นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมาการร่างรัฐธรรมนูญ( กรธ.) กล่าวว่า ได้พูดคุยหารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ถึงการปรับแก้ในส่วนที่เป็นข้อเสนอของแม่น้ำ 4 สายแล้ว นายวิษณุไม่ได้ว่าอะไร ส่วนนายกฯเห็นด้วยหรือไม่ยังไม่รู้เพราะติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศอยู่ ก็หวังว่าจะไม่ต้องกลับมาปรับแก้อีก
นายมีชัยกล่าวว่า กรธ. แก้ให้ตามเหตุผลที่เข้าใจได้ คือในส่วนของ ส.ว. ก็เข้าใจว่าอยากจะทำให้การปฏิรูปสำเร็จ เพราะการปฏิรูปบางเรื่องใช้ระยะเวลายาว ทางรัฐบาลก็เกรงว่าไม่มีการสานต่อ เราก็เข้าใจ แต่กรธ. ก็ขอว่าได้ทดสอบระบบของเราเองส่วนหนึ่ง 50 คน แบบสมัครแล้วเลือกกันเอง จะได้เป็นการทดสอบในตัวด้วยว่าใช้ได้หรือไม่ ยังไง โดยอำนาจของส.ว. ไม่ได้มีอะไรมากกว่าปกติ นอกจากส่วนของกฎหมายปฏิรูป แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจเด็ดขาด เพียงแค่ว่าความเห็นของสภาผู้แทนกับวุฒิสภา ไม่ตรงกันเราก็ขอให้ประชุมร่วมกัน ซึ่งเสียงของสภาผู้แทนฯ ที่มีมากกว่าจะเป็นผู้ยืนยัน
ต่อข้อถามถึงการเปิดให้ ผบ.เหล่าทัพเข้ามาเป็น ส.ว.ได้ ยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์นั้น ประธาน กรธ. กล่าวว่ากรธ.เห็นว่าเมื่อขอให้มีคนที่มาโดยตำแหน่ง 6 คน ก็ไปเขียนให้คนที่เป็นข้าราชการประจำและเป็นโดยตำแหน่งนั้น เป็นได้ไม่เกิน 2.5 เปอร์เซนต์ของจำนวน ส.ว. ทั้งหมด ขึ้นกับคณะกรรมการสรรหาเห็นสมควรตั้งตำแหน่งไหน ซึ่งหากเกษียณไปเปลี่ยนคนมาอยู่ในตำแหน่งนั้น ก็ให้มาเป็น ส.ว. แทน
นายมีชัย กล่าวด้วยว่าเมื่อบทเฉพาะกาลปรับให้ ส.ว. มาจากการสรรหา ก็อาจจะต้องไปแก้เงื่อนไขที่กำหนดให้ คสช. ครม. สนช. และสปท. หากต้องการเป็น ส.ว. จะต้องลาออกภายใน 90 วัน หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากเดิมให้ไปสมัครเองเจ้าตัวจะรู้ว่าจะลงสมัครหรือไม่ก็สามารถลาออกได้ แต่พอเป็นการสรรหา เจ้าตัวไม่อาจรู้ล่วงหน้า จึงไม่สามารถลาออกก่อน
ส่วนกรณีที่ กรธ. ไม่เห็นด้วยกับการให้อำนาจ ส.ว. ในการอภิปรายไม่ไว้วางในรัฐบาลนั้น เห็นว่า เมื่อส.ว.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งนายกฯ แต่ต้น ก็ไม่ต้องการให้ส.ว.เกี่ยวข้องกับการถูกขับออก
ประธาน กรธ. ยังชี้แจงกรณีเลือกตั้ง ส.ส. แบบ MMP ที่ กรธ. ไม่ปรับตามคำขอของแม่น้ำ 4 สายว่า เพราะเรามาไกลแล้ว ได้ชี้แจงอธิบายรูปแบบการเลือกตั้งใหม่ไปจนเป็นที่เข้าใจ และประชาชนเห็นดีแล้ว หากเว้น 5 ปี แล้วค่อยไปเริ่มต้นใหม่อาจจะสับสน จึงไม่ขอปรับแก้
นายมีชัย ยังอธิบายถึงกรณีการปรับแนวทางการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ว่า สิ่งที่แม่น้ำ 4 สายทักมาก็มีเหตุผล เพราะหากผู้ถูกเสนอรายชื่อมีอันเป็นไปก่อนจะทำอย่างไร เพราะมันเป็นระบบใหม่ในช่วงแรกอาจจะเกิดปัญหาได้ เราก็หาทางออกให้ว่า สามารถยกเว้นไม่เอาจากบัญชีรายชื่อ ซึ่งเหมือนการแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งต้องมีเสียงเห็นชอบของรัฐสภาด้วย จึงกำหนดให้ต้องให้ ส.ว. ร่วมรับรองด้วย ให้ได้ 2 ใน3 ของรัฐสภา แต่ถึงเวลาเลือกนายกฯก็ยังต้องไปเลือกกันเองในสภาผู้แทนฯ โดย ส.ว. ไม่ได้เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม หากเปิดทางให้เอารายชื่อนายกฯ นอกบัญชี แล้วยังเลือกกันไม่ได้ ถึงจุด ๆหนึ่งก็ต้องยุบสภาไปเลือกตั้งกันใหม่
**บีกป้อม”ยันคิดดีแล้วเรื่องส.ว.สรรหา
ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงประเด็นที่มาของ ส.ว.สรรหา ว่าตนได้พูดไปแล้วว่า อยากให้ส.ว.สรรหา เข้าไปดำเนินการในเรื่องของปฏิรูปประเทศ 5 ปี ซึ่งมีมากมาย และมองว่าเวลาแค่ 5 ปี ก็ไม่เสร็จ เพราะต้องใช้เวลาอีกนานตามยุทธศาสตร์20 ปี ที่รัฐบาลได้วางไว้
"ผมไม่ได้ว่าอะไร แต่ในช่วง 5 ปี เปลี่ยนผ่านนี้ คสช.และครม. มีความเห็นว่าน่าจะมีกลไกที่จะมาแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ถ้าสมมติว่าหากไม่เดินตามการปฏิรูป เราจะมีกลไกอะไร จึงคิดว่าน่าจะมีกลไก ส.ว.ที่จะเข้ามา เช่น 6 ตำแหน่ง ที่เป็นข้าราชการประจำ ที่เป็น ผบ.เหล่าทัพ ซึ่งผมก็ขอแค่นี้ ไม่ต้องการคนอื่นเข้าไปหรอก แต่ถามว่า ทำไมเราต้องการ 6 ตำแหน่งนี้ ก็เพื่อไปพูดคุย และแนะนำชี้แจง พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ให้อยู่ได้ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้น จะได้มีการพูดคุยกัน ทั้ง ส.ว.และ ส.ส. ผมคิดแค่นี้ และได้ชี้แจงไปใน ครม.และ คสช.แล้ว " พล.อ.ประวิตร กล่าว
สำหรับคณะกรรมการคัดสรร ที่จะตั้งขึ้นมานั้น ต้องพิจารณาจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ได้คิดจะเอาเฉพาะข้าราชการประจำมา เพื่อเข้ามาปฏิรูปประเทศ เช่น การปฏิรูปตำรวจ ในเรื่องการบริหาร การบริการ สวัสดิการ รวมถึงการใช้กฎหมาย
"ผมไม่ได้ขัดแย้งกับ กรธ. อะไรที่ คสช. และรัฐบาลคิด และส่งไปให้ กรธ. ได้คิดแล้วว่าเป็นประโยชน์ใน 5 ปี เราไม่ได้ไปแตะ รธน. และมันไม่เกี่ยวกับการพบกันครึ่งทาง หรือไม่ครึ่งทาง แต่เราคิดทั้งหมดว่าในอนาคต 5 ปี ไม่ใช่การต่อรอง หรือแบ่ง ไม่เกี่ยว เรื่องของบ้านเมืองไม่ใช่มาต่อรองอะไรกัน แต่ดูว่าอะไรเหมาะสม ที่ทำให้บ้านเมืองเจริญ สงบต่อไปในอนาคต ทำให้เห็นชัดเจน ผมยืนยัน ข้อเสนอ ส.ว.สรรหา ไม่เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เพราะ ส.ว.สรรหา มาทำงานด้านการปฏิรูปเพียงแค่ 5 ปี เพื่อให้เต็มใบในอนาคต ไม่ใช่ครึ่งใบ แต่เต็มในเรื่องการปฏิรูป เพื่อการเปลี่ยนผ่าน " พล.อ.ประวิตร กล่าว
** “วิษณุ”พอใจบทสรุปของกรธ.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อสรุปของกรธ.ในเรื่องส.ว.สรรหา ว่า ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ตนยังไม่เห็นรายละเอียดทั้งหมด ซึ่งในวันที่ 29 มี.ค.ที่ร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายเสร็จ คงจะได้เห็น ส่วนที่กรธ.รับเพียงข้อเสนอเดียวนั้น ต้องถาม คสช.ว่า พอใจหรือไม่ แต่ส่วนตัวมองว่า กรธ.มีข้อจำกัดของตัวเองอยู่
"การที่ร่างออกมาแบบนี้ ก็อยู่ในเกณฑ์ที่น่าจะพอใจ และรับได้ ถือว่าใกล้เคียงสิ่งที่คสช.ได้เสนอไป กรธ.พยายามทำดีที่สุด โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามที่คสช.ได้บอกไป แต่ยังคงรักษาจุดยืนในสิ่งที่เขาคิดขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว การให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรี 3 รายชื่อ รวมถึงวิธีสรรหา ส.ว.แบบไขว้ ซึ่งมองว่าที่กรธ.บัญญัติวิธีได้มาซึ่ง ส.ว.สองรูปแบบนั้น เป็นการพบกันแบบครึ่งทาง เขากันบางส่วนเพื่อทดลองใช้วิธีที่คิดขึ้นมาใหม่ ตามที่ได้เดินสายอธิบายกับประชาชน ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่างให้การยอมรับ และเป็นสะพานให้โยงไปสู่บทถาวรของรัฐธรรมนูญ"นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า ดูแล้วร่างรัฐธรรมนูญ จะผ่านประชามติหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าน่าจะผ่าน เพราะประชาชนเห็นว่า ถึงเวลาแล้วสถานการณ์เรียบร้อยจึงควรจัดให้มีการเลือกตั้ง และคสช. ยืนยันมาตลอดว่า จะมีการเลือกตั้ง ปี 2560 ทุกอย่างชัดเจนแบบนี้แล้ว ก็คงมีคนจำนวนหนึ่งบอกว่า เลือกดีกว่าไม่ได้เลือก ส่วนจะทำอย่างไร ก็ให้ผ่านประชามติแล้วว่ากันต่อไป แต่หากเกิดสถานการณ์อะไรขึ้นตามมา ก็จะได้รู้ว่า สิ่งที่คิดไว้แก้ปัญหาได้
เมื่อถามอีกว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ยังคงยืนยันหรือไม่ว่า จะมีการเลือกตั้งภายในปี 2560นายวิษณุ กล่าวว่า หัวหน้า คสช. ประกาศเช่นนั้น ตนไม่ทราบว่าท่านจะทำอย่างไร แต่ถ้าไม่แน่ใจ ท่านคงไม่ประกาศเช่นนั้น
** “พรเพชร”ชี้กรธ.ยังไม่ตอบโจทย์แม่น้ำ 4 สาย
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกรณี กรธ. ปรับแก้ไขข้อเสนอของแม่น้ำ 4 สายบางส่วน ว่า บางข้อเสนอที่ กรธ.พิจารณาให้ เป็นไปที่ตามข้อเสนอของแม่น้ำ4สาย นับเป็นสัญญาณที่ถูกต้อง เพราะการทำงานของ กรธ. ต้องสอดคล้องกับการทำงานของ คสช. สนช. และ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) แต่ในประเด็นที่มาของ ส.ว. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอที่กำหนดให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็น ส.ว โดยตำแหน่ง ถือเป็นความหวังดีที่ต้องการให้ประเทศหน้าเดินต่อไปโดยไม่สะดุด แต่ กรธ.กลับไม่กำหนดในเรื่องนี้ลงไปในบทเฉพาะกาล จึงอาจเป็นปัญหา และยังไม่สามารถตอบโจทย์กับแม่น้ำ 4 สายได้ ตนจึงเห็นว่ากรธ.ต้องทบทวนอีกครั้ง เพราะมีความจำเป็น
สำหรับในส่วนของบัตรเลือกตั้ง ที่ กรธ.ยังคงเดิมให้ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว และเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี 3 ชื่อ ก็ควรทบทวนอีกครั้ง เพราะมองว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในไทย อาจสร้างความสับสนให้กับประชาชน
ส่วนกรณีที่ ส.ว. ไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯได้ แต่สามารถเข้าร่วมกับ ส.ส.ในพิจารณาเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้นั้น เป็นเรื่องเดิม ไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อกรธ.ไม่ทบทวน คงต้องมีการหารือกันในแม่น้ำ 4 สายอีกครั้ง
นายพรเพชร ยังกล่าวถึงการตั้งคำถามพ่วงประชามติของ สนช. ว่า จะต้องรอให้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก่อน ซึ่งคาดว่า สนช.จะมีการประชุมเพื่อสรุปเกี่ยวคำถามในวันที่ 7เม.ย. นี้.
นายมีชัยกล่าวว่า กรธ. แก้ให้ตามเหตุผลที่เข้าใจได้ คือในส่วนของ ส.ว. ก็เข้าใจว่าอยากจะทำให้การปฏิรูปสำเร็จ เพราะการปฏิรูปบางเรื่องใช้ระยะเวลายาว ทางรัฐบาลก็เกรงว่าไม่มีการสานต่อ เราก็เข้าใจ แต่กรธ. ก็ขอว่าได้ทดสอบระบบของเราเองส่วนหนึ่ง 50 คน แบบสมัครแล้วเลือกกันเอง จะได้เป็นการทดสอบในตัวด้วยว่าใช้ได้หรือไม่ ยังไง โดยอำนาจของส.ว. ไม่ได้มีอะไรมากกว่าปกติ นอกจากส่วนของกฎหมายปฏิรูป แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจเด็ดขาด เพียงแค่ว่าความเห็นของสภาผู้แทนกับวุฒิสภา ไม่ตรงกันเราก็ขอให้ประชุมร่วมกัน ซึ่งเสียงของสภาผู้แทนฯ ที่มีมากกว่าจะเป็นผู้ยืนยัน
ต่อข้อถามถึงการเปิดให้ ผบ.เหล่าทัพเข้ามาเป็น ส.ว.ได้ ยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์นั้น ประธาน กรธ. กล่าวว่ากรธ.เห็นว่าเมื่อขอให้มีคนที่มาโดยตำแหน่ง 6 คน ก็ไปเขียนให้คนที่เป็นข้าราชการประจำและเป็นโดยตำแหน่งนั้น เป็นได้ไม่เกิน 2.5 เปอร์เซนต์ของจำนวน ส.ว. ทั้งหมด ขึ้นกับคณะกรรมการสรรหาเห็นสมควรตั้งตำแหน่งไหน ซึ่งหากเกษียณไปเปลี่ยนคนมาอยู่ในตำแหน่งนั้น ก็ให้มาเป็น ส.ว. แทน
นายมีชัย กล่าวด้วยว่าเมื่อบทเฉพาะกาลปรับให้ ส.ว. มาจากการสรรหา ก็อาจจะต้องไปแก้เงื่อนไขที่กำหนดให้ คสช. ครม. สนช. และสปท. หากต้องการเป็น ส.ว. จะต้องลาออกภายใน 90 วัน หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากเดิมให้ไปสมัครเองเจ้าตัวจะรู้ว่าจะลงสมัครหรือไม่ก็สามารถลาออกได้ แต่พอเป็นการสรรหา เจ้าตัวไม่อาจรู้ล่วงหน้า จึงไม่สามารถลาออกก่อน
ส่วนกรณีที่ กรธ. ไม่เห็นด้วยกับการให้อำนาจ ส.ว. ในการอภิปรายไม่ไว้วางในรัฐบาลนั้น เห็นว่า เมื่อส.ว.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งนายกฯ แต่ต้น ก็ไม่ต้องการให้ส.ว.เกี่ยวข้องกับการถูกขับออก
ประธาน กรธ. ยังชี้แจงกรณีเลือกตั้ง ส.ส. แบบ MMP ที่ กรธ. ไม่ปรับตามคำขอของแม่น้ำ 4 สายว่า เพราะเรามาไกลแล้ว ได้ชี้แจงอธิบายรูปแบบการเลือกตั้งใหม่ไปจนเป็นที่เข้าใจ และประชาชนเห็นดีแล้ว หากเว้น 5 ปี แล้วค่อยไปเริ่มต้นใหม่อาจจะสับสน จึงไม่ขอปรับแก้
นายมีชัย ยังอธิบายถึงกรณีการปรับแนวทางการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ว่า สิ่งที่แม่น้ำ 4 สายทักมาก็มีเหตุผล เพราะหากผู้ถูกเสนอรายชื่อมีอันเป็นไปก่อนจะทำอย่างไร เพราะมันเป็นระบบใหม่ในช่วงแรกอาจจะเกิดปัญหาได้ เราก็หาทางออกให้ว่า สามารถยกเว้นไม่เอาจากบัญชีรายชื่อ ซึ่งเหมือนการแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งต้องมีเสียงเห็นชอบของรัฐสภาด้วย จึงกำหนดให้ต้องให้ ส.ว. ร่วมรับรองด้วย ให้ได้ 2 ใน3 ของรัฐสภา แต่ถึงเวลาเลือกนายกฯก็ยังต้องไปเลือกกันเองในสภาผู้แทนฯ โดย ส.ว. ไม่ได้เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม หากเปิดทางให้เอารายชื่อนายกฯ นอกบัญชี แล้วยังเลือกกันไม่ได้ ถึงจุด ๆหนึ่งก็ต้องยุบสภาไปเลือกตั้งกันใหม่
**บีกป้อม”ยันคิดดีแล้วเรื่องส.ว.สรรหา
ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงประเด็นที่มาของ ส.ว.สรรหา ว่าตนได้พูดไปแล้วว่า อยากให้ส.ว.สรรหา เข้าไปดำเนินการในเรื่องของปฏิรูปประเทศ 5 ปี ซึ่งมีมากมาย และมองว่าเวลาแค่ 5 ปี ก็ไม่เสร็จ เพราะต้องใช้เวลาอีกนานตามยุทธศาสตร์20 ปี ที่รัฐบาลได้วางไว้
"ผมไม่ได้ว่าอะไร แต่ในช่วง 5 ปี เปลี่ยนผ่านนี้ คสช.และครม. มีความเห็นว่าน่าจะมีกลไกที่จะมาแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ถ้าสมมติว่าหากไม่เดินตามการปฏิรูป เราจะมีกลไกอะไร จึงคิดว่าน่าจะมีกลไก ส.ว.ที่จะเข้ามา เช่น 6 ตำแหน่ง ที่เป็นข้าราชการประจำ ที่เป็น ผบ.เหล่าทัพ ซึ่งผมก็ขอแค่นี้ ไม่ต้องการคนอื่นเข้าไปหรอก แต่ถามว่า ทำไมเราต้องการ 6 ตำแหน่งนี้ ก็เพื่อไปพูดคุย และแนะนำชี้แจง พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ให้อยู่ได้ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้น จะได้มีการพูดคุยกัน ทั้ง ส.ว.และ ส.ส. ผมคิดแค่นี้ และได้ชี้แจงไปใน ครม.และ คสช.แล้ว " พล.อ.ประวิตร กล่าว
สำหรับคณะกรรมการคัดสรร ที่จะตั้งขึ้นมานั้น ต้องพิจารณาจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ได้คิดจะเอาเฉพาะข้าราชการประจำมา เพื่อเข้ามาปฏิรูปประเทศ เช่น การปฏิรูปตำรวจ ในเรื่องการบริหาร การบริการ สวัสดิการ รวมถึงการใช้กฎหมาย
"ผมไม่ได้ขัดแย้งกับ กรธ. อะไรที่ คสช. และรัฐบาลคิด และส่งไปให้ กรธ. ได้คิดแล้วว่าเป็นประโยชน์ใน 5 ปี เราไม่ได้ไปแตะ รธน. และมันไม่เกี่ยวกับการพบกันครึ่งทาง หรือไม่ครึ่งทาง แต่เราคิดทั้งหมดว่าในอนาคต 5 ปี ไม่ใช่การต่อรอง หรือแบ่ง ไม่เกี่ยว เรื่องของบ้านเมืองไม่ใช่มาต่อรองอะไรกัน แต่ดูว่าอะไรเหมาะสม ที่ทำให้บ้านเมืองเจริญ สงบต่อไปในอนาคต ทำให้เห็นชัดเจน ผมยืนยัน ข้อเสนอ ส.ว.สรรหา ไม่เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เพราะ ส.ว.สรรหา มาทำงานด้านการปฏิรูปเพียงแค่ 5 ปี เพื่อให้เต็มใบในอนาคต ไม่ใช่ครึ่งใบ แต่เต็มในเรื่องการปฏิรูป เพื่อการเปลี่ยนผ่าน " พล.อ.ประวิตร กล่าว
** “วิษณุ”พอใจบทสรุปของกรธ.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อสรุปของกรธ.ในเรื่องส.ว.สรรหา ว่า ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ตนยังไม่เห็นรายละเอียดทั้งหมด ซึ่งในวันที่ 29 มี.ค.ที่ร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายเสร็จ คงจะได้เห็น ส่วนที่กรธ.รับเพียงข้อเสนอเดียวนั้น ต้องถาม คสช.ว่า พอใจหรือไม่ แต่ส่วนตัวมองว่า กรธ.มีข้อจำกัดของตัวเองอยู่
"การที่ร่างออกมาแบบนี้ ก็อยู่ในเกณฑ์ที่น่าจะพอใจ และรับได้ ถือว่าใกล้เคียงสิ่งที่คสช.ได้เสนอไป กรธ.พยายามทำดีที่สุด โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามที่คสช.ได้บอกไป แต่ยังคงรักษาจุดยืนในสิ่งที่เขาคิดขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว การให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรี 3 รายชื่อ รวมถึงวิธีสรรหา ส.ว.แบบไขว้ ซึ่งมองว่าที่กรธ.บัญญัติวิธีได้มาซึ่ง ส.ว.สองรูปแบบนั้น เป็นการพบกันแบบครึ่งทาง เขากันบางส่วนเพื่อทดลองใช้วิธีที่คิดขึ้นมาใหม่ ตามที่ได้เดินสายอธิบายกับประชาชน ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่างให้การยอมรับ และเป็นสะพานให้โยงไปสู่บทถาวรของรัฐธรรมนูญ"นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า ดูแล้วร่างรัฐธรรมนูญ จะผ่านประชามติหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าน่าจะผ่าน เพราะประชาชนเห็นว่า ถึงเวลาแล้วสถานการณ์เรียบร้อยจึงควรจัดให้มีการเลือกตั้ง และคสช. ยืนยันมาตลอดว่า จะมีการเลือกตั้ง ปี 2560 ทุกอย่างชัดเจนแบบนี้แล้ว ก็คงมีคนจำนวนหนึ่งบอกว่า เลือกดีกว่าไม่ได้เลือก ส่วนจะทำอย่างไร ก็ให้ผ่านประชามติแล้วว่ากันต่อไป แต่หากเกิดสถานการณ์อะไรขึ้นตามมา ก็จะได้รู้ว่า สิ่งที่คิดไว้แก้ปัญหาได้
เมื่อถามอีกว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ยังคงยืนยันหรือไม่ว่า จะมีการเลือกตั้งภายในปี 2560นายวิษณุ กล่าวว่า หัวหน้า คสช. ประกาศเช่นนั้น ตนไม่ทราบว่าท่านจะทำอย่างไร แต่ถ้าไม่แน่ใจ ท่านคงไม่ประกาศเช่นนั้น
** “พรเพชร”ชี้กรธ.ยังไม่ตอบโจทย์แม่น้ำ 4 สาย
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกรณี กรธ. ปรับแก้ไขข้อเสนอของแม่น้ำ 4 สายบางส่วน ว่า บางข้อเสนอที่ กรธ.พิจารณาให้ เป็นไปที่ตามข้อเสนอของแม่น้ำ4สาย นับเป็นสัญญาณที่ถูกต้อง เพราะการทำงานของ กรธ. ต้องสอดคล้องกับการทำงานของ คสช. สนช. และ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) แต่ในประเด็นที่มาของ ส.ว. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอที่กำหนดให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็น ส.ว โดยตำแหน่ง ถือเป็นความหวังดีที่ต้องการให้ประเทศหน้าเดินต่อไปโดยไม่สะดุด แต่ กรธ.กลับไม่กำหนดในเรื่องนี้ลงไปในบทเฉพาะกาล จึงอาจเป็นปัญหา และยังไม่สามารถตอบโจทย์กับแม่น้ำ 4 สายได้ ตนจึงเห็นว่ากรธ.ต้องทบทวนอีกครั้ง เพราะมีความจำเป็น
สำหรับในส่วนของบัตรเลือกตั้ง ที่ กรธ.ยังคงเดิมให้ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว และเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี 3 ชื่อ ก็ควรทบทวนอีกครั้ง เพราะมองว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในไทย อาจสร้างความสับสนให้กับประชาชน
ส่วนกรณีที่ ส.ว. ไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯได้ แต่สามารถเข้าร่วมกับ ส.ส.ในพิจารณาเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้นั้น เป็นเรื่องเดิม ไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อกรธ.ไม่ทบทวน คงต้องมีการหารือกันในแม่น้ำ 4 สายอีกครั้ง
นายพรเพชร ยังกล่าวถึงการตั้งคำถามพ่วงประชามติของ สนช. ว่า จะต้องรอให้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก่อน ซึ่งคาดว่า สนช.จะมีการประชุมเพื่อสรุปเกี่ยวคำถามในวันที่ 7เม.ย. นี้.