วานนี้ (17ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดงาน กกต.พบสื่อประจำปี 2559 โดยมี นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. และ กกต.ทั้ง 4 คน ร่วมกันแถลงถึงการเตรียมการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายศุภชัย กล่าวว่า กกต.มีความพร้อมในการจัดออกเสียงประชามติ ที่คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 31 ก.ค.นี้
นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต. ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวว่า การจัดทำประชามติครั้งนี้ ต้องใช้งบฯค่อนข้างสูง เพราะภาวะต่างๆ เปลี่ยนไปๆ ใช้งบ 3,000 กว่าล้าน ซึ่งกกต. ตระหนัก และระวังว่าจะไม่ให้เงินละลายน้ำ
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ ที่มีการกำหนดโทษการกระทำผิดค่อนข้างสูงนั้น ก็เพื่อคุ้มครองให้ประชามติเดินหน้าไปได้ เพราะถ้ามีใครคนหนึ่งล้มประชามติด้วยวิธีง่ายๆ เงิน 3 พันกว่าล้าน ก็จะเสียเปล่า ประเทศชาติเสียชื่อเสียง จึงเป็นมาตรการป้องปราม ไม่ใช่กฎหมายเพื่อปราบปรามคนเห็นต่าง
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ไม่อยากให้มองว่า เป็นการออกกฎหมายเพื่อจะป้องปรามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะแม้แต่ฝ่ายที่รณรงค์ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ ถ้ารณรงค์โดยปกปิดข้อมูลบางส่วน โกหกคำโต ก็มีความผิดเช่นกัน ฉะนั้น ไม่ว่าฝ่ายการเมือง หรือนักวิชาการ ถ้ารณรงค์ด้วยความสุจริตใจ เสนอข้อมูลตรงไปตรงมา ก็ขอให้สบายใจได้ ซึ่งกกต. จะก็มีการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวไปยังรัฐบาลในวันนี้ ( 18 ก.พ. )
อย่างไรตามในขณะนี้ที่เริ่มมีการณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ยังไม่อยู่ในจุดที่ กกต.จะเข้าไปควบคุมอะไรได้ เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าว ยังไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งผู้ทีดำเนินการก็ต้องระมัดระวังเอาเองว่า อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายความมั่นคง
นายสมชัย ยังกล่าวถึง การออกเสียงประชามติ ด้วยว่า การทำงานภายใต้หลัก 3 ป. คือ 1. ประชาชนสะดวก 2. ประชามติเที่ยงธรรม 3. ประชาธิปไตยคุณภาพ จึงอยากให้ประชามติครั้งนี้ ประชาชนควรมีเหตุผล และรู้จริง
สำหรับการในการเผยแพร่ ร่างรัฐธรรมนูญภายใต้กรอบที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว จากที่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของครัวเรือน ที่มีสิทธิออกเสียง มาเป็นอย่างทั่วถึงนั้น กกต.มีการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญแบ่งเป็น 3 ส่วน 1. จะจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม 1.2 ล้านเล่ม กระจายไปยังจุดต่างๆ ที่ประชาชนจะเข้าถึงได้ 2. จัดพิมพ์สรุปสาระสำคัญของร่าง ประมาณ 20 หน้า จำนวน 6 ล้านเล่ม และ 3. จัดพิมพ์สรุปย่อสาระสำคัญ 17 ล้านเล่ม ส่งถึงผู้มีสิทธิทุกครัวเรือน โดยจะส่งไปพร้อมกับหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน ซึ่งในเอกสารนี้จะมีเนื้อหาทั้งที่เหตุใดควรรับ และไม่รับร่างรัฐ ธรรมนูญ โดยกกต.จะให้องค์กรที่ลงทะเบียนรณรงค์กับ กกต. เป็นผู้ส่งข้อมูลมาให้กกต.จัดพิมพ์ การจัดพิมพ์เอกสารทั้งสามส่วนนี้จะใช้งบประมาณราว 170 ล้านบาท จากเดิม 800 ล้านบาท
ทั้งนี้ กกต. ตั้งเป้าว่า จะมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต. ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวว่า การจัดทำประชามติครั้งนี้ ต้องใช้งบฯค่อนข้างสูง เพราะภาวะต่างๆ เปลี่ยนไปๆ ใช้งบ 3,000 กว่าล้าน ซึ่งกกต. ตระหนัก และระวังว่าจะไม่ให้เงินละลายน้ำ
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ ที่มีการกำหนดโทษการกระทำผิดค่อนข้างสูงนั้น ก็เพื่อคุ้มครองให้ประชามติเดินหน้าไปได้ เพราะถ้ามีใครคนหนึ่งล้มประชามติด้วยวิธีง่ายๆ เงิน 3 พันกว่าล้าน ก็จะเสียเปล่า ประเทศชาติเสียชื่อเสียง จึงเป็นมาตรการป้องปราม ไม่ใช่กฎหมายเพื่อปราบปรามคนเห็นต่าง
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ไม่อยากให้มองว่า เป็นการออกกฎหมายเพื่อจะป้องปรามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะแม้แต่ฝ่ายที่รณรงค์ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ ถ้ารณรงค์โดยปกปิดข้อมูลบางส่วน โกหกคำโต ก็มีความผิดเช่นกัน ฉะนั้น ไม่ว่าฝ่ายการเมือง หรือนักวิชาการ ถ้ารณรงค์ด้วยความสุจริตใจ เสนอข้อมูลตรงไปตรงมา ก็ขอให้สบายใจได้ ซึ่งกกต. จะก็มีการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวไปยังรัฐบาลในวันนี้ ( 18 ก.พ. )
อย่างไรตามในขณะนี้ที่เริ่มมีการณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ยังไม่อยู่ในจุดที่ กกต.จะเข้าไปควบคุมอะไรได้ เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าว ยังไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งผู้ทีดำเนินการก็ต้องระมัดระวังเอาเองว่า อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายความมั่นคง
นายสมชัย ยังกล่าวถึง การออกเสียงประชามติ ด้วยว่า การทำงานภายใต้หลัก 3 ป. คือ 1. ประชาชนสะดวก 2. ประชามติเที่ยงธรรม 3. ประชาธิปไตยคุณภาพ จึงอยากให้ประชามติครั้งนี้ ประชาชนควรมีเหตุผล และรู้จริง
สำหรับการในการเผยแพร่ ร่างรัฐธรรมนูญภายใต้กรอบที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว จากที่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของครัวเรือน ที่มีสิทธิออกเสียง มาเป็นอย่างทั่วถึงนั้น กกต.มีการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญแบ่งเป็น 3 ส่วน 1. จะจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม 1.2 ล้านเล่ม กระจายไปยังจุดต่างๆ ที่ประชาชนจะเข้าถึงได้ 2. จัดพิมพ์สรุปสาระสำคัญของร่าง ประมาณ 20 หน้า จำนวน 6 ล้านเล่ม และ 3. จัดพิมพ์สรุปย่อสาระสำคัญ 17 ล้านเล่ม ส่งถึงผู้มีสิทธิทุกครัวเรือน โดยจะส่งไปพร้อมกับหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน ซึ่งในเอกสารนี้จะมีเนื้อหาทั้งที่เหตุใดควรรับ และไม่รับร่างรัฐ ธรรมนูญ โดยกกต.จะให้องค์กรที่ลงทะเบียนรณรงค์กับ กกต. เป็นผู้ส่งข้อมูลมาให้กกต.จัดพิมพ์ การจัดพิมพ์เอกสารทั้งสามส่วนนี้จะใช้งบประมาณราว 170 ล้านบาท จากเดิม 800 ล้านบาท
ทั้งนี้ กกต. ตั้งเป้าว่า จะมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80