ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ในปัจจุบันมีวัคซีนจำเป็นที่สามารถป้องกันโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพหลายชนิด เป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่า การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ถือเป็นการลงทุนระยะยาวทางด้านสุขภาพให้แก่พลเมืองของประเทศที่คุ้มค่า ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาและป้องกันความเจ็บป่วยหรือพิการอันเกิดจากโรคต่าง ๆ โดยต้องจัดสรรให้เด็กทุกคนได้รับอย่างทั่วถึง เท่าเทียมโดยไม่ต้องหาซื้อเอง
สำหรับเด็กไทยได้รับวัคซีนที่จัดสรรให้แก่เด็ก ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แก่ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) ตับอักเสบบี (HBV) หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม(MMR) วัณโรค (BCG) ไข้สมองอักเสบเจอี (JE) อีกทั้งยังมีวัคซีนที่ WHO แนะนำสนับสนุนควรต้องให้ในเด็กแข็งแรงทุกคนและทุกประเทศได้แก่ วัคซีน ฮิบ (H.influenzae type b: Hib) โรต้าไวรัส (Rota) นิวโมคอคคัส (PCV)มะเร็งปากมดลูก (HPV) ตับอักเสบเอ (HAV) ไอกรนไร้เซล (Acellular pertussis) อีสุกอีใส (VZV) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
แต่การให้วัคซีนจำเป็นแก่เด็กไทยเพื่อป้องกันโรคดังกล่าว กลับถดถอยลงอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ โดยรอบประเทศไทย โดยวัคซีนที่ควรต้องรีบผลักดันให้เด็กไทยได้รับโดยเร็วที่สุด ได้แก่ วัคซีน ฮิบ ซึ่งเป็นเพียง 1 ใน 2 ประเทศสุดท้ายในโลกนี้ที่ไม่ได้ให้วัคซีนนี้แก่เด็ก รวมถึงวัคซีนโรต้าป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็ก วัคซีนมะเร็งปากมดลูก HPV วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด 2 เข็ม ปัจจุบันให้เพียง 1 เข็มซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดตามแผนกวาดล้างโปลิโอของ WHO นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่เด็กไทยควรได้รับ เช่น วัคซีนนิวโมคอคคัส ตับอักเสบเอ ไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนอีสุกอีใส ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาให้ความสำคัญที่จะหาทางจัดสรรมาให้เด็กไทย
สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกเกือบทั้งหมดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papiloma Virus) จากการมีเพศสัมพันธ์ ในปัจจุบันได้มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ได้แล้ว วัคซีนสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีได้ดีมาก และมีความคุ้มค่าสูง ดังนั้นผู้หญิงทุกคนที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ควรได้รับพิจารณาให้ได้รับวัคซีนตัวนี้ ซึ่งขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเด็ก ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ จนกระทั่งถึงผู้ใหญ่อายุ 26 ปี ในการฉีดวัคซีนถ้าฉีดก่อนอายุ 15 ปีฉีดเพียง 2 เข็ม คือห่างกัน 6 เดือน แต่ถ้าฉีดหลังอายุ 15 ปีต้องฉีด 3 เข็ม ถ้าฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ วัคซีนนี้จะมีประสิทธิภาพป้องกันได้ดีที่สุด แต่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ก็สามารถฉีดได้ แต่ประสิทธิภาพอาจจะลดลงไป ได้ผลดีไม่เท่ากับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ สำหรับผู้ชาย ก็ควรฉีดด้วย เพราะวัคซีนนี้ยังป้องกันมะเร็งอวัยวะเพศของผู้ชายได้ดีด้วย และยังช่วยลดการติดต่อเชื้อ HPV ไปยังผู้ผญิง สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนอาจมีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีด เจ็บ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไม่มีอันตรายใดๆ
โดยเหตุที่โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อ HPV จากการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น แม้จะใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ และแม้ว่าวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจะมีประสิทธิภาพป้องกันได้สูง 70 – 90% แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องป้องกันโดยวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย ได้แก่ การไม่มีคู่นอนหลายคน และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) เป็นระยะ เพราะเมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส HPV เข้าไปแล้ว เชื้อไวรัสจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเซลล์ของปากมดลูกกลายเข้าสู่ระยะมะเร็ง ดังนั้นหากเรามีการตรวจพบระยะที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว เราไปจี้ทำลายรอยโรคตรงนั้นก่อนที่จะกลายไปเป็นมะเร็ง ก็จะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดีซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการฉีดวัคซีน
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนที่จะให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกกับเด็กผู้หญิง ป.5 ทุกคน โดยจะเริ่มฉีดในปีหน้า ในปัจจุบันนี้โรงเรียนต่าง ๆ เห็นความสำคัญมากขึ้น และมีโครงการของกรุงเทพมหานครให้เด็กวัยรุ่นได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ด้วยอย่างไรก็ดี วัคซีนนี้มีความสำคัญมาก ดังนั้นเด็กตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนนี้ แม้ว่าจะอยู่นอกเหนือโครงการที่จะจัดสรรวัคซีนฟรีให้โดยกระทรวงสาธารณสุขก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ก็ควรพาบุตรหลานทั้งหญิงและชายที่เป็นวัยรุ่นมาฉีดวัคซีนนี้
********************************************
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
- วันนี้ 26 ก.พ. 59 เวลา 15.00 น. คอนเสิร์ตการกุศล "WORLD DOCTORS ORCHESTRA" เพื่อสนับสนุน วิชาการดนตรีบำบัดในประเทศไทย ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีวรินทิรา ชั้น 1 รพ.ศิริราช ผู้สนใจเข้าชม ฟรี สอบถามเพิ่มติม โทร. 0 2419 7646-8
-อย่าตกใจ! หากเห็นกลุ่มควัน 1 มี.ค. 59 เวลา 14.00 - 16.00 น “ฝึกซ้อมอัคคีภัยและอพยพหนีภัยจากอาคารสูง” ณ อาคาร เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา (SIMR)
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ในปัจจุบันมีวัคซีนจำเป็นที่สามารถป้องกันโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพหลายชนิด เป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่า การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ถือเป็นการลงทุนระยะยาวทางด้านสุขภาพให้แก่พลเมืองของประเทศที่คุ้มค่า ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาและป้องกันความเจ็บป่วยหรือพิการอันเกิดจากโรคต่าง ๆ โดยต้องจัดสรรให้เด็กทุกคนได้รับอย่างทั่วถึง เท่าเทียมโดยไม่ต้องหาซื้อเอง
สำหรับเด็กไทยได้รับวัคซีนที่จัดสรรให้แก่เด็ก ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แก่ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) ตับอักเสบบี (HBV) หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม(MMR) วัณโรค (BCG) ไข้สมองอักเสบเจอี (JE) อีกทั้งยังมีวัคซีนที่ WHO แนะนำสนับสนุนควรต้องให้ในเด็กแข็งแรงทุกคนและทุกประเทศได้แก่ วัคซีน ฮิบ (H.influenzae type b: Hib) โรต้าไวรัส (Rota) นิวโมคอคคัส (PCV)มะเร็งปากมดลูก (HPV) ตับอักเสบเอ (HAV) ไอกรนไร้เซล (Acellular pertussis) อีสุกอีใส (VZV) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
แต่การให้วัคซีนจำเป็นแก่เด็กไทยเพื่อป้องกันโรคดังกล่าว กลับถดถอยลงอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ โดยรอบประเทศไทย โดยวัคซีนที่ควรต้องรีบผลักดันให้เด็กไทยได้รับโดยเร็วที่สุด ได้แก่ วัคซีน ฮิบ ซึ่งเป็นเพียง 1 ใน 2 ประเทศสุดท้ายในโลกนี้ที่ไม่ได้ให้วัคซีนนี้แก่เด็ก รวมถึงวัคซีนโรต้าป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็ก วัคซีนมะเร็งปากมดลูก HPV วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด 2 เข็ม ปัจจุบันให้เพียง 1 เข็มซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดตามแผนกวาดล้างโปลิโอของ WHO นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่เด็กไทยควรได้รับ เช่น วัคซีนนิวโมคอคคัส ตับอักเสบเอ ไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนอีสุกอีใส ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาให้ความสำคัญที่จะหาทางจัดสรรมาให้เด็กไทย
สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกเกือบทั้งหมดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papiloma Virus) จากการมีเพศสัมพันธ์ ในปัจจุบันได้มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ได้แล้ว วัคซีนสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีได้ดีมาก และมีความคุ้มค่าสูง ดังนั้นผู้หญิงทุกคนที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ควรได้รับพิจารณาให้ได้รับวัคซีนตัวนี้ ซึ่งขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเด็ก ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ จนกระทั่งถึงผู้ใหญ่อายุ 26 ปี ในการฉีดวัคซีนถ้าฉีดก่อนอายุ 15 ปีฉีดเพียง 2 เข็ม คือห่างกัน 6 เดือน แต่ถ้าฉีดหลังอายุ 15 ปีต้องฉีด 3 เข็ม ถ้าฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ วัคซีนนี้จะมีประสิทธิภาพป้องกันได้ดีที่สุด แต่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ก็สามารถฉีดได้ แต่ประสิทธิภาพอาจจะลดลงไป ได้ผลดีไม่เท่ากับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ สำหรับผู้ชาย ก็ควรฉีดด้วย เพราะวัคซีนนี้ยังป้องกันมะเร็งอวัยวะเพศของผู้ชายได้ดีด้วย และยังช่วยลดการติดต่อเชื้อ HPV ไปยังผู้ผญิง สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนอาจมีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีด เจ็บ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไม่มีอันตรายใดๆ
โดยเหตุที่โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อ HPV จากการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น แม้จะใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ และแม้ว่าวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจะมีประสิทธิภาพป้องกันได้สูง 70 – 90% แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องป้องกันโดยวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย ได้แก่ การไม่มีคู่นอนหลายคน และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) เป็นระยะ เพราะเมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส HPV เข้าไปแล้ว เชื้อไวรัสจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเซลล์ของปากมดลูกกลายเข้าสู่ระยะมะเร็ง ดังนั้นหากเรามีการตรวจพบระยะที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว เราไปจี้ทำลายรอยโรคตรงนั้นก่อนที่จะกลายไปเป็นมะเร็ง ก็จะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดีซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการฉีดวัคซีน
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนที่จะให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกกับเด็กผู้หญิง ป.5 ทุกคน โดยจะเริ่มฉีดในปีหน้า ในปัจจุบันนี้โรงเรียนต่าง ๆ เห็นความสำคัญมากขึ้น และมีโครงการของกรุงเทพมหานครให้เด็กวัยรุ่นได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ด้วยอย่างไรก็ดี วัคซีนนี้มีความสำคัญมาก ดังนั้นเด็กตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนนี้ แม้ว่าจะอยู่นอกเหนือโครงการที่จะจัดสรรวัคซีนฟรีให้โดยกระทรวงสาธารณสุขก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ก็ควรพาบุตรหลานทั้งหญิงและชายที่เป็นวัยรุ่นมาฉีดวัคซีนนี้
********************************************
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
- วันนี้ 26 ก.พ. 59 เวลา 15.00 น. คอนเสิร์ตการกุศล "WORLD DOCTORS ORCHESTRA" เพื่อสนับสนุน วิชาการดนตรีบำบัดในประเทศไทย ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีวรินทิรา ชั้น 1 รพ.ศิริราช ผู้สนใจเข้าชม ฟรี สอบถามเพิ่มติม โทร. 0 2419 7646-8
-อย่าตกใจ! หากเห็นกลุ่มควัน 1 มี.ค. 59 เวลา 14.00 - 16.00 น “ฝึกซ้อมอัคคีภัยและอพยพหนีภัยจากอาคารสูง” ณ อาคาร เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา (SIMR)