โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
เปิดเผยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 ปรากฏว่า ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ (ครึ่งหนึ่ง) จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยคะแนนเฉลี่ย พบว่า ภาษาไทยได้ 49.36 สังคมศึกษาได้ 39.70 ภาษาอังกฤษได้ 24.98 คณิตศาสตร์ได้ 26.59 และวิทยาศาสตร์ได้ 33.40
ภาพที่ 1 คะแนนเฉลี่ยผลสอบ O-NET ม. 6 ปีการศึกษา 2558
ที่มา: http://news.ch7.com/ (สืบค้นเมื่อ 22 มี.ค. 59)
รายงานข่าวดังกล่าว เปิดเผยการให้สัมภาษณ์ ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวคิดให้ทำเฉลยวิธีทำข้อสอบเพื่อให้เด็กทำได้ ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการได้หารือกับสำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ. ) ว่า น่าจะมีการเปิดเผยสเป็กข้อสอบให้ได้รู้ล่วงหน้าก่อนสอบ รวมถึงต้องการให้เฉลยวิธีการทำข้อสอบหลังสอบเสร็จ เพื่อให้ครูไปดูแลและปรับหลักการสอนให้เด็กทำข้อสอบได้ ส่วน ศ.สมพงศ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนในทุกวิชาไม่ถึงครึ่ง ชี้ว่า ระบบการศึกษาไทยมีปัญหาการทำงานไม่สอดคล้องกัน โดยการออกข้อสอบเป็นคนละแนวกับการสอนของครู และสะท้อนว่า ปฏิรูปการศึกษายังไปไม่ถูกทาง
จากรายงานข่าวดังกล่าวที่เปิดเผยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 โดยมีความเห็นสอดคล้องตามแนวคิดของ ศ.สมพงศ์ จิตระดับ ที่ว่า ระบบการศึกษาไทยยังมีปัญหาการทำงานไม่สอดคล้องกัน โดยข้อสอบกับการสอนเป็นไปในคนละทาง ซึ่งสะท้อนว่า ปฏิรูปการศึกษายังไม่ถูกทาง โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อร่วมปฏิรูปการศึกษา ตามกรอบแนวคิดทาง 5 ปัจจัย ซึ่งเสนอให้เป็นข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
ภาพที่ 2 ข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559
ที่มา: ประยุกต์แนวคิดจาก ชวาล แพรัตกุล. (2516) โดย อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
จากภาพที่ 2 ข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 ขอขยายความเพิ่ม ว่า
ประเด็นแรก คือ ปรัชญาการศึกษาของชาติ/นโยบายการศึกษาของชาติ/วิสัยทัศน์การศึกษาของชาติมีทิศทางหรือแนวโน้มเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในการกำหนดเป้าหมายการศึกษาของชาติ ว่า ต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างไร และสถานการณ์ปัจจุบันในประเด็นแรกนี้ เป็นอย่างไร
เมื่อปรัชญาการศึกษาของชาติ/นโยบายการศึกษาของชาติ/วิสัยทัศน์การศึกษาของชาติ มีความแจ่มชัดนำสู่การปฏิบัติได้ ก็แปลงแนวคิดเหล่านั้นมาสู่หลักสูตรการศึกษา (ทุกระดับ)
ประเด็นที่สอง หลักสูตรการศึกษา (ทุกระดับ) ถือว่าเป็นเครื่องมือในการนำปรัชญาการศึกษาของชาติ หรือเป็นลู่ที่ให้ผู้สอน ผู้เรียน และผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ให้ปฏิบัติตามปรัชญาการศึกษาของชาติที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการศึกษาที่วางไว้ โดยหลักสูตร (ทุกระดับ) จะเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายการศึกษา รวมทั้งใช้เป็นคู่มือในการจัดการเรียนการสอน ตามตัวชี้วัดของหลักสูตร (ทุกระดับ) ซึ่งเป็นมาตรฐานของผู้เรียนที่จะได้รับความรู้ และทักษะความสามารถที่ได้คุณภาพ
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ ถือว่า เป็นเครื่องมือแกนกลางสำคัญให้หน่วยงานทางการศึกษาในแต่ละพื้นที่ ซึ่งบริหารจัดการศึกษาอยู่ และสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบหลักสูตรของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัดตามหลักสูตรของชาติ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณภาพการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ ทักษะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ก่อนนำไปสู่ภาคสนาม คือ การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น
ประเด็นที่สาม การจัดการเรียนการสอน ถือว่า เป็นขั้นตอนการแปลงหลักสูตร มาสู่การใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยหลักวิชาชีพศึกษาศาสตร์นั้น การแปลงหลักสูตรสู่การสอน ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะประสิทธิภาพของหลักสูตร จะเกิดผล ก็ต่อเมื่อมีการใช้งานหลักสูตรนั้น ว่า จะสร้างผู้เรียนให้มีคุณภาพใน 3 มิติ คือ ความรู้ ทักษะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้อย่างไร ถ้าหลักสูตรที่สร้างขึ้นถูกใช้งานตามที่ออกแบบอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายของคุณภาพผู้เรียนที่กำหนดไว้ ย่อมแสดงให้เห็นผลลัพธ์ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างแน่นอน
ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรวิชาภาษาไทย ชั้น ป. 1 กำหนดคุณภาพให้ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้ มีความรู้คำศัพท์พื้นฐาน 600 คำ และมีนิสัยรักการอ่าน หน้าที่ของสถานศึกษาและผู้สอนจะต้องออกแบบการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรทั้ง 3 มิติ คือ จะจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้เกิดในประเด็นแรก คือ ให้ผู้เรียน อ่านออกเขียนได้ ในประเด็นที่สอง คือ ให้ผู้เรียน มีความรู้ เรื่องคำศัพท์พื้นฐาน 600 คำ ใน 1 ปีการศึกษา และประเด็นที่ 3 คือ ให้ผู้เรียน มีนิสัยรักการอ่าน เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การแปลงหลักสูตรมาสู่การจัดการเรียนการสอน จะต้องอาศัยความรู้ (ที่ทันยุคทันสมัย) ทักษะความชำนาญ หรือประสบการณ์ของผู้สอนและการมีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนและธรรมชาติของวิชา (โดยไม่ลืมว่า อะไรคือตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียน หรือเป้าหมายของสิ่งที่จะให้ผู้เรียนได้รับซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรที่สร้างขึ้นในทุกระดับ) และหัวใจของการแปลงหลักสูตรสู่การสอนนี้ อยู่ที่วิธีการจัดการเรียนการสอน (หรือแผนการสอนทั้งรายชั่วโมง รายหน่วย การเรียนรู้ และรายภาคการศึกษาหรือรายปี)
กล่าวสรุปได้ คือ อาวุธติดปัญญาของผู้สอนอยู่ที่แผนการสอน ซึ่งได้แปลงจากหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ มาสู่การออกแบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในขั้นตอนหลังจากนี้ ก็จะเป็นกระบวนการตรวจสอบวัดผลว่า สิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไป มีผลลัพธ์เป็นอย่างไร ผ่านกระบวนการวัดผลและประเมินผล
ประเด็นที่สี่ การวัดผลและประเมินผล ถือว่าเป็นขั้นตอนการพิสูจน์ผลของการจัดการเรียนการสอนตามแผนการศึกษา หรือตามหลักสูตรที่ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยหน้าที่ของการวัดผลมีอยู่ 2 ประเด็น คือ การวัดผลทำหน้าที่ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ว่า มีพัฒนาการอย่างไร อย่างหนึ่ง และการวัดผลทำหน้าที่ในการชี้ให้เห็นว่า ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาในมิติใด อย่างหนึ่ง ซึ่งในแต่ละปีการศึกษานั้น ผู้เรียนจะได้รับการทดสอบอย่างน้อย คือ ในระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และในระดับชาติ (O-NET) ตามระดับชั้นที่จะต้องได้รับการทดสอบแต่ละอย่าง เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละมิติ
การวัดผลและประเมินผล ถือเป็นศาสตร์สำคัญในการทำนายประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรการศึกษา และคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน ในส่วนของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ถือว่า เป็นเครื่องมือวัดผลการศึกษาของชาติอย่างหนึ่ง ที่ถูกใช้ให้จะสะท้อนถึงผลการใช้หลักสูตร และคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน ว่า บรรลุหรือไม่บรรลุถึงเป้าหมาย/ปรัชญาการศึกษาของชาติที่วางไว้ แต่ไม่ใช่เครื่องมือตัดสินว่า ผู้เรียนอ่อน หรือเก่งได้ 100% เพราะธรรมชาติของข้อสอบส่วนใหญ่ จะวัดได้แค่ระดับของความรู้ และระดับของการประยุกต์ใช้ความรู้ ในเชิงความจำและการคิดวิเคราะห์ แต่ไม่อาจทำนายทักษะสำคัญหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่เป็นสัมฤทธิผลในมิติอื่นได้ครอบคลุม สิ่งที่ควรพิจารณาในประเด็นนี้ คือ ข้อสอบ O-NET กับสภาพการใช้หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ในปัจจุบันเป็นไปอย่างไร ซึ่งนี่คือคำถามที่จะก่อให้เกิดการคิด และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อได้อย่างมีทิศทาง
ประเด็นที่ห้า การวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการหาคำตอบ การแก้ปัญหาอย่างมีทิศทาง และมีวิธีการดำเนินการที่เป็นกระบวนการสามารถใช้แก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพได้ โดยเฉพาะในภาคของการศึกษา ซึ่งดูเสมือนมีงานวิจัยเยอะแยะในการทำร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อปฏิรูปการศึกษา แต่ทว่า ยังไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาการศึกษาของชาติได้ ประเด็นสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนา จึงอยู่ที่การตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวอย่างมีทิศทาง ในเมื่อพบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาในมิติต่างๆ ได้แก่
1) ด้านปรัชญาการศึกษาของชาติ/นโยบายการศึกษาของชาติ/วิสัยทัศน์การศึกษาของชาติ 2) ด้านหลักสูตรการศึกษา (ทุกระดับ) 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านการวัดผลและประเมินผล หรือ 5) องคาพยพ ด้านการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานที่ดูแล กำกับ และเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จะต้องทำการศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมทั้งการนำผลจากการวิจัยในประเด็นต่างๆ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ก่อนกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ หรือนโยบายการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีทิศทาง โดยไม่ทำการศึกษาวิจัยซ้ำไปซ้ำมาอย่างวิธีการพายเรือวนในอ่าง ซึ่งทำให้ทิศทางการศึกษาไปไม่ถึงไหน และไม่รู้ว่า ปัญหาในการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง ต้องการปฏิรูปอะไรกันแน่ ดังนั้น การวิจัยเพื่อพัฒนา จึงเป็นบทบาทและหน้าที่ของนักการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา และผู้เห็นปัญหาของการศึกษา ที่จะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันวิจัย เพื่อร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ถึงคุณภาพจริง และก้าวข้ามไปสู่การพัฒนาศักยภาพอย่างอื่นของผู้เรียน ที่เหนือความประสงค์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้
สรุปประเด็นสั้นๆ ของข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 คือ การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ จะต้องกลับมาพิจารณาว่า สถานการณ์ปัจจุบันและสภาพความเป็นจริง 5 ปัจจัยสำคัญของการศึกษา ได้แก่ ด้านปรัชญาการศึกษาของชาติ/นโยบายการศึกษาของชาติ/วิสัยทัศน์การศึกษาของชาติ ด้านหลักสูตรการศึกษา (ทุกระดับ) ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการวิจัย เพื่อพัฒนา รวมทั้ง องคาพยพ ด้านการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานที่ดูแล กำกับ และเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร และควรได้รับการแก้ไข/พัฒนาอย่างไร เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษา เป็นไปทั้งระบบ
ข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 เป็นข้อเสนอแนะตามหลักการวิชาชีพศึกษาศาสตร์ ที่มองเห็นประเด็นสำคัญ 5 ประการ ซึ่งเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนการศึกษาให้เกิดคุณภาพ เพราะจุดมุ่งหมายของการศึกษา ต้องการคุณภาพของคน มากกว่า ต้องการปริมาณของคนที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับ ดังนั้น ถ้าจะปฏิรูปการศึกษาให้ได้คุณภาพ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดคุณภาพ โดยไม่จำเป็นต้องรื้อระบบก็ได้ เพียงแค่นำสิ่งที่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอย มาจัดระบบระเบียบและทำให้ทันสมัยขึ้น ง่ายต่อการบริหารจัดการ และติดตามประเมินผลได้ รวมทั้งพร้อมการพัฒนาต่อไป
ด้วยหวังว่า ความคิดเห็นอันเป็นข้อเสนอแนะจากพลเมืองคนหนึ่งของประเทศนี้ จะก่อให้เกิดคำถาม และเกิดข้อคิดเห็นที่สามารถต่อยอด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยได้
เปิดเผยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 ปรากฏว่า ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ (ครึ่งหนึ่ง) จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยคะแนนเฉลี่ย พบว่า ภาษาไทยได้ 49.36 สังคมศึกษาได้ 39.70 ภาษาอังกฤษได้ 24.98 คณิตศาสตร์ได้ 26.59 และวิทยาศาสตร์ได้ 33.40
ภาพที่ 1 คะแนนเฉลี่ยผลสอบ O-NET ม. 6 ปีการศึกษา 2558
ที่มา: http://news.ch7.com/ (สืบค้นเมื่อ 22 มี.ค. 59)
รายงานข่าวดังกล่าว เปิดเผยการให้สัมภาษณ์ ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวคิดให้ทำเฉลยวิธีทำข้อสอบเพื่อให้เด็กทำได้ ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการได้หารือกับสำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ. ) ว่า น่าจะมีการเปิดเผยสเป็กข้อสอบให้ได้รู้ล่วงหน้าก่อนสอบ รวมถึงต้องการให้เฉลยวิธีการทำข้อสอบหลังสอบเสร็จ เพื่อให้ครูไปดูแลและปรับหลักการสอนให้เด็กทำข้อสอบได้ ส่วน ศ.สมพงศ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนในทุกวิชาไม่ถึงครึ่ง ชี้ว่า ระบบการศึกษาไทยมีปัญหาการทำงานไม่สอดคล้องกัน โดยการออกข้อสอบเป็นคนละแนวกับการสอนของครู และสะท้อนว่า ปฏิรูปการศึกษายังไปไม่ถูกทาง
จากรายงานข่าวดังกล่าวที่เปิดเผยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 โดยมีความเห็นสอดคล้องตามแนวคิดของ ศ.สมพงศ์ จิตระดับ ที่ว่า ระบบการศึกษาไทยยังมีปัญหาการทำงานไม่สอดคล้องกัน โดยข้อสอบกับการสอนเป็นไปในคนละทาง ซึ่งสะท้อนว่า ปฏิรูปการศึกษายังไม่ถูกทาง โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อร่วมปฏิรูปการศึกษา ตามกรอบแนวคิดทาง 5 ปัจจัย ซึ่งเสนอให้เป็นข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
ภาพที่ 2 ข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559
ที่มา: ประยุกต์แนวคิดจาก ชวาล แพรัตกุล. (2516) โดย อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
จากภาพที่ 2 ข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 ขอขยายความเพิ่ม ว่า
ประเด็นแรก คือ ปรัชญาการศึกษาของชาติ/นโยบายการศึกษาของชาติ/วิสัยทัศน์การศึกษาของชาติมีทิศทางหรือแนวโน้มเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในการกำหนดเป้าหมายการศึกษาของชาติ ว่า ต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างไร และสถานการณ์ปัจจุบันในประเด็นแรกนี้ เป็นอย่างไร
เมื่อปรัชญาการศึกษาของชาติ/นโยบายการศึกษาของชาติ/วิสัยทัศน์การศึกษาของชาติ มีความแจ่มชัดนำสู่การปฏิบัติได้ ก็แปลงแนวคิดเหล่านั้นมาสู่หลักสูตรการศึกษา (ทุกระดับ)
ประเด็นที่สอง หลักสูตรการศึกษา (ทุกระดับ) ถือว่าเป็นเครื่องมือในการนำปรัชญาการศึกษาของชาติ หรือเป็นลู่ที่ให้ผู้สอน ผู้เรียน และผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ให้ปฏิบัติตามปรัชญาการศึกษาของชาติที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการศึกษาที่วางไว้ โดยหลักสูตร (ทุกระดับ) จะเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายการศึกษา รวมทั้งใช้เป็นคู่มือในการจัดการเรียนการสอน ตามตัวชี้วัดของหลักสูตร (ทุกระดับ) ซึ่งเป็นมาตรฐานของผู้เรียนที่จะได้รับความรู้ และทักษะความสามารถที่ได้คุณภาพ
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ ถือว่า เป็นเครื่องมือแกนกลางสำคัญให้หน่วยงานทางการศึกษาในแต่ละพื้นที่ ซึ่งบริหารจัดการศึกษาอยู่ และสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบหลักสูตรของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัดตามหลักสูตรของชาติ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณภาพการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ ทักษะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ก่อนนำไปสู่ภาคสนาม คือ การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น
ประเด็นที่สาม การจัดการเรียนการสอน ถือว่า เป็นขั้นตอนการแปลงหลักสูตร มาสู่การใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยหลักวิชาชีพศึกษาศาสตร์นั้น การแปลงหลักสูตรสู่การสอน ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะประสิทธิภาพของหลักสูตร จะเกิดผล ก็ต่อเมื่อมีการใช้งานหลักสูตรนั้น ว่า จะสร้างผู้เรียนให้มีคุณภาพใน 3 มิติ คือ ความรู้ ทักษะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้อย่างไร ถ้าหลักสูตรที่สร้างขึ้นถูกใช้งานตามที่ออกแบบอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายของคุณภาพผู้เรียนที่กำหนดไว้ ย่อมแสดงให้เห็นผลลัพธ์ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างแน่นอน
ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรวิชาภาษาไทย ชั้น ป. 1 กำหนดคุณภาพให้ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้ มีความรู้คำศัพท์พื้นฐาน 600 คำ และมีนิสัยรักการอ่าน หน้าที่ของสถานศึกษาและผู้สอนจะต้องออกแบบการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรทั้ง 3 มิติ คือ จะจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้เกิดในประเด็นแรก คือ ให้ผู้เรียน อ่านออกเขียนได้ ในประเด็นที่สอง คือ ให้ผู้เรียน มีความรู้ เรื่องคำศัพท์พื้นฐาน 600 คำ ใน 1 ปีการศึกษา และประเด็นที่ 3 คือ ให้ผู้เรียน มีนิสัยรักการอ่าน เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การแปลงหลักสูตรมาสู่การจัดการเรียนการสอน จะต้องอาศัยความรู้ (ที่ทันยุคทันสมัย) ทักษะความชำนาญ หรือประสบการณ์ของผู้สอนและการมีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนและธรรมชาติของวิชา (โดยไม่ลืมว่า อะไรคือตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียน หรือเป้าหมายของสิ่งที่จะให้ผู้เรียนได้รับซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรที่สร้างขึ้นในทุกระดับ) และหัวใจของการแปลงหลักสูตรสู่การสอนนี้ อยู่ที่วิธีการจัดการเรียนการสอน (หรือแผนการสอนทั้งรายชั่วโมง รายหน่วย การเรียนรู้ และรายภาคการศึกษาหรือรายปี)
กล่าวสรุปได้ คือ อาวุธติดปัญญาของผู้สอนอยู่ที่แผนการสอน ซึ่งได้แปลงจากหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ มาสู่การออกแบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในขั้นตอนหลังจากนี้ ก็จะเป็นกระบวนการตรวจสอบวัดผลว่า สิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไป มีผลลัพธ์เป็นอย่างไร ผ่านกระบวนการวัดผลและประเมินผล
ประเด็นที่สี่ การวัดผลและประเมินผล ถือว่าเป็นขั้นตอนการพิสูจน์ผลของการจัดการเรียนการสอนตามแผนการศึกษา หรือตามหลักสูตรที่ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยหน้าที่ของการวัดผลมีอยู่ 2 ประเด็น คือ การวัดผลทำหน้าที่ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ว่า มีพัฒนาการอย่างไร อย่างหนึ่ง และการวัดผลทำหน้าที่ในการชี้ให้เห็นว่า ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาในมิติใด อย่างหนึ่ง ซึ่งในแต่ละปีการศึกษานั้น ผู้เรียนจะได้รับการทดสอบอย่างน้อย คือ ในระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และในระดับชาติ (O-NET) ตามระดับชั้นที่จะต้องได้รับการทดสอบแต่ละอย่าง เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละมิติ
การวัดผลและประเมินผล ถือเป็นศาสตร์สำคัญในการทำนายประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรการศึกษา และคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน ในส่วนของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ถือว่า เป็นเครื่องมือวัดผลการศึกษาของชาติอย่างหนึ่ง ที่ถูกใช้ให้จะสะท้อนถึงผลการใช้หลักสูตร และคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน ว่า บรรลุหรือไม่บรรลุถึงเป้าหมาย/ปรัชญาการศึกษาของชาติที่วางไว้ แต่ไม่ใช่เครื่องมือตัดสินว่า ผู้เรียนอ่อน หรือเก่งได้ 100% เพราะธรรมชาติของข้อสอบส่วนใหญ่ จะวัดได้แค่ระดับของความรู้ และระดับของการประยุกต์ใช้ความรู้ ในเชิงความจำและการคิดวิเคราะห์ แต่ไม่อาจทำนายทักษะสำคัญหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่เป็นสัมฤทธิผลในมิติอื่นได้ครอบคลุม สิ่งที่ควรพิจารณาในประเด็นนี้ คือ ข้อสอบ O-NET กับสภาพการใช้หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ในปัจจุบันเป็นไปอย่างไร ซึ่งนี่คือคำถามที่จะก่อให้เกิดการคิด และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อได้อย่างมีทิศทาง
ประเด็นที่ห้า การวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการหาคำตอบ การแก้ปัญหาอย่างมีทิศทาง และมีวิธีการดำเนินการที่เป็นกระบวนการสามารถใช้แก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพได้ โดยเฉพาะในภาคของการศึกษา ซึ่งดูเสมือนมีงานวิจัยเยอะแยะในการทำร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อปฏิรูปการศึกษา แต่ทว่า ยังไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาการศึกษาของชาติได้ ประเด็นสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนา จึงอยู่ที่การตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวอย่างมีทิศทาง ในเมื่อพบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาในมิติต่างๆ ได้แก่
1) ด้านปรัชญาการศึกษาของชาติ/นโยบายการศึกษาของชาติ/วิสัยทัศน์การศึกษาของชาติ 2) ด้านหลักสูตรการศึกษา (ทุกระดับ) 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านการวัดผลและประเมินผล หรือ 5) องคาพยพ ด้านการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานที่ดูแล กำกับ และเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จะต้องทำการศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมทั้งการนำผลจากการวิจัยในประเด็นต่างๆ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ก่อนกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ หรือนโยบายการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีทิศทาง โดยไม่ทำการศึกษาวิจัยซ้ำไปซ้ำมาอย่างวิธีการพายเรือวนในอ่าง ซึ่งทำให้ทิศทางการศึกษาไปไม่ถึงไหน และไม่รู้ว่า ปัญหาในการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง ต้องการปฏิรูปอะไรกันแน่ ดังนั้น การวิจัยเพื่อพัฒนา จึงเป็นบทบาทและหน้าที่ของนักการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา และผู้เห็นปัญหาของการศึกษา ที่จะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันวิจัย เพื่อร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ถึงคุณภาพจริง และก้าวข้ามไปสู่การพัฒนาศักยภาพอย่างอื่นของผู้เรียน ที่เหนือความประสงค์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้
สรุปประเด็นสั้นๆ ของข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 คือ การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ จะต้องกลับมาพิจารณาว่า สถานการณ์ปัจจุบันและสภาพความเป็นจริง 5 ปัจจัยสำคัญของการศึกษา ได้แก่ ด้านปรัชญาการศึกษาของชาติ/นโยบายการศึกษาของชาติ/วิสัยทัศน์การศึกษาของชาติ ด้านหลักสูตรการศึกษา (ทุกระดับ) ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการวิจัย เพื่อพัฒนา รวมทั้ง องคาพยพ ด้านการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานที่ดูแล กำกับ และเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร และควรได้รับการแก้ไข/พัฒนาอย่างไร เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษา เป็นไปทั้งระบบ
ข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2559 เป็นข้อเสนอแนะตามหลักการวิชาชีพศึกษาศาสตร์ ที่มองเห็นประเด็นสำคัญ 5 ประการ ซึ่งเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนการศึกษาให้เกิดคุณภาพ เพราะจุดมุ่งหมายของการศึกษา ต้องการคุณภาพของคน มากกว่า ต้องการปริมาณของคนที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับ ดังนั้น ถ้าจะปฏิรูปการศึกษาให้ได้คุณภาพ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดคุณภาพ โดยไม่จำเป็นต้องรื้อระบบก็ได้ เพียงแค่นำสิ่งที่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอย มาจัดระบบระเบียบและทำให้ทันสมัยขึ้น ง่ายต่อการบริหารจัดการ และติดตามประเมินผลได้ รวมทั้งพร้อมการพัฒนาต่อไป
ด้วยหวังว่า ความคิดเห็นอันเป็นข้อเสนอแนะจากพลเมืองคนหนึ่งของประเทศนี้ จะก่อให้เกิดคำถาม และเกิดข้อคิดเห็นที่สามารถต่อยอด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยได้