นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ แถลงเกี่ยวกับ ร่าง รธน.ที่เรียกว่า รธน.ฉบับปราบโกงว่า หากองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่ปฏิบัติ ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และที่ผ่านมามีการอ้างว่าการทุจริตลดลงในช่วงคสช.นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะทั้งก่อนและหลังรัฐประหาร ก็เท่ากัน คือ อยู่ที่ตัวเลข 3.8 โดยเมื่อไม่นานมานี้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ก็ระบุว่า การทุจริตไม่ได้ลดลง ตนจึงอยากให้ดูตัวอย่างที่ควรปรับปรุงเพิ่มขึ้น โดยแก้ที่ตัวบุคคล และองค์กรที่รับผิดชอบ เช่น กรณีการทุจริตยาปราบศัตรูพืช ซึ่งมีความชัดเจนในการลงโทษคนที่ทำผิดบางส่วน แต่กลับไม่ดำเนินการคนที่เป็น สนช.อยู่ในปัจจุบัน เมื่อไหร่จะดำเนินการกับอดีตผู้ว่าราชการ จ.มุกดาหาร และจังหวัดเลย หากไม่ทำก็ต้องยกเลิกคำสั่งคสช. ที่ลงโทษอดีตผู้ว่าราชการ จ.บึงกาฬด้วย เพราะทำผิดในลักษณะเดียวกัน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างว่า ถ้าคนปฏิบัติไม่เอาจริง เขียนรธน.อย่างไรก็ปราบการทุจริตไม่ได้
นายวิลาศ ยังเสนอให้มีการกำหนดกรอบการปฏิบัติงานขององค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริต ไม่ใช่กำหนดเฉพาะนักการเมือง แต่ให้รวมกับข้าราชการทั้งพลเรือนและทหารกับตำรวจด้วย พร้อมกับยกตัวอย่างคดีที่มีการตัดสินเมื่อเดือนพ.ย.58 กรณีเหมืองแร่แบร์ไลต์ ที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งอ้างว่าจะมีผลพลอยได้เป็นแร่เหล็ก เมื่อสอบสวนพบว่าได้แร่เหล็กมากกว่าแร่แบร์ไลต์ที่ขออนุญาตทำเหมืองถึง 50 เท่า โดยในการลงพื้นที่กลับไม่พบการขุดเจาะหาแร่แต่อย่างใด จึงมีคำถามถึงคนอนุญาตว่า เรื่องเช่นนี้เป็นไปได้อย่างไร กรณีนี้มีการดำเนินคดีถึงศาลฎีกามีคำตัดสินลงโทษคนที่ทำเหมืองเท็จ 8 ปี แต่เรื่องที่ตนส่งไปให้ป.ป.ช.พิจารณา กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงเป็นกรณีตัวอย่างถึงการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของ ป.ป.ช. ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่เคยเชิญตนไปสอบ ทั้งที่กรณีนี้มีความเสียหายสูงถึงกว่า 600 ล้านบาท เพราะมีการออกใบขนแร่โดยไม่มีการทำเหมืองจริง ในขณะที่อุตสาหกรรมจังหวัดที่กระทำความผิด กลับได้รับการลงโทษสถานเบาโดยอ้างว่าไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยมาก่อน ทำให้ถูกลงโทษเพียงแค่ตัดเงินเดือน 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
"ผมขอเสนอให้ยกเลิกธนบัตรเดิม พิมพ์ธนบัตรใหม่เพื่อปราบการทุจริต โดยกำหนดระยะเวลาให้ทุกคนที่อยู่ในประเทศที่มีเงินไปแลกธนบัตรใหม่ภายในเวลาหนึ่งปี ไม่แลกถือว่าสละสิทธิ์ ผมจะดูว่าคนที่โกงแล้วบอกว่าไม่ได้โกง จะทำกันอย่างไร ไม่ต้องมีการเอาเงินไปฝังไหอีกต่อไป และถ้าใครแลกเกิน 2 ล้านบาท ต้องชี้แจงที่มาที่ไปของเงินด้วย ถ้าเกิน 10 ล้านบาท หรือมีเงินฝากเกิน10 ล้านทุกบัญชีรวมกัน หน่วยงานที่รับแลกต้องประกาศให้ประชาชนรับทราบจำนวนเงิน เพื่อให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ เชื่อว่าคนที่ไม่กล้าแลกจะมีมากหลายล้านล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาสร้างรถไฟความเร็วสูงโดยไม่ต้องกู้เงิน" นายวิลาศ กล่าว
นายวิลาศ ยังเสนอให้มีการกำหนดกรอบการปฏิบัติงานขององค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริต ไม่ใช่กำหนดเฉพาะนักการเมือง แต่ให้รวมกับข้าราชการทั้งพลเรือนและทหารกับตำรวจด้วย พร้อมกับยกตัวอย่างคดีที่มีการตัดสินเมื่อเดือนพ.ย.58 กรณีเหมืองแร่แบร์ไลต์ ที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งอ้างว่าจะมีผลพลอยได้เป็นแร่เหล็ก เมื่อสอบสวนพบว่าได้แร่เหล็กมากกว่าแร่แบร์ไลต์ที่ขออนุญาตทำเหมืองถึง 50 เท่า โดยในการลงพื้นที่กลับไม่พบการขุดเจาะหาแร่แต่อย่างใด จึงมีคำถามถึงคนอนุญาตว่า เรื่องเช่นนี้เป็นไปได้อย่างไร กรณีนี้มีการดำเนินคดีถึงศาลฎีกามีคำตัดสินลงโทษคนที่ทำเหมืองเท็จ 8 ปี แต่เรื่องที่ตนส่งไปให้ป.ป.ช.พิจารณา กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงเป็นกรณีตัวอย่างถึงการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของ ป.ป.ช. ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่เคยเชิญตนไปสอบ ทั้งที่กรณีนี้มีความเสียหายสูงถึงกว่า 600 ล้านบาท เพราะมีการออกใบขนแร่โดยไม่มีการทำเหมืองจริง ในขณะที่อุตสาหกรรมจังหวัดที่กระทำความผิด กลับได้รับการลงโทษสถานเบาโดยอ้างว่าไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยมาก่อน ทำให้ถูกลงโทษเพียงแค่ตัดเงินเดือน 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
"ผมขอเสนอให้ยกเลิกธนบัตรเดิม พิมพ์ธนบัตรใหม่เพื่อปราบการทุจริต โดยกำหนดระยะเวลาให้ทุกคนที่อยู่ในประเทศที่มีเงินไปแลกธนบัตรใหม่ภายในเวลาหนึ่งปี ไม่แลกถือว่าสละสิทธิ์ ผมจะดูว่าคนที่โกงแล้วบอกว่าไม่ได้โกง จะทำกันอย่างไร ไม่ต้องมีการเอาเงินไปฝังไหอีกต่อไป และถ้าใครแลกเกิน 2 ล้านบาท ต้องชี้แจงที่มาที่ไปของเงินด้วย ถ้าเกิน 10 ล้านบาท หรือมีเงินฝากเกิน10 ล้านทุกบัญชีรวมกัน หน่วยงานที่รับแลกต้องประกาศให้ประชาชนรับทราบจำนวนเงิน เพื่อให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ เชื่อว่าคนที่ไม่กล้าแลกจะมีมากหลายล้านล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาสร้างรถไฟความเร็วสูงโดยไม่ต้องกู้เงิน" นายวิลาศ กล่าว