต้องรอการพิจารณาอีกครั้ง
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ภาพรวมค่า Ft ในงวดพ.ค.-ส.ค.59 คาดว่าจะมีการปรับลดลงมากกว่า5 สตางค์ต่อหน่วยแต่ทั้งนี้คงต้องอยู่ที่กกพ.จะพิจารณารายละเอียดในเรื่องของต้นทุนต่างๆ ที่จะนำมาคำนวณว่าที่สุดจะเป็นอัตราใดแน่ อย่างไรก็ตามระยะยาวสิ่งที่กังวลคือพลังงานทดแทนที่จะเข้าระบบมากขึ้นในปี 2559และในระยะยาวไม่ว่าจะเป็นโซลาร์บนหลังคาบ้าน โซลาร์ค้างท่อและอื่นๆ ที่จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตไฟที่สูงขึ้นและยังไม่สามารถเป็นพลังงานหลักในการผลิตได้ดังนั้นไทยยังจำเป็นต้องอาศัยเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือแม้แต่ถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด.