กรมเจ้าท่าเตรียมกู้เรือท่องเที่ยว "โอเชี่ยน ดรีม" หลังจมลงที่เกาะนก ท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมดำเนินคดีเจ้าของเหตุทำน้ำมันรั่วกระจายลงทะเล
จากกรณีเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ชื่อ OCEAN DREAM ของบริษัท JC Marine จอดทอดสมอนาน จนตัวเรือผุกร่อนจนจมลง พบคราบน้ำมันแพร่กระจายบริเวณเกาะนก ห่างจากฝั่งท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ประมาณ 2 กิโลเมตร ล่าสุดนายกริชเพชร ชัยช่วย ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่า เปิดเผยถึงความคืบหน้าบื้องต้นทางกรมเจ้าท่า ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้าแก้ไขสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 27ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีการวางบูม หรือ ทุ่นกักน้ำมันไว้รอบตัวเรือ และฉีดน้ำยาควบคุมเพื่อไม่ให้น้ำมันที่ไหลออกมาจากตัวเรือกระจายออกไป ซึ่งเป็นการปฎิบัติตามหลักมาตรฐานด้านความปลอดภัย
ส่วนขั้นตอนต่อไปคือ การกู้ซากเรือ ซึ่งกำลังทำหนังสือประสานไปยังบริษัทตัวแทนเรือที่อยู่ในประเทศไทย ให้ติดต่อกับเจ้าของเรือให้มากู้ซากเรือนี้ต่อไป ซึ่งจากการที่บริษัทเรือเลิกกิจการแล้ว และอาจไม่มากู้ซากเรือนั้น ตามขั้นตอนตามกฎหมาย ทางกรมฯ จะต้องดำเนินการกู้ซากเรือขึ้นมาก่อน แล้วประเมิณค่าดำเนินการกู้เรือ ร่วมด้วยการประเมิณทรัพย์สินภายในตัวเรือ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมิณมูลค่าเหล่านี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยขั้นตอนในการดำเนินกู้เรือลำนี้ ต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนจึงจะกู้แล้วเสร็จ
ด้านพลเรือโทรังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต 1 ได้สั่งการให้หมวดบินเฉพาะกิจทัพเรือภาคที่ 1 นำเฮลิคอปเตอร์ แบบ เบล 212 ขึ้นบินสำรวจพบว่า ตัวเรือยังจมอยู่พร้อมมีคราบน้ำมัแพร่กระจายอยู่ภายในบูมที่กรมเจ้าท่าได้วางไว้รอบตัวเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของคราบน้ำมันเพิ่ม
“ถึงแม้จะมีบางส่วนหลุดลอดออกมาบ้าง แต่ก็มีปริมาณเพียงเล็กน้อย ส่วนการกู้เรือนั้นกำลังประสานกับบริษัทเจ้าของเรือในการกู้ซากเรือ คาดว่าน่าจะใช้เวลา 2-3 เดือน จึงจะสามารถดำเนินการได้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุปกรณ์ในการกู้เรือจมซึ่งมีขนาดใหญ่เช่นเรือลำนี้”.
จากกรณีเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ชื่อ OCEAN DREAM ของบริษัท JC Marine จอดทอดสมอนาน จนตัวเรือผุกร่อนจนจมลง พบคราบน้ำมันแพร่กระจายบริเวณเกาะนก ห่างจากฝั่งท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ประมาณ 2 กิโลเมตร ล่าสุดนายกริชเพชร ชัยช่วย ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่า เปิดเผยถึงความคืบหน้าบื้องต้นทางกรมเจ้าท่า ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้าแก้ไขสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 27ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีการวางบูม หรือ ทุ่นกักน้ำมันไว้รอบตัวเรือ และฉีดน้ำยาควบคุมเพื่อไม่ให้น้ำมันที่ไหลออกมาจากตัวเรือกระจายออกไป ซึ่งเป็นการปฎิบัติตามหลักมาตรฐานด้านความปลอดภัย
ส่วนขั้นตอนต่อไปคือ การกู้ซากเรือ ซึ่งกำลังทำหนังสือประสานไปยังบริษัทตัวแทนเรือที่อยู่ในประเทศไทย ให้ติดต่อกับเจ้าของเรือให้มากู้ซากเรือนี้ต่อไป ซึ่งจากการที่บริษัทเรือเลิกกิจการแล้ว และอาจไม่มากู้ซากเรือนั้น ตามขั้นตอนตามกฎหมาย ทางกรมฯ จะต้องดำเนินการกู้ซากเรือขึ้นมาก่อน แล้วประเมิณค่าดำเนินการกู้เรือ ร่วมด้วยการประเมิณทรัพย์สินภายในตัวเรือ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมิณมูลค่าเหล่านี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยขั้นตอนในการดำเนินกู้เรือลำนี้ ต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนจึงจะกู้แล้วเสร็จ
ด้านพลเรือโทรังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต 1 ได้สั่งการให้หมวดบินเฉพาะกิจทัพเรือภาคที่ 1 นำเฮลิคอปเตอร์ แบบ เบล 212 ขึ้นบินสำรวจพบว่า ตัวเรือยังจมอยู่พร้อมมีคราบน้ำมัแพร่กระจายอยู่ภายในบูมที่กรมเจ้าท่าได้วางไว้รอบตัวเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของคราบน้ำมันเพิ่ม
“ถึงแม้จะมีบางส่วนหลุดลอดออกมาบ้าง แต่ก็มีปริมาณเพียงเล็กน้อย ส่วนการกู้เรือนั้นกำลังประสานกับบริษัทเจ้าของเรือในการกู้ซากเรือ คาดว่าน่าจะใช้เวลา 2-3 เดือน จึงจะสามารถดำเนินการได้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุปกรณ์ในการกู้เรือจมซึ่งมีขนาดใหญ่เช่นเรือลำนี้”.