วานนี้ (9ก.พ.) ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)โดย ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสปท. ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่ออภิปรายแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่สองก่อนทำการลงมติ แล้วนำความเห็น ส่งกรธ.
ทั้งนี้สมาชิกได้อภิปรายเนื้อหา พร้อมเสนอแนะหลากหลาย อาทิ นายคุรุจิต นาครทรรพ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เสนอให้บัญญัติว่า รัฐไม่ควรประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่การรักษาผลประโยชน์ส่วนร่วมของประเทศ
ส่วนเรื่องที่มานายกฯ ที่กำหนดให้ชัดเจน หากนายกฯ ที่เป็นส.ส.จะต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาฯ แต่หากเป็นนายกฯคนนอก ต้องได้รับเสียง 2 ใน 3 ขึ้นไป และควรมีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่เขียนรัฐธรรมนูญเสียเอง
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สปท. กล่าวว่า เห็นด้วยกับระบบเลือกตั้ง ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อ และอยากให้ชี้ข้อดีของการใช้บัตรใบเดียว ว่าง่ายและประหยัดงบประมาณคุ้มกับการที่จะเลือกพรรคและเลือกคนในใบเดียวหรือไม่ และคนที่เสียประโยชน์มีมากน้อยแค่ไหน และเห็นว่า ม. 86 อนุ 4 จะมีปัญหาในการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด เพราะหลักการคำนวณยังไม่ชัดเจนเพียงพอ
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกมธ.วิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กล่าวว่า ใน หมวด 4 หน้าที่ปวงชนชาวไทย กำหนดให้เป็นหน้าที่ไม่ให้ความร่วมมือกับการทุจริต ควรเพิ่มเนื้อหาว่า มีหน้าที่ต่อต้าน รวมถึงให้ข้อมูลเบาะแส เฝ้าระวังเรื่องการทุจริตด้วย หมวดที่เกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐ ที่กำหนดให้รัฐ"พึง"ปฏิบัติ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรย้ายมาอยู่ในหมวดหน้าที่เลยที่ "ต้อง" ทำ นอกจากนี้ควรกำหนดหลักการการปราบปรามทุจริตที่มีประสิทธิภาพ คือ
1. กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เสียหาย สามารถฟ้องร้องในคดีทุจริตได้ 2. กำหนดให้รัฐต้องเปิดเผยผลการจัดซื้อจัดจ้างและการเงินการคลังให้ประชาชนรับทราบ 3. กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์รับเลือกตั้ง ผู้สมัครเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองต้องแสดงแบบรายการภาษียอนหลัง 3 ปี หากฝ่าฝืนหรือแสดงเท็จให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลง 4. กำหนดไม่ให้คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาในสมัยประชุมสามัญกรณีทุจริตต่อหน้าที่
5. กำหนดให้ฝ่ายค้านเป็นประธานกรรมาธิการสามัญตรวจสอบการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ 6. กำหนดห้ามข้าราชการ อัยการ ต้องไม่เป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ และ ที่ปรึกษาด้านการเมือง 7. กำหนดคุณสมบัติองค์กรอิสระ เช่นคณะกรรมการป.ป.ช. ต้องรับหรือ เคยรับราชการระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 3 ปี เพราะกำหนด 5 ปีนั้นยาวนานเกินไป 8. กำหนดการจัดซื้อจัดจ้างเป็นหน้าที่ข้าราชการฝ่ายประจำ
นอกจากนี้ตนยังเห็นด้วยกับสมาชิกที่ควรยกหมวดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้เห็นชัดในเรื่องการปราบปรามป้องกันการทุจริต เพราะอาศัยรัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่อาจลดน้อยลงได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสมาชิกอภิปรายเสร็จแล้วเสียงส่วนใหญ่ 179 เสียง มีมติเห็นควรให้ ควรรวบรวมความเห็น และข้อเสนอแนะของสมาชิกเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นส่งให้กรธ.พิจารณา และ 178 เสียงต่อ 1 เสียง เห็นควรให้ กมธ.ขับเคลื่อนฯ แต่ละคณะส่งความเห็นเป็นเอกสารเพื่อส่งให้ กรธ.ต่อไป
ทั้งนี้สมาชิกได้อภิปรายเนื้อหา พร้อมเสนอแนะหลากหลาย อาทิ นายคุรุจิต นาครทรรพ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เสนอให้บัญญัติว่า รัฐไม่ควรประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่การรักษาผลประโยชน์ส่วนร่วมของประเทศ
ส่วนเรื่องที่มานายกฯ ที่กำหนดให้ชัดเจน หากนายกฯ ที่เป็นส.ส.จะต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาฯ แต่หากเป็นนายกฯคนนอก ต้องได้รับเสียง 2 ใน 3 ขึ้นไป และควรมีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่เขียนรัฐธรรมนูญเสียเอง
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สปท. กล่าวว่า เห็นด้วยกับระบบเลือกตั้ง ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อ และอยากให้ชี้ข้อดีของการใช้บัตรใบเดียว ว่าง่ายและประหยัดงบประมาณคุ้มกับการที่จะเลือกพรรคและเลือกคนในใบเดียวหรือไม่ และคนที่เสียประโยชน์มีมากน้อยแค่ไหน และเห็นว่า ม. 86 อนุ 4 จะมีปัญหาในการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด เพราะหลักการคำนวณยังไม่ชัดเจนเพียงพอ
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกมธ.วิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กล่าวว่า ใน หมวด 4 หน้าที่ปวงชนชาวไทย กำหนดให้เป็นหน้าที่ไม่ให้ความร่วมมือกับการทุจริต ควรเพิ่มเนื้อหาว่า มีหน้าที่ต่อต้าน รวมถึงให้ข้อมูลเบาะแส เฝ้าระวังเรื่องการทุจริตด้วย หมวดที่เกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐ ที่กำหนดให้รัฐ"พึง"ปฏิบัติ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรย้ายมาอยู่ในหมวดหน้าที่เลยที่ "ต้อง" ทำ นอกจากนี้ควรกำหนดหลักการการปราบปรามทุจริตที่มีประสิทธิภาพ คือ
1. กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เสียหาย สามารถฟ้องร้องในคดีทุจริตได้ 2. กำหนดให้รัฐต้องเปิดเผยผลการจัดซื้อจัดจ้างและการเงินการคลังให้ประชาชนรับทราบ 3. กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์รับเลือกตั้ง ผู้สมัครเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองต้องแสดงแบบรายการภาษียอนหลัง 3 ปี หากฝ่าฝืนหรือแสดงเท็จให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลง 4. กำหนดไม่ให้คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาในสมัยประชุมสามัญกรณีทุจริตต่อหน้าที่
5. กำหนดให้ฝ่ายค้านเป็นประธานกรรมาธิการสามัญตรวจสอบการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ 6. กำหนดห้ามข้าราชการ อัยการ ต้องไม่เป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ และ ที่ปรึกษาด้านการเมือง 7. กำหนดคุณสมบัติองค์กรอิสระ เช่นคณะกรรมการป.ป.ช. ต้องรับหรือ เคยรับราชการระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าไม่น้อยกว่า 3 ปี เพราะกำหนด 5 ปีนั้นยาวนานเกินไป 8. กำหนดการจัดซื้อจัดจ้างเป็นหน้าที่ข้าราชการฝ่ายประจำ
นอกจากนี้ตนยังเห็นด้วยกับสมาชิกที่ควรยกหมวดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้เห็นชัดในเรื่องการปราบปรามป้องกันการทุจริต เพราะอาศัยรัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่อาจลดน้อยลงได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสมาชิกอภิปรายเสร็จแล้วเสียงส่วนใหญ่ 179 เสียง มีมติเห็นควรให้ ควรรวบรวมความเห็น และข้อเสนอแนะของสมาชิกเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นส่งให้กรธ.พิจารณา และ 178 เสียงต่อ 1 เสียง เห็นควรให้ กมธ.ขับเคลื่อนฯ แต่ละคณะส่งความเห็นเป็นเอกสารเพื่อส่งให้ กรธ.ต่อไป