ห่างเหินความคิดปรุงแต่ง ขีดๆ เขียนๆ ไปหลายเพลา มัวแต่เอาใจไปผูกพันกับการปฏิเสธสวนเล็กๆ น้อยๆ ปรับพื้นที่ ขจัดวัชพืช ปลูกพืชผักสวนครัว ใช้เวลาไม่มากนัก หลายสัปดาห์อยู่ พอแล้วเสร็จก็สบายกายสบายใจ มีอารมณ์ที่จะปรุงแต่งตามนิสัยรักๆ ชอบๆ ต่อไป
ก่อนเกิดหลังดับ
“ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”
พุทธพจน์บทนี้ พวกเราทั้งหลายรู้ดี เข้าใจดี และสนใจดี แต่ “ก่อนเกิด และหลังดับ” พวกเราไม่ค่อยสนใจกัน อาจเห็นว่าไร้สาระ แท้จริงมันคือสาระ เพราะมันเป็น “เหตุแห่งเกิดและดับ”
“สิ่งทั้งมวลล้วนเป็นธรรม” ถ้ารู้คิดพินิจธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นธรรมทั้งนั้น
ตัวเลขสิบตัว “1234567890” นี้ นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แทนจำนวนจริงแล้ว ยังเป็นนัยบอกธรรมะได้เป็นอย่างดี
เลข 1 คือต่ำสุด
เลข 9 คือสูงสุด
เลข 0 ภาษาสันสกฤต เขียน ศูนย์ ภาษาบาลี เขียน สุญฺญ
ศูนย์ หรือ สูญ หรือ สุญ หรือสุญตา แปลว่าว่างเปล่า
เลข 1-9 เห็นชัด และหลังเลข 9 คือ 0 อันนี้ก็เห็นชัด
แต่ก่อนที่จะเป็น 1 คืออะไร อันนี้ไม่เห็นมีอะไร อันนั้นแหละคือ 0
เลข 0 จึงเป็นเหตุให้มีผลเป็นเลข 1
และเลข 9 จึงเป็นเหตุให้มีผลเป็นเลข 0
หมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็นวัฏจักร
จากตัวเลขดังกล่าว ทำให้มองเห็นก่อนเกิดและหลังดับ มันคืออะไร?
ก่อนเกิดก็คือ 0 หรือว่างเปล่า
หลังดับก็คือ 0 หรือว่างเปล่า
ขณะที่ตั้งอยู่ หรือดำรงอยู่ 1-9 เป็นอะไร?
ก็เป็นสิ่งต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง อย่างที่เราเป็นอยู่ ตามความคิดปรุงแต่งของเรา
ถ้าจะว่าถึงความจริงแท้ ก็เป็น 0 หรือความว่างเปล่าเหมือนก่อนเกิด และหลังดับนั่นแล
การภาวนาของผม นอกจากจะทำตามพ่อแม่ครูบาอาจารย์ต่างๆ นานา เช่น พุท-โธ เป็นต้นแล้ว ก็ยังทำตามหรือแบบฉบับของตนเองด้วย...
การเดินจงกรม ยืนตรง เท้าชิดกัน ก้าวที่ 1 คือเท้าขวา ก้าวที่ 2 คือเท้าซ้ายไปเรื่อยๆ จนถึงก้าวที่ 9 คือเท้าขวา แล้วเท้าซ้ายชิดเท้าขวาแล้วหยุด แล้วหมุนขวากลับ ก้าวที่ 1 ขวา ก้าวที่ 2 ซ้ายไปเรื่อยๆ เหมือนเดิม แต่ละก้าวที่กระทบพื้นต้องรู้สึกตัว 1-9 เดิน รู้สึกตัว 0 หยุด รู้สึกตัว นั่นคือจิตผูกพันอยู่กับ 1-9 และ 0 วิธีการเช่นนี้ เหมาะสำหรับทำในห้องนอนหรือห้องรับแขก หรือบริเวณแคบๆ ถ้านอกบ้านหรือมีทางเดินยาวๆ ก็เดินไปเรื่อยๆ แล้วค่อยหมุนกลับตรงปลายสุด
การทำสมาธิหรือภาวนาในอิริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน นอกจากจะดูลมหายใจ และเฝ้าดูทวารทั้ง 6 แล้ว ก็นับนิ้วมือ 10 นิ้วไปเรื่อยๆ แต่ละนิ้วให้รู้สึก 1234567890 หากไม่อยากนับนิ้วมือ อยากมีลูกประคำก็เอาเหรียญ 1 สตางค์ที่มีรูตรงกลางมา 10 อัน ร้อยเป็นพวงดูโก้ และขลังดี ใส่กระเป๋าติดตัวไปได้ทุกที่ หรือจะคล้องคอเป็นเครื่องประดับก็ได้ นับที่เหรียญบริกรรมตัวเลข 1-0 ไปเรื่อยๆ เป็นแบบฉบับเฉพาะตน ทำให้จิตผูกพันอยู่กับตัวเลข ตัดขาดการปรุงแต่งในเรื่องอื่นๆ ในที่สุดก็จะเกิดความอัศจรรย์แห่งตัวเลข
ตัวเลขเกิดมาจากอะไร? ตัวเลขดับแล้วไปไหน?
คนเกิดมาจากอะไร? ดับหรือตายแล้วไปไหน?
เมื่อผมมีโอกาสพูดธรรมะ ผมมักยกตัวเลข 3 ตัว “190” มาพูดคุยกัน มันง่ายๆ และผ่อนคลายดี
ก่อนเกิดหลังดับ ที่เคยเป็นความลี้ลับ ก็จะแจ้งจ่างป่าง ปานหงายของที่คว่ำอยู่ นั่นแล...1-9 คือสังขตธรรม 0 คืออสังขตธรรม ซึ่งเป็น “รากเหง้าเราเอง”
ความลับความจริง
ความลับกับความจริง แม้จะดูเป็นสองสิ่งที่ต่างกัน แต่มันก็เป็นสิ่งเดียวกันที่เหมือนกันนั่นแหละ
สิ่งที่เป็นความลับ เพราะยังไม่รู้ความจริง เมื่อรู้ความจริงแล้วความลับก็ไม่มี หรือหายไป
เวลาเขาเล่นกล รู้สึกงง อเมซิ่ง อัศจรรย์ แต่พอรู้เล่ห์กระเท่ห์ หรือเล่ห์เหลี่ยมของคนเล่น หรือรู้ความจริงแล้ว ก็รู้สึกเฉยๆ ไม่แปลกอะไร เป็นต้น
ถ้าเข้าถึงความจริงของสิ่งทั้งหลายแล้ว จะไม่มีความลับใดๆ ในโลก ก็จริงอยู่
แต่ก็ยังมีความลับอันมหัศจรรย์ที่ยากแก่การเข้าใจและเข้าถึง มันเป็นสิ่งที่รู้ได้สัมผัสได้เฉพาะตน แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตนอย่างไร เมื่อถึงที่สุดแห่งที่สุดแล้ว มันก็ไม่มีอะไรอยู่ดี ทุกสิ่งว่างเปล่าหมด
ทุกอย่างหยุดนิ่ง
คำว่า “หยุด” คำเดียว ทำให้คน “ซาโตริ” หรือตรัสรู้มาแล้ว อย่างพระพุทธเจ้า ทรงตอบคำถาม องคุลิมาล ว่า... “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” ทำให้องคุลิมาลบรรลุธรรมเป็นอรหันต์ เป็นต้น
หลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านสอนว่า... “โยม รู้จักน้ำที่มันไหลไหม เคยเห็นไหม น้ำนิ่งโยมเคยเห็นไหม ถ้าใจสงบแล้ว มันจะเป็นคล้ายๆ กับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม แน่ะ ก็โยมเคยเห็นแต่น้ำนิ่งกับน้ำไหล น้ำไหลนิ่งโยมไม่เคยเห็น ตรงนั้นแหละ ตรงที่โยมคิดยังไม่ถึงหรอก ว่ามันเฉยมันก็เกิดปัญญาได้ เรียกว่าดูใจของโยม มันจะคล้ายน้ำไหล แต่ว่านิ่ง ดูเหมือนนิ่ง ดูเหมือนไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง มันจะเป็นอย่างนั้น ปัญญาเกิดได้”
คำสอนหลวงพ่อชา ที่กล่าวมานี้ หากจะเปรียบเป็นตัวเลข ก็เหมือนเลข 0 คือ หยุด คือนิ่ง คือว่าง เหมือนไร้ประโยชน์ เหมือนมีประโยชน์
0 คือความว่างเปล่า เหมือนอากาศ ในอากาศเหมือนไม่มีอะไร แต่มีอะไรมากมาเหมือนไม่มีประโยชน์ แต่มีประโยชน์มหาศาล ขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตก็อยู่ไม่ได้
ขาด 0 หรือสุญญตา คนเราก็โง่... “อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา-เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี”
อวิชชา คือความไม่รู้ (ในอริยสัจ 4) หรือความโง่นั่นเอง เป็นเหตุให้เกิดสังขาร ความคิดปรุงแต่งต่างๆ นานา อย่างที่เราพากันเป็นนั่นแล
ทุกสิ่งทุกอย่างต่างก็หยุดนิ่งเหมือนน้ำไหลนิ่ง ดูเหมือนไหล ดูเหมือนนิ่ง ในความวุ่น มีความนิ่ง ในความนิ่ง มีความวุ่น เพราะใดฤา? เพราะทุกอย่างมันเป็นสูญของมันอยู่อย่างนั้น
ทุกสิ่งว่างเปล่า
มอตโต หรือสโลแกนของผมที่ผมชอบใช้ ชอบพินิจพิจารณาอยู่เสมอก็คือ... “สิ่งทั้งมวลล้วนว่างเปล่า” หรือ “สิ่งทั้งมวลล้วนเป็น 0”
และมีวัชรสูตร เป็นเครื่องอยู่
“สังขตธรรมทั้งปวง
ดุจฝันมายาฟองน้ำรูปเงา
ดุจนิศาชลและอัสนี
ควรพินิจด้วยอาการเช่นนี้แล”
จิตหรือใจของเรา มีความเป็นดั่งกระจก...
“บนบานกระจก ยามวัตถุมาก็เกิดภาพ ยามวัตถุไปภาพก็หาย ซึ่งกระจกจะไม่มีการยึดหรือละต่อภาวะที่ไปหรือมาแต่อย่างใด โดยกระจกก็ยังคงเป็นกระจก อันเหมือนดั่งตถตาภาพแห่งเรา ที่ยังคงเป็นดั่งที่เป็นอยู่ โดยหาได้ผกผันไปตามภาวะที่ประสบไม่”
นี่เป็นเพียงความคิดเห็น หรือการปรุงแต่ง (สังขาร) ของคนธรรมดาคนหนึ่ง อันยากที่จะให้ใครเข้าใจ-เข้าถึง “สิ่งทั้งมวลล้วนว่างเปล่า” ได้
จึงจำเป็นต้องยกคำสอนของท่านผู้รู้-ที่ตื่นรู้ทั้งหลายมาพินิจพิจารณา ซึ่งจะทำให้ง่ายแก่การเข้าใจ-เข้าถึงได้ไม่ยากนัก หากมีศรัทธาและใฝ่ใจจริง...
1. พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา... เห็นท่านซิ่งกวง “ปลงสังขารตก” มีความศรัทธาในธรรมมากกว่าชีวิต...แล้วจึงพูดว่า...
“ท่านอยากจะเรียนธรรมะอะไร?”
พระซิ่งกวง ตอบว่า... “จิตของผมมันไม่สงบ...ขอให้ท่านอาจารย์ ช่วยทำจิตให้สงบที!
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า... “ท่านจงเอาจิตออกมาซิ! ฉันจะทำให้จิตมันสงบ”
พระซิ่งกวงนิ่ง! คิดอยู่สักครู่ แล้วก็ตอบท่านพระอาจารย์ว่า... “ผมหาจิตไม่พบครับ!”
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า... “ฉันได้ทำจิตของท่านสงบแล้ว”
พระซิ่งกวง ก็เกิดความสว่างไสวบรรลุธรรม (สุญตา) ทันที
...(ธีรทาส, ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น-ฉบับเซียนท้ออายุยืน รวมเล่มพิเศษ, สนพ.สุขภาพใจ)
2. พระอาจารย์พุทธทาสภิกขุ สอนว่า...ในขณะที่จิตว่างจากกิเลสแล้ว ย่อมผ่องใสได้ ย่อมเป็นประภัสสร ย่อมรุ่งเรืองอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ หรือปัญญาโดยแน่นอน สำหรับจิตว่างของพระอรหันต์นั้น ต่างกันเพียงว่าเด็ดขาด เพราะพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ไม่มีช่องว่าง ส่วนเราปุถุชน มีสติไม่สมบูรณ์ มีช่องว่างให้กิเลสเป็นอาคันตุกะเข้ามา ต่างกันเพียงเท่านี้
3. โตกุซัน (ค.ศ. 780-865) เป็นนักศึกษาทางพุทธศาสนา ที่มีความรอบรู้มากผู้หนึ่ง หลังจากที่เห็นแจ้งในธรรม เข้าถึงสัจจะแห่งเซนแล้ว ท่านได้นำบทอธิบายคัมภีร์วัชรเฉทิกะสูตรของท่านทั้งหมดไปเผาไฟทิ้งเสียทันที อรรถกถาเหล่านั้น ท่านเคยนำติดตัวไปด้วยทุกหนทุกแห่ง ด้วยเห็นว่าทรงคุณค่า และคิดว่ามีประโยชน์มหาศาล แต่เดี๋ยวนี้ท่านเผามันเสียแล้ว และประมวลสรรพตำราลงสู่ความไม่มีอะไรเลย และได้ประกาศคาถา ดังนี้...
“ไม่ว่าคุณจะมีความรู้ทางปรัชญา (Philosophy) อันลึกซึ้งมากมายเพียงใด มันก็เหมือนกับเส้นผมเส้นหนึ่งที่วางอยู่ในพื้นที่อันไพศาล และไม่ว่าประสบการณ์ในสิ่งโลกๆ ของคุณ จะสำคัญเพียงใด มันก็เหมือนกับหยดน้ำเพียงหยดเดียว ที่ถูกสลัดลงไปในเหวอันลึกสุดหยั่งเท่านั้น”
...(วิมุตติคาถา, บทบันทึกคำอุทานของพระเซน เมื่อขณะบรรลุธรรม, ละเอียด ศิลาน้อย และธานินทร์ เหตุบุตร-เรียบเรียง)
4. พระสังฆปรินายก องค์ที่ 4 (สี่โจว)... ท่านเกิด ณ ตำบลกวงจี่ เมืองคีจิว แซ่ซีเบ้ บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี ได้เดินทางไปหาท่านพระสังฆปรินายก องค์ที่ 3 (พระเจ็งฉั่งไต้ซือ) กราบเรียนท่านว่า... “ขอให้ใต้เท้าช่วยกรุณาสอนธรรมะ เพื่อความหลุดพ้นให้กระผมด้วยครับ!”
พระสังฆปรินายก พูดว่า... “ใครเขาผูกเจ้าไว้ล่ะ?”
สามเณรเต้าสิ่น นั่งคิดอยู่สักครู่ แล้วตอบว่า... “ไม่มีใครเขาผูกกระผมไว้...ครับ!”
ท่านพระสังฆปรินายก พูดว่า... “ถ้าไม่มีใครเขาผูกเจ้าไว้แล้ว ทำไมเจ้าจึงจะต้องมาหาคนแก้ด้วยเล่า?”
สามเณรเต้าสิ่น ก็เกิดความสว่างไสว และได้บรรลุธรรม ในข้อที่ตนสงสัยขึ้นมาทันที
...(ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น ฉบับเซียนท้ออายุยืน รวมเล่มพิเศษ 1-2-3-4 โดย ธีรทาส, สนพ.สุขภาพใจ)
5. พระพุทธเจ้า ตรัสว่า...
“สุภูติ! หากได้มีบุคคลนำสัปตรัตนะปูทั่วโลกธาตุที่เป็นจำนวนอันหาเปรียบมิได้นี้ มาบริจาคทานมาตรว่าบุคคลนี้จะได้รับบุญมากมายก็จริง แต่หากได้มีกุลบุตร กุลธิดา บังเกิดกุศลจิต ที่ต้องการโปรดผองชนมาสมาทานในพระสูตรนี้แล้ว ไม่เพียงแต่ตัวเขาจะได้แจ้งในธรรมญาณเท่านั้น หากแต่เขายังได้นำไปสาธยายให้แก่ผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นต่างรู้แจ้งในธรรมญาณด้วยดุจกัน สำหรับโลกุตรบุญที่บุคคลนี้ได้สร้าง ยังจะมีความมหาศาลยิ่งกว่าการทำบุญของบุคคลก่อนนี้เสียอีก แต่ควรประกาศสาธยายแก่ผู้อื่นอย่างไรล่ะ?
“กล่าวคือ ต้องไม่ยึดในลักษณะ ใจต้องไม่หวั่นไหว สำหรับสาเหตุก็เพราะธรรมทั้งปวงในใต้หล้าที่ได้กระทำโดยสังขตะ ล้วนมีความเกิดดับอย่างไม่จีรังยั่งยืน ซึ่งเป็นเหมือนดั่งความฝัน เหมือนดั่งภาพมายา เหมือนดั่งฟองน้ำ เหมือนดั่งภาพเงา เหมือนดั่งน้ำค้างในยามเช้าที่จะเหือดแห้งไปอย่างรวดเร็ว เหมือนดั่งสายอัสนีที่จะแลบผ่านเพียงพริบตา ทั้งหมดที่เป็นไปด้วยความสังขตะเหล่านี้ ควรต้องพิจารณาด้วย 6 ประการนี้แล”
...(วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร, พระสงฆ์จี้กง-อรรถาธิบาย, อมร ทองสุก-แปลและเรียบเรียง)
6. ท่านโพธิธรรม กล่าวว่า...
“แม้เราได้ถ่ายทอดให้แล้วซึ่งธรรมะแห่งจิต ธรรมะก็จะเป็นธรรมะไปได้อย่างไรกัน! เพราะว่าไม่ใช่ทั้งธรรมะ ไม่ใช่ทั้งจิต ที่สามารถมีอยู่อย่างมีความเป็นตัวเป็นตน เข้าใจข้อนี้เท่านั้น เธอจึงจะเข้าใจธรรมะ ซึ่งถ่ายทอดด้วยจิตถึงจิต”
“ธรรมชาติของจิตนั้น ถ้าเข้าใจซึมซาบแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อมหรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้ คือความไม่มีอะไร ให้ใครต้องลุถึง และผู้ซึ่งได้ตรัสรู้ ก็ไม่พูดว่า เขารู้อะไร?”
7. นายแพทย์ตันม่อเซี้ยง กล่าวว่า...นิกายเซ็น (ฌาน) เป็นสุญตา คือโลกุตตรธรรม มุ่งสอนแต่เรื่องจิตใจโดยตรง จะทำอย่างไร? ให้พ้นทุกข์ในดวงจิตเร็วที่สุด เท่าที่จะมีวิธีสอน ให้ลัดตรงไปสู่จุดที่ต้องการทันทีเท่านั้นเอง
8. คัมภีร์เซ็น สอนว่า...ให้ขันธ์ 5 เป็นทาน สูงกว่าให้เงินทองเป็นทาน จงพิจารณาขันธ์ 5 ให้ว่าง ทุกข์ทั้งปวงจะดับหมด
9. อาจารย์เสถียร โพธินันทะ กล่าวว่า...นิกายเซ็น (ฌาน) ก็คือสุญตา เป็นหลักธรรมที่สูงสุดในมหายาน คือตรงกันกับในพระไตรปิฎก เถรวาทเราก็คือ “อนัตตา” นี้เอง
0. อาจารย์นิโรธ จิตวิสุทธิ์ กล่าวว่า...
“สภาวธรรม หรือธรรมชาติเดิมแท้ของจิต หรือธรรมชาติของจิตหนึ่ง หรือจิตพุทธะนั้น เปรียบเสมือนความว่าง (สุญญตา) หรือความไร้ภาวะใด (อนัตตา) ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะสูงสุดที่มีมาก่อนความคิดปรุงแต่ง ผู้ใดเข้าใจต่อสภาวธรรมแห่งชีวิต หรือจิตเดิมแท้ ด้วยปัญญาญาณ หรือด้วยการตื่นรู้ของตนเช่นนี้ จิตผู้นั้นก็เป็นอิสระจากมายาทั้งปวง และผู้นั้นดำรงอยู่กับสภาวธรรม หรือธรรมชาติแห่งความเป็นสูญโดยสภาวะ คือดำรงอยู่กับธรรมชาติแห่งความว่าง (สุญญตา) และความไม่เป็นอะไร (อนัตตา)
...(รหัสลับบรรลุธรรมแบบเซน, อ.นิโรธ จิตวิสุทธิ์, สนพ.ก้าวแรก)
แม้ต่างคนต่างคิด ก็จบที่จุดเดียวกัน คือ...ไม่มีอะไร...ฮ่าๆๆ
“ก่อนเกิดหลังดับ
ความลับความจริง
ทุกอย่างหยุดนิ่ง
ทุกสิ่งว่างเปล่า”
เลข 1 ถึง 0 มิใช่เพียงตัวเลขธรรมดา แต่คือมรรคาแห่งวิมุตติหลุดพ้นได้ ถ้าเข้าใจและเข้าถึง... “สิ่งทั้งมวลล้วนว่างเปล่า” หรือ “สิ่งทั้งมวลล้วนเป็น 0”
“สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ-สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” เพราะมันไม่มีอะไรที่จะให้อะไรไปยึด เพราะมันว่างเปล่า
ก่อนเกิดหลังดับ
“ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”
พุทธพจน์บทนี้ พวกเราทั้งหลายรู้ดี เข้าใจดี และสนใจดี แต่ “ก่อนเกิด และหลังดับ” พวกเราไม่ค่อยสนใจกัน อาจเห็นว่าไร้สาระ แท้จริงมันคือสาระ เพราะมันเป็น “เหตุแห่งเกิดและดับ”
“สิ่งทั้งมวลล้วนเป็นธรรม” ถ้ารู้คิดพินิจธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นธรรมทั้งนั้น
ตัวเลขสิบตัว “1234567890” นี้ นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แทนจำนวนจริงแล้ว ยังเป็นนัยบอกธรรมะได้เป็นอย่างดี
เลข 1 คือต่ำสุด
เลข 9 คือสูงสุด
เลข 0 ภาษาสันสกฤต เขียน ศูนย์ ภาษาบาลี เขียน สุญฺญ
ศูนย์ หรือ สูญ หรือ สุญ หรือสุญตา แปลว่าว่างเปล่า
เลข 1-9 เห็นชัด และหลังเลข 9 คือ 0 อันนี้ก็เห็นชัด
แต่ก่อนที่จะเป็น 1 คืออะไร อันนี้ไม่เห็นมีอะไร อันนั้นแหละคือ 0
เลข 0 จึงเป็นเหตุให้มีผลเป็นเลข 1
และเลข 9 จึงเป็นเหตุให้มีผลเป็นเลข 0
หมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็นวัฏจักร
จากตัวเลขดังกล่าว ทำให้มองเห็นก่อนเกิดและหลังดับ มันคืออะไร?
ก่อนเกิดก็คือ 0 หรือว่างเปล่า
หลังดับก็คือ 0 หรือว่างเปล่า
ขณะที่ตั้งอยู่ หรือดำรงอยู่ 1-9 เป็นอะไร?
ก็เป็นสิ่งต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง อย่างที่เราเป็นอยู่ ตามความคิดปรุงแต่งของเรา
ถ้าจะว่าถึงความจริงแท้ ก็เป็น 0 หรือความว่างเปล่าเหมือนก่อนเกิด และหลังดับนั่นแล
การภาวนาของผม นอกจากจะทำตามพ่อแม่ครูบาอาจารย์ต่างๆ นานา เช่น พุท-โธ เป็นต้นแล้ว ก็ยังทำตามหรือแบบฉบับของตนเองด้วย...
การเดินจงกรม ยืนตรง เท้าชิดกัน ก้าวที่ 1 คือเท้าขวา ก้าวที่ 2 คือเท้าซ้ายไปเรื่อยๆ จนถึงก้าวที่ 9 คือเท้าขวา แล้วเท้าซ้ายชิดเท้าขวาแล้วหยุด แล้วหมุนขวากลับ ก้าวที่ 1 ขวา ก้าวที่ 2 ซ้ายไปเรื่อยๆ เหมือนเดิม แต่ละก้าวที่กระทบพื้นต้องรู้สึกตัว 1-9 เดิน รู้สึกตัว 0 หยุด รู้สึกตัว นั่นคือจิตผูกพันอยู่กับ 1-9 และ 0 วิธีการเช่นนี้ เหมาะสำหรับทำในห้องนอนหรือห้องรับแขก หรือบริเวณแคบๆ ถ้านอกบ้านหรือมีทางเดินยาวๆ ก็เดินไปเรื่อยๆ แล้วค่อยหมุนกลับตรงปลายสุด
การทำสมาธิหรือภาวนาในอิริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน นอกจากจะดูลมหายใจ และเฝ้าดูทวารทั้ง 6 แล้ว ก็นับนิ้วมือ 10 นิ้วไปเรื่อยๆ แต่ละนิ้วให้รู้สึก 1234567890 หากไม่อยากนับนิ้วมือ อยากมีลูกประคำก็เอาเหรียญ 1 สตางค์ที่มีรูตรงกลางมา 10 อัน ร้อยเป็นพวงดูโก้ และขลังดี ใส่กระเป๋าติดตัวไปได้ทุกที่ หรือจะคล้องคอเป็นเครื่องประดับก็ได้ นับที่เหรียญบริกรรมตัวเลข 1-0 ไปเรื่อยๆ เป็นแบบฉบับเฉพาะตน ทำให้จิตผูกพันอยู่กับตัวเลข ตัดขาดการปรุงแต่งในเรื่องอื่นๆ ในที่สุดก็จะเกิดความอัศจรรย์แห่งตัวเลข
ตัวเลขเกิดมาจากอะไร? ตัวเลขดับแล้วไปไหน?
คนเกิดมาจากอะไร? ดับหรือตายแล้วไปไหน?
เมื่อผมมีโอกาสพูดธรรมะ ผมมักยกตัวเลข 3 ตัว “190” มาพูดคุยกัน มันง่ายๆ และผ่อนคลายดี
ก่อนเกิดหลังดับ ที่เคยเป็นความลี้ลับ ก็จะแจ้งจ่างป่าง ปานหงายของที่คว่ำอยู่ นั่นแล...1-9 คือสังขตธรรม 0 คืออสังขตธรรม ซึ่งเป็น “รากเหง้าเราเอง”
ความลับความจริง
ความลับกับความจริง แม้จะดูเป็นสองสิ่งที่ต่างกัน แต่มันก็เป็นสิ่งเดียวกันที่เหมือนกันนั่นแหละ
สิ่งที่เป็นความลับ เพราะยังไม่รู้ความจริง เมื่อรู้ความจริงแล้วความลับก็ไม่มี หรือหายไป
เวลาเขาเล่นกล รู้สึกงง อเมซิ่ง อัศจรรย์ แต่พอรู้เล่ห์กระเท่ห์ หรือเล่ห์เหลี่ยมของคนเล่น หรือรู้ความจริงแล้ว ก็รู้สึกเฉยๆ ไม่แปลกอะไร เป็นต้น
ถ้าเข้าถึงความจริงของสิ่งทั้งหลายแล้ว จะไม่มีความลับใดๆ ในโลก ก็จริงอยู่
แต่ก็ยังมีความลับอันมหัศจรรย์ที่ยากแก่การเข้าใจและเข้าถึง มันเป็นสิ่งที่รู้ได้สัมผัสได้เฉพาะตน แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตนอย่างไร เมื่อถึงที่สุดแห่งที่สุดแล้ว มันก็ไม่มีอะไรอยู่ดี ทุกสิ่งว่างเปล่าหมด
ทุกอย่างหยุดนิ่ง
คำว่า “หยุด” คำเดียว ทำให้คน “ซาโตริ” หรือตรัสรู้มาแล้ว อย่างพระพุทธเจ้า ทรงตอบคำถาม องคุลิมาล ว่า... “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” ทำให้องคุลิมาลบรรลุธรรมเป็นอรหันต์ เป็นต้น
หลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านสอนว่า... “โยม รู้จักน้ำที่มันไหลไหม เคยเห็นไหม น้ำนิ่งโยมเคยเห็นไหม ถ้าใจสงบแล้ว มันจะเป็นคล้ายๆ กับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม แน่ะ ก็โยมเคยเห็นแต่น้ำนิ่งกับน้ำไหล น้ำไหลนิ่งโยมไม่เคยเห็น ตรงนั้นแหละ ตรงที่โยมคิดยังไม่ถึงหรอก ว่ามันเฉยมันก็เกิดปัญญาได้ เรียกว่าดูใจของโยม มันจะคล้ายน้ำไหล แต่ว่านิ่ง ดูเหมือนนิ่ง ดูเหมือนไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง มันจะเป็นอย่างนั้น ปัญญาเกิดได้”
คำสอนหลวงพ่อชา ที่กล่าวมานี้ หากจะเปรียบเป็นตัวเลข ก็เหมือนเลข 0 คือ หยุด คือนิ่ง คือว่าง เหมือนไร้ประโยชน์ เหมือนมีประโยชน์
0 คือความว่างเปล่า เหมือนอากาศ ในอากาศเหมือนไม่มีอะไร แต่มีอะไรมากมาเหมือนไม่มีประโยชน์ แต่มีประโยชน์มหาศาล ขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตก็อยู่ไม่ได้
ขาด 0 หรือสุญญตา คนเราก็โง่... “อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา-เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี”
อวิชชา คือความไม่รู้ (ในอริยสัจ 4) หรือความโง่นั่นเอง เป็นเหตุให้เกิดสังขาร ความคิดปรุงแต่งต่างๆ นานา อย่างที่เราพากันเป็นนั่นแล
ทุกสิ่งทุกอย่างต่างก็หยุดนิ่งเหมือนน้ำไหลนิ่ง ดูเหมือนไหล ดูเหมือนนิ่ง ในความวุ่น มีความนิ่ง ในความนิ่ง มีความวุ่น เพราะใดฤา? เพราะทุกอย่างมันเป็นสูญของมันอยู่อย่างนั้น
ทุกสิ่งว่างเปล่า
มอตโต หรือสโลแกนของผมที่ผมชอบใช้ ชอบพินิจพิจารณาอยู่เสมอก็คือ... “สิ่งทั้งมวลล้วนว่างเปล่า” หรือ “สิ่งทั้งมวลล้วนเป็น 0”
และมีวัชรสูตร เป็นเครื่องอยู่
“สังขตธรรมทั้งปวง
ดุจฝันมายาฟองน้ำรูปเงา
ดุจนิศาชลและอัสนี
ควรพินิจด้วยอาการเช่นนี้แล”
จิตหรือใจของเรา มีความเป็นดั่งกระจก...
“บนบานกระจก ยามวัตถุมาก็เกิดภาพ ยามวัตถุไปภาพก็หาย ซึ่งกระจกจะไม่มีการยึดหรือละต่อภาวะที่ไปหรือมาแต่อย่างใด โดยกระจกก็ยังคงเป็นกระจก อันเหมือนดั่งตถตาภาพแห่งเรา ที่ยังคงเป็นดั่งที่เป็นอยู่ โดยหาได้ผกผันไปตามภาวะที่ประสบไม่”
นี่เป็นเพียงความคิดเห็น หรือการปรุงแต่ง (สังขาร) ของคนธรรมดาคนหนึ่ง อันยากที่จะให้ใครเข้าใจ-เข้าถึง “สิ่งทั้งมวลล้วนว่างเปล่า” ได้
จึงจำเป็นต้องยกคำสอนของท่านผู้รู้-ที่ตื่นรู้ทั้งหลายมาพินิจพิจารณา ซึ่งจะทำให้ง่ายแก่การเข้าใจ-เข้าถึงได้ไม่ยากนัก หากมีศรัทธาและใฝ่ใจจริง...
1. พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา... เห็นท่านซิ่งกวง “ปลงสังขารตก” มีความศรัทธาในธรรมมากกว่าชีวิต...แล้วจึงพูดว่า...
“ท่านอยากจะเรียนธรรมะอะไร?”
พระซิ่งกวง ตอบว่า... “จิตของผมมันไม่สงบ...ขอให้ท่านอาจารย์ ช่วยทำจิตให้สงบที!
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า... “ท่านจงเอาจิตออกมาซิ! ฉันจะทำให้จิตมันสงบ”
พระซิ่งกวงนิ่ง! คิดอยู่สักครู่ แล้วก็ตอบท่านพระอาจารย์ว่า... “ผมหาจิตไม่พบครับ!”
พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา ตอบว่า... “ฉันได้ทำจิตของท่านสงบแล้ว”
พระซิ่งกวง ก็เกิดความสว่างไสวบรรลุธรรม (สุญตา) ทันที
...(ธีรทาส, ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น-ฉบับเซียนท้ออายุยืน รวมเล่มพิเศษ, สนพ.สุขภาพใจ)
2. พระอาจารย์พุทธทาสภิกขุ สอนว่า...ในขณะที่จิตว่างจากกิเลสแล้ว ย่อมผ่องใสได้ ย่อมเป็นประภัสสร ย่อมรุ่งเรืองอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ หรือปัญญาโดยแน่นอน สำหรับจิตว่างของพระอรหันต์นั้น ต่างกันเพียงว่าเด็ดขาด เพราะพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ไม่มีช่องว่าง ส่วนเราปุถุชน มีสติไม่สมบูรณ์ มีช่องว่างให้กิเลสเป็นอาคันตุกะเข้ามา ต่างกันเพียงเท่านี้
3. โตกุซัน (ค.ศ. 780-865) เป็นนักศึกษาทางพุทธศาสนา ที่มีความรอบรู้มากผู้หนึ่ง หลังจากที่เห็นแจ้งในธรรม เข้าถึงสัจจะแห่งเซนแล้ว ท่านได้นำบทอธิบายคัมภีร์วัชรเฉทิกะสูตรของท่านทั้งหมดไปเผาไฟทิ้งเสียทันที อรรถกถาเหล่านั้น ท่านเคยนำติดตัวไปด้วยทุกหนทุกแห่ง ด้วยเห็นว่าทรงคุณค่า และคิดว่ามีประโยชน์มหาศาล แต่เดี๋ยวนี้ท่านเผามันเสียแล้ว และประมวลสรรพตำราลงสู่ความไม่มีอะไรเลย และได้ประกาศคาถา ดังนี้...
“ไม่ว่าคุณจะมีความรู้ทางปรัชญา (Philosophy) อันลึกซึ้งมากมายเพียงใด มันก็เหมือนกับเส้นผมเส้นหนึ่งที่วางอยู่ในพื้นที่อันไพศาล และไม่ว่าประสบการณ์ในสิ่งโลกๆ ของคุณ จะสำคัญเพียงใด มันก็เหมือนกับหยดน้ำเพียงหยดเดียว ที่ถูกสลัดลงไปในเหวอันลึกสุดหยั่งเท่านั้น”
...(วิมุตติคาถา, บทบันทึกคำอุทานของพระเซน เมื่อขณะบรรลุธรรม, ละเอียด ศิลาน้อย และธานินทร์ เหตุบุตร-เรียบเรียง)
4. พระสังฆปรินายก องค์ที่ 4 (สี่โจว)... ท่านเกิด ณ ตำบลกวงจี่ เมืองคีจิว แซ่ซีเบ้ บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี ได้เดินทางไปหาท่านพระสังฆปรินายก องค์ที่ 3 (พระเจ็งฉั่งไต้ซือ) กราบเรียนท่านว่า... “ขอให้ใต้เท้าช่วยกรุณาสอนธรรมะ เพื่อความหลุดพ้นให้กระผมด้วยครับ!”
พระสังฆปรินายก พูดว่า... “ใครเขาผูกเจ้าไว้ล่ะ?”
สามเณรเต้าสิ่น นั่งคิดอยู่สักครู่ แล้วตอบว่า... “ไม่มีใครเขาผูกกระผมไว้...ครับ!”
ท่านพระสังฆปรินายก พูดว่า... “ถ้าไม่มีใครเขาผูกเจ้าไว้แล้ว ทำไมเจ้าจึงจะต้องมาหาคนแก้ด้วยเล่า?”
สามเณรเต้าสิ่น ก็เกิดความสว่างไสว และได้บรรลุธรรม ในข้อที่ตนสงสัยขึ้นมาทันที
...(ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น ฉบับเซียนท้ออายุยืน รวมเล่มพิเศษ 1-2-3-4 โดย ธีรทาส, สนพ.สุขภาพใจ)
5. พระพุทธเจ้า ตรัสว่า...
“สุภูติ! หากได้มีบุคคลนำสัปตรัตนะปูทั่วโลกธาตุที่เป็นจำนวนอันหาเปรียบมิได้นี้ มาบริจาคทานมาตรว่าบุคคลนี้จะได้รับบุญมากมายก็จริง แต่หากได้มีกุลบุตร กุลธิดา บังเกิดกุศลจิต ที่ต้องการโปรดผองชนมาสมาทานในพระสูตรนี้แล้ว ไม่เพียงแต่ตัวเขาจะได้แจ้งในธรรมญาณเท่านั้น หากแต่เขายังได้นำไปสาธยายให้แก่ผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นต่างรู้แจ้งในธรรมญาณด้วยดุจกัน สำหรับโลกุตรบุญที่บุคคลนี้ได้สร้าง ยังจะมีความมหาศาลยิ่งกว่าการทำบุญของบุคคลก่อนนี้เสียอีก แต่ควรประกาศสาธยายแก่ผู้อื่นอย่างไรล่ะ?
“กล่าวคือ ต้องไม่ยึดในลักษณะ ใจต้องไม่หวั่นไหว สำหรับสาเหตุก็เพราะธรรมทั้งปวงในใต้หล้าที่ได้กระทำโดยสังขตะ ล้วนมีความเกิดดับอย่างไม่จีรังยั่งยืน ซึ่งเป็นเหมือนดั่งความฝัน เหมือนดั่งภาพมายา เหมือนดั่งฟองน้ำ เหมือนดั่งภาพเงา เหมือนดั่งน้ำค้างในยามเช้าที่จะเหือดแห้งไปอย่างรวดเร็ว เหมือนดั่งสายอัสนีที่จะแลบผ่านเพียงพริบตา ทั้งหมดที่เป็นไปด้วยความสังขตะเหล่านี้ ควรต้องพิจารณาด้วย 6 ประการนี้แล”
...(วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร, พระสงฆ์จี้กง-อรรถาธิบาย, อมร ทองสุก-แปลและเรียบเรียง)
6. ท่านโพธิธรรม กล่าวว่า...
“แม้เราได้ถ่ายทอดให้แล้วซึ่งธรรมะแห่งจิต ธรรมะก็จะเป็นธรรมะไปได้อย่างไรกัน! เพราะว่าไม่ใช่ทั้งธรรมะ ไม่ใช่ทั้งจิต ที่สามารถมีอยู่อย่างมีความเป็นตัวเป็นตน เข้าใจข้อนี้เท่านั้น เธอจึงจะเข้าใจธรรมะ ซึ่งถ่ายทอดด้วยจิตถึงจิต”
“ธรรมชาติของจิตนั้น ถ้าเข้าใจซึมซาบแล้ว คำพูดของมนุษย์ไม่สามารถหว่านล้อมหรือเปิดเผยมันได้ ความตรัสรู้ คือความไม่มีอะไร ให้ใครต้องลุถึง และผู้ซึ่งได้ตรัสรู้ ก็ไม่พูดว่า เขารู้อะไร?”
7. นายแพทย์ตันม่อเซี้ยง กล่าวว่า...นิกายเซ็น (ฌาน) เป็นสุญตา คือโลกุตตรธรรม มุ่งสอนแต่เรื่องจิตใจโดยตรง จะทำอย่างไร? ให้พ้นทุกข์ในดวงจิตเร็วที่สุด เท่าที่จะมีวิธีสอน ให้ลัดตรงไปสู่จุดที่ต้องการทันทีเท่านั้นเอง
8. คัมภีร์เซ็น สอนว่า...ให้ขันธ์ 5 เป็นทาน สูงกว่าให้เงินทองเป็นทาน จงพิจารณาขันธ์ 5 ให้ว่าง ทุกข์ทั้งปวงจะดับหมด
9. อาจารย์เสถียร โพธินันทะ กล่าวว่า...นิกายเซ็น (ฌาน) ก็คือสุญตา เป็นหลักธรรมที่สูงสุดในมหายาน คือตรงกันกับในพระไตรปิฎก เถรวาทเราก็คือ “อนัตตา” นี้เอง
0. อาจารย์นิโรธ จิตวิสุทธิ์ กล่าวว่า...
“สภาวธรรม หรือธรรมชาติเดิมแท้ของจิต หรือธรรมชาติของจิตหนึ่ง หรือจิตพุทธะนั้น เปรียบเสมือนความว่าง (สุญญตา) หรือความไร้ภาวะใด (อนัตตา) ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะสูงสุดที่มีมาก่อนความคิดปรุงแต่ง ผู้ใดเข้าใจต่อสภาวธรรมแห่งชีวิต หรือจิตเดิมแท้ ด้วยปัญญาญาณ หรือด้วยการตื่นรู้ของตนเช่นนี้ จิตผู้นั้นก็เป็นอิสระจากมายาทั้งปวง และผู้นั้นดำรงอยู่กับสภาวธรรม หรือธรรมชาติแห่งความเป็นสูญโดยสภาวะ คือดำรงอยู่กับธรรมชาติแห่งความว่าง (สุญญตา) และความไม่เป็นอะไร (อนัตตา)
...(รหัสลับบรรลุธรรมแบบเซน, อ.นิโรธ จิตวิสุทธิ์, สนพ.ก้าวแรก)
แม้ต่างคนต่างคิด ก็จบที่จุดเดียวกัน คือ...ไม่มีอะไร...ฮ่าๆๆ
“ก่อนเกิดหลังดับ
ความลับความจริง
ทุกอย่างหยุดนิ่ง
ทุกสิ่งว่างเปล่า”
เลข 1 ถึง 0 มิใช่เพียงตัวเลขธรรมดา แต่คือมรรคาแห่งวิมุตติหลุดพ้นได้ ถ้าเข้าใจและเข้าถึง... “สิ่งทั้งมวลล้วนว่างเปล่า” หรือ “สิ่งทั้งมวลล้วนเป็น 0”
“สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ-สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” เพราะมันไม่มีอะไรที่จะให้อะไรไปยึด เพราะมันว่างเปล่า