คงมีคนไทยจำนวนไม่มากที่มีโอกาสได้อ่านนิตยสารไทม์ฉบับประจำวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา ผมได้อ่านเนื่องจากรับนิตยสารไทม์เป็นประจำ นิตยสารฉบับนั้นไม่มีรายงาน หรือบทความอะไรที่น่าสนใจมากกว่าการโฆษณาเต็มหน้ากระดาษหนึ่งซึ่งพาดหัวว่า Sufficiency Thinking: Thailand’s Gift to an Unsustainable World พาดหัวนี้มีหลายคำที่ทำให้ผมสนใจเนื่องจากมันเกี่ยวกับร่างหนังสือเล่มใหม่เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาติไทยที่ผมเพิ่งส่งให้สำนักพิมพ์ เช่น Sufficiency (พอเพียง) Thailand’s Gift (ของขวัญของประเทศไทย) และ Unsustainable World (โลกที่ไม่ยั่งยืน)
ค่าโฆษณาเต็มหน้ากระดาษในนิตยสารรายสัปดาห์ซึ่งพิมพ์ออกมาครั้งละกว่า 3 ล้านเล่ม และมีคนอ่านทั่วโลกเช่นนั้นคงเป็นเงินหลักล้านบาท (ข้อมูลจาก Resources for Entrepreneurs ของ Gaebler.Com ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์บ่งว่า ค่าโฆษณาเต็มหน้าด้วยอักษรและภาพขาวดำอยู่ในราว 166,850 ดอลลาร์ หรือประมาณ 5.8 ล้านบาท หากพิมพ์แยกสี ค่าหน้ากระดาษจะสูงกว่านั้น) ทั้งที่เสียค่าโฆษณามากมาย แต่ผู้จ่ายมิได้บ่งชื่อองค์กรแน่นอนในหน้าโฆษณานอกจากเขียนว่า “สนับสนุน” (Contributed) โดย Dr.Gayle C. Avery ศาสตราจารย์ด้านการบริหารจัดการแห่งมหาวิทยาลัย Macquarie ในออสเตรเลีย
คำว่า “สนับสนุน” ในที่นี้อาจหมายความว่าศาสตราจารย์คนนั้นเขียนข้อความในโฆษณา หรือเป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา หรือทั้งสองอย่างก็ได้ หลังจากค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ผมพบว่าองค์กรเอกชนชื่อ Institute of Sustainable Leadership (ISL) กำลังจัดพิมพ์หนังสือชื่อตามพาดหัวนั้น หนังสือเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความพอเพียงชาวไทย 20 คนและได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นกอบเป็นกำจากมูลนิธิมั่นพัฒนา (Thai Sustainable Development Foundation) ข้อมูลเหล่านั้นทำให้อนุมานได้ว่า ผู้จ่ายค่าโฆษณาคือมูลนิธิมั่นพัฒนา ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อความในโฆษณาบอกเรื่องราวแบบคร่าวๆ เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสังเคราะห์ขึ้นจากการศึกษาและทดลองด้วยพระองค์เอง และมีผู้นำไปประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิมั่นพัฒนาคงร่วมมือกับ ISL ซึ่งเป็นองค์กรรับให้คำปรึกษานำแนวคิดออกไปเผยแพร่ให้แก่ชาวโลก หนังสือเล่มดังกล่าวคงจะเป็นสื่อสำคัญในกระบวนการเผยแพร่นั้น
ดังเป็นที่ทราบกันดี หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และในหลวงทรงแนะนำให้ใช้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน แนวคิดนี้ได้แพร่กระจายไปยังต่างประเทศ และเริ่มเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางขึ้น ทั้งนี้เพราะชาวโลกจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมองเห็นว่านโยบายการพัฒนาตามแนวคิดกระแสหลักใช้ไม่ได้ผลแล้ว ประเด็นนี้เริ่มมีความเด่นชัดยิ่งขึ้นเมื่อนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลโจเซฟ สติกลิตซ์ เขียนหนังสือออกมาชี้แจงว่าเพราะอะไรเมื่อต้นปี 2553 ชื่อ Freefall: America, Free Markets, and the Sinking of the World Economy ในหนังสือเล่มนี้ โจเซฟ สติกลิตซ์ เน้นการอ่านเหตุการณ์ เขามองว่าต้นตอปัญหาของโลกปัจจุบันมาจากความเสื่อมทรามทางศีลธรรมจรรยา แต่มิได้เสนอทางออกแน่นอนว่าอะไรน่าจะเหมาะสมสำหรับสังคมโลก
ในเวลาไล่เลี่ยกัน มีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำชาวอเมริกันอีกคนหนึ่งชื่อเจฟฟรี แซคส์ เสนอให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาโดยเขียนหนังสือออกมาเมื่อปี 2554 ชื่อ The Price of Civilization: Reawakening American Virtue and Prosperity กระบวนทัศน์ใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในบทที่ 9 ของหนังสือซึ่งเขาตั้งชื่อว่า “สังคมมีสติ” (The Mindful Society) เจฟฟรี แซคส์เขียนว่า “การปลุกเร้าอย่างเข้มข้นของวัตถุนิยมเข้าไปในทุกขุมขนของเราอยู่ตลอดเวลาก่อให้เกิดความมืดบอดสนิท การเสพติดวัตถุ และการหดหายไปของความเมตตากรุณา” และเขียนต่อไปว่า “พระพุทธเจ้า...และอริสโตเติล...ต่างค้นพบยาซึ่งจะพามนุษย์ไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืนที่คล้ายกันมาก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก่อนเกิดศาสนาคริสต์ราว 500 ปีว่า ‘ทางสายกลาง’ จะช่วยมนุษย์ให้อยู่ในภาวะสมดุล ... สองร้อยปีต่อมา... อริสโตเติลบอกชาวกรีกว่า ‘ความพอประมาณในทุกด้าน’ คือกุญแจไขประตูสู่ความสุข”
“แก่นคำสอนของพระพุทธเจ้าและของอริสโตเติลคือ ความพอประมาณ... แต่ทางเข้าสู่ความพอประมาณนั้นยากมาก จะต้องแสวงหาอย่างจริงจังจากความมีมานะที่จะฝึกฝนและทำสมาธิ”
“พูดอย่างสั้นๆ สิ่งที่สำคัญคือความมีสติเกี่ยวกับความจำเป็นของเราทั้งในฐานะปัจเจกชน และในฐานะสังคมที่จะแสวงหาทางอันมั่นคงที่จะนำไปสู่ความผาสุก”
“สังคมมีสติมิใช่แผนงาน หากเป็นแนวทางสำหรับชีวิตและเศรษฐกิจที่เสนอให้เรามุ่งมั่นอยู่ในศีลธรรมจรรยาทั้งในด้านพฤติกรรมส่วนตัว ...และในด้านพฤติกรรมทางสังคม”
เนื้อหาทั้งหมดในบทนี้ชี้บ่งอย่างแจ้งชัดว่า เจฟฟรี แซคส์ พูดถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงแม้เขาจะมิได้ใช้คำนั้นก็ตาม ณ วันนี้ ยังไม่มีนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง อย่างไรก็ดี เพิ่งมีนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรเลียชื่อแซมมวล อะเล็กซานเดอร์ ตั้งชื่อหนังสือเล่มล่าสุดของเขาว่า Sufficiency Economy
คำว่า Sufficiency Economy ไม่มีในศัพท์เศรษฐกิจของฝรั่งจนกระทั่งหลังปี 2540 เมื่อคนไทยเริ่มใช้เป็นคำแปลของ “เศรษฐกิจพอเพียง” เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่ฝรั่งตั้งชื่อตามคำแปลของเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง จึงขอนำมาเล่าคร่าวๆ
หนังสือเรื่อง Sufficiency Economy เป็นหนึ่งในสองเล่มซึ่งรวมบทความที่ผู้เขียนพิมพ์ไว้ในวาระต่างๆ อีกเล่มหนึ่งชื่อ Prosperous Descent เนื้อหาของทั้งสองเล่มประกอบด้วยบทความ 24 บทซึ่งมุ่งเน้นประเด็นที่เกี่ยวกับจุดยืนของผู้เขียน นั่นคือ โลกใบนี้ไม่มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับให้มนุษย์ใช้กันเกินไปถึงในระดับที่ประเทศก้าวหน้าทั้งหลายกำลังใช้อยู่ หากเราพยายามใช้ในระดับนั้นต่อไป ธรรมชาติจะบังคับให้เราลดการใช้ลงด้วยมาตรการรุนแรง ฉะนั้น เราควรลดการใช้ลงด้วยความสมัครใจ
หนังสือออกวางตลาดเมื่อตอนก่อนสิ้นปี 2558 ผมเห็นด้วยกับจุดยืนของผู้เขียน แต่รู้สึกผิดหวังที่เขามิได้ตั้งใจจะเขียนเรื่อง Sufficiency Economy หรือเศรษฐกิจพอเพียงดังที่ผมคาด หากนำคำนั้นมาใช้เมื่อรวมบทความเป็นหนังสือโดยเปลี่ยนชื่อรายงานเรื่อง Simplicity Institute Report ซึ่งเขาเขียนเมื่อปี 2555 เป็น Sufficiency Economy เขาบอกว่าบทความบทนี้เป็นบทเอก เขาจึงตั้งชื่อหนังสือตามชื่อบทความ ในบรรดาบทความที่เขานำมารวมไว้ในหนังสือสองเล่ม เพียง 3 บทเท่านั้นที่มีคำว่า Sufficiency ปรากฏในชื่อ ส่วนในบทเอกนั้น เขาอ้างถึงเอกสารที่ใช้ Sufficiency Economy เป็นส่วนหนึ่งของชื่อเพียงฉบับเดียวคือ “Suwankitti, W. and Pongquan, S. Enhancement of rural livelihoods in Thailand; An application o sufficiency economy approach in community development. Saarbrucken : Lambert Academic Publishing.”
นอกจากจะใช้ Sufficiency Economy ในมิติเศรษฐกิจเพียงมิติเดียวแล้ว ผู้เขียนยังจำกัดการใช้ให้อยู่ในวงของประเทศก้าวหน้าเท่านั้นอีกด้วย ทั้งนี้เพราะเขามองว่าประเทศก้าวหน้าใช้ทรัพยากรเกินไปมาก จึงจำเป็นต้องลด เหตุผลของเขาไม่ผิด แต่ผมมองว่า ในประเทศกำลังพัฒนาก็มีคนกลุ่มใหญ่ที่ใช้ทรัพยากรมากเกิน กลุ่มนี้มีจำนวนมากกว่าประชากรของประเทศก้าวหน้าเสียอีก พวกเขาต้องลดการใช้ทรัพยากรลงด้วยเช่นกัน มิฉะนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุเป้าหมายของการใช้ทรัพยากรเพื่อให้ทุกคนดำเนินชีวิตอยู่ได้ในกรอบของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืน
จากมุมมองของผู้เขียน ทางไปสู่เป้าหมายได้แก่การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย (Simplicity) คำนี้เขาใช้เป็นชื่อองค์กรที่เขาตั้งขึ้น (Simplicity Institute) และอ้างถึงบ่อยๆ ตลอดหนังสือทั้งสองเล่ม เขายอมรับว่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกว้างมากซึ่งจะต้องศึกษากันต่อไป ในบทความ เขาพูดถึงตัวอย่างซึ่งเป็นภาพในจินตนาการเกี่ยวกับสังคมเมืองในประเทศก้าวหน้าว่าจะเป็นอย่างไรในด้านการใช้น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย พลังงาน การขนส่ง งาน การผลิต เงิน ตลาดและการแลกเปลี่ยน ผู้เขียนมองว่าแต่ละด้านเป็นเรื่องใหญ่ซึ่งถ้าจะพูดกันจริงๆ ต้องใช้พื้นที่เป็นหนังสือทั้งเล่ม
โดยสรุป การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายต้องเกิดจากการลดการใช้ทรัพยากรลงให้เหลือแค่ระดับเพื่อสนองความจำเป็นเท่านั้น นั่นจะเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบถึงรากเหง้า เช่น ทำความสะอาดร่างกายโดยใช้ถังน้ำ ใช้ส้วมแบบเก็บปัสสาวะและอุจจาระไว้ทำปุ๋ย เปลี่ยนสนามหญ้าและที่ว่างทุกตารางนิ้วเป็นพื้นที่ผลิตอาหารอินทรีย์ ใช้เครื่องนุ่มห่มเพียงเพื่อปกปิดร่างกายและให้ร่างกายอบอุ่นเท่านั้นโดยไม่ใช้เครื่องประดับ ปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้เล็กลงเหลือเท่าที่จำเป็น ลดการใช้พลังงานโดยการงดขับรถไปไหนไกลๆ ไม่รับประทานอาหารที่ต้องขนมาจากต่างถิ่นและลดใช้ไฟฟ้าที่ผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เปลี่ยนการทำงานในสำนักงานเป็นการผลิตอาหารและเครื่องใช้ในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ และอาจเลิกใช้เงินและธนาคาร
การเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบถึงรากเหง้าดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้แค่ไหน ผู้เขียนไม่ให้ความหวังมากนักนอกจากจะเสนอว่ามีกลุ่มเคลื่อนไหวจำนวนมากที่พยายามทำกันอยู่ การเปลี่ยนแบบนั้นจะเป็นการต่อสู้กับผู้ที่ได้ประโยชน์จากการดำเนินชีวิตตามแนวคิดกระแสหลักอันได้แก่ การสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เขาเห็นพ้องกับกลุ่มเหล่านั้นว่า ถ้าเราไม่เปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เป็นแบบเรียบง่ายโดยความสมัครใจ ธรรมชาติจะบังคับให้เราทำซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายขั้นร้ายแรง
นอกจากบทที่ชื่อ Sufficiency Economy แล้ว หนังสือมีอีกบทหนึ่งชื่อ The Optimal Material Threshold : Toward an Economics of Sufficiency ซึ่งพูดถึงความจำเป็นทางวัตถุที่จะทำให้คนเราอยู่ได้ด้วยความสุขกายสบายใจ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับความสุขกายสบายใจ โดยเฉพาะในส่วนที่แย้งความรู้สึก กล่าวคือ เมื่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นต่อไป เพราะอะไรความสุขกายสบายใจจึงไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
การทบทวนของเขาแยกออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน นั่นคือ การวิจัยที่ใช้การเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ การวิจัยที่ใช้การเปรียบเทียบรายได้และความสุขกายสบายใจภายในประเทศเดียว และการวิจัยที่ใช้การเปรียบเทียบข้อมูลในต่างช่วงเวลา การทบทวนได้ข้อสรุปว่า ไม่ว่าจะวิจัยจากแง่มุมไหน ผลออกมาคล้ายคลึงกัน นั่นคือ จากรายได้ในระดับต่ำ คนเราจะมีความสุขกายสบายใจเพิ่มขึ้นคล้ายเงาตามตัวของรายได้เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นจากระดับนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นไปถึงระดับที่เพียงพอสำหรับดำรงชีวิตตามความจำเป็นแล้ว ความสุขกายสบายใจจะไม่เพิ่มขึ้นตามไปคล้ายเงาตามตัวเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นไปอีก ผู้เขียนพูดถึงหลายปัจจัยที่ทำให้ความสุขกายสบายใจไม่เพิ่มขึ้นตามรายได้หลังคนเรามีทุกอย่างที่ร่างกายอยู่ได้อย่างไม่ขาดแคลนแล้ว เช่น การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น ความผิดหวังที่ความสุขมิได้เพิ่มขึ้นตามที่หวังไว้เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น และการทำงานมากเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อนหลับนอนอย่างเพียงพอ
ผลการวิจัยที่สรุปได้ดังกล่าวน่าจะชี้บ่งว่า หลังจากรายได้เพิ่มขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง เราไม่จำเป็นต้องพยายามทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นไปแบบไม่มีที่สิ้นสุด หากเป้าหมายในชีวิตของคนเราคือความสุขกายสบายใจ นอกจากส่วนที่เพิ่มขึ้นไปจะไม่ทำให้ความสุขกายสบายใจเพิ่มขึ้นตามไปแล้ว มันยังอาจจะทำให้ลดลงอีกด้วย ทั้งนี้เพราะระบบนิเวศที่ถูกทำลายในกระบวนการขยายตัวนั้นจะส่งผลร้ายคล้ายลงโทษเรา เช่น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่มีผลร้ายต่อสุขภาพ
เมื่อพิจารณาต่อไปจะได้ข้อสรุปกว้างๆ ว่า ประเทศกำลังพัฒนาควรพยายามทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปพร้อมกับลดความเหลื่อมล้ำลง ส่วนประเทศที่มีรายได้สูงจนเกินความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตแล้วควรลดขนาดของเศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำลงจนถึงระดับที่ทุกคนในสังคมอยู่ได้อย่างมีความสุขกายสบายใจ มาตรการลดขนาดเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร และจะลดลงไปอยู่ถึงระดับไหนผู้เขียนมิได้เสนอรายละเอียด สิ่งที่เขาแน่ใจว่าจะนำไปสู่เป้าหมายได้แก่ การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย (Simplicity) หรือการกลับไปสู่สามัญดังที่อ้างถึงแล้ว
ผมเป็นผู้หนึ่งซึ่งเชื่อมั่นว่า แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นภูมิปัญญาชาติไทยที่สมควรใช้เป็นทางแก้ปัญหาทั้งของเราและของชาวโลก ความเชื่อนั้นเกิดขึ้นนานก่อนที่ฝรั่งจะเริ่มพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง หลายต่อหลายครั้งผมได้เสนอให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนนโยบายหากต้องการใช้แนวคิดอันประเสริฐยิ่งนี้เป็นฐานของการบริหารและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งในหนังสื่อชื่อ สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน และเรื่อง ทางข้ามเหว : แนวคิดสำหรับแก้วิกฤติไทย (ทั้งสองเล่มอาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com)
เท่าที่ผ่านมา ไม่เป็นที่ปรากฏอย่างแจ้งชัดว่ารัฐบาลชุดไหนได้นำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นฐานของการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง ทั้งที่พยายามบอกคนไทยหลายต่อหลายครั้งว่ากำลังทำอีกทั้งยังนำไปเสนอให้ชาวโลกด้วย ในสภาพเช่นนี้ แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นเสมือนหญ้าปากคอกที่รัฐบาลไทยมองข้ามไปข้ามมาเป็นเวลานาน คนไทยจะต้องรออีกนานเท่าไรจึงจะได้รัฐบาลประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลผู้พร้อมที่จะใช้ภูมิปัญญาชาติไทยเป็นฐานของการพัฒนาประเทศสักทีหนอ? คงจะต้องรอให้ฝรั่งสั่งเสียก่อน?
ค่าโฆษณาเต็มหน้ากระดาษในนิตยสารรายสัปดาห์ซึ่งพิมพ์ออกมาครั้งละกว่า 3 ล้านเล่ม และมีคนอ่านทั่วโลกเช่นนั้นคงเป็นเงินหลักล้านบาท (ข้อมูลจาก Resources for Entrepreneurs ของ Gaebler.Com ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์บ่งว่า ค่าโฆษณาเต็มหน้าด้วยอักษรและภาพขาวดำอยู่ในราว 166,850 ดอลลาร์ หรือประมาณ 5.8 ล้านบาท หากพิมพ์แยกสี ค่าหน้ากระดาษจะสูงกว่านั้น) ทั้งที่เสียค่าโฆษณามากมาย แต่ผู้จ่ายมิได้บ่งชื่อองค์กรแน่นอนในหน้าโฆษณานอกจากเขียนว่า “สนับสนุน” (Contributed) โดย Dr.Gayle C. Avery ศาสตราจารย์ด้านการบริหารจัดการแห่งมหาวิทยาลัย Macquarie ในออสเตรเลีย
คำว่า “สนับสนุน” ในที่นี้อาจหมายความว่าศาสตราจารย์คนนั้นเขียนข้อความในโฆษณา หรือเป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา หรือทั้งสองอย่างก็ได้ หลังจากค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ผมพบว่าองค์กรเอกชนชื่อ Institute of Sustainable Leadership (ISL) กำลังจัดพิมพ์หนังสือชื่อตามพาดหัวนั้น หนังสือเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความพอเพียงชาวไทย 20 คนและได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นกอบเป็นกำจากมูลนิธิมั่นพัฒนา (Thai Sustainable Development Foundation) ข้อมูลเหล่านั้นทำให้อนุมานได้ว่า ผู้จ่ายค่าโฆษณาคือมูลนิธิมั่นพัฒนา ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อความในโฆษณาบอกเรื่องราวแบบคร่าวๆ เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสังเคราะห์ขึ้นจากการศึกษาและทดลองด้วยพระองค์เอง และมีผู้นำไปประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิมั่นพัฒนาคงร่วมมือกับ ISL ซึ่งเป็นองค์กรรับให้คำปรึกษานำแนวคิดออกไปเผยแพร่ให้แก่ชาวโลก หนังสือเล่มดังกล่าวคงจะเป็นสื่อสำคัญในกระบวนการเผยแพร่นั้น
ดังเป็นที่ทราบกันดี หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และในหลวงทรงแนะนำให้ใช้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน แนวคิดนี้ได้แพร่กระจายไปยังต่างประเทศ และเริ่มเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางขึ้น ทั้งนี้เพราะชาวโลกจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมองเห็นว่านโยบายการพัฒนาตามแนวคิดกระแสหลักใช้ไม่ได้ผลแล้ว ประเด็นนี้เริ่มมีความเด่นชัดยิ่งขึ้นเมื่อนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลโจเซฟ สติกลิตซ์ เขียนหนังสือออกมาชี้แจงว่าเพราะอะไรเมื่อต้นปี 2553 ชื่อ Freefall: America, Free Markets, and the Sinking of the World Economy ในหนังสือเล่มนี้ โจเซฟ สติกลิตซ์ เน้นการอ่านเหตุการณ์ เขามองว่าต้นตอปัญหาของโลกปัจจุบันมาจากความเสื่อมทรามทางศีลธรรมจรรยา แต่มิได้เสนอทางออกแน่นอนว่าอะไรน่าจะเหมาะสมสำหรับสังคมโลก
ในเวลาไล่เลี่ยกัน มีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำชาวอเมริกันอีกคนหนึ่งชื่อเจฟฟรี แซคส์ เสนอให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาโดยเขียนหนังสือออกมาเมื่อปี 2554 ชื่อ The Price of Civilization: Reawakening American Virtue and Prosperity กระบวนทัศน์ใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในบทที่ 9 ของหนังสือซึ่งเขาตั้งชื่อว่า “สังคมมีสติ” (The Mindful Society) เจฟฟรี แซคส์เขียนว่า “การปลุกเร้าอย่างเข้มข้นของวัตถุนิยมเข้าไปในทุกขุมขนของเราอยู่ตลอดเวลาก่อให้เกิดความมืดบอดสนิท การเสพติดวัตถุ และการหดหายไปของความเมตตากรุณา” และเขียนต่อไปว่า “พระพุทธเจ้า...และอริสโตเติล...ต่างค้นพบยาซึ่งจะพามนุษย์ไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืนที่คล้ายกันมาก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก่อนเกิดศาสนาคริสต์ราว 500 ปีว่า ‘ทางสายกลาง’ จะช่วยมนุษย์ให้อยู่ในภาวะสมดุล ... สองร้อยปีต่อมา... อริสโตเติลบอกชาวกรีกว่า ‘ความพอประมาณในทุกด้าน’ คือกุญแจไขประตูสู่ความสุข”
“แก่นคำสอนของพระพุทธเจ้าและของอริสโตเติลคือ ความพอประมาณ... แต่ทางเข้าสู่ความพอประมาณนั้นยากมาก จะต้องแสวงหาอย่างจริงจังจากความมีมานะที่จะฝึกฝนและทำสมาธิ”
“พูดอย่างสั้นๆ สิ่งที่สำคัญคือความมีสติเกี่ยวกับความจำเป็นของเราทั้งในฐานะปัจเจกชน และในฐานะสังคมที่จะแสวงหาทางอันมั่นคงที่จะนำไปสู่ความผาสุก”
“สังคมมีสติมิใช่แผนงาน หากเป็นแนวทางสำหรับชีวิตและเศรษฐกิจที่เสนอให้เรามุ่งมั่นอยู่ในศีลธรรมจรรยาทั้งในด้านพฤติกรรมส่วนตัว ...และในด้านพฤติกรรมทางสังคม”
เนื้อหาทั้งหมดในบทนี้ชี้บ่งอย่างแจ้งชัดว่า เจฟฟรี แซคส์ พูดถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงแม้เขาจะมิได้ใช้คำนั้นก็ตาม ณ วันนี้ ยังไม่มีนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง อย่างไรก็ดี เพิ่งมีนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรเลียชื่อแซมมวล อะเล็กซานเดอร์ ตั้งชื่อหนังสือเล่มล่าสุดของเขาว่า Sufficiency Economy
คำว่า Sufficiency Economy ไม่มีในศัพท์เศรษฐกิจของฝรั่งจนกระทั่งหลังปี 2540 เมื่อคนไทยเริ่มใช้เป็นคำแปลของ “เศรษฐกิจพอเพียง” เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่ฝรั่งตั้งชื่อตามคำแปลของเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง จึงขอนำมาเล่าคร่าวๆ
หนังสือเรื่อง Sufficiency Economy เป็นหนึ่งในสองเล่มซึ่งรวมบทความที่ผู้เขียนพิมพ์ไว้ในวาระต่างๆ อีกเล่มหนึ่งชื่อ Prosperous Descent เนื้อหาของทั้งสองเล่มประกอบด้วยบทความ 24 บทซึ่งมุ่งเน้นประเด็นที่เกี่ยวกับจุดยืนของผู้เขียน นั่นคือ โลกใบนี้ไม่มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับให้มนุษย์ใช้กันเกินไปถึงในระดับที่ประเทศก้าวหน้าทั้งหลายกำลังใช้อยู่ หากเราพยายามใช้ในระดับนั้นต่อไป ธรรมชาติจะบังคับให้เราลดการใช้ลงด้วยมาตรการรุนแรง ฉะนั้น เราควรลดการใช้ลงด้วยความสมัครใจ
หนังสือออกวางตลาดเมื่อตอนก่อนสิ้นปี 2558 ผมเห็นด้วยกับจุดยืนของผู้เขียน แต่รู้สึกผิดหวังที่เขามิได้ตั้งใจจะเขียนเรื่อง Sufficiency Economy หรือเศรษฐกิจพอเพียงดังที่ผมคาด หากนำคำนั้นมาใช้เมื่อรวมบทความเป็นหนังสือโดยเปลี่ยนชื่อรายงานเรื่อง Simplicity Institute Report ซึ่งเขาเขียนเมื่อปี 2555 เป็น Sufficiency Economy เขาบอกว่าบทความบทนี้เป็นบทเอก เขาจึงตั้งชื่อหนังสือตามชื่อบทความ ในบรรดาบทความที่เขานำมารวมไว้ในหนังสือสองเล่ม เพียง 3 บทเท่านั้นที่มีคำว่า Sufficiency ปรากฏในชื่อ ส่วนในบทเอกนั้น เขาอ้างถึงเอกสารที่ใช้ Sufficiency Economy เป็นส่วนหนึ่งของชื่อเพียงฉบับเดียวคือ “Suwankitti, W. and Pongquan, S. Enhancement of rural livelihoods in Thailand; An application o sufficiency economy approach in community development. Saarbrucken : Lambert Academic Publishing.”
นอกจากจะใช้ Sufficiency Economy ในมิติเศรษฐกิจเพียงมิติเดียวแล้ว ผู้เขียนยังจำกัดการใช้ให้อยู่ในวงของประเทศก้าวหน้าเท่านั้นอีกด้วย ทั้งนี้เพราะเขามองว่าประเทศก้าวหน้าใช้ทรัพยากรเกินไปมาก จึงจำเป็นต้องลด เหตุผลของเขาไม่ผิด แต่ผมมองว่า ในประเทศกำลังพัฒนาก็มีคนกลุ่มใหญ่ที่ใช้ทรัพยากรมากเกิน กลุ่มนี้มีจำนวนมากกว่าประชากรของประเทศก้าวหน้าเสียอีก พวกเขาต้องลดการใช้ทรัพยากรลงด้วยเช่นกัน มิฉะนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุเป้าหมายของการใช้ทรัพยากรเพื่อให้ทุกคนดำเนินชีวิตอยู่ได้ในกรอบของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืน
จากมุมมองของผู้เขียน ทางไปสู่เป้าหมายได้แก่การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย (Simplicity) คำนี้เขาใช้เป็นชื่อองค์กรที่เขาตั้งขึ้น (Simplicity Institute) และอ้างถึงบ่อยๆ ตลอดหนังสือทั้งสองเล่ม เขายอมรับว่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกว้างมากซึ่งจะต้องศึกษากันต่อไป ในบทความ เขาพูดถึงตัวอย่างซึ่งเป็นภาพในจินตนาการเกี่ยวกับสังคมเมืองในประเทศก้าวหน้าว่าจะเป็นอย่างไรในด้านการใช้น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย พลังงาน การขนส่ง งาน การผลิต เงิน ตลาดและการแลกเปลี่ยน ผู้เขียนมองว่าแต่ละด้านเป็นเรื่องใหญ่ซึ่งถ้าจะพูดกันจริงๆ ต้องใช้พื้นที่เป็นหนังสือทั้งเล่ม
โดยสรุป การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายต้องเกิดจากการลดการใช้ทรัพยากรลงให้เหลือแค่ระดับเพื่อสนองความจำเป็นเท่านั้น นั่นจะเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบถึงรากเหง้า เช่น ทำความสะอาดร่างกายโดยใช้ถังน้ำ ใช้ส้วมแบบเก็บปัสสาวะและอุจจาระไว้ทำปุ๋ย เปลี่ยนสนามหญ้าและที่ว่างทุกตารางนิ้วเป็นพื้นที่ผลิตอาหารอินทรีย์ ใช้เครื่องนุ่มห่มเพียงเพื่อปกปิดร่างกายและให้ร่างกายอบอุ่นเท่านั้นโดยไม่ใช้เครื่องประดับ ปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้เล็กลงเหลือเท่าที่จำเป็น ลดการใช้พลังงานโดยการงดขับรถไปไหนไกลๆ ไม่รับประทานอาหารที่ต้องขนมาจากต่างถิ่นและลดใช้ไฟฟ้าที่ผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เปลี่ยนการทำงานในสำนักงานเป็นการผลิตอาหารและเครื่องใช้ในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ และอาจเลิกใช้เงินและธนาคาร
การเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบถึงรากเหง้าดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้แค่ไหน ผู้เขียนไม่ให้ความหวังมากนักนอกจากจะเสนอว่ามีกลุ่มเคลื่อนไหวจำนวนมากที่พยายามทำกันอยู่ การเปลี่ยนแบบนั้นจะเป็นการต่อสู้กับผู้ที่ได้ประโยชน์จากการดำเนินชีวิตตามแนวคิดกระแสหลักอันได้แก่ การสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เขาเห็นพ้องกับกลุ่มเหล่านั้นว่า ถ้าเราไม่เปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เป็นแบบเรียบง่ายโดยความสมัครใจ ธรรมชาติจะบังคับให้เราทำซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายขั้นร้ายแรง
นอกจากบทที่ชื่อ Sufficiency Economy แล้ว หนังสือมีอีกบทหนึ่งชื่อ The Optimal Material Threshold : Toward an Economics of Sufficiency ซึ่งพูดถึงความจำเป็นทางวัตถุที่จะทำให้คนเราอยู่ได้ด้วยความสุขกายสบายใจ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับความสุขกายสบายใจ โดยเฉพาะในส่วนที่แย้งความรู้สึก กล่าวคือ เมื่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นต่อไป เพราะอะไรความสุขกายสบายใจจึงไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
การทบทวนของเขาแยกออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน นั่นคือ การวิจัยที่ใช้การเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ การวิจัยที่ใช้การเปรียบเทียบรายได้และความสุขกายสบายใจภายในประเทศเดียว และการวิจัยที่ใช้การเปรียบเทียบข้อมูลในต่างช่วงเวลา การทบทวนได้ข้อสรุปว่า ไม่ว่าจะวิจัยจากแง่มุมไหน ผลออกมาคล้ายคลึงกัน นั่นคือ จากรายได้ในระดับต่ำ คนเราจะมีความสุขกายสบายใจเพิ่มขึ้นคล้ายเงาตามตัวของรายได้เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นจากระดับนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นไปถึงระดับที่เพียงพอสำหรับดำรงชีวิตตามความจำเป็นแล้ว ความสุขกายสบายใจจะไม่เพิ่มขึ้นตามไปคล้ายเงาตามตัวเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นไปอีก ผู้เขียนพูดถึงหลายปัจจัยที่ทำให้ความสุขกายสบายใจไม่เพิ่มขึ้นตามรายได้หลังคนเรามีทุกอย่างที่ร่างกายอยู่ได้อย่างไม่ขาดแคลนแล้ว เช่น การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น ความผิดหวังที่ความสุขมิได้เพิ่มขึ้นตามที่หวังไว้เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น และการทำงานมากเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อนหลับนอนอย่างเพียงพอ
ผลการวิจัยที่สรุปได้ดังกล่าวน่าจะชี้บ่งว่า หลังจากรายได้เพิ่มขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง เราไม่จำเป็นต้องพยายามทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นไปแบบไม่มีที่สิ้นสุด หากเป้าหมายในชีวิตของคนเราคือความสุขกายสบายใจ นอกจากส่วนที่เพิ่มขึ้นไปจะไม่ทำให้ความสุขกายสบายใจเพิ่มขึ้นตามไปแล้ว มันยังอาจจะทำให้ลดลงอีกด้วย ทั้งนี้เพราะระบบนิเวศที่ถูกทำลายในกระบวนการขยายตัวนั้นจะส่งผลร้ายคล้ายลงโทษเรา เช่น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่มีผลร้ายต่อสุขภาพ
เมื่อพิจารณาต่อไปจะได้ข้อสรุปกว้างๆ ว่า ประเทศกำลังพัฒนาควรพยายามทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปพร้อมกับลดความเหลื่อมล้ำลง ส่วนประเทศที่มีรายได้สูงจนเกินความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตแล้วควรลดขนาดของเศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำลงจนถึงระดับที่ทุกคนในสังคมอยู่ได้อย่างมีความสุขกายสบายใจ มาตรการลดขนาดเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร และจะลดลงไปอยู่ถึงระดับไหนผู้เขียนมิได้เสนอรายละเอียด สิ่งที่เขาแน่ใจว่าจะนำไปสู่เป้าหมายได้แก่ การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย (Simplicity) หรือการกลับไปสู่สามัญดังที่อ้างถึงแล้ว
ผมเป็นผู้หนึ่งซึ่งเชื่อมั่นว่า แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นภูมิปัญญาชาติไทยที่สมควรใช้เป็นทางแก้ปัญหาทั้งของเราและของชาวโลก ความเชื่อนั้นเกิดขึ้นนานก่อนที่ฝรั่งจะเริ่มพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง หลายต่อหลายครั้งผมได้เสนอให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนนโยบายหากต้องการใช้แนวคิดอันประเสริฐยิ่งนี้เป็นฐานของการบริหารและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งในหนังสื่อชื่อ สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน และเรื่อง ทางข้ามเหว : แนวคิดสำหรับแก้วิกฤติไทย (ทั้งสองเล่มอาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com)
เท่าที่ผ่านมา ไม่เป็นที่ปรากฏอย่างแจ้งชัดว่ารัฐบาลชุดไหนได้นำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นฐานของการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง ทั้งที่พยายามบอกคนไทยหลายต่อหลายครั้งว่ากำลังทำอีกทั้งยังนำไปเสนอให้ชาวโลกด้วย ในสภาพเช่นนี้ แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นเสมือนหญ้าปากคอกที่รัฐบาลไทยมองข้ามไปข้ามมาเป็นเวลานาน คนไทยจะต้องรออีกนานเท่าไรจึงจะได้รัฐบาลประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลผู้พร้อมที่จะใช้ภูมิปัญญาชาติไทยเป็นฐานของการพัฒนาประเทศสักทีหนอ? คงจะต้องรอให้ฝรั่งสั่งเสียก่อน?