อุตฯทีวีดิจิตอลยังสั่นคลอน GRAMMYปี58 ขาดทุน 1,150 ล้าน พร้อมลดพนักงานในธุรกิจเพลงลงราว 80 คน ขณะที่ BEC, MCOT ก็อ่วม นักวิเคราะห์ระบุแนวโน้มรายได้ธุรกิจโฆษณายังชะลอตัว
ปัจจุบันผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอลต้องเผชิญปัญหาจากการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากมีผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอลมากถึง 24 ช่อง ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานสำหรับให้บริการยังไม่มีความพร้อม ทั้ง SET TOP BOX และ โครงข่าย MUX ในขณะที่ผู้ประกอบการทั้ง 24 ช่อง ต้องแบกรับต้นทุนการประกอบกิจการสูง จนต้องรับภาระขาดทุน และเริ่มมีผู้ที่ต้องการออกจากอุตสาหกรรม
แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช., ผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอล, สำนักงานกฤษฎีกา, สำนักงานอัยการสูงสุด และ ธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันค่าใบอนุญาต จะร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา แต่มีกำหนดให้ต้องแก้ไขแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งถือว่ายังอยู่ในช่วงก่อนการจ่ายค่า DTT License งวดที่ 3 (ในเดือน พ.ค. 58) ก็ตาม แต่ยังคงต้องรอลุ้นว่าแนวทางการแก้ปัญหาจะสามารถพลิกฟื้นผลประกอบการของอุตสาหกรรมทีวี และทีวีดิจิตอลได้ทันท่วงทีหรือไม่เพราะผ่านพ้นไปแล้ว 1 ไตรมาส
โดยบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC แจ้ง ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ระบุในปี 58 รายได้รวม 16,017.91 ล้านบาท ลดลงจาก 16,381.51 ล้านบาทเมื่อปี 2557 กำไรสุทธิ 2,982.71 ล้านบาท ลดลงจาก 4,414.99 ล้านบาทเมื่อปี 2557 กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.49 บาทลดลงจาก 2.17 บาทเมื่อปี 2557
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT รายได้รวมอยู่ที่ 2,864.65 ล้านบาทลดลงจาก 4,455.38 ล้านบาทเมื่อปี 2557 และกำไรสุทธิที่ 129.39 ล้านบาทลดลงจาก 503.79 เมื่อปี 2557
ที่หนักที่สุดเห็นจะเป็นบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAMMY และบริษัทย่อย มีผลขาดทุน 1,150 ล้านบาทเทียบปี 57 ขาดทุน 2,410 ล้านบาท จน นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ปรับลดพนักงานในธุรกิจเพลงลง 10% จากทั้งหมด 800 คน หรือราว 80 คน
"เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการปรับบุคลาการตามปกติ และตลอด 32 ปี ที่ผ่านมา มีคนลาออกไม่มากจึงมีพนักงานกว่า 800 คน"
ขณะที่นางสาวบุษบา ดาวเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม GRAMMY เปิดเผยว่า ในปี 59 แกรมมี่ยังคงเดินหน้าที่จะขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมมองหาโอกาสในการเติบโตผ่านกลยุทธ์สื่อครบวงจร (Total Media Solution) โดยเร่งสร้างคอนเทนต์ให้ครอบคลุมทุกช่องทางทั้งออนไลน์ ออนแอร์ และออนกราวด์ เพื่อชูบทบาทการเป็น Content Provider และ Trendsetter จุดกระแสความนิยมในอุตสาหกรรม เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าแกรมมี่เดินมาถูกทางและปีนี้จะเป็นปีที่น่าสนใจอย่างยิ่งของแกรมมี่
โบรกฯชี้รายได้ธุรกิจโฆษณายังชะลอตัว
นายดิศฐนพ วัธนเวคิน นักวิเคราะห์ บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า BEC รายได้จากการโฆษณาทั้งปี 58 ลดลง 13% y-y และลดลง 5% q-q ที่ 3,385 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการหดตัวของรายได้ค่าโฆษณาช่อง 3HD คู่ขนาดช่อง 3Original เป็นผลกระทบจากการแข่งขันที่สูงขึ้นขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว
“ฝ่ายวิเคราะห์คาดว่าธุรกิจ Digital TV มีรายได้ทรงตัวที่ 250 ล้านบาท และคาดว่ายังมีผลขาดทุนขั้นต้นราว 22 ล้านบาท อีกทั้งยังมีดอกเบี้ยจ่ายอยู่ที่ 176 ล้านบาทที่เพิ่มขึ้นเป็น 3,559% q-q จากการเปลี่ยนวิธีบันทีกบัญชีจึงต้องรับรู้ดอกเบี้ยจ่ายเต็มปีในปีแรก”
นักวิเคราะห์ บล.โนมูระ คาดว่าผลประกอบการไตรมาส 1/59 ของ BEC ยังอ่อนแอ เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยทางฝ่ายวิเคราะห์ปรับลดประมาณการรายได้ทั้งปี59-60 ของ BEC ลง 2-3% โดยมีราคาเป้าหมายที่ 28 บาท
ขณะที่นางสาวพัชรินทร์ วัฒนาแก้วศรีเพ็ชร ฝ่ายวิเคาะห์ บล.คันทรี่ กรุ๊ป ระบุธุรกิจหลักของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT ยังไม่ฟื้นตัวเห็นได้จากภาพรวมกำไรทั้งปี 58 ชะลอตัวลง 77%YoY มาอยู่ที่ 118 ล้านบาท (EPS 0.17 บาท/หุ้น) ขณะที่ต้นทุนจากการดำเนินงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มรายการที่ผลิตเองมากขึ้น กดดันให้อัตรากำไรขั้นต้นของไตรมาส 4/58 ลดลงเหลือ 24% เทียบกับ 30% ในช่วงไตรมาส 4/57
นอกจากนี้บริษัทฯ จะมีค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกิดขึ้นจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ที่มาจากการค้างชำระค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลราว 35 ล้านบาท ทำให้ฝ่ายวิเคราะห์ปรับลดประมาณการกำไรทั้งปี 2559 ลงจากเดิม 30%
อย่างไรก็ตาม MCOT มูลค่าแฝงของกิจการ มาจากสินทรัพย์ที่บริษัทฯถือครองอยู่ในปัจจุบัน อันได้แก่ 1.มูลค่าที่ดิน 50 ไร่ บริเวณถนนรัชดา-พระราม 9 2.เงินชดเชยค่าคลื่นความถี่ 2600 MHz จำนวน 144 MHz ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับทาง กสทช. เพื่อคืนกลับไปประมูล 4G ซึ่ ทำให้ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมหุ้น MCOT ที่ 11 บาท
ปัจจุบันผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอลต้องเผชิญปัญหาจากการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากมีผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอลมากถึง 24 ช่อง ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานสำหรับให้บริการยังไม่มีความพร้อม ทั้ง SET TOP BOX และ โครงข่าย MUX ในขณะที่ผู้ประกอบการทั้ง 24 ช่อง ต้องแบกรับต้นทุนการประกอบกิจการสูง จนต้องรับภาระขาดทุน และเริ่มมีผู้ที่ต้องการออกจากอุตสาหกรรม
แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช., ผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอล, สำนักงานกฤษฎีกา, สำนักงานอัยการสูงสุด และ ธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันค่าใบอนุญาต จะร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา แต่มีกำหนดให้ต้องแก้ไขแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งถือว่ายังอยู่ในช่วงก่อนการจ่ายค่า DTT License งวดที่ 3 (ในเดือน พ.ค. 58) ก็ตาม แต่ยังคงต้องรอลุ้นว่าแนวทางการแก้ปัญหาจะสามารถพลิกฟื้นผลประกอบการของอุตสาหกรรมทีวี และทีวีดิจิตอลได้ทันท่วงทีหรือไม่เพราะผ่านพ้นไปแล้ว 1 ไตรมาส
โดยบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC แจ้ง ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ระบุในปี 58 รายได้รวม 16,017.91 ล้านบาท ลดลงจาก 16,381.51 ล้านบาทเมื่อปี 2557 กำไรสุทธิ 2,982.71 ล้านบาท ลดลงจาก 4,414.99 ล้านบาทเมื่อปี 2557 กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.49 บาทลดลงจาก 2.17 บาทเมื่อปี 2557
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT รายได้รวมอยู่ที่ 2,864.65 ล้านบาทลดลงจาก 4,455.38 ล้านบาทเมื่อปี 2557 และกำไรสุทธิที่ 129.39 ล้านบาทลดลงจาก 503.79 เมื่อปี 2557
ที่หนักที่สุดเห็นจะเป็นบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAMMY และบริษัทย่อย มีผลขาดทุน 1,150 ล้านบาทเทียบปี 57 ขาดทุน 2,410 ล้านบาท จน นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ปรับลดพนักงานในธุรกิจเพลงลง 10% จากทั้งหมด 800 คน หรือราว 80 คน
"เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการปรับบุคลาการตามปกติ และตลอด 32 ปี ที่ผ่านมา มีคนลาออกไม่มากจึงมีพนักงานกว่า 800 คน"
ขณะที่นางสาวบุษบา ดาวเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม GRAMMY เปิดเผยว่า ในปี 59 แกรมมี่ยังคงเดินหน้าที่จะขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมมองหาโอกาสในการเติบโตผ่านกลยุทธ์สื่อครบวงจร (Total Media Solution) โดยเร่งสร้างคอนเทนต์ให้ครอบคลุมทุกช่องทางทั้งออนไลน์ ออนแอร์ และออนกราวด์ เพื่อชูบทบาทการเป็น Content Provider และ Trendsetter จุดกระแสความนิยมในอุตสาหกรรม เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าแกรมมี่เดินมาถูกทางและปีนี้จะเป็นปีที่น่าสนใจอย่างยิ่งของแกรมมี่
โบรกฯชี้รายได้ธุรกิจโฆษณายังชะลอตัว
นายดิศฐนพ วัธนเวคิน นักวิเคราะห์ บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า BEC รายได้จากการโฆษณาทั้งปี 58 ลดลง 13% y-y และลดลง 5% q-q ที่ 3,385 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการหดตัวของรายได้ค่าโฆษณาช่อง 3HD คู่ขนาดช่อง 3Original เป็นผลกระทบจากการแข่งขันที่สูงขึ้นขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว
“ฝ่ายวิเคราะห์คาดว่าธุรกิจ Digital TV มีรายได้ทรงตัวที่ 250 ล้านบาท และคาดว่ายังมีผลขาดทุนขั้นต้นราว 22 ล้านบาท อีกทั้งยังมีดอกเบี้ยจ่ายอยู่ที่ 176 ล้านบาทที่เพิ่มขึ้นเป็น 3,559% q-q จากการเปลี่ยนวิธีบันทีกบัญชีจึงต้องรับรู้ดอกเบี้ยจ่ายเต็มปีในปีแรก”
นักวิเคราะห์ บล.โนมูระ คาดว่าผลประกอบการไตรมาส 1/59 ของ BEC ยังอ่อนแอ เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยทางฝ่ายวิเคราะห์ปรับลดประมาณการรายได้ทั้งปี59-60 ของ BEC ลง 2-3% โดยมีราคาเป้าหมายที่ 28 บาท
ขณะที่นางสาวพัชรินทร์ วัฒนาแก้วศรีเพ็ชร ฝ่ายวิเคาะห์ บล.คันทรี่ กรุ๊ป ระบุธุรกิจหลักของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT ยังไม่ฟื้นตัวเห็นได้จากภาพรวมกำไรทั้งปี 58 ชะลอตัวลง 77%YoY มาอยู่ที่ 118 ล้านบาท (EPS 0.17 บาท/หุ้น) ขณะที่ต้นทุนจากการดำเนินงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มรายการที่ผลิตเองมากขึ้น กดดันให้อัตรากำไรขั้นต้นของไตรมาส 4/58 ลดลงเหลือ 24% เทียบกับ 30% ในช่วงไตรมาส 4/57
นอกจากนี้บริษัทฯ จะมีค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกิดขึ้นจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ที่มาจากการค้างชำระค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลราว 35 ล้านบาท ทำให้ฝ่ายวิเคราะห์ปรับลดประมาณการกำไรทั้งปี 2559 ลงจากเดิม 30%
อย่างไรก็ตาม MCOT มูลค่าแฝงของกิจการ มาจากสินทรัพย์ที่บริษัทฯถือครองอยู่ในปัจจุบัน อันได้แก่ 1.มูลค่าที่ดิน 50 ไร่ บริเวณถนนรัชดา-พระราม 9 2.เงินชดเชยค่าคลื่นความถี่ 2600 MHz จำนวน 144 MHz ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับทาง กสทช. เพื่อคืนกลับไปประมูล 4G ซึ่ ทำให้ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมหุ้น MCOT ที่ 11 บาท