ขณะที่โลกใส่ใจและพยายามมุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและแนวคิดแบบกรีน สิ่งที่นักวิเคราะห์ในยุโรป พบคือ ความคืบหน้าในทิศทางกรีนกับธุรกิจไอทีกลับเชื่องช้ากว่าธุรกิจอื่นมาก
Andrew Donoghue ผู้บริหารของกิจการวิจัยยุโรปชื่อ 451 Research. Image: iStock รายงานผลการวิจัยของเขาว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้วบรรดา CIO (Chief information officer) หรือประธานฝ่ายสารสนเทศ และซัปพลายเออร์ธุรกิจเทคโนโลยีไอทีได้เริ่มแสดงออกชัดเจนว่าให้ความสนใจกับแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน แต่จนถึงวันนี้ไม่มีอะไรคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมมากนัก จนไม่อาจทำให้ตลาดกรีนพอใจในเรื่องนี้
แนวคิดกรีนไม่ได้เป็นเพียงแฟชั่นอีกต่อไป แต่เป็นประเด็นร้อนที่ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนให้ความสนใจ จนน่าจะเป็นวาระการบริหารที่ CIO และผู้จำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีไม่อาจปล่อยปละละเลยได้ เพราะแนวคิดการดำเนินธุรกิจตามแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนเป็น best practice ของตลาดไปแล้ว
แม้ว่า CIO จำนวนหนึ่งพยายามยืนยันว่าเทคโนโลยีสมัยนี้เป็นแนวกรีนมากขึ้นกว่าเดิม และมีความตระหนักและตื่นตัวในเรื่องกรีนไอทีนี้ในธุรกิจก็ตาม แต่คณะกรรมการบริษัทไอทีจำนวนมากยังไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องกรีนมากนัก
ธุรกิจทั่วไปที่เป็นลูกค้าหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างหากที่เป็นฝ่ายกดดันผู้ประกอบการไอที ด้วยความต้องการใช้กรีนไอที และการปรับรูปแบบความต้องการสู่การสั่งผลิตภัณฑ์ไอทีตามความต้องการเฉพาะราย แทนการซื้อผลิตภัณฑ์แบบท้องตลาดทั่วไป
ขณะที่แนวโน้มของการใช้คลาวด์ เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ กลับมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการไอทีมีแรงกดดันลดลงในการพัฒนาต่อยอดสู่ความเป็นกรีนไอที ทำให้ความจำเป็นในการทำงานโดยศูนย์ดาต้าเซนเตอร์ลดลง
นอกจากนั้น การที่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมแย่ลง ทำให้ความกังวลในการดำเนินธุรกิจไอทีของผู้ประกอบการไอที ไม่ได้คำนึงถึงแต่เพียงการมีจริยธรรมทางธุรกิจ ด้วยการใช้แนวคิดกรีนไอที หากแต่เป็นเรื่องของความอยู่รอดของธุรกิจในอนาคตมากกว่า ทำให้การพัฒนาต่อยอดธุรกิจไอทีสู่กรีนไอทีไม่ใช่เรื่องที่มีคุณค่าและความสำคัญมากที่สุด
ในส่วนของ CIO ของกิจการต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ไอที ยังคงมีความต่อเนื่องและให้ความสนใจกับการแสวงหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรีนไอที เพื่อตอบสนองแนวคิดของการพัฒนาแบบยั่งยืน และเห็นว่ากรีนไอทีเป็นทางเลือกของการซื้อไอทีที่มีความเป็นไปได้ เพราะผู้ขายยินดีออกแบบให้ไอทีเป็นกรีนตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย
นอกจากนั้น CIO นับเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนที่สำคัญภายในกิจการให้เกิดการประกาศนโยบายแนวกรีนขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะการใช้แนวทางการรีไซเคิล
ในการสำรวจดังกล่าว นักวิจัยพยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำว่ากรีนไอทีในการสำรวจหาเทคโนโลยีแนวใส่ใจความยั่งยืน แต่ไปใช้คำว่า eco-efficient IT แทน โดยคำว่า eco มีความหมายถึงมีผลกระทบทางเศรษฐกิจในทางบวก
ผลการสำรวจยืนยันว่าไม่พบว่าธุรกิจไอทีได้ทำให้กรีนไอทีเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างจริงจัง เพราะกรีนไอทีที่แท้จริงจะต้องมีองค์ประกอบที่เป็นการสร้าง จัดวาง บริหารงานไอทีในลักษณะที่ใส่ใจกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานหรือไม่ก็ตาม
ทั้งนี้ แม้แต่ยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีอย่างเช่น กูเกิลและแอปเปิ้ลเอง ก็ยอมที่จะลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในการพัฒนาพลังงานที่หมุนเวียนแทนในการบริหารงานที่ดาต้าเซนเตอร์และสำนักงานของกิจการ แม้ว่าจะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ทั้งสองกิจการเชื่อเสมอว่าในระยะยาว กิจการจะเกิดการประหยัดด้านต้นทุนดำเนินงานจากการพัฒนาธุรกิจสู่กรีนไอที และทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
Andrew Donoghue ผู้บริหารของกิจการวิจัยยุโรปชื่อ 451 Research. Image: iStock รายงานผลการวิจัยของเขาว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้วบรรดา CIO (Chief information officer) หรือประธานฝ่ายสารสนเทศ และซัปพลายเออร์ธุรกิจเทคโนโลยีไอทีได้เริ่มแสดงออกชัดเจนว่าให้ความสนใจกับแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน แต่จนถึงวันนี้ไม่มีอะไรคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมมากนัก จนไม่อาจทำให้ตลาดกรีนพอใจในเรื่องนี้
แนวคิดกรีนไม่ได้เป็นเพียงแฟชั่นอีกต่อไป แต่เป็นประเด็นร้อนที่ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนให้ความสนใจ จนน่าจะเป็นวาระการบริหารที่ CIO และผู้จำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีไม่อาจปล่อยปละละเลยได้ เพราะแนวคิดการดำเนินธุรกิจตามแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนเป็น best practice ของตลาดไปแล้ว
แม้ว่า CIO จำนวนหนึ่งพยายามยืนยันว่าเทคโนโลยีสมัยนี้เป็นแนวกรีนมากขึ้นกว่าเดิม และมีความตระหนักและตื่นตัวในเรื่องกรีนไอทีนี้ในธุรกิจก็ตาม แต่คณะกรรมการบริษัทไอทีจำนวนมากยังไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องกรีนมากนัก
ธุรกิจทั่วไปที่เป็นลูกค้าหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างหากที่เป็นฝ่ายกดดันผู้ประกอบการไอที ด้วยความต้องการใช้กรีนไอที และการปรับรูปแบบความต้องการสู่การสั่งผลิตภัณฑ์ไอทีตามความต้องการเฉพาะราย แทนการซื้อผลิตภัณฑ์แบบท้องตลาดทั่วไป
ขณะที่แนวโน้มของการใช้คลาวด์ เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ กลับมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการไอทีมีแรงกดดันลดลงในการพัฒนาต่อยอดสู่ความเป็นกรีนไอที ทำให้ความจำเป็นในการทำงานโดยศูนย์ดาต้าเซนเตอร์ลดลง
นอกจากนั้น การที่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมแย่ลง ทำให้ความกังวลในการดำเนินธุรกิจไอทีของผู้ประกอบการไอที ไม่ได้คำนึงถึงแต่เพียงการมีจริยธรรมทางธุรกิจ ด้วยการใช้แนวคิดกรีนไอที หากแต่เป็นเรื่องของความอยู่รอดของธุรกิจในอนาคตมากกว่า ทำให้การพัฒนาต่อยอดธุรกิจไอทีสู่กรีนไอทีไม่ใช่เรื่องที่มีคุณค่าและความสำคัญมากที่สุด
ในส่วนของ CIO ของกิจการต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ไอที ยังคงมีความต่อเนื่องและให้ความสนใจกับการแสวงหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรีนไอที เพื่อตอบสนองแนวคิดของการพัฒนาแบบยั่งยืน และเห็นว่ากรีนไอทีเป็นทางเลือกของการซื้อไอทีที่มีความเป็นไปได้ เพราะผู้ขายยินดีออกแบบให้ไอทีเป็นกรีนตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย
นอกจากนั้น CIO นับเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนที่สำคัญภายในกิจการให้เกิดการประกาศนโยบายแนวกรีนขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะการใช้แนวทางการรีไซเคิล
ในการสำรวจดังกล่าว นักวิจัยพยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำว่ากรีนไอทีในการสำรวจหาเทคโนโลยีแนวใส่ใจความยั่งยืน แต่ไปใช้คำว่า eco-efficient IT แทน โดยคำว่า eco มีความหมายถึงมีผลกระทบทางเศรษฐกิจในทางบวก
ผลการสำรวจยืนยันว่าไม่พบว่าธุรกิจไอทีได้ทำให้กรีนไอทีเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างจริงจัง เพราะกรีนไอทีที่แท้จริงจะต้องมีองค์ประกอบที่เป็นการสร้าง จัดวาง บริหารงานไอทีในลักษณะที่ใส่ใจกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานหรือไม่ก็ตาม
ทั้งนี้ แม้แต่ยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีอย่างเช่น กูเกิลและแอปเปิ้ลเอง ก็ยอมที่จะลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในการพัฒนาพลังงานที่หมุนเวียนแทนในการบริหารงานที่ดาต้าเซนเตอร์และสำนักงานของกิจการ แม้ว่าจะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ทั้งสองกิจการเชื่อเสมอว่าในระยะยาว กิจการจะเกิดการประหยัดด้านต้นทุนดำเนินงานจากการพัฒนาธุรกิจสู่กรีนไอที และทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น