ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 หรือที่เรียกว่า แผน PDP 2015 ได้แสดงให้เห็นว่าการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศนั้นมีความคลาดเคลื่อนสูงเกินความเป็นจริงไปอย่างมาก แผนพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่มากเกินความเป็นจริงนั้น ได้ส่งผลทำให้ประเทศไทยต้องสร้างโรงไฟฟ้ามากล้นเกินกำลังสำรองขั้นต่ำไปอย่างมหาศาลด้วย
การสร้างโรงไฟฟ้าที่มากล้นเกินความจำเป็นนั้นจะส่งผลเป็นภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในรูปของต้นทุนไฟฟ้า ซึ่งจะกระทบต่อค่าไฟฟ้าของคนไทยทั้งประเทศที่จะต้องมากเกินความจำเป็นไปอีกด้วย
ตัวอย่าง แผน PDP 2015 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งควรจะทราบว่าการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558 นั้น มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดจริงเพียงแค่ 27,346 เมกะวัตต์ แต่กลับพยากรณ์ตัวเลขความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดปี 2558 (ซึ่งเกิดขึ้นจริงไปแล้ว) สูงถึง 29,051 เมกะวัตต์
หมายความว่ามีการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดปี พ.ศ. 2558 มากเกินความเป็นจริงไปถึง 1,705.5 เมกะวัตต์ ซึ่งเทียบเท่ากับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ถึง 2.45 โรง !!!
นอกจากจะพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดกว่าความเป็นจริงอย่างมหาศาลแล้ว กำลังการผลิตไฟฟ้านั้นกลับสูงไปกว่านั้นอย่างมาก โดยการผลิตไฟฟ้าพึ่งได้นั้นควรจะสำรองอยู่ประมาณ 15% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ดังนั้นจึงควรจะสูงกว่า 27,346 เมกะวัตต์ไปอีก 15% ก็คือประมาณ 31,448 เมกะวัตต์ แต่เอาเข้าจริงกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปี 2558 ตามแผน PDP 2015 นั้นมีสูงถึง 43,623 เมกะวัตต์
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้เคยตรวจสอบพบความจริงแล้วว่า ประเทศไทยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่และไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลย หากดำเนินการตาม 3 มาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 ก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ส่วนที่จ่ายให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มาผลิตไฟฟ้า เฉพาะช่วงรอยต่อของการขาดช่วงของแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยทั้งบงกชและเอราวัณที่หมดอายุสัมปทาน ซึ่งสมมุติว่าเกิดสถานการณ์เลวร้ายสุดคือใช้เวลาขาดช่วง 3 ปี คือ พ.ศ. 2566 -2568 มาตรการดังกล่าวจะทำให้ได้ไฟฟ้ามาใช้จากก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าประมาณ 5,410 เมกะวัตต์
แต่ในความเป็นจริงน่าจะไม่เกิดการขาดช่วงในการผลิตไฟฟ้าของแหล่งบงกชและเอราวัณได้เลย หากรัฐใช้อำนาจต่อรอง และใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ที่อยู่ในมือเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างจริงใจ
มาตรการที่ 2 เปิดประมูลระบบแบ่งปันผลผลิตแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ในอ่าวไทยที่กระทรวงพลังงานรายงานว่ามีศักยภาพ จำนวน 5 แปลง ส่งขึ้นตรงที่โรงไฟฟ้าขนอม พร้อมขยายกำลังการผลิตปี พ.ศ. 2564 ก็จะทำให้ได้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาอีก 740 เมกะวัตต์
มาตรการที่ 3 ส่งเสริมปลูกพืชพลังงาน เพื่อผลิตไฟฟ้า 2,000 เมกะวัตต์ ภายปี พ.ศ. 2568 หรือทยอยทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า 200 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ไม่ยากเลย (ถ้ามีความจริงใจ)
การออกมาตรการทั้ง 3 ข้างต้นนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติถึง 3 ประการ
ประการแรก ประเทศไทยจะได้แหล่งก๊าซธรรมชาติจากบงกชและเอราวัณที่มีศักยภาพสูงนั้นกลับมาของประเทศไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถดำเนินการประมูลจ้างเอกชนผลิตเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความมั่นคงในด้านพลังงานเป็นที่ประจักษ์ และสามารถกำหนดราคาที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนเองได้ โดยไม่ติดอุปสรรคการเน้นการทำกำไรสูงสุดของเอกชน
ประการที่สอง จะทำให้ประเทศไทยไม่ต้องเร่งรีบเลือกพลังงานจากถ่านหินและนิวเคลียร์สร้างความทุกข์ร้อนใจและสร้างความขัดแย้งให้กับพี่น้องประชาชน อีกทั้งเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นพลังงานหมุนเวียน ทั้งแสงแดด และพืชพลังงาน ต่างมีการพัฒนาการที่นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ยังมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ การไม่ด่วนตัดสินใจเลือกพลังงานจากถ่านหินและนิวเคลียร์ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้ใช้พลังงานจากวิวัฒนาการของพลังงานหมุนเวียนที่กำลังก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประการที่สาม มีหลักประกันว่าประเทศไทยจะไม่ขาดแคลนพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าตลอด 20 ปี และประชาชนจะไม่มีทางเดือดร้อนอย่างแน่นอน
ข้ออ้างเรื่องความเร่งรีบสร้างโรงไฟฟ้า เพราะจะเกิดวิกฤติไฟฟ้าดับนั้น จึงฟังไม่ขึ้น!!!
แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะไม่เลือกแนวทางดังกล่าวข้างต้น แต่กลับมีทีท่าในการเอื้ออำนวยให้สร้างโรงไฟฟ้าสร้างได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยเฉพาะทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าขยะ และเร่งเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 อีกด้วย
วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงตามในประกาศของกระทรวงฯ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2558 โดยยกเว้นในโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงตามเงื่อนไขในประกาศนั้นไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA)อีกต่อไป
ตามซ้ำมาด้วยวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อาศัยรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 44 ลงนามในคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2559 ให้ยกเว้นการบังคับใช้ผังเมืองกับโรงไฟฟ้าทุกประเภท และรวมถึงโรงงานรีไซเคิลขยะ และทำลายขยะอีกด้วย
ในlส่วนของโรงไฟฟ้าขยะนั้น ก็ยังมีประเด็นการพิจารณากรณีที่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึงความภาคภูมิใจและให้สัมภาษณ์การกำจัดขยะตกค้าง 200,000 ตัน ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจะจัดให้ให้มีโรงไฟฟ้าขยะใกล้กับแหล่งขยะรัศมีไม่เกิน 4 กิโลเมตรทั่วประเทศ
ในขณะที่นายอภิชาต โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยากล่าวยอมรับในการสัมภาษณ์กล่าวยอมรับเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ความตอนหนึ่งว่า
“พระนครศรีอยุธยาที่ผ่านมาดำเนินการภายใต้กรมควบคุมมลพิษ มีแผนที่จะขนขยะออกจากอยุธยาไปเผาที่โรงปูซิเมนต์ทีพีไอ ที่จังหวัดสระบุรี”
เพราะการขนย้ายขยะจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อทำลายไปที่โรงปูนซิเมนต์ ทีพีไอที่จังหวัดสระบุรีนั้น แม้จะมีระยะทางห่างจากกองขยะที่อยุธยาประมาณ 111 กิโลเมตร แต่ด้วยความสามารถของโรงปูนซิเมนต์ทีพีไอ ที่สามารถเผาขยะมาผลิตไฟฟ้าและรีไซเคิลได้วันละ 4-5 พันตัน ก็สามารถทำลายขยะตกค้าง 2 แสนตันได้ภายในไม่เกิน 60 วัน และใช้งบประมาณค่าขนส่งอย่างเดียวเพียงไม่เกิน 80 ล้านบาท
แต่เหตุใดกระทรวงมหาดไทยจึงกลับแก้ปัญหาขยะตกค้าง 2 แสนตันที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยการขนย้ายออกไปจากพื้นที่เดิมไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วก่อสร้างสถานที่ฝังกลบขยะแห่งใหม่ ขนย้ายขยะ ปรับภูมิทัศน์ จัดหาครุภัณฑ์ และงบประมาณทำแผนประชาสัมพันธ์ รวมมีแผนกระทรวงมหาดไทยจะใช้งบประมาณ 531 ล้านบาท!!!?
และแทนที่จะใช้วิธีการประกวดราคา คณะกรรมการกลับใช้วิธีจัดจ้าง “วิธีพิเศษ”(เจรจากตกลงราคาหรือต่อรองราคา) จัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างสถานที่กำจัดขยะนำร่องให้กับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) จำนวนเงินเกือบ 370 ล้านบาท และใช้วิธีจัดจ้าง “วิธีพิเศษ”สำหรับโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอีกให้กับ บริษัท ดีเอวัน จำกัด เกือบ 9 ล้านบาท และเตรียมจัดหาคุรุภัณฑ์อีกเกือบ 153 ล้านบาท
ส่วน พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก็ให้สัมภาษณ์คาดว่าร่างแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียม และ พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจะสามารถเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนมีนาคมนี้ และช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะสามารถเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อประกาศเป็นกฎหมาย และหากเป็นไปตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ครึ่งปีหลังกระทรวงจะประกาศเชิญชวนให้เอกชนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 อีกด้วย
หนึ่งในเหตุผลที่กระทรวงพลังงานมักจะอ้างในการเร่งเปิดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 นั้น ก็เพื่อ “ความต่อเนื่องและความมั่นคงทางพลังงาน”
แต่คำถามและข้อสงสัยในความต่อเนื่องและความมั่นคงทางพลังงานภายใต้ระบบสัมปทานนั้นจะมีจริงหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบโลกในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ผู้รับสัมปทานนั้นชะลอหรือลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องด้วย?
ทั้งนี้นายสุริยันต์ อภิรักษ์สัตยากุล รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ความตอนหนึ่งว่า :
“บริษัทที่ได้รับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย เลื่อนแผนการขุดเจาะสำรวจน้ำมันออกไป และมีแท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย 2 แห่ง คือ แท่นสงขลา C และแท่นสงขลา G กำลังการผลิตรวม 2,600 บาร์เรล/วัน ของบริษัท คอสตอลเอนเนอร์ยี่ หยุดกิจการชั่วคราว และกำลังติดตามว่าจะมีแท่นขุดเจาะน้ำมันหยุดกิจการเพิ่มหรือไม่ และหากทั้ง 23 แท่นหยุดกิจการ จะทำให้พนักงานบทแท่นขุดเจาะและพนักงานในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องตกงาน 6,000 คน”
ดังนั้นระบบสัมปทานจึงไม่สามารถสร้างหลักประกันในเรื่องการรักษาระดับกำลังการผลิตปิโตรเลียมเพื่อความต่อเนื่องหรือเพื่อความมั่นคงได้ เพราะต้องอยู่ภายใต้การตัดสินใจของเอกชน ใช่หรือไม่ !!!?
ในเมื่อไฟฟ้าจะไม่ดับ การใช้ระบบสัมปทานก็ยังไม่ใช่หลักประกันในการสร้างความต่อเนื่องและความมั่นคงทางพลังงานได้ คำถามต่อมาก็คือ "ปัจจัยราคา" ที่ประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมากภายใต้ระบบสัมปทานที่ผ่านมานั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและการพัฒนาเศรษฐกิจจริงหรือไม่? หรือก่อให้เกิดประโยชน์กับใคร?
ซึ่งจำเป็นที่กระทรวงพลังงานจะต้องตอบคำถามและข้อสงสัยดังต่อไปนี้
1.จริงหรือไม่ที่ ปตท. ผูกขาดการขายก๊าซให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แพงกว่าขายให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี? ถ้าเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใดประชาชนทั้ง 65 ล้านคน จึงต้องใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าแพงกว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมี? และถ้าเป็นเช่นนั้นการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต่อไปในอนาคตจะมีหลักประกันอะไรว่าจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง?
2.จากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งมีพลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน นั้นกลับพบว่าแหล่งก๊าซจากโรงแยกก๊าซที่ขายก๊าซ LPG ให้คลังก๊าซนั้นกลับแพงที่สุดกว่าทุกแหล่ง และแพงกว่าการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศด้วย ทั้งๆโรงแยกก๊าซไทย (ปตท.) ได้แหล่งก๊าซธรรมชาติจากแผ่นดินไทยเองดังนี้
ราคา LPG ตลาดโลก (CP) อยู่ที่ 302 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็นเงินบาทที่ 10.80 บาทต่อกิโลกรัม
ราคา LPG ของโรงกลั่นน้ำมันไทย ซึ่งได้ก๊าซ LPG จากการกลั่นน้ำมันขายเข้าคลังก๊าซอยู่ที่ 282 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็นเงินบาทได้ที่ 10.08 บาทต่อกิโลกรัม (ถูกกว่าตลาดโลกไป 20 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพราะถือเป็นกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศและเป็นผลิตภัณฑ์ก๊าซ LPG ได้จากการกลั่นน้ำมัน)
ราคาก๊าซ LPG นำเข้าจากต่างประเทศ ขายเข้าคลังก๊าซอยู่ที่ 387 เหรียญสหรัฐต่อตัน (ราคาตลาด CP แล้วบวกขึ้นไปอีก 85 เหรียญสหรัฐต่อตัน) หรือคิดเป็นเงินบาทที่ 13.84 บาทต่อกิโลกรัม
ราคาก๊าซ LPG ของ ปตท.สผ.ขายเข้าคลังก๊าซอยู่ที่ 428 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 15.31 บาทต่อกิโลกรัม
ราคาก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซไทย (ปตท.) ซึ่งได้แหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยเอง กลับขายเข้าคลังก๊าซแพงที่สุดอยู่ที่ 432 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 15.45 บาทต่อกิโลกรัม
ก๊าซ LPG ที่ได้จากแหล่งก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะจากอ่าวไทยมาให้โรงแยกก๊าซของไทย (ปตท.) เพื่อส่งขายต่อให้คลังก๊าซนั้น แพงกว่าตลาดโลก แพงกว่าโรงกลั่นน้ำมันในไทย และสำคัญที่สุดคือแพงกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย !!!!
ในความเป็นจริงแล้วในเมื่อแหล่งก๊าซธรรมชาติอยู่ในประเทศไทยเอง รัฐบาลก็ควรจะหาทางกำหนดให้ราคาโรงแยกก๊าซนั้นต่ำกว่าราคาตลาดโลกไป 20 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล เท่ากับก๊าซ LPG ที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับโรงกลั่นน้ำมันด้วย จริงหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลทำให้ก๊าซ LPG โดยรวมลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
และไม่ว่าความพยายามในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 รวมทั้งความพยายามเดินหน้าในการให้สิทธิการสำรวจและขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียม บงกช และเอราวัณในอ่าวไทยที่กำลังจะหมดอายุลงให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมโดยไม่ต้องประมูลแข่งขันนั้น หากยังไม่ตอบข้อสงสัยเรื่องปัจจัยราคาข้างต้นแล้ว ก็ยิ่งทำให้เกิดความสงสัยว่าจะเป็นประโยชน์เพื่อใครกันแน่?
และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดที่ราคาก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซที่สูงกว่าทุกแหล่ง อีกทั้งประเทศไทยมีกำลังไฟฟ้าล้นเกินสำรองมาตรฐานไปอย่างมากมายมหาศาล และการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมที่ผ่านมาก็กลับไม่ตอบโจทย์เรื่องความต่อเนื่องและความมั่นคงพลังงานอย่างแท้จริง ย่อมเกิดคำถามตามต่อมาว่า...
ถ้าเช่นนั้นรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเร่งเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 หรือเร่งให้สิทธิสำรวจและผลิตแหล่งบงกชและเอราวัณให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมโดยไม่ต้องประมูล ตลอดจนยกเลิกผังเมืองเพื่อจะเร่งสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและเร่งสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ไปหาสวรรค์วิมานอะไร?
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 หรือที่เรียกว่า แผน PDP 2015 ได้แสดงให้เห็นว่าการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศนั้นมีความคลาดเคลื่อนสูงเกินความเป็นจริงไปอย่างมาก แผนพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่มากเกินความเป็นจริงนั้น ได้ส่งผลทำให้ประเทศไทยต้องสร้างโรงไฟฟ้ามากล้นเกินกำลังสำรองขั้นต่ำไปอย่างมหาศาลด้วย
การสร้างโรงไฟฟ้าที่มากล้นเกินความจำเป็นนั้นจะส่งผลเป็นภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในรูปของต้นทุนไฟฟ้า ซึ่งจะกระทบต่อค่าไฟฟ้าของคนไทยทั้งประเทศที่จะต้องมากเกินความจำเป็นไปอีกด้วย
ตัวอย่าง แผน PDP 2015 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งควรจะทราบว่าการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558 นั้น มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดจริงเพียงแค่ 27,346 เมกะวัตต์ แต่กลับพยากรณ์ตัวเลขความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดปี 2558 (ซึ่งเกิดขึ้นจริงไปแล้ว) สูงถึง 29,051 เมกะวัตต์
หมายความว่ามีการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดปี พ.ศ. 2558 มากเกินความเป็นจริงไปถึง 1,705.5 เมกะวัตต์ ซึ่งเทียบเท่ากับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ถึง 2.45 โรง !!!
นอกจากจะพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดกว่าความเป็นจริงอย่างมหาศาลแล้ว กำลังการผลิตไฟฟ้านั้นกลับสูงไปกว่านั้นอย่างมาก โดยการผลิตไฟฟ้าพึ่งได้นั้นควรจะสำรองอยู่ประมาณ 15% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ดังนั้นจึงควรจะสูงกว่า 27,346 เมกะวัตต์ไปอีก 15% ก็คือประมาณ 31,448 เมกะวัตต์ แต่เอาเข้าจริงกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปี 2558 ตามแผน PDP 2015 นั้นมีสูงถึง 43,623 เมกะวัตต์
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้เคยตรวจสอบพบความจริงแล้วว่า ประเทศไทยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่และไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลย หากดำเนินการตาม 3 มาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 ก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ส่วนที่จ่ายให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มาผลิตไฟฟ้า เฉพาะช่วงรอยต่อของการขาดช่วงของแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยทั้งบงกชและเอราวัณที่หมดอายุสัมปทาน ซึ่งสมมุติว่าเกิดสถานการณ์เลวร้ายสุดคือใช้เวลาขาดช่วง 3 ปี คือ พ.ศ. 2566 -2568 มาตรการดังกล่าวจะทำให้ได้ไฟฟ้ามาใช้จากก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าประมาณ 5,410 เมกะวัตต์
แต่ในความเป็นจริงน่าจะไม่เกิดการขาดช่วงในการผลิตไฟฟ้าของแหล่งบงกชและเอราวัณได้เลย หากรัฐใช้อำนาจต่อรอง และใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ที่อยู่ในมือเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างจริงใจ
มาตรการที่ 2 เปิดประมูลระบบแบ่งปันผลผลิตแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ในอ่าวไทยที่กระทรวงพลังงานรายงานว่ามีศักยภาพ จำนวน 5 แปลง ส่งขึ้นตรงที่โรงไฟฟ้าขนอม พร้อมขยายกำลังการผลิตปี พ.ศ. 2564 ก็จะทำให้ได้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาอีก 740 เมกะวัตต์
มาตรการที่ 3 ส่งเสริมปลูกพืชพลังงาน เพื่อผลิตไฟฟ้า 2,000 เมกะวัตต์ ภายปี พ.ศ. 2568 หรือทยอยทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า 200 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ไม่ยากเลย (ถ้ามีความจริงใจ)
การออกมาตรการทั้ง 3 ข้างต้นนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติถึง 3 ประการ
ประการแรก ประเทศไทยจะได้แหล่งก๊าซธรรมชาติจากบงกชและเอราวัณที่มีศักยภาพสูงนั้นกลับมาของประเทศไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถดำเนินการประมูลจ้างเอกชนผลิตเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความมั่นคงในด้านพลังงานเป็นที่ประจักษ์ และสามารถกำหนดราคาที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนเองได้ โดยไม่ติดอุปสรรคการเน้นการทำกำไรสูงสุดของเอกชน
ประการที่สอง จะทำให้ประเทศไทยไม่ต้องเร่งรีบเลือกพลังงานจากถ่านหินและนิวเคลียร์สร้างความทุกข์ร้อนใจและสร้างความขัดแย้งให้กับพี่น้องประชาชน อีกทั้งเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นพลังงานหมุนเวียน ทั้งแสงแดด และพืชพลังงาน ต่างมีการพัฒนาการที่นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ยังมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ การไม่ด่วนตัดสินใจเลือกพลังงานจากถ่านหินและนิวเคลียร์ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้ใช้พลังงานจากวิวัฒนาการของพลังงานหมุนเวียนที่กำลังก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประการที่สาม มีหลักประกันว่าประเทศไทยจะไม่ขาดแคลนพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าตลอด 20 ปี และประชาชนจะไม่มีทางเดือดร้อนอย่างแน่นอน
ข้ออ้างเรื่องความเร่งรีบสร้างโรงไฟฟ้า เพราะจะเกิดวิกฤติไฟฟ้าดับนั้น จึงฟังไม่ขึ้น!!!
แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะไม่เลือกแนวทางดังกล่าวข้างต้น แต่กลับมีทีท่าในการเอื้ออำนวยให้สร้างโรงไฟฟ้าสร้างได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยเฉพาะทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าขยะ และเร่งเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 อีกด้วย
วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงตามในประกาศของกระทรวงฯ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2558 โดยยกเว้นในโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงตามเงื่อนไขในประกาศนั้นไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA)อีกต่อไป
ตามซ้ำมาด้วยวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อาศัยรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 44 ลงนามในคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2559 ให้ยกเว้นการบังคับใช้ผังเมืองกับโรงไฟฟ้าทุกประเภท และรวมถึงโรงงานรีไซเคิลขยะ และทำลายขยะอีกด้วย
ในlส่วนของโรงไฟฟ้าขยะนั้น ก็ยังมีประเด็นการพิจารณากรณีที่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึงความภาคภูมิใจและให้สัมภาษณ์การกำจัดขยะตกค้าง 200,000 ตัน ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจะจัดให้ให้มีโรงไฟฟ้าขยะใกล้กับแหล่งขยะรัศมีไม่เกิน 4 กิโลเมตรทั่วประเทศ
ในขณะที่นายอภิชาต โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยากล่าวยอมรับในการสัมภาษณ์กล่าวยอมรับเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ความตอนหนึ่งว่า
“พระนครศรีอยุธยาที่ผ่านมาดำเนินการภายใต้กรมควบคุมมลพิษ มีแผนที่จะขนขยะออกจากอยุธยาไปเผาที่โรงปูซิเมนต์ทีพีไอ ที่จังหวัดสระบุรี”
เพราะการขนย้ายขยะจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อทำลายไปที่โรงปูนซิเมนต์ ทีพีไอที่จังหวัดสระบุรีนั้น แม้จะมีระยะทางห่างจากกองขยะที่อยุธยาประมาณ 111 กิโลเมตร แต่ด้วยความสามารถของโรงปูนซิเมนต์ทีพีไอ ที่สามารถเผาขยะมาผลิตไฟฟ้าและรีไซเคิลได้วันละ 4-5 พันตัน ก็สามารถทำลายขยะตกค้าง 2 แสนตันได้ภายในไม่เกิน 60 วัน และใช้งบประมาณค่าขนส่งอย่างเดียวเพียงไม่เกิน 80 ล้านบาท
แต่เหตุใดกระทรวงมหาดไทยจึงกลับแก้ปัญหาขยะตกค้าง 2 แสนตันที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยการขนย้ายออกไปจากพื้นที่เดิมไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วก่อสร้างสถานที่ฝังกลบขยะแห่งใหม่ ขนย้ายขยะ ปรับภูมิทัศน์ จัดหาครุภัณฑ์ และงบประมาณทำแผนประชาสัมพันธ์ รวมมีแผนกระทรวงมหาดไทยจะใช้งบประมาณ 531 ล้านบาท!!!?
และแทนที่จะใช้วิธีการประกวดราคา คณะกรรมการกลับใช้วิธีจัดจ้าง “วิธีพิเศษ”(เจรจากตกลงราคาหรือต่อรองราคา) จัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างสถานที่กำจัดขยะนำร่องให้กับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) จำนวนเงินเกือบ 370 ล้านบาท และใช้วิธีจัดจ้าง “วิธีพิเศษ”สำหรับโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอีกให้กับ บริษัท ดีเอวัน จำกัด เกือบ 9 ล้านบาท และเตรียมจัดหาคุรุภัณฑ์อีกเกือบ 153 ล้านบาท
ส่วน พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก็ให้สัมภาษณ์คาดว่าร่างแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียม และ พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจะสามารถเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนมีนาคมนี้ และช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะสามารถเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อประกาศเป็นกฎหมาย และหากเป็นไปตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ครึ่งปีหลังกระทรวงจะประกาศเชิญชวนให้เอกชนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 อีกด้วย
หนึ่งในเหตุผลที่กระทรวงพลังงานมักจะอ้างในการเร่งเปิดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 นั้น ก็เพื่อ “ความต่อเนื่องและความมั่นคงทางพลังงาน”
แต่คำถามและข้อสงสัยในความต่อเนื่องและความมั่นคงทางพลังงานภายใต้ระบบสัมปทานนั้นจะมีจริงหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบโลกในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ผู้รับสัมปทานนั้นชะลอหรือลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องด้วย?
ทั้งนี้นายสุริยันต์ อภิรักษ์สัตยากุล รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ความตอนหนึ่งว่า :
“บริษัทที่ได้รับสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย เลื่อนแผนการขุดเจาะสำรวจน้ำมันออกไป และมีแท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย 2 แห่ง คือ แท่นสงขลา C และแท่นสงขลา G กำลังการผลิตรวม 2,600 บาร์เรล/วัน ของบริษัท คอสตอลเอนเนอร์ยี่ หยุดกิจการชั่วคราว และกำลังติดตามว่าจะมีแท่นขุดเจาะน้ำมันหยุดกิจการเพิ่มหรือไม่ และหากทั้ง 23 แท่นหยุดกิจการ จะทำให้พนักงานบทแท่นขุดเจาะและพนักงานในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องตกงาน 6,000 คน”
ดังนั้นระบบสัมปทานจึงไม่สามารถสร้างหลักประกันในเรื่องการรักษาระดับกำลังการผลิตปิโตรเลียมเพื่อความต่อเนื่องหรือเพื่อความมั่นคงได้ เพราะต้องอยู่ภายใต้การตัดสินใจของเอกชน ใช่หรือไม่ !!!?
ในเมื่อไฟฟ้าจะไม่ดับ การใช้ระบบสัมปทานก็ยังไม่ใช่หลักประกันในการสร้างความต่อเนื่องและความมั่นคงทางพลังงานได้ คำถามต่อมาก็คือ "ปัจจัยราคา" ที่ประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมากภายใต้ระบบสัมปทานที่ผ่านมานั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและการพัฒนาเศรษฐกิจจริงหรือไม่? หรือก่อให้เกิดประโยชน์กับใคร?
ซึ่งจำเป็นที่กระทรวงพลังงานจะต้องตอบคำถามและข้อสงสัยดังต่อไปนี้
1.จริงหรือไม่ที่ ปตท. ผูกขาดการขายก๊าซให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แพงกว่าขายให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี? ถ้าเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใดประชาชนทั้ง 65 ล้านคน จึงต้องใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าแพงกว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมี? และถ้าเป็นเช่นนั้นการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต่อไปในอนาคตจะมีหลักประกันอะไรว่าจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง?
2.จากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งมีพลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน นั้นกลับพบว่าแหล่งก๊าซจากโรงแยกก๊าซที่ขายก๊าซ LPG ให้คลังก๊าซนั้นกลับแพงที่สุดกว่าทุกแหล่ง และแพงกว่าการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศด้วย ทั้งๆโรงแยกก๊าซไทย (ปตท.) ได้แหล่งก๊าซธรรมชาติจากแผ่นดินไทยเองดังนี้
ราคา LPG ตลาดโลก (CP) อยู่ที่ 302 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็นเงินบาทที่ 10.80 บาทต่อกิโลกรัม
ราคา LPG ของโรงกลั่นน้ำมันไทย ซึ่งได้ก๊าซ LPG จากการกลั่นน้ำมันขายเข้าคลังก๊าซอยู่ที่ 282 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็นเงินบาทได้ที่ 10.08 บาทต่อกิโลกรัม (ถูกกว่าตลาดโลกไป 20 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพราะถือเป็นกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศและเป็นผลิตภัณฑ์ก๊าซ LPG ได้จากการกลั่นน้ำมัน)
ราคาก๊าซ LPG นำเข้าจากต่างประเทศ ขายเข้าคลังก๊าซอยู่ที่ 387 เหรียญสหรัฐต่อตัน (ราคาตลาด CP แล้วบวกขึ้นไปอีก 85 เหรียญสหรัฐต่อตัน) หรือคิดเป็นเงินบาทที่ 13.84 บาทต่อกิโลกรัม
ราคาก๊าซ LPG ของ ปตท.สผ.ขายเข้าคลังก๊าซอยู่ที่ 428 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 15.31 บาทต่อกิโลกรัม
ราคาก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซไทย (ปตท.) ซึ่งได้แหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยเอง กลับขายเข้าคลังก๊าซแพงที่สุดอยู่ที่ 432 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 15.45 บาทต่อกิโลกรัม
ก๊าซ LPG ที่ได้จากแหล่งก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะจากอ่าวไทยมาให้โรงแยกก๊าซของไทย (ปตท.) เพื่อส่งขายต่อให้คลังก๊าซนั้น แพงกว่าตลาดโลก แพงกว่าโรงกลั่นน้ำมันในไทย และสำคัญที่สุดคือแพงกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย !!!!
ในความเป็นจริงแล้วในเมื่อแหล่งก๊าซธรรมชาติอยู่ในประเทศไทยเอง รัฐบาลก็ควรจะหาทางกำหนดให้ราคาโรงแยกก๊าซนั้นต่ำกว่าราคาตลาดโลกไป 20 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล เท่ากับก๊าซ LPG ที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับโรงกลั่นน้ำมันด้วย จริงหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลทำให้ก๊าซ LPG โดยรวมลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
และไม่ว่าความพยายามในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 รวมทั้งความพยายามเดินหน้าในการให้สิทธิการสำรวจและขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียม บงกช และเอราวัณในอ่าวไทยที่กำลังจะหมดอายุลงให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมโดยไม่ต้องประมูลแข่งขันนั้น หากยังไม่ตอบข้อสงสัยเรื่องปัจจัยราคาข้างต้นแล้ว ก็ยิ่งทำให้เกิดความสงสัยว่าจะเป็นประโยชน์เพื่อใครกันแน่?
และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดที่ราคาก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซที่สูงกว่าทุกแหล่ง อีกทั้งประเทศไทยมีกำลังไฟฟ้าล้นเกินสำรองมาตรฐานไปอย่างมากมายมหาศาล และการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมที่ผ่านมาก็กลับไม่ตอบโจทย์เรื่องความต่อเนื่องและความมั่นคงพลังงานอย่างแท้จริง ย่อมเกิดคำถามตามต่อมาว่า...
ถ้าเช่นนั้นรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเร่งเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 หรือเร่งให้สิทธิสำรวจและผลิตแหล่งบงกชและเอราวัณให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมโดยไม่ต้องประมูล ตลอดจนยกเลิกผังเมืองเพื่อจะเร่งสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและเร่งสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ไปหาสวรรค์วิมานอะไร?