เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ตรวจราชการที่อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เป็นธรรมดา เมื่อนายกฯ ลงพื้นที่ ข้าราชการมีโอกาสรายงานและเสนอเรื่องสำคัญๆ เป็นการบ้านให้นายกฯ นำกลับไปพิจารณา ในบรรดารายงานและข้อเสนอทั้งหลาย สื่อรายงานว่า อธิบดีกรมชลประทานได้เสนอให้รีบตัดสินใจลงมือสร้างเขื่อนแม่วงก์เพื่อแก้ภัยแล้ง ในการฟังรายงานและข้อเสนอนั้น นายกฯ จะได้ยินอะไร หรือคิดอะไรไปพร้อมกันบ้างหรือไม่ตัวท่านเท่านั้นที่ทราบ สำหรับผู้สนใจในด้านการพัฒนาแบบยั่งยืนอย่างจริงจังและนั่งฟังรายงานที่อำเภอลานสัก เมื่อได้ยินเรื่องการเร่งสร้างเขื่อนแม่วงก์ ในห้วงลึกของจิตใจคงหวนกลับไปได้ยินความกึกก้องของเสียงปืนท่ามกลางความวังเวงของป่าห้วยขาแข้งในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 1 กันยายน 2533
ตามรายงานของสื่อ นายกฯ มิได้ให้คำตอบแก่ข้อเสนอนั้นทันที หากได้สั่งให้หลายฝ่ายไปปรึกษาหารือกันอีกว่าจะทำอย่างไร ดังเป็นที่ทราบกันดี แนวคิดที่จะสร้างเขื่อนแห่งนี้องค์กรเอกชนหลายองค์กรไม่เห็นด้วยนำโดยมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ผู้ปลิดชีพตัวเองด้วยเสียงปืนดังกล่าวเพื่อเรียกร้องให้ชาวไทยช่วยกันรักษาผืนป่าไว้ให้อยู่คู่กับประเทศ ไม่ห่างจากตรงจุดที่นายกฯ พูด (ภาพ) ข้าราชการและประชาชนที่กำลังฟังอยู่คงรู้โดยทั่วกันว่า ถ้าเดินทางต่อไปอีกไม่นาน พวกเขาจะถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งมีอนุสาวรีย์สืบ นาคะเสถียรตั้งอยู่
ณ วันนี้ คงเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางแล้วว่า แม้การเรียกร้องของสืบ นาคะเสถียรจะได้ผลอยู่บ้าง แต่ผลนั้นค่อนข้างจำกัดและอาจไม่ยั่งยืน ทั้งนี้เพราะการลุกล้ำเข้าไปทำลายป่ายังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ป่าผืนใหญ่ในย่านใกล้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเองก็จะถูกทำลายไปส่วนหนึ่งด้วยหากรัฐบาลอนุญาตให้สร้างเขื่อนแม่วงก์
ความแห้งแล้งแสนสาหัสปีนี้เป็นโอกาสดีที่หน่วยงานรัฐบาลเช่นกรมชลประทานจะเสนอโครงการขนาดใหญ่ซึ่งใช้เงินหลักหมื่นล้านบาทดังที่ทำกันมานาน ในขณะเดียวกันดูจะไม่มีหน่วยงานไหนสนใจในโครงการขนาดเล็กที่จะช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีแต่ไม่มีการทำลายป่าและสิ่งแวดล้อมพร้อมกันไป ในทำนองเดียวกับเขื่อนแม่วงก์ โครงการหนึ่งซึ่งควรจะลงมือทำอย่างน้อยในรูปของการนำร่องมานานได้แก่การขุดสระน้ำจำนวนมากไว้ในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใช้พร้อมกับทำพื้นที่ให้ชุ่มชื้นตลอดฤดูแล้ง จริงอยู่ การขุดสระน้ำและบ่อบาดาลได้ทำกันมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำอย่างจริงจังตามหลักการที่ชาวบ้านในประเทศอินเดียทำดังที่คอลัมน์นี้ประจำวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้อ้างถึงครั้งหนึ่งแล้ว การขุดสระน้ำจำนวนมากซึ่งอาจรู้จักกันบ้างในนามของ “สระพวง” ได้ผลดีแม้ในพื้นที่กึ่งทะเลทรายเช่นในอินเดีย รายละเอียดอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อเดียวกันว่า Water Wars สองเล่ม (ภาพ) ซึ่งมีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com โครงการแนวนี้นายกฯ คงไม่มีโอกาสได้ยินไม่ว่าจะลงพื้นที่สักกี่ครั้งก็ตาม
แม้จะแห้งแล้งแสนสาหัส เมืองไทยยังไม่ขาดแคลนน้ำถึงขนาดแย่งชิงกันอย่างเข้มข้นจนเป็น “สงครามชิงน้ำ” ตามชื่อของหนังสือดังกล่าว แต่ถ้าเราประมาท สงครามอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้นี้ หากถามว่าเราจะเลี่ยงสงครามอันเกิดจากการขาดแคลนน้ำได้หรือไม่ ในเมื่อแต่ละปีมีฝนนำน้ำมาให้ในปริมาณมหาศาล? คำตอบคือ เราทำได้แน่นอนโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำหากทำตามแนวสระพวงซึ่งอยู่ในกรอบของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่นายกฯ เองนำไปเสนอถึงอเมริกาและยุโรป
ประสบการณ์ในอินเดียบ่งว่า การขุดสระไว้หลายร้อยลูกเป็นระยะๆ ในพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้พื้นที่นั้นชุ่มชื้นตลอดทั้งปี ความชุ่มชื้นเกิดจากน้ำที่ซึมลงไปจากสระพร้อมๆ กันส่งผลให้สระเหล่านั้นไม่แห้งและต้นไม้ในพื้นที่งอกงามเป็นอย่างดี ในบางกรณี ลำธารที่แห้งเหือดไปกลับมีน้ำไหลขึ้นมาอีกครั้งหลังจากการขุดสระจำนวนมาก การทำเกษตรกรรมตามแนวทฤษฎีใหม่ในกรอบเศรษฐกิจพอเพียงเสนอให้ขุดสระน้ำตามหลักที่นักวิชาการหลายคนเรียกว่า “โคก หนอง นา โมเดล” (ภาพ) หากทำตามหลักนี้อย่างจริงจัง ในวันหนึ่งข้างหน้าเมืองไทยจะกลายเป็นเสมือนถาดขนมครกที่ไม่มีวันจะขาดแคลนน้ำ
หลักเกณฑ์สำคัญของการทำเกษตรกรรมตามแนวนี้คือ ต้องมีการขุดสระจำนวนมากจึงจะได้ผลตามเป้าหมาย แต่เกษตรกรไทยมักมองไม่เห็นความสำคัญของการรวมตัวกันทำ เนื่องจากมักกลัวเสียพื้นที่เพาะปลูกและไม่เคยเห็นตัวอย่างที่ได้ผลมาก่อน หรือไม่ก็ยังฝังใจในเรื่องการปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะทำให้ร่ำรวย ด้วยเหตุนี้จึงควรจะมีการทำนำร่องโดยรัฐบาลซึ่งในขณะนี้มี ม. 44 อยู่ในมือที่จะเอื้อให้ทำได้อย่างรวดเร็ว
หากไม่แน่ว่าจะทำนำร่องที่ไหน ขอเสนอให้ทำหลายๆ แห่งรวมทั้งที่อำเภอบ้านนาซึ่งอาภัพมากจากการขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเพาะปลูกทั้งที่มีเขื่อนขุนด่านปราการชลอยู่ห่างออกไปไม่ถึง 20 กิโลเมตร หากจะให้เจาะจงลงไปอีก ขอให้พิจารณาหมู่ 10 ตำบลพิกุลออกซึ่งมีเนื้อที่ราว 1 พันไร่และไม่มีคูคลองนอกจากร่องถนนเท่านั้น (ขอเรียนว่า ผมรู้จักพื้นที่นี้ค่อนข้างดีเพราะอยู่ใกล้บ้านเกิดของผมเอง แต่ผมจะไม่มีส่วนได้อะไรทั้งสิ้นเนื่องจากไม่มีที่ดินหรือกิจการอะไรอยู่ในย่านนั้น นอกจากโครงการส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนที่มูลนิธินักอ่านบ้านนาและกัลยาณมิตรสนับสนุนมาเป็นเวลาสิบกว่าปี ซึ่งมีข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์ดังที่อ้างถึง)
จากวันนี้ไป ข้อเสนอที่จะให้เริ่มทำพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งขาดการชลประทานเต็มไปด้วยสระเก็บน้ำฝนไว้ใช้คงไม่มีโอกาสถูกผลักดันในแนวเดียวกันกับการจะให้รีบสร้างเขื่อนแม่วงก์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่แห่งใหม่คงหวังว่านายกฯ จะไม่รีบร้อนใช้ ม. 44 ให้สร้างเขื่อนได้ในแนวที่ใช้ ม. 44 ยกเว้นการบังคับใช้กฎกระทรวงสำหรับผังเมืองทั่วประเทศ ซึ่งองค์กรเอกชนและผู้สนใจในการพัฒนาแบบยั่งยืนวิตกว่ามีโอกาสพาไปสู่การทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง หากนายกฯ ตัดสินใจใช้ ม. 44 เพื่อให้เกิดการก่อสร้างอย่างเร่งด่วน เป็นไปได้ว่าจะมีเสียงปืนดังขึ้นอีก เสียงปืนนั้นจะเป็นเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นเมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 1 กันยายน 2533
ตามรายงานของสื่อ นายกฯ มิได้ให้คำตอบแก่ข้อเสนอนั้นทันที หากได้สั่งให้หลายฝ่ายไปปรึกษาหารือกันอีกว่าจะทำอย่างไร ดังเป็นที่ทราบกันดี แนวคิดที่จะสร้างเขื่อนแห่งนี้องค์กรเอกชนหลายองค์กรไม่เห็นด้วยนำโดยมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ผู้ปลิดชีพตัวเองด้วยเสียงปืนดังกล่าวเพื่อเรียกร้องให้ชาวไทยช่วยกันรักษาผืนป่าไว้ให้อยู่คู่กับประเทศ ไม่ห่างจากตรงจุดที่นายกฯ พูด (ภาพ) ข้าราชการและประชาชนที่กำลังฟังอยู่คงรู้โดยทั่วกันว่า ถ้าเดินทางต่อไปอีกไม่นาน พวกเขาจะถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งมีอนุสาวรีย์สืบ นาคะเสถียรตั้งอยู่
ณ วันนี้ คงเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางแล้วว่า แม้การเรียกร้องของสืบ นาคะเสถียรจะได้ผลอยู่บ้าง แต่ผลนั้นค่อนข้างจำกัดและอาจไม่ยั่งยืน ทั้งนี้เพราะการลุกล้ำเข้าไปทำลายป่ายังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ป่าผืนใหญ่ในย่านใกล้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเองก็จะถูกทำลายไปส่วนหนึ่งด้วยหากรัฐบาลอนุญาตให้สร้างเขื่อนแม่วงก์
ความแห้งแล้งแสนสาหัสปีนี้เป็นโอกาสดีที่หน่วยงานรัฐบาลเช่นกรมชลประทานจะเสนอโครงการขนาดใหญ่ซึ่งใช้เงินหลักหมื่นล้านบาทดังที่ทำกันมานาน ในขณะเดียวกันดูจะไม่มีหน่วยงานไหนสนใจในโครงการขนาดเล็กที่จะช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีแต่ไม่มีการทำลายป่าและสิ่งแวดล้อมพร้อมกันไป ในทำนองเดียวกับเขื่อนแม่วงก์ โครงการหนึ่งซึ่งควรจะลงมือทำอย่างน้อยในรูปของการนำร่องมานานได้แก่การขุดสระน้ำจำนวนมากไว้ในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใช้พร้อมกับทำพื้นที่ให้ชุ่มชื้นตลอดฤดูแล้ง จริงอยู่ การขุดสระน้ำและบ่อบาดาลได้ทำกันมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำอย่างจริงจังตามหลักการที่ชาวบ้านในประเทศอินเดียทำดังที่คอลัมน์นี้ประจำวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้อ้างถึงครั้งหนึ่งแล้ว การขุดสระน้ำจำนวนมากซึ่งอาจรู้จักกันบ้างในนามของ “สระพวง” ได้ผลดีแม้ในพื้นที่กึ่งทะเลทรายเช่นในอินเดีย รายละเอียดอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อเดียวกันว่า Water Wars สองเล่ม (ภาพ) ซึ่งมีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com โครงการแนวนี้นายกฯ คงไม่มีโอกาสได้ยินไม่ว่าจะลงพื้นที่สักกี่ครั้งก็ตาม
แม้จะแห้งแล้งแสนสาหัส เมืองไทยยังไม่ขาดแคลนน้ำถึงขนาดแย่งชิงกันอย่างเข้มข้นจนเป็น “สงครามชิงน้ำ” ตามชื่อของหนังสือดังกล่าว แต่ถ้าเราประมาท สงครามอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้นี้ หากถามว่าเราจะเลี่ยงสงครามอันเกิดจากการขาดแคลนน้ำได้หรือไม่ ในเมื่อแต่ละปีมีฝนนำน้ำมาให้ในปริมาณมหาศาล? คำตอบคือ เราทำได้แน่นอนโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำหากทำตามแนวสระพวงซึ่งอยู่ในกรอบของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่นายกฯ เองนำไปเสนอถึงอเมริกาและยุโรป
ประสบการณ์ในอินเดียบ่งว่า การขุดสระไว้หลายร้อยลูกเป็นระยะๆ ในพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้พื้นที่นั้นชุ่มชื้นตลอดทั้งปี ความชุ่มชื้นเกิดจากน้ำที่ซึมลงไปจากสระพร้อมๆ กันส่งผลให้สระเหล่านั้นไม่แห้งและต้นไม้ในพื้นที่งอกงามเป็นอย่างดี ในบางกรณี ลำธารที่แห้งเหือดไปกลับมีน้ำไหลขึ้นมาอีกครั้งหลังจากการขุดสระจำนวนมาก การทำเกษตรกรรมตามแนวทฤษฎีใหม่ในกรอบเศรษฐกิจพอเพียงเสนอให้ขุดสระน้ำตามหลักที่นักวิชาการหลายคนเรียกว่า “โคก หนอง นา โมเดล” (ภาพ) หากทำตามหลักนี้อย่างจริงจัง ในวันหนึ่งข้างหน้าเมืองไทยจะกลายเป็นเสมือนถาดขนมครกที่ไม่มีวันจะขาดแคลนน้ำ
หลักเกณฑ์สำคัญของการทำเกษตรกรรมตามแนวนี้คือ ต้องมีการขุดสระจำนวนมากจึงจะได้ผลตามเป้าหมาย แต่เกษตรกรไทยมักมองไม่เห็นความสำคัญของการรวมตัวกันทำ เนื่องจากมักกลัวเสียพื้นที่เพาะปลูกและไม่เคยเห็นตัวอย่างที่ได้ผลมาก่อน หรือไม่ก็ยังฝังใจในเรื่องการปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะทำให้ร่ำรวย ด้วยเหตุนี้จึงควรจะมีการทำนำร่องโดยรัฐบาลซึ่งในขณะนี้มี ม. 44 อยู่ในมือที่จะเอื้อให้ทำได้อย่างรวดเร็ว
หากไม่แน่ว่าจะทำนำร่องที่ไหน ขอเสนอให้ทำหลายๆ แห่งรวมทั้งที่อำเภอบ้านนาซึ่งอาภัพมากจากการขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเพาะปลูกทั้งที่มีเขื่อนขุนด่านปราการชลอยู่ห่างออกไปไม่ถึง 20 กิโลเมตร หากจะให้เจาะจงลงไปอีก ขอให้พิจารณาหมู่ 10 ตำบลพิกุลออกซึ่งมีเนื้อที่ราว 1 พันไร่และไม่มีคูคลองนอกจากร่องถนนเท่านั้น (ขอเรียนว่า ผมรู้จักพื้นที่นี้ค่อนข้างดีเพราะอยู่ใกล้บ้านเกิดของผมเอง แต่ผมจะไม่มีส่วนได้อะไรทั้งสิ้นเนื่องจากไม่มีที่ดินหรือกิจการอะไรอยู่ในย่านนั้น นอกจากโครงการส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนที่มูลนิธินักอ่านบ้านนาและกัลยาณมิตรสนับสนุนมาเป็นเวลาสิบกว่าปี ซึ่งมีข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์ดังที่อ้างถึง)
จากวันนี้ไป ข้อเสนอที่จะให้เริ่มทำพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งขาดการชลประทานเต็มไปด้วยสระเก็บน้ำฝนไว้ใช้คงไม่มีโอกาสถูกผลักดันในแนวเดียวกันกับการจะให้รีบสร้างเขื่อนแม่วงก์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่แห่งใหม่คงหวังว่านายกฯ จะไม่รีบร้อนใช้ ม. 44 ให้สร้างเขื่อนได้ในแนวที่ใช้ ม. 44 ยกเว้นการบังคับใช้กฎกระทรวงสำหรับผังเมืองทั่วประเทศ ซึ่งองค์กรเอกชนและผู้สนใจในการพัฒนาแบบยั่งยืนวิตกว่ามีโอกาสพาไปสู่การทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง หากนายกฯ ตัดสินใจใช้ ม. 44 เพื่อให้เกิดการก่อสร้างอย่างเร่งด่วน เป็นไปได้ว่าจะมีเสียงปืนดังขึ้นอีก เสียงปืนนั้นจะเป็นเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นเมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 1 กันยายน 2533