นายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.)ได้มีหนังสือลงวันที่ 9 มิถุนายน 2558 ถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องขอแจ้งผลการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ
หนังสือระบุว่า ตามที่หนังสือที่อ้างถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ส่งเอกสารและพยานหลักฐานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.)กรณีนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการตามคำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ 356/2558 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ต่อก.พ.อ.ตามมาตรา 62 แห่งพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาพ.ศ.2547 นั้น
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาขอเรียนว่า ก.พ.อ.ในการประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ได้พิจารณาอุทธรณ์แล้วมีความเห็นดังนี้
1.นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ยื่นเรื่องขอลาไปปฏิบัติงานในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 ต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม 2557 หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ได้แจ้งให้นายสมศักดิ์ ทราบถึงการพิจารณาอนุมัติการลาดังกล่าวว่าการพิจารณาเป็นไปด้วยความล่าช้าและระยะเวลาได้ล่วงเลยไปถึง 6 เดือนแล้วยังไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากมหาวิทยาลัย และแจ้งให้นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กลับมาปฏิบัติราชการและรับมอบภาระงานสอน แต่นายสมศักดิ์ ไม่กลับมาปฏิบัติราชการตามที่ภาควิชาได้แจ้งดังกล่าว ต่อมาเมื่อคณะศิลปศาสตร์ได้มีบันทึกลงวันที่ 26 ธันวาคม 2557 แจ้งให้นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กลับมาปฏิบัติราชการโดยด่วน นายสมศักดิ์ ก็ยังเพิกเฉยไม่กลับมาปฏิบัติราชการแต่อย่างใด ซึ่งในท้ายที่สุด มหาวิทยาลัยได้พิจารณาไม่อนุมัติการลาของนายสมศักดิ์ ดังกล่าว พฤติการณ์จึงถือเป็นการจงใจไม่ปฏฺบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนของทางราชการในเรื่องการลาและการปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินเดือนและสวัสดิการอื่นๆ ที่่มหาวิทยาลัยและคณะศิลปศาสตร์ได้จ่ายให้แก่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในระยะเวลาระหว่างนั้น เป็นความผิดวินัยร้ายแรง ตามมาตรา 39 วรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติระเบียบราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 และเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามข้อ 55 (6) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 ด้วย
2.ข้อกล่าวอ้างของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่อ้างว่าถูกข่มขู่ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากคณะบุคคลซึ่งเข้าแย่งชิงอำนาจการปกครอง ทำให้ไม่สามารถไปปฏิบัติราชการตามปกติ การขอลาไปปฏิบัติงานในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการดังกล่าว จึงมีเหตุผลสมควรนั้น ไม่ปรากฎพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น อีกทั้ง การที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ขอให้ ก.พ.อ. ทบทวนการใช้ดุลพินิจโดยเห็นว่าการใช้ดุลพินิจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไล่ตนออกจากราชการนั้นไม่เหมาะสมนั้น เห็นว่า ด้วยมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2536 กำหนดให้การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งควรลงโทษไล่ออกจากราชการ แม้จะมีเหตุอันควรปรานีอื่นใดก็ไม่เป็นเหตุลดหย่อนลงเป็นปลดออกจากราชการ ซึ่งส่วนราชการจะต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ตามมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531
"ดังนั้น การที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ลงโทษไล่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ออกจากราชการ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก.พ.อ. จึงมีมติยกอุทธรณ์ของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล"หนังสือก.พ.อ.ระบุ
หนังสือระบุว่า ตามที่หนังสือที่อ้างถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ส่งเอกสารและพยานหลักฐานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.)กรณีนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการตามคำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ 356/2558 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ต่อก.พ.อ.ตามมาตรา 62 แห่งพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาพ.ศ.2547 นั้น
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาขอเรียนว่า ก.พ.อ.ในการประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ได้พิจารณาอุทธรณ์แล้วมีความเห็นดังนี้
1.นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ยื่นเรื่องขอลาไปปฏิบัติงานในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 ต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม 2557 หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ได้แจ้งให้นายสมศักดิ์ ทราบถึงการพิจารณาอนุมัติการลาดังกล่าวว่าการพิจารณาเป็นไปด้วยความล่าช้าและระยะเวลาได้ล่วงเลยไปถึง 6 เดือนแล้วยังไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากมหาวิทยาลัย และแจ้งให้นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กลับมาปฏิบัติราชการและรับมอบภาระงานสอน แต่นายสมศักดิ์ ไม่กลับมาปฏิบัติราชการตามที่ภาควิชาได้แจ้งดังกล่าว ต่อมาเมื่อคณะศิลปศาสตร์ได้มีบันทึกลงวันที่ 26 ธันวาคม 2557 แจ้งให้นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กลับมาปฏิบัติราชการโดยด่วน นายสมศักดิ์ ก็ยังเพิกเฉยไม่กลับมาปฏิบัติราชการแต่อย่างใด ซึ่งในท้ายที่สุด มหาวิทยาลัยได้พิจารณาไม่อนุมัติการลาของนายสมศักดิ์ ดังกล่าว พฤติการณ์จึงถือเป็นการจงใจไม่ปฏฺบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนของทางราชการในเรื่องการลาและการปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินเดือนและสวัสดิการอื่นๆ ที่่มหาวิทยาลัยและคณะศิลปศาสตร์ได้จ่ายให้แก่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในระยะเวลาระหว่างนั้น เป็นความผิดวินัยร้ายแรง ตามมาตรา 39 วรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติระเบียบราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 และเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามข้อ 55 (6) ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 ด้วย
2.ข้อกล่าวอ้างของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่อ้างว่าถูกข่มขู่ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากคณะบุคคลซึ่งเข้าแย่งชิงอำนาจการปกครอง ทำให้ไม่สามารถไปปฏิบัติราชการตามปกติ การขอลาไปปฏิบัติงานในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการดังกล่าว จึงมีเหตุผลสมควรนั้น ไม่ปรากฎพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น อีกทั้ง การที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ขอให้ ก.พ.อ. ทบทวนการใช้ดุลพินิจโดยเห็นว่าการใช้ดุลพินิจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไล่ตนออกจากราชการนั้นไม่เหมาะสมนั้น เห็นว่า ด้วยมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2536 กำหนดให้การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งควรลงโทษไล่ออกจากราชการ แม้จะมีเหตุอันควรปรานีอื่นใดก็ไม่เป็นเหตุลดหย่อนลงเป็นปลดออกจากราชการ ซึ่งส่วนราชการจะต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ตามมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531
"ดังนั้น การที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ลงโทษไล่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ออกจากราชการ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก.พ.อ. จึงมีมติยกอุทธรณ์ของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล"หนังสือก.พ.อ.ระบุ