xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

เปิดระเบียบ“กองทุนหมู่บ้าน”ฉบับประชารัฐ รายละเอียด“ยิบย่อย”ก่อนใช้เงิน 3.5 หมื่นล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลชุดนี้ได้ประกาศใช้ “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ พ.ศ. 2559”
              
         พูดง่ายๆ ก็คืออะไรที่ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) จากนโยบายที่ฝ่ายการเมืองทำเอาไวกลายเป็นอดีตไปแล้ว

ระเบียบดังกล่าวพูดถึงการกำกับดูแล ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพ และเศรษฐกิจชุมชนเกิดการหมุนเวียนมากขึ้นกว่าเดิม และยังจะมีการจัดตั้งฝ่ายประชารัฐ เพื่อให้มีบทบาทสำคัญในการจัดทำยุทธศาสตร์ แผนแม่บท และกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนกลไกประชารัฐในภาพรวมพร้อมประมวลข้อมูลสถิติ ข่าวสาร ตลอดจนการจัดทำโครงการ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่สมาชิก และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบฉบับนี้ฯ กำหนดวงเงิน 35,000 ล้านบาท เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นหนึ่งชุด มีผู้แทนจากภาคราชการ ประชาชน และจากภาคเอกชน คือสถาบันการเงินของรัฐ ร่วมกันกลั่นกรอง และพิจารณาอนุมัติโครงการของแต่ละกองทุนที่เสนอของบประมาณไปลงทุนทำโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น ในวงเงินกองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท โดยโครงการที่กองทุนจะเสนอขึ้นมาต้องผ่านการทำประชาคมที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกกองทุนหมู่บ้านด้วย
 
“เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติจากคณะอนุกรรมการแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการโอนเงินลงไปผ่านธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ 4 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยกองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่ง ต้องเปิดบัญชีใหม่ชื่อว่า “บัญชีประชารัฐ”เพื่อแยกการบริหารจัดการออกมาจากบัญชีเดิมที่กองทุนเคยเปิดกับธนาคารไว้ ซึ่งจะทำให้กองทุนฯรู้จักการจัดการบริหารงบประมาณส่วนนี้อย่างถูกต้อง และรองรับกรณีมีโครงการใหม่ๆในลักษณะใกล้เคียงกันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”

ส่วนการติดตามและประเมินผลโครงการนั้นได้มีการสร้าง “เครือข่ายอาสาประชารัฐ”ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสทบ. และบุคคลในท้องถิ่น เพื่อช่วยติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการทุกขั้นตอนว่า โครงการได้ผ่านกระบวนการจัดทำตามระเบียบที่ออกหรือไม่ หรือต้องประเมินผลว่า เมื่อเริ่มดำเนินโครงการไปแล้วเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างไร ขณะเดียวกันยังได้ขอให้เพิ่มข้อกำหนดด้วยว่า ในการดำเนินโครงการนี้ต้องการให้มีความโปร่งใสสุจริต ไม่มีข้อครหาโดยเฉพาะการฮั้ว ซึ่งในระเบียบจะมีข้อกำหนดไว้ว่า หากพบความผิดปกติไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจะระงับโครงการและเรียกเงินกลับคืนด้วย

ที่นี้มาดูรายละเอียดในระเบียบฉบับนี้ ที่เด่นชัดขึ้นมาตามระเบียบประชารัฐ จะเด่นเรื่องของการตรวจสอบ เริ่มจาก หมวด 5 ว่าด้วย “การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและการบริหารโครงการ”ที่เด่นๆ ก็คือ
 
ข้อ 18 กองทุนหมู่บ้านจะเริ่มต้นดำเนินโครงการได้ต่อเมื่อได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเข้าบัญชีประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านแล้ว**

ส่วนหมวด 6 ว่าด้วย “การตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงาน”ข้อ 26 กรณีมีผู้ร้องเรียน หรือสำนักงานหรือสำนักงาน สาขา ตรวจสอบพบว่า การบริหารโครงการไม่เป็นไปตามหลักประชารัฐ หรือไม่เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนดหรือไม่เป็นไปตามคู่มือ แนวทาง วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้านหมู่บ้านหรือชุมชน แล้วแต่กรณี เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลเพียงพอ ผู้อำนวยการมีอำนาจแจ้งระงับการเบิกจ่ายเงินออกจากบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราวโดยมีหนังสือไปยังธนาคารเพื่อระงับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ

กรณีมีการเบิกถอนเงินงบประมาณออกจากบัญชีประชารัฐแล้ว ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านนำเงินกลับเข้าบัญชีประชารัฐไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเสร็จเมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเสร็จแล้วเห็นว่าการบริหารโครงการไม่เป็นไปตามหลักประชารัฐหรือไม่เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด หรือไม่เป็นไปตามคู่มือ แนวทางวิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการกระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านหรือชุมชน จริงผู้อำนวยการมีอำนาจเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน รวมดอกผล แล้วแต่กรณีเมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าการบริหารโครงการเป็นไปตามหลักประชารัฐ เป็นไปตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด เป็นไปตามคู่มือ แนวทาง วิธีการดำเนินงานตามโครงการที่สำนักงานกำหนด ชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านหรือชุมชน ให้ผู้อำนวยการมีหนังสือแจ้งไปยังกองทุนหมู่บ้านให้ดำเนินการบริหารจัดการเงินงบประมาณต่อไป

ข้อ 27 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง สำนักงานสามารถประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานในพื้นที่ ให้ตรวจสอบหรือร่วมตรวจสอบ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน

ข้อ 28 กรณีสำนักงานหรือกองทุนหมู่บ้านพบว่าเกิดความเสียหายในทางแพ่งเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ อันเกิดจากบุคคลอื่นที่กองทุนหมู่บ้านไปกระทำนิติกรรม สัญญา ให้กองทุนหมู่บ้านดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน ค่าเสียหาย ต่อผู้เกี่ยวข้องกรณีกองทุนหมู่บ้านไม่ดำเนินการ ให้ผู้อำนวยการเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วนรวมดอกผล จากกองทุนหมู่บ้าน หรือจากกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หรือจากคณะผู้รับผิดชอบโครงการที่ไม่ดำเนินการจนทำให้เกิดความเสียหายแล้วแต่กรณี

ข้อ 29 กรณีกองทุนหมู่บ้าน หรือกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับการเรียกเงินงบประมาณคืนทั้งหมดหรือบางส่วน รวมดอกผล กองทุนหมู่บ้านสามารถอุทธรณ์เป็นหนังสือมายังผู้อำนวยการได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เรียกเงินคืน

ข้อ 30 ให้กองทุนหมู่บ้าน รายงานผลการดำเนินโครงการและรายงานการใช้จ่ายเงินต่อสำนักงานตามแนวทางและวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด

และข้อ 31 ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคล เพื่อตรวจสอบ สอบทาน ติดตามและประเมินผล หรือดำเนินการอื่นใดในการสนับสนุนกาดำเนินงานโครงการ และรายงานต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาดำเนินการตามระเบียบนี้

หมวด 7 ว่าด้วย “การทำบัญชีและการตรวจสอบ” ข้อ 32 ให้นำความตามหมวด 7 ในการจัดทำบัญชีและการตรวจสอบของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อระเบียบนี้

ข้อ 33 กำไรสุทธิที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการให้นำเข้าบัญชีประชารัฐเมื่อสิ้นปีบัญชีหากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรได้ ทั้งนี้ ให้มีการจัดสรรเป็นเงินสมทบบัญชีประชารัฐ เพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินโครงการและเงินอื่นตามระเบียบที่กองทุนหมู่บ้านกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิบัญชีประชารัฐ ให้คำนึงถึงประโยชน์ สวัสดิภาพ สวัสดิการ ของสมาชิกและประชาชน การมีส่วนร่วมของกองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการ ให้สามารถดำเนินโครงการเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน คณะกรรมการสามารถกำหนดให้มีการจัดสรรกำ ไรสุทธิของบัญชีประชารัฐเพิ่มเติมได้ เพื่อประโยชน์ของการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

อ่านตัวเต็มได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/064/1.PDF
 
เริ่มแล้วเงิน“กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง”ที่มีแนวทาง “ประชารัฐ”ของรัฐบาลชุดนี้เข้ามาควบคุม



กำลังโหลดความคิดเห็น