วานนี้ (1 มี.ค.) ศาลปกครองกลาง ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีครั้งแรกในคดีที่ นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ยื่นฟ้องอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กับพวกรวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 กรณี ขอให้เพิกถอนคำสั่ง
ม.ธรรมศาสตร์ ที่ 356/2558 ลงวันที่ 23 ก.พ. 58 ที่ลงโทษไล่ออกจากราชการ เนื่องจากกระทำผิดวินัยร้ายแรง จงใจไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการเกินกว่า 15 วัน
โดยเมื่อวานนี้ คณะตุลาการได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีแถลงปิดคดี และให้ตุลาการผู้แถลงคดี แถลงความเห็นส่วนตนที่ไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาคดีขององค์คณะ ซึ่ง น.ส.ภาวินี ชุมศรี ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายสมศักดิ์ ได้แถลงปิดคดีด้วยวาจาเพิ่มเติม ระบุว่า ก่อนการรัฐประหาร นายสมศักดิ์ ถูกข่มขู่โดยกองทัพบกว่า จะดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 มีการลอบยิงที่บ้านพัก โดยนายสมศักดิ์ มีความประสงค์ที่จะลาไปปฏิบัติงานในประเทศ จึงขอลาแบบปลอดการสอน พฤติกรรมจึงไม่ได้เป็นการจงใจไม่มาปฏิบัติราชการ และเมื่อมีการรัฐประหาร ก็ถูกเรียกให้ไปรายงานตัว แต่นายสมศักดิ์ เห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ออกโดยไม่มีฐานกฎหมายรองรับ จึงไม่ไปรายงานตัว และอาศัยเหตุดังกล่าวเดินทางไปขอลี้ภัยที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตให้พักอาศัยอยู่ได้จนปัจจุบัน
จากเหตุดังกล่าว จึงทำให้ไม่สามารถมาปฎิบัติหน้าที่สอนหนังสือได้ตามคำสั่งของ หัวหน้าภาควิชาศิลปศาสตร์ และได้ยื่นหนังสือขอลาออกในเวลาต่อมา ดังนั้น เหตุผลในการไม่มาทำการสอน จึงไม่ได้เป็นเหตุส่วนตัว แต่เป็นปัจจัยภายนอก ซึ่งปัจจุบันนายสมศักดิ์ ยังมีความรู้สึกที่อยากจะกลับมาเป็นอาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ เนื่องจากรักในสถาบันแห่งนี้มาก อยากจะรับราชการจนเกียษณอายุราชการ
จากนั้น ตุลาการผู้แถลงคดีได้แถลงความเห็นส่วนตน ว่า นายสมศักดิ์ ยื่นขอลาไปปฏิบัติงานในประเทศ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ระหว่าง 1 ส.ค. 57-31 ก.ค 58 หัวหน้าภาควิชา และคณบดีคณะศิลปศาสตร์ ได้อนุมัติเห็นชอบแล้ว แต่ในส่วนของมหาวิทยาลัย ยังไม่อนุมัติ จนล่วงมาถึงระยะเวลาที่มีการขอลา ซึ่งแม้ต่อมา มหาวิทยาลัยจะพิจารณาไม่อนุมัติการลาไปปฏิบัติงานในประเทศ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการของนายสมศักดิ์ก็ตาม แต่ก่อนหน้านั้นในปี 2545 นายสมศักดิ์ เคยยื่นขอลาไปปฏิบัติงานในประเทศ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เป็นเวลา 4 เดือน การอนุมัติของมหาวิทยาลัย ก็เป็นการอนุมัติหลังสิ้นสุดการลาไปแล้ว ดังนั้นการที่นายสมศักดิ์ ไม่ไปปฏิบัติราชการในระยะเวลาที่ขอลา จนถึงวันยุติการลา จึงถือไม่ได้ว่า นายสมศักดิ์ จงใจไม่มาปฏิบัติราชการ เป็นเหตุให้ผิดวินัยร้ายแรง คำสั่งลงโทษไล่ออก จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ อ้างว่า นายสมศักดิ์ ได้รับบันทึกแจ้งจากหัวหน้าภาควิชาฯ ให้กลับมาปฏิบัติราชการ และรับมอบหมายภาระงานสอน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ให้จำนวน 2 วิชา แต่นายสมศักดิ์ กลับเพิกเฉย และยื่นหนังสือลาออกจากราชการทันที ให้มีผลในวันที่ 30 ธ.ค. 57 โดยไม่ได้ยื่นลาล่วงหน้า เข้าข่ายผิดวินัยร้ายแรงนั้น เห็นว่า การได้รับคำสั่งเรียกให้กลับมาปฏิบัติราชการ โดยที่นายสมศักดิ์ ต้องลี้ภัยไปนอกประเทศ การที่ไม่กลับมารับราชการ และยื่นใบลาออก โดยให้มีผลในวันที่ 30 ธ.ค. 57 ถือว่า ผู้ฟ้องมีเหตุผลจำเป็นพิเศษ การไม่ยื่นลาออกล่วงหน้า 15 วัน ตามข้อบังคับของ ม.ธรรมศาสตร์ จึงไม่ใช่เหตุให้ผิดวินัยร้ายแรง ที่ทำให้ราชการเสียหาย จึงเห็นควรที่องค์คณะ จะพิจารณาสั่งเพิกถอนคำสั่งม.ธรรมศาสตร์ ที่ไล่ออกนายสมศักดิ์ โดยให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่มีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งหลังตุลาการผู้แถลงคดีแถลงความเห็นส่วนตนเสร็จสิ้น ทางองค์คณะได้แจ้งคู่กรณี นัดฟังคำพิพากษาคดีในวันที่ 8 มี.ค. เวลา 09.30 น.
ม.ธรรมศาสตร์ ที่ 356/2558 ลงวันที่ 23 ก.พ. 58 ที่ลงโทษไล่ออกจากราชการ เนื่องจากกระทำผิดวินัยร้ายแรง จงใจไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการเกินกว่า 15 วัน
โดยเมื่อวานนี้ คณะตุลาการได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีแถลงปิดคดี และให้ตุลาการผู้แถลงคดี แถลงความเห็นส่วนตนที่ไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาคดีขององค์คณะ ซึ่ง น.ส.ภาวินี ชุมศรี ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายสมศักดิ์ ได้แถลงปิดคดีด้วยวาจาเพิ่มเติม ระบุว่า ก่อนการรัฐประหาร นายสมศักดิ์ ถูกข่มขู่โดยกองทัพบกว่า จะดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 มีการลอบยิงที่บ้านพัก โดยนายสมศักดิ์ มีความประสงค์ที่จะลาไปปฏิบัติงานในประเทศ จึงขอลาแบบปลอดการสอน พฤติกรรมจึงไม่ได้เป็นการจงใจไม่มาปฏิบัติราชการ และเมื่อมีการรัฐประหาร ก็ถูกเรียกให้ไปรายงานตัว แต่นายสมศักดิ์ เห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ออกโดยไม่มีฐานกฎหมายรองรับ จึงไม่ไปรายงานตัว และอาศัยเหตุดังกล่าวเดินทางไปขอลี้ภัยที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตให้พักอาศัยอยู่ได้จนปัจจุบัน
จากเหตุดังกล่าว จึงทำให้ไม่สามารถมาปฎิบัติหน้าที่สอนหนังสือได้ตามคำสั่งของ หัวหน้าภาควิชาศิลปศาสตร์ และได้ยื่นหนังสือขอลาออกในเวลาต่อมา ดังนั้น เหตุผลในการไม่มาทำการสอน จึงไม่ได้เป็นเหตุส่วนตัว แต่เป็นปัจจัยภายนอก ซึ่งปัจจุบันนายสมศักดิ์ ยังมีความรู้สึกที่อยากจะกลับมาเป็นอาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ เนื่องจากรักในสถาบันแห่งนี้มาก อยากจะรับราชการจนเกียษณอายุราชการ
จากนั้น ตุลาการผู้แถลงคดีได้แถลงความเห็นส่วนตน ว่า นายสมศักดิ์ ยื่นขอลาไปปฏิบัติงานในประเทศ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ระหว่าง 1 ส.ค. 57-31 ก.ค 58 หัวหน้าภาควิชา และคณบดีคณะศิลปศาสตร์ ได้อนุมัติเห็นชอบแล้ว แต่ในส่วนของมหาวิทยาลัย ยังไม่อนุมัติ จนล่วงมาถึงระยะเวลาที่มีการขอลา ซึ่งแม้ต่อมา มหาวิทยาลัยจะพิจารณาไม่อนุมัติการลาไปปฏิบัติงานในประเทศ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการของนายสมศักดิ์ก็ตาม แต่ก่อนหน้านั้นในปี 2545 นายสมศักดิ์ เคยยื่นขอลาไปปฏิบัติงานในประเทศ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เป็นเวลา 4 เดือน การอนุมัติของมหาวิทยาลัย ก็เป็นการอนุมัติหลังสิ้นสุดการลาไปแล้ว ดังนั้นการที่นายสมศักดิ์ ไม่ไปปฏิบัติราชการในระยะเวลาที่ขอลา จนถึงวันยุติการลา จึงถือไม่ได้ว่า นายสมศักดิ์ จงใจไม่มาปฏิบัติราชการ เป็นเหตุให้ผิดวินัยร้ายแรง คำสั่งลงโทษไล่ออก จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ อ้างว่า นายสมศักดิ์ ได้รับบันทึกแจ้งจากหัวหน้าภาควิชาฯ ให้กลับมาปฏิบัติราชการ และรับมอบหมายภาระงานสอน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ให้จำนวน 2 วิชา แต่นายสมศักดิ์ กลับเพิกเฉย และยื่นหนังสือลาออกจากราชการทันที ให้มีผลในวันที่ 30 ธ.ค. 57 โดยไม่ได้ยื่นลาล่วงหน้า เข้าข่ายผิดวินัยร้ายแรงนั้น เห็นว่า การได้รับคำสั่งเรียกให้กลับมาปฏิบัติราชการ โดยที่นายสมศักดิ์ ต้องลี้ภัยไปนอกประเทศ การที่ไม่กลับมารับราชการ และยื่นใบลาออก โดยให้มีผลในวันที่ 30 ธ.ค. 57 ถือว่า ผู้ฟ้องมีเหตุผลจำเป็นพิเศษ การไม่ยื่นลาออกล่วงหน้า 15 วัน ตามข้อบังคับของ ม.ธรรมศาสตร์ จึงไม่ใช่เหตุให้ผิดวินัยร้ายแรง ที่ทำให้ราชการเสียหาย จึงเห็นควรที่องค์คณะ จะพิจารณาสั่งเพิกถอนคำสั่งม.ธรรมศาสตร์ ที่ไล่ออกนายสมศักดิ์ โดยให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่มีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งหลังตุลาการผู้แถลงคดีแถลงความเห็นส่วนตนเสร็จสิ้น ทางองค์คณะได้แจ้งคู่กรณี นัดฟังคำพิพากษาคดีในวันที่ 8 มี.ค. เวลา 09.30 น.