นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงข้อเสนอของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ข้อ 16 ที่เสนอให้บังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็น 2 ระยะว่า ตนได้หารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯแล้ว ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าคำแนะนำที่ว่า หากอะไรที่คนเสนอมาจะไปทำให้กฎเกณฑ์ที่เราวางไว้เสียหาย หรือไม่ควรแก้ตรงนั้น และคิดว่าควรจะออมชอมให้เขานั้น ก็ให้ไปทำในบทเฉพาะกาลได้ และระหว่างเปลี่ยนถ่ายขอให้ทำราบรื่นขึ้น ซึ่งเราก็ทำอยู่แล้ว ไม่มีปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า แปลว่าไม่ได้ทำเป็น 2 ขยัก ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า คำว่า 2 ขยัก คือ มีบทถาวร และมีบทเฉพาะกาล ซึ่งก็มีอยู่แล้ว เมื่อใช้คำว่าขยัก เลยเกิดความเข้าใจผิด
" ความหมายของข้อ 16 ก็อย่างที่บอก มีเพียงเท่านั้นไม่มีอะไรลึกซึ้งมากกว่านั้น พอท่านไปใช้คำว่า 2 ขยัก ก็คือความหมายอะไรที่ใช้ชั่วคราวก็อย่าทำให้หลักใหญ่มันเสีย ก็เขียนไว้ในบทเฉพาะกาล ซึ่งเราก็เขียนไว้แล้ว ทีนี้หากเผื่อมีใครเสนอมา แล้วทำให้เราคิดว่าควรจะทำ แต่ทำให้หลักข้างในเราเสีย ก็อาจเขียนเพิ่มเติมในบทเฉพาะกาลได้ เท่านั้นเอง"
สำหรับในส่วนที่ว่าด้วยการปฏิรูป ที่ต้องการให้ทำให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี ซึ่งในบทเฉพาะกาลยังไม่ได้เขียนเรื่องการปฏิรูปเอาไว้ แล้วยังไม่ได้บอกว่าจะต้องทำอย่างไรกับเรื่องการปฏิรูปที่จำเป็นต้องทำ ซึ่งกลไกนั้น เราจะเริ่มคิดว่าเรื่องไหนจะบังคับให้ทำภายในกี่ปี เรื่องไหนบังคับให้ทำให้แล้วเสร็จ ตอนนี้เรากำลังคิดว่าวิธีที่ดีที่สุด คือ จะบอกว่าปฏิรูปเรื่องอะไร เพื่อให้บรรลุอะไร ตรงนั้นจะเป็นตัวบังคับ หากถามว่า จะมีหลักประกันอะไรว่ารัฐบาลใหม่จะทำ ตัวนี้จะบังคับ เช่น ให้ปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้เด็กเริ่มเรียนได้ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ภายใน 3 ปี แล้วปีแรกนั้นให้รัฐบาลทำ ส่วนสองปีหลังรัฐบาลใหม่มาก็ต้องทำ นั่นคืนช่วงเปลี่ยนผ่านที่ว่า แล้วเราก็อาจเขียนบทกำหนดโทษ เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์
เมื่อถามว่า วัตถุประสงค์ของข้อ 16 คือ อยากให้มีกลไกที่กำกับช่วงสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน ดังนั้น อำนาจที่จะใช้นั้น ยืนยันหรือไม่ว่าจะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ประธาน กรธ. กล่าวว่า ต้องมีการควบคุมไปในตัวเหมือนกับที่เขียนไว้ เช่น การปฏิรูปตำรวจโดยเร็ว ในระหว่างที่ยังไม่มีการปฏิรูป ให้แต่งตั้งโดยใช้ระบบอาวุโส นั่นคือตัวควบคุม ส่วนข้อกังวลของรัฐบาลต่อเรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งนั้น นั่นแหละถูกจัดสรรไว้แล้ว ทั้งนี้เรื่องขัดแย้งหลายเรื่อง ถูกเขียนไว้ในตัวแม่บทแล้ว แต่คนยังอ่านไม่เจอเท่านั้น
ถามถึงกลไกในร่างรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติไว้ มั่นใจว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านโดยไม่ขัดแย้ง ได้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ตอนนี้เราไล่ดูข้อเสนอของภาคส่วนต่างๆ หากแก้ได้ เราจะแก้ไขให้ เมื่อไปถึงจุดหนึ่งจะเป็นปัญหาแล้วว่าแก้ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ กรธ. ยืนยัน แต่ไม่แก้อะไรเลย ก็จะลำบาก ก็ต้องไปเริ่มคิดกันดู ทั้งนี้ ยืนยันว่าข้อเสนอของครม. ในข้อ 16 นั้น ไม่มีอะไรพิเศษ แต่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านไปโดยไม่ขัดแย้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า จะเขียนอะไรในบทเฉพาะกาล โดยขณะนี้บทเฉพาะกาล เขียนไว้เกือบหมดแล้ว เหลือเพียงกลไกการปฏิรูป และกลไกทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งจริงๆ ทั้ง 2 เรื่อง ก็เขียนไว้ในบทถาวรแล้ว หากรัฐบาลเป็นห่วง ก็อาจไปเขียนว่า ในช่วงนี้ต้องรีบทำอย่างไร หากทำไม่เสร็จใครจะต้องทำต่อ ซึ่งหากไปเข้าใจข้อ 16 ผิด ก็เลยกังวลกันมากไป
นายมีชัย ยังกล่าวถึงความคืบหน้า การปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เกือบจบหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐแล้ว โดยค่อยๆไล่ ว่าใครเสนอแก้อะไร แต่เมื่อแก้แล้วก็จะไปกระทบกับมาตราอื่น จึงเกรงว่าจะสับสน แต่ก็พยายามให้ออกมาให้ดูว่า แก้ไขให้เยอะมาก ใครอยากได้อะไรที่ไม่เสียหาย ก็แก้ไขให้ โดยให้เป็นไปตามความเห็นของภาคประชาชนเป็นหลัก เพราะของ ครม. มี 10 กว่าข้อ ส่วนประชาชน มี 600-700 ข้อ
** ใส่แผนปฏิรูปในบทเฉพาะกาล
ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวตอบผู้สื่อข่าวที่ถามว่า สปท.ควรมีบทบาทในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี หรือไม่ว่า ต้องไปถามนายกฯ อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของ สปท.คือ ต้องทำการปฏิรูปให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งในปี 2560 แต่หากมีเรื่องใดที่คั่งค้าง หรือยังทำไม่เสร็จ ก็อาจจะต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง คล้ายกับ สปท. แต่ปรับโครงสร้างให้เล็กลง เพื่อไปทำงานต่ออีกระยะหนึ่ง ให้การปฏิรูปเป็นไปตามเป้า ซึ่งก็สุดแล้วแต่ กรธ. ว่าจะจัดเราไว้ในส่วนหลัก หรือบทเฉพาะกาล
ทั้งนี้ สปช. เป็นเพียงสภาที่ปรึกษา ทำหน้าที่เป็นฝ่ายวิชาการ เพื่อทำข้อเสนอแนะในช่วงระยะเวลา 1 ปีครึ่ง ถึง 20 ปีข้างหน้า โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใ ห้กับรัฐบาล เพราะเราเป็นเพียงทำแผนออกแบบประเทศไทยไว้ให้ 20 ปี แม้จะไม่อยู่ แต่ยังมีแผนให้รัฐบาลเดินตาม ส่วนรัฐบาลนี้ หรือผู้อำนาจในอนาคต จะเห็นด้วยกับแผนต่างๆ หรือไม่ ก็สุดแล้วแต่ ตนไม่ติดใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แปลว่าไม่ได้ทำเป็น 2 ขยัก ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า คำว่า 2 ขยัก คือ มีบทถาวร และมีบทเฉพาะกาล ซึ่งก็มีอยู่แล้ว เมื่อใช้คำว่าขยัก เลยเกิดความเข้าใจผิด
" ความหมายของข้อ 16 ก็อย่างที่บอก มีเพียงเท่านั้นไม่มีอะไรลึกซึ้งมากกว่านั้น พอท่านไปใช้คำว่า 2 ขยัก ก็คือความหมายอะไรที่ใช้ชั่วคราวก็อย่าทำให้หลักใหญ่มันเสีย ก็เขียนไว้ในบทเฉพาะกาล ซึ่งเราก็เขียนไว้แล้ว ทีนี้หากเผื่อมีใครเสนอมา แล้วทำให้เราคิดว่าควรจะทำ แต่ทำให้หลักข้างในเราเสีย ก็อาจเขียนเพิ่มเติมในบทเฉพาะกาลได้ เท่านั้นเอง"
สำหรับในส่วนที่ว่าด้วยการปฏิรูป ที่ต้องการให้ทำให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี ซึ่งในบทเฉพาะกาลยังไม่ได้เขียนเรื่องการปฏิรูปเอาไว้ แล้วยังไม่ได้บอกว่าจะต้องทำอย่างไรกับเรื่องการปฏิรูปที่จำเป็นต้องทำ ซึ่งกลไกนั้น เราจะเริ่มคิดว่าเรื่องไหนจะบังคับให้ทำภายในกี่ปี เรื่องไหนบังคับให้ทำให้แล้วเสร็จ ตอนนี้เรากำลังคิดว่าวิธีที่ดีที่สุด คือ จะบอกว่าปฏิรูปเรื่องอะไร เพื่อให้บรรลุอะไร ตรงนั้นจะเป็นตัวบังคับ หากถามว่า จะมีหลักประกันอะไรว่ารัฐบาลใหม่จะทำ ตัวนี้จะบังคับ เช่น ให้ปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้เด็กเริ่มเรียนได้ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ภายใน 3 ปี แล้วปีแรกนั้นให้รัฐบาลทำ ส่วนสองปีหลังรัฐบาลใหม่มาก็ต้องทำ นั่นคืนช่วงเปลี่ยนผ่านที่ว่า แล้วเราก็อาจเขียนบทกำหนดโทษ เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์
เมื่อถามว่า วัตถุประสงค์ของข้อ 16 คือ อยากให้มีกลไกที่กำกับช่วงสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน ดังนั้น อำนาจที่จะใช้นั้น ยืนยันหรือไม่ว่าจะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ประธาน กรธ. กล่าวว่า ต้องมีการควบคุมไปในตัวเหมือนกับที่เขียนไว้ เช่น การปฏิรูปตำรวจโดยเร็ว ในระหว่างที่ยังไม่มีการปฏิรูป ให้แต่งตั้งโดยใช้ระบบอาวุโส นั่นคือตัวควบคุม ส่วนข้อกังวลของรัฐบาลต่อเรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งนั้น นั่นแหละถูกจัดสรรไว้แล้ว ทั้งนี้เรื่องขัดแย้งหลายเรื่อง ถูกเขียนไว้ในตัวแม่บทแล้ว แต่คนยังอ่านไม่เจอเท่านั้น
ถามถึงกลไกในร่างรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติไว้ มั่นใจว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านโดยไม่ขัดแย้ง ได้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ตอนนี้เราไล่ดูข้อเสนอของภาคส่วนต่างๆ หากแก้ได้ เราจะแก้ไขให้ เมื่อไปถึงจุดหนึ่งจะเป็นปัญหาแล้วว่าแก้ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ กรธ. ยืนยัน แต่ไม่แก้อะไรเลย ก็จะลำบาก ก็ต้องไปเริ่มคิดกันดู ทั้งนี้ ยืนยันว่าข้อเสนอของครม. ในข้อ 16 นั้น ไม่มีอะไรพิเศษ แต่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านไปโดยไม่ขัดแย้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า จะเขียนอะไรในบทเฉพาะกาล โดยขณะนี้บทเฉพาะกาล เขียนไว้เกือบหมดแล้ว เหลือเพียงกลไกการปฏิรูป และกลไกทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งจริงๆ ทั้ง 2 เรื่อง ก็เขียนไว้ในบทถาวรแล้ว หากรัฐบาลเป็นห่วง ก็อาจไปเขียนว่า ในช่วงนี้ต้องรีบทำอย่างไร หากทำไม่เสร็จใครจะต้องทำต่อ ซึ่งหากไปเข้าใจข้อ 16 ผิด ก็เลยกังวลกันมากไป
นายมีชัย ยังกล่าวถึงความคืบหน้า การปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เกือบจบหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐแล้ว โดยค่อยๆไล่ ว่าใครเสนอแก้อะไร แต่เมื่อแก้แล้วก็จะไปกระทบกับมาตราอื่น จึงเกรงว่าจะสับสน แต่ก็พยายามให้ออกมาให้ดูว่า แก้ไขให้เยอะมาก ใครอยากได้อะไรที่ไม่เสียหาย ก็แก้ไขให้ โดยให้เป็นไปตามความเห็นของภาคประชาชนเป็นหลัก เพราะของ ครม. มี 10 กว่าข้อ ส่วนประชาชน มี 600-700 ข้อ
** ใส่แผนปฏิรูปในบทเฉพาะกาล
ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวตอบผู้สื่อข่าวที่ถามว่า สปท.ควรมีบทบาทในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี หรือไม่ว่า ต้องไปถามนายกฯ อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของ สปท.คือ ต้องทำการปฏิรูปให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งในปี 2560 แต่หากมีเรื่องใดที่คั่งค้าง หรือยังทำไม่เสร็จ ก็อาจจะต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง คล้ายกับ สปท. แต่ปรับโครงสร้างให้เล็กลง เพื่อไปทำงานต่ออีกระยะหนึ่ง ให้การปฏิรูปเป็นไปตามเป้า ซึ่งก็สุดแล้วแต่ กรธ. ว่าจะจัดเราไว้ในส่วนหลัก หรือบทเฉพาะกาล
ทั้งนี้ สปช. เป็นเพียงสภาที่ปรึกษา ทำหน้าที่เป็นฝ่ายวิชาการ เพื่อทำข้อเสนอแนะในช่วงระยะเวลา 1 ปีครึ่ง ถึง 20 ปีข้างหน้า โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใ ห้กับรัฐบาล เพราะเราเป็นเพียงทำแผนออกแบบประเทศไทยไว้ให้ 20 ปี แม้จะไม่อยู่ แต่ยังมีแผนให้รัฐบาลเดินตาม ส่วนรัฐบาลนี้ หรือผู้อำนาจในอนาคต จะเห็นด้วยกับแผนต่างๆ หรือไม่ ก็สุดแล้วแต่ ตนไม่ติดใจ