นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (ผอ.สปท.) กล่าวว่าช่วงโค้งสุดท้ายของกระบวนการปฏิรูป ยิ่งเห็นทิศทางและเป้าหมายของแม่น้ำทั้ง 5 สาย แตกต่างกัน จนเริ่มจะหาเอกภาพไม่เจอ ทั้งส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญ ในร่างรัฐธรรมนูญ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 บทเฉพาะกาล หรือแม้แต่ท่าทีต่อการลงประชามติ หรือกรณีที่หากประชามติไม่ผ่าน จะมีทางออกอย่างไร ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ จะยิ่งทำให้ประชาชนสับสนจนกระทบต่อกระบวนการทำประชามติ
ดังนั้น แม่น้ำทั้ง 5 สาย ควรเปิดใจคุยกัน ผนึกกำลังกัน เพราะลงเรือลำเดียวกันแล้ว จึงต้องหาข้อยุติในประเด็นสำคัญๆ ของเนื้อหาการปฎิรูป ที่ต้องบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ หรือในการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งวิธีทำงานที่มอบอำนาจเด็ดขาดให้กรรมการยกร่าง (กรธ.) คิดเอง เขียนเอง ฝ่ายเดียวสุดท้ายก็จะเกิดข้อโต้แย้งตามมาเหมือนที่เป็นอยู่
ที่สำคัญ แม่น้ำทั้ง 5 สาย กำลังออกนอกเส้นทางปฏิรูปที่สังคมคาดหวังมากขึ้นทุกขณะ เพราะมัวแต่ไปคิดว่า ช่วงเวลาที่เหลือปีครึ่งก่อนเลือกตั้งตามโรดแมป จะทุ่มเทเขียนร่างรัฐธรรมนูญให้ออกมาดี หรือทำข้อเสนอปฏิรูปในแต่ละด้านไว้ให้รัฐบาลหน้ามาทำนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด
เพราะแม่น้ำทั้ง 5 สายในขณะนี้ มีอำนาจเต็มที่จะลงมือผ่าตัด หรือปฏิรูปในเรื่องสำคัญๆ เร่งด่วนและเป็นประโยชน์กับส่วนรวม ก็ย่อมทำได้ โดยไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญประกาศใช้ คสช.อย่าลืมว่าเข้ามาด้วยข้ออ้างปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง ไม่ใช่มาศึกษา หรือทำแนวทางข้อเสนอ ซึ่งในขณะนี้เวลาที่เหลืออยู่ ถูกใช้ไปกับงานรูทีน จนไม่เห็นการปฏิรูปในเรื่องใหญ่ๆ หรือระดับโครงสร้าง
" ผมแปลกใจ คสช. ที่คิดแต่การออกแบบรัฐบาลใหม่ หรือการส่งผ่านอำนาจ แต่ให้ความสำคัญการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งน้อยลงจนวันๆ นั่งนับแต่วันเลือกตั้งกัน ถ้ายังเป็นแบบนี้ เลือกตั้งเดือนหน้า หรือปีหน้าก็ไม่ต่างกัน ไม่ต้องพึ่งหมอดู คนไทยก็รู้ว่าความขัดแย้งแตกแยกรอเราอยู่เหมือนเดิม" นายสุริยะใส กล่าว
**จับตากก.ยุทธศาสตร์ชาติสืบทอด คปป.
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะมีการกำหนดในร่างรัฐธรรมนูญของ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะใกล้เคียงกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ว่า คณะกรรมการยุทธศาตร์นี้ แม้จะลดความเข้มข้นลงในอำนาจหน้าที่ แต่ตนไม่แน่ใจว่าจุดมุ่งหมายของผู้มีอำนาจ จะคงเดิมเหมือนคปป.หรือไม่ แต่การที่จะใช้กลไกข้าราชการ มากำกับดูแลการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ของชาติมีความจำเป็น และเป็นเรื่องปกติ แต่มีความผิดปกติ คือ ความพยายามใช้สาระเนื้อหาของยุทธศาสตร์ฯไปสู่ยุทธศาสตร์อื่น ที่ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนรวม เช่น การสืบทอดอำนาจ หรือการขยายเครือข่ายกำกับควบคุมนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมากจนเกินจำเป็น เมื่อฝ่ายการเมืองเข้าสู่การเมือง ปกติก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอนโยบายสาธารณะต่อสังคม ดังนั้นในการเสนอยุทธศาสตร์ใดๆ หากไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมหรือประเทศ ก็ยากที่จะเกิดการยอมรับ จึงขอให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรคำนึงว่าต้องเป็นยุทธศาสตร์เพื่อประโยชน์ของประเทศ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลได้ทบทวนการทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะโลกสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ยุทธศาสตร์ที่ทำไว้จะล้าสมัยอย่างรวดเร็ว อย่าไปนำกรอบคิดแบบรัฐธรรมนูญที่ย้อนยุคมาใช้กับการวางยุทธศาสตร์ชาติ จะยิ่งทำให้ประเทศเสียหาย และถอยหลังไปกว่านี้ ควรจะปล่อยให้คนรุ่นใหม่ และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำยุทธศาสตร์ชาติจะดีกว่า เพราะ 2 ปี ที่ผ่านมารัฐบาลนี้ก็ยังไม่สามารถทำเศรษฐกิจให้ดีได้เลย ทุกวันนี้เศรษฐกิจของไทยก็แย่ที่สุดในอาเซียนแล้ว ประเทศอื่นเศรษฐกิจโต มากกว่าไทย ที่บอกประเทศอื่นแย่กว่า ก็ไม่จริง เพราะการลงทุนจากต่างประเทศที่มาลงทุนในอาเซียนไม่ได้ลดลง แต่ย้ายจากไทยเข้าไปลงทุนในประเทศอื่นหมด
ทั้งนี้ ก่อนที่จะทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ควรจะทำรัฐธรรมนูญให้เป็นสากล และเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ของประเทศเสียก่อน เพราะร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมานี้ รัฐบาลไหนก็ไม่สามารถบริหารประเทศได้ ไม่ว่าจะมียุทธศาสตร์อะไร ยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดคือ ทำอย่างไร ให้ไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารได้อีกเลยในอนาคต
ดังนั้น แม่น้ำทั้ง 5 สาย ควรเปิดใจคุยกัน ผนึกกำลังกัน เพราะลงเรือลำเดียวกันแล้ว จึงต้องหาข้อยุติในประเด็นสำคัญๆ ของเนื้อหาการปฎิรูป ที่ต้องบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ หรือในการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งวิธีทำงานที่มอบอำนาจเด็ดขาดให้กรรมการยกร่าง (กรธ.) คิดเอง เขียนเอง ฝ่ายเดียวสุดท้ายก็จะเกิดข้อโต้แย้งตามมาเหมือนที่เป็นอยู่
ที่สำคัญ แม่น้ำทั้ง 5 สาย กำลังออกนอกเส้นทางปฏิรูปที่สังคมคาดหวังมากขึ้นทุกขณะ เพราะมัวแต่ไปคิดว่า ช่วงเวลาที่เหลือปีครึ่งก่อนเลือกตั้งตามโรดแมป จะทุ่มเทเขียนร่างรัฐธรรมนูญให้ออกมาดี หรือทำข้อเสนอปฏิรูปในแต่ละด้านไว้ให้รัฐบาลหน้ามาทำนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด
เพราะแม่น้ำทั้ง 5 สายในขณะนี้ มีอำนาจเต็มที่จะลงมือผ่าตัด หรือปฏิรูปในเรื่องสำคัญๆ เร่งด่วนและเป็นประโยชน์กับส่วนรวม ก็ย่อมทำได้ โดยไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญประกาศใช้ คสช.อย่าลืมว่าเข้ามาด้วยข้ออ้างปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง ไม่ใช่มาศึกษา หรือทำแนวทางข้อเสนอ ซึ่งในขณะนี้เวลาที่เหลืออยู่ ถูกใช้ไปกับงานรูทีน จนไม่เห็นการปฏิรูปในเรื่องใหญ่ๆ หรือระดับโครงสร้าง
" ผมแปลกใจ คสช. ที่คิดแต่การออกแบบรัฐบาลใหม่ หรือการส่งผ่านอำนาจ แต่ให้ความสำคัญการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งน้อยลงจนวันๆ นั่งนับแต่วันเลือกตั้งกัน ถ้ายังเป็นแบบนี้ เลือกตั้งเดือนหน้า หรือปีหน้าก็ไม่ต่างกัน ไม่ต้องพึ่งหมอดู คนไทยก็รู้ว่าความขัดแย้งแตกแยกรอเราอยู่เหมือนเดิม" นายสุริยะใส กล่าว
**จับตากก.ยุทธศาสตร์ชาติสืบทอด คปป.
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะมีการกำหนดในร่างรัฐธรรมนูญของ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะใกล้เคียงกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ว่า คณะกรรมการยุทธศาตร์นี้ แม้จะลดความเข้มข้นลงในอำนาจหน้าที่ แต่ตนไม่แน่ใจว่าจุดมุ่งหมายของผู้มีอำนาจ จะคงเดิมเหมือนคปป.หรือไม่ แต่การที่จะใช้กลไกข้าราชการ มากำกับดูแลการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ของชาติมีความจำเป็น และเป็นเรื่องปกติ แต่มีความผิดปกติ คือ ความพยายามใช้สาระเนื้อหาของยุทธศาสตร์ฯไปสู่ยุทธศาสตร์อื่น ที่ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนรวม เช่น การสืบทอดอำนาจ หรือการขยายเครือข่ายกำกับควบคุมนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมากจนเกินจำเป็น เมื่อฝ่ายการเมืองเข้าสู่การเมือง ปกติก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอนโยบายสาธารณะต่อสังคม ดังนั้นในการเสนอยุทธศาสตร์ใดๆ หากไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมหรือประเทศ ก็ยากที่จะเกิดการยอมรับ จึงขอให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรคำนึงว่าต้องเป็นยุทธศาสตร์เพื่อประโยชน์ของประเทศ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลได้ทบทวนการทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะโลกสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ยุทธศาสตร์ที่ทำไว้จะล้าสมัยอย่างรวดเร็ว อย่าไปนำกรอบคิดแบบรัฐธรรมนูญที่ย้อนยุคมาใช้กับการวางยุทธศาสตร์ชาติ จะยิ่งทำให้ประเทศเสียหาย และถอยหลังไปกว่านี้ ควรจะปล่อยให้คนรุ่นใหม่ และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำยุทธศาสตร์ชาติจะดีกว่า เพราะ 2 ปี ที่ผ่านมารัฐบาลนี้ก็ยังไม่สามารถทำเศรษฐกิจให้ดีได้เลย ทุกวันนี้เศรษฐกิจของไทยก็แย่ที่สุดในอาเซียนแล้ว ประเทศอื่นเศรษฐกิจโต มากกว่าไทย ที่บอกประเทศอื่นแย่กว่า ก็ไม่จริง เพราะการลงทุนจากต่างประเทศที่มาลงทุนในอาเซียนไม่ได้ลดลง แต่ย้ายจากไทยเข้าไปลงทุนในประเทศอื่นหมด
ทั้งนี้ ก่อนที่จะทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ควรจะทำรัฐธรรมนูญให้เป็นสากล และเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ของประเทศเสียก่อน เพราะร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมานี้ รัฐบาลไหนก็ไม่สามารถบริหารประเทศได้ ไม่ว่าจะมียุทธศาสตร์อะไร ยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดคือ ทำอย่างไร ให้ไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารได้อีกเลยในอนาคต