คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านนางนรีวรรณ จินตกานนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ และให้คงไว้ในมาตรา 121(3) ว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ กำหนดให้มีจำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้ง จังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน และมาจากการสรรหา 173 คน โดยแบ่งเป็นอดีตปลัดกระทรวง อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ สมาคมวิชาชีพต่างๆ ผู้แทนองค์กรด้านการเกษตร แรงงาน ด้านวิชาการ ชุมชน และท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีตัวแทนด้านแรงงานในวุฒิสภา เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาของกลุ่มแรงงาน จึงอยากให้คงไว้ในมาตราดังกล่าว และขอเพิ่มจำนวน ส.ว.ด้านแรงงาน เป็น 44 คน เพื่อเปิดโอกาสการเข้าไปมีส่วนร่วม พร้อมกันนี้ ยังเสนอให้ผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งประชาชนที่ทำงานในพื้นที่นอกทะเบียนบ้านของตนเอง สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาในเขตพื้นที่ที่อาศัยหรือทำงานอยู่ได้
นอกจากนี้ ยังมีตัวแทนที่ประชุมร่วมประธานสภาคณาจารย์แห่งประเทศไทยและข้าราชการแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติผ่านผู้อำนวยการสำนักงานประธานฯ เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับข้าราชการพลเรือนสถาบันอุดมศึกษา หลังจาก คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เห็นชอบปรับเพิ่มเงินเดือนแก่ข้าราชการครูสายผู้สอนในอัตราร้อยละ 8 แต่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ ซึ่งเป็นสายผู้สอนเช่นเดียวกัน กลับไม่ได้การปรับเพิ่มเงินเดือน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ดังนั้น จึงขอให้นายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาและแก้ไขเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนเทียบเท่าครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมาการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรับเพิ่มเงินเดือนร้อยละ 8
นอกจากนี้ ยังมีตัวแทนที่ประชุมร่วมประธานสภาคณาจารย์แห่งประเทศไทยและข้าราชการแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติผ่านผู้อำนวยการสำนักงานประธานฯ เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับข้าราชการพลเรือนสถาบันอุดมศึกษา หลังจาก คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เห็นชอบปรับเพิ่มเงินเดือนแก่ข้าราชการครูสายผู้สอนในอัตราร้อยละ 8 แต่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ ซึ่งเป็นสายผู้สอนเช่นเดียวกัน กลับไม่ได้การปรับเพิ่มเงินเดือน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ดังนั้น จึงขอให้นายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาและแก้ไขเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนเทียบเท่าครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมาการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรับเพิ่มเงินเดือนร้อยละ 8