นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการทำงานของกรธ.ว่า ขณะนี้กรธ.ได้ทยอยทบทวนบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ตามความเห็นและข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วนจนถึงหมวดศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ไป กรธ. ก็จะพิจารณาต่อในหมวดองค์กรอิสระ การปกครองส่วนท้องถิ่น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ บทเฉพาะกาล รวมทั้งประเด็นทางโครงสร้างการเมือง วิธีการได้มาของสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) และวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)
สำหรับบทบัญญัติในส่วนของ ส.ว.นั้น เบื้องต้นทางกรธ. ยังเห็นตรงกันว่า สิ่งที่กรธ.ออกแบบไว้นั้น ไม่ได้มีสิ่งใดผิด การวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ส.ว.แบบเลือกกันเองนั้น ไม่ยึดโยงกับประชาชน เราก็ยังไม่เห็นว่าจะไม่ยึดโยงกับประชาชนตรงไหน เพราะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม และที่สำคัญการออกแบบวิธีการเช่นนี้ เพราะกรธ. มีเหตุผลคือ ไม่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองมาแทรกแซง
ส่วนข้อเสนอของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ที่เสนอให้ ส.ว. มาจากการสรรหานั้น ขณะนี้กรธ.เรายังไม่ได้บอกว่าจะลบ หรือจะบวก เพียงแต่ต้องมานั่งคิดกันถึงความเหมาะสมให้รอบคอบเสียก่อน ดังนั้นประเด็นนี้ น่าจะเป็นการพิจารณาในช่วงท้ายๆ เพราะต้องดูเหตุผลทั้งเชิงหลักการ และสถานการณ์บ้านเมืองก่อนด้วย ว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าการทำงานของกรธ. ยังเป็นอิสระ สมาชิก กรธ.สามารถอภิปรายถกเถียงกันได้ตามปกติ ไม่ได้มีสิ่งใดมาบังคับให้กรธ. ต้องทำแบบนั้น แบบนี้ ไม่มีแรงกดดันจากส่วนใดๆ สิ่งที่เราทำก็ต้องการให้สังคมรับได้อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า มีการพูดถึงว่าต้องการให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นการปลดล็อกประเทศ มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไหน นายอุดม กล่าวว่า เวลาเราพูดถึงเลือกตั้ง เราต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า คสช. และรัฐบาล เป็นผู้กำหนดโรดแมป เพราะฉะนั้น กรธ.คงไปเขียนสิ่งใดที่แตกต่างจากโรดแมปหรือที่รัฐธรรมนูญกำกับไว้ไม่ได้ ซึ่งการจัดทำประชามติ ก็มีระยะเวลากำหนดไว้ ทุกอย่างมีกรอบเวลาอยู่แล้ว
** กรธ.ต้องไม่โอนเอนตามแรงกดดัน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงข้อเสนอของคสช. ที่เสนอต่อกรธ. จะให้มี ส.ว.สรรหา 200 คน ในระยะเปลี่ยนผ่านว่า เป็นข้อเสนอที่ย้อนยุคมากเกินไป แม้จะใช้คำว่าสรรหา แต่เมื่อดูในทางปฏิบัติแล้วก็คงหนีไม่พ้นการแต่งตั้ง ที่ คสช.และรัฐบาล เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า“ลากตั้ง”และถ้าการแต่งตั้งมีคนมาจาก คสช. ไม่ว่าจะมาก หรือน้อย ก็จะหนีไม่พ้นที่จะถูกครหาถึงแม้คสช. และรัฐบาลจะมีเจตนาดีต่อบ้านเมือง อยากให้มี ส.ว.มาช่วยสานงานต่อด้านปฏิรูป แต่คนอื่นในสังคมก็อาจจะคิดได้เช่นกันว่า ทำไมต้องมีเฉพาะพวกที่ได้รับแต่งตั้งจาก คสช.และรัฐบาลเท่านั้น จึงจะทำการปฏิรูประยะเปลี่ยนผ่านได้
ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยกำหนดวิธีการได้มาซึ่งส.ว. มาแล้วหลายรูปแบบ มีทั้งแบบแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจ ก็ถูกตำหนิว่าทำงานรับใช้ผู้มีอำนาจอย่างเดียว ประชาชนไม่มีส่วนร่วม แต่พอมาใช้วิธีเลือกตั้ง ส.ว.โดยตรงจากประชาชน ก็ถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาว่า“สภาทาส”จึงเปลี่ยนมาเป็นเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง สรรหาครึ่งหนึง ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ของสังคมได้
ดังนั้น กรธ.จึงเสนอการได้มาซึ่งส.ว. ในร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ให้เป็นแบบเลือกทางอ้อม เลือกไขว้จากกลุ่มสาขาอาชีพ ซึ่งก็เป็นรูปแบบใหม่ ที่ยังไม่รู้ว่าจะตอบโจทย์ของสังคมได้หรือไม่ อย่างไรก็ดี ถ้าต้องเลือกระหว่าง ส.ว. สรรหา หรือ ส.ว.แต่งตั้ง กับรูปแบบการได้มาซึ่ง ส.ว. ตามร่างแรกของกรธ. ควรนำรูปแบบตามร่างแรกมาปรัปแก้ไข ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม มากขึ้น น่าจะเกิดประโยน์มากกว่า
"อยากจะฝากไปถึงกรธ.ว่า ขณะนี้อนาคตของประเทศอยู่ในกำมือแล้ว ท่านจะทำให้ประเทศเดินหน้า หรือถอยหลัง จะทำให้มีปัญหาเพิ่มขึ้น หรือปัญหาลดลง อยากให้คิดให้ไกลแล้วไปให้ถึง ไม่ใช่คิดแค่เฉพาะหน้า เฉพาะกิจ เฉพาะกาล ซึ่งจะไม่ทำให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปได้ด้วยดี กรธ. ควรคิดถึงหลักที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นไม้หลักปักเลน โอนเอนไปตามแรงกดดัน เชื่อว่ากรธ.ก็คงมุ่งหวัง อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ที่จะออกมา ผ่านการทำประชามติ เพราะฉะนั้นจึงควรเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เราทราบดีว่า คงไม่มีใครร่างรัฐธรรมนูญให้ถูกใจทุกคนได้ แต่อะไรที่เป็นหลัก ก็ควรยึดไว้ ให้ประชาชนพอรับได้ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เอาแบบพอดีๆ แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญออกมาแล้วหลักถูกทำให้เลอะเทอะ โอกาสที่คนจะรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะลดน้อยถอยลง" นายองอาจ กล่าว
**เลิกอ้าง"ปฏิรูป"เพื่ออยู่ในอำนาจ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.)กล่าวว่า ข้อเสนอของคสช. ที่ต้องการให้ ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี คงหนีไม่พ้นที่จะถูกมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องยากที่ คสช.จะแก้ตัวในเรื่องนี้
ที่สำคัญเวลา คสช. จะอ้างภารกิจปฏิรูปในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งกำหนดเวลาไว้ 5 ปีนั้น ก็มีคำถามเหมือนกันว่าคสช.จะปฏิรูปอะไร ที่ผ่านมาทำไมไม่ทำ และเวลาที่เหลืออยู่ตั้งปีครึ่ง ไม่เพียงพอหรืออย่างไร และ 5 ปีหลังเลือกตั้งจะปฏิรูปอะไรก็ไม่มีใครรู้ จนรู้สึกได้ว่า "การปฏิรูป" ถูกจับเป็นตัวประกัน หรือเป็นข้ออ้างไม่รู้จบ เพื่อเสกสรรค์ปั้นแต่งกลไกพิเศษไม่รู้จบออกมาเรื่อยๆ แบบนี้
" ผมอยากให้ คสช.ตั้งหลักคิดให้สุดว่า ทำไมต้อง 5 ปี จะเปลี่ยนผ่านอะไรไปสู่อะไร และที่บอกเพื่อความต่อเนื่องของการปฏิรูป หรือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาตินั้น ก็ยังไม่เห็นภารกิจที่ชัดเจนแต่อย่างใด"
ทั้งนี้ ถ้าคสช.คิดยังไม่สุด แล้วโยนประเด็นออกมาเรื่อยๆ แบบนี้ การเขียนรัฐธรรมนูญในโค้งสุดท้ายก็จะสุกเอาเผากิน คล้ายกับการยกร่างในสมัย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่มาวงแตกตอนข้อเสนอให้มี คปป. จนทำให้ทุกอย่างพลิกไปพลิกมา และคนก็เริ่มแคลงใจว่า มีคนออกแบบและได้ประโยชน์จากการเล่นเกมแบบนี้
หวังว่า กรธ.จะหนักแน่น และเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อหาทางออกให้ประเทศ ไม่ใช่เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อหาทางลง หรือสนองความต้องการคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
** "นพดล"ยก7ข้อไม่ควรมีส.ว.แต่งตั้ง
นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจคิดให้รอบคอบ ที่จะเสนอให้มีการแต่งตั้งส.ว. ใน 5 ปีแรก โดยมี 7 เหตุผล ที่แนวคิดนี้ไม่เป็นผลดีต่อประเทศคือ
1. ส.ว.เป็นตัวแทนชาวไทย จึงควรให้คนไทย 64 ล้านคนเป็นคนเลือก 2. ตัดโอกาสคนดี คนเก่ง เสนอตัวให้ประชาชนเลือกซึ่งเป็นการปิดกั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 3.ความขัดแย้งทางการเมืองจะตามมา เนื่องจากจะมีคนตั้งคำถามว่ามีการต่อท่ออำนาจหรือไม่ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการปรองดองในชาติ 4. ขาดหลักประกันที่จะได้คนดีคนเก่ง และจะมีคนตั้งคำถามว่าจะมีการเล่นพรรคเล่นพวกหรือไม่ 5. ไม่มีหลักประกันว่า ส.ว.แต่งตั้ง จะคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศมากกว่าประโยชน์ของผู้ที่ตั้งตนเอง 6. เหตุผลที่จะให้ ส.ว.แต่งตั้ง มาสานงานปฏิรูป ต่อไป ยังไม่มีน้ำหนักมากพอเนื่องจากการปฏิรูปเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ และในการเลือกตั้งปีหน้า ประชาชนจะเลือกตัวแทนเข้ามาเป็นฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติ เข้ามาดำเนินการปฏิรูปอยู่แล้ว 7. ความเชื่อมั่นจากต่างประเทศจะลดลงเนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย จะมีผลถึงการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ
สำหรับบทบัญญัติในส่วนของ ส.ว.นั้น เบื้องต้นทางกรธ. ยังเห็นตรงกันว่า สิ่งที่กรธ.ออกแบบไว้นั้น ไม่ได้มีสิ่งใดผิด การวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ส.ว.แบบเลือกกันเองนั้น ไม่ยึดโยงกับประชาชน เราก็ยังไม่เห็นว่าจะไม่ยึดโยงกับประชาชนตรงไหน เพราะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม และที่สำคัญการออกแบบวิธีการเช่นนี้ เพราะกรธ. มีเหตุผลคือ ไม่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองมาแทรกแซง
ส่วนข้อเสนอของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ที่เสนอให้ ส.ว. มาจากการสรรหานั้น ขณะนี้กรธ.เรายังไม่ได้บอกว่าจะลบ หรือจะบวก เพียงแต่ต้องมานั่งคิดกันถึงความเหมาะสมให้รอบคอบเสียก่อน ดังนั้นประเด็นนี้ น่าจะเป็นการพิจารณาในช่วงท้ายๆ เพราะต้องดูเหตุผลทั้งเชิงหลักการ และสถานการณ์บ้านเมืองก่อนด้วย ว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าการทำงานของกรธ. ยังเป็นอิสระ สมาชิก กรธ.สามารถอภิปรายถกเถียงกันได้ตามปกติ ไม่ได้มีสิ่งใดมาบังคับให้กรธ. ต้องทำแบบนั้น แบบนี้ ไม่มีแรงกดดันจากส่วนใดๆ สิ่งที่เราทำก็ต้องการให้สังคมรับได้อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า มีการพูดถึงว่าต้องการให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นการปลดล็อกประเทศ มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไหน นายอุดม กล่าวว่า เวลาเราพูดถึงเลือกตั้ง เราต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า คสช. และรัฐบาล เป็นผู้กำหนดโรดแมป เพราะฉะนั้น กรธ.คงไปเขียนสิ่งใดที่แตกต่างจากโรดแมปหรือที่รัฐธรรมนูญกำกับไว้ไม่ได้ ซึ่งการจัดทำประชามติ ก็มีระยะเวลากำหนดไว้ ทุกอย่างมีกรอบเวลาอยู่แล้ว
** กรธ.ต้องไม่โอนเอนตามแรงกดดัน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงข้อเสนอของคสช. ที่เสนอต่อกรธ. จะให้มี ส.ว.สรรหา 200 คน ในระยะเปลี่ยนผ่านว่า เป็นข้อเสนอที่ย้อนยุคมากเกินไป แม้จะใช้คำว่าสรรหา แต่เมื่อดูในทางปฏิบัติแล้วก็คงหนีไม่พ้นการแต่งตั้ง ที่ คสช.และรัฐบาล เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า“ลากตั้ง”และถ้าการแต่งตั้งมีคนมาจาก คสช. ไม่ว่าจะมาก หรือน้อย ก็จะหนีไม่พ้นที่จะถูกครหาถึงแม้คสช. และรัฐบาลจะมีเจตนาดีต่อบ้านเมือง อยากให้มี ส.ว.มาช่วยสานงานต่อด้านปฏิรูป แต่คนอื่นในสังคมก็อาจจะคิดได้เช่นกันว่า ทำไมต้องมีเฉพาะพวกที่ได้รับแต่งตั้งจาก คสช.และรัฐบาลเท่านั้น จึงจะทำการปฏิรูประยะเปลี่ยนผ่านได้
ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยกำหนดวิธีการได้มาซึ่งส.ว. มาแล้วหลายรูปแบบ มีทั้งแบบแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจ ก็ถูกตำหนิว่าทำงานรับใช้ผู้มีอำนาจอย่างเดียว ประชาชนไม่มีส่วนร่วม แต่พอมาใช้วิธีเลือกตั้ง ส.ว.โดยตรงจากประชาชน ก็ถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาว่า“สภาทาส”จึงเปลี่ยนมาเป็นเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง สรรหาครึ่งหนึง ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ของสังคมได้
ดังนั้น กรธ.จึงเสนอการได้มาซึ่งส.ว. ในร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ให้เป็นแบบเลือกทางอ้อม เลือกไขว้จากกลุ่มสาขาอาชีพ ซึ่งก็เป็นรูปแบบใหม่ ที่ยังไม่รู้ว่าจะตอบโจทย์ของสังคมได้หรือไม่ อย่างไรก็ดี ถ้าต้องเลือกระหว่าง ส.ว. สรรหา หรือ ส.ว.แต่งตั้ง กับรูปแบบการได้มาซึ่ง ส.ว. ตามร่างแรกของกรธ. ควรนำรูปแบบตามร่างแรกมาปรัปแก้ไข ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม มากขึ้น น่าจะเกิดประโยน์มากกว่า
"อยากจะฝากไปถึงกรธ.ว่า ขณะนี้อนาคตของประเทศอยู่ในกำมือแล้ว ท่านจะทำให้ประเทศเดินหน้า หรือถอยหลัง จะทำให้มีปัญหาเพิ่มขึ้น หรือปัญหาลดลง อยากให้คิดให้ไกลแล้วไปให้ถึง ไม่ใช่คิดแค่เฉพาะหน้า เฉพาะกิจ เฉพาะกาล ซึ่งจะไม่ทำให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปได้ด้วยดี กรธ. ควรคิดถึงหลักที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นไม้หลักปักเลน โอนเอนไปตามแรงกดดัน เชื่อว่ากรธ.ก็คงมุ่งหวัง อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ที่จะออกมา ผ่านการทำประชามติ เพราะฉะนั้นจึงควรเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เราทราบดีว่า คงไม่มีใครร่างรัฐธรรมนูญให้ถูกใจทุกคนได้ แต่อะไรที่เป็นหลัก ก็ควรยึดไว้ ให้ประชาชนพอรับได้ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เอาแบบพอดีๆ แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญออกมาแล้วหลักถูกทำให้เลอะเทอะ โอกาสที่คนจะรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะลดน้อยถอยลง" นายองอาจ กล่าว
**เลิกอ้าง"ปฏิรูป"เพื่ออยู่ในอำนาจ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.)กล่าวว่า ข้อเสนอของคสช. ที่ต้องการให้ ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี คงหนีไม่พ้นที่จะถูกมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องยากที่ คสช.จะแก้ตัวในเรื่องนี้
ที่สำคัญเวลา คสช. จะอ้างภารกิจปฏิรูปในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งกำหนดเวลาไว้ 5 ปีนั้น ก็มีคำถามเหมือนกันว่าคสช.จะปฏิรูปอะไร ที่ผ่านมาทำไมไม่ทำ และเวลาที่เหลืออยู่ตั้งปีครึ่ง ไม่เพียงพอหรืออย่างไร และ 5 ปีหลังเลือกตั้งจะปฏิรูปอะไรก็ไม่มีใครรู้ จนรู้สึกได้ว่า "การปฏิรูป" ถูกจับเป็นตัวประกัน หรือเป็นข้ออ้างไม่รู้จบ เพื่อเสกสรรค์ปั้นแต่งกลไกพิเศษไม่รู้จบออกมาเรื่อยๆ แบบนี้
" ผมอยากให้ คสช.ตั้งหลักคิดให้สุดว่า ทำไมต้อง 5 ปี จะเปลี่ยนผ่านอะไรไปสู่อะไร และที่บอกเพื่อความต่อเนื่องของการปฏิรูป หรือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาตินั้น ก็ยังไม่เห็นภารกิจที่ชัดเจนแต่อย่างใด"
ทั้งนี้ ถ้าคสช.คิดยังไม่สุด แล้วโยนประเด็นออกมาเรื่อยๆ แบบนี้ การเขียนรัฐธรรมนูญในโค้งสุดท้ายก็จะสุกเอาเผากิน คล้ายกับการยกร่างในสมัย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่มาวงแตกตอนข้อเสนอให้มี คปป. จนทำให้ทุกอย่างพลิกไปพลิกมา และคนก็เริ่มแคลงใจว่า มีคนออกแบบและได้ประโยชน์จากการเล่นเกมแบบนี้
หวังว่า กรธ.จะหนักแน่น และเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อหาทางออกให้ประเทศ ไม่ใช่เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อหาทางลง หรือสนองความต้องการคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
** "นพดล"ยก7ข้อไม่ควรมีส.ว.แต่งตั้ง
นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจคิดให้รอบคอบ ที่จะเสนอให้มีการแต่งตั้งส.ว. ใน 5 ปีแรก โดยมี 7 เหตุผล ที่แนวคิดนี้ไม่เป็นผลดีต่อประเทศคือ
1. ส.ว.เป็นตัวแทนชาวไทย จึงควรให้คนไทย 64 ล้านคนเป็นคนเลือก 2. ตัดโอกาสคนดี คนเก่ง เสนอตัวให้ประชาชนเลือกซึ่งเป็นการปิดกั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 3.ความขัดแย้งทางการเมืองจะตามมา เนื่องจากจะมีคนตั้งคำถามว่ามีการต่อท่ออำนาจหรือไม่ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการปรองดองในชาติ 4. ขาดหลักประกันที่จะได้คนดีคนเก่ง และจะมีคนตั้งคำถามว่าจะมีการเล่นพรรคเล่นพวกหรือไม่ 5. ไม่มีหลักประกันว่า ส.ว.แต่งตั้ง จะคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศมากกว่าประโยชน์ของผู้ที่ตั้งตนเอง 6. เหตุผลที่จะให้ ส.ว.แต่งตั้ง มาสานงานปฏิรูป ต่อไป ยังไม่มีน้ำหนักมากพอเนื่องจากการปฏิรูปเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ และในการเลือกตั้งปีหน้า ประชาชนจะเลือกตัวแทนเข้ามาเป็นฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติ เข้ามาดำเนินการปฏิรูปอยู่แล้ว 7. ความเชื่อมั่นจากต่างประเทศจะลดลงเนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย จะมีผลถึงการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ