วานนี้ (16 ก.พ.) มีการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสปท. เป็นประธานในที่ประชุม โดยมีวาระพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เรื่อง การจัดทำ การกำหนด และการขับเคลื่อนกฎหมายว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติ และ ร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ... ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
พ.ต.ต. ยงยุทธ สาระสมบัติ ประธาน กมธ.ฯ ชี้แจงว่า ยุทศาสตร์ชาติ 20 ปีที่วางไว้ สามารถแก้ได้ เพราะเป็นแผนการพัฒนาเพื่อให้รัฐบาลทุกสมัยรับช่วงต่อ ส่วนคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 25 คนนั้น ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆ เพราะประกอบไปด้วย นายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ(สปท.) และบุคคลที่สนช. สรรหาและคัดเลือกให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 22 คน เป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ มีหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรก เพื่อเสนอต่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ และใช้บังคับ กำหนดให้คณะรัฐมนตรี และมีคณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 29 คน รวมทั้งดำเนินการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมยุทธศาสตร์ชาติภายใน 90 วัน นับแต่ร่าง พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้
ส่วนวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี แต่ก็ไม่ได้ดำรงอยู่ตลอดไป เพราะเมื่ออยู่ครบ 4 ปี ต้องจับฉลากออกกึ่งหนึ่ง เพื่อไปสรรหาใหม่จาก 7 กลุ่ม อาทิ หัวหน้าจากส่วนราชการ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ กลุ่มภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาชน ซึ่งไม่ใช่มีแต่เจ้าหน้าที่ทหาร อย่างที่เข้าใจกัน
ทั้งนี้ สมาชิกสปท. ได้อภิปรายแสดงความเห็นกว้างขวาง อาทิ นายคำนูณ สิทธิสมาน อภิปรายว่า ในฐานะที่เคยเป็นอดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญยืนยันได้ว่า ยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ใช่อำนาจอธิปไตย 4 หรือ 5 แต่เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของรัฐ เพราะไม่ได้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ต้องผ่านสภาฯ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ได้แฝงอำนาจของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง (คปป.) เพราะ
1. กรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีอายุตลอดไปตราบเท่าที่ พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ยังใช้บังคับอยู่ แต่ คปป.กำหนดอายุอยู่ชั่วคราวเพียง 5 ปีแล้วสิ้นสภาพไปตามรัฐธรรมนูญ อาจต่ออายุได้เพียงครั้งเดียวไม่เกิน 5 ปี โดยต้องมีมติรัฐสภาหรือผลการลงประชามติ
2. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีหน้าที่จัดทำและทบทวนปรับปรุงยุทธศาสตร์ชาติที่ใช้บังคับระยะยาว แต่คปป. มีหน้าที่เฉพาะในการเป็นกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูปและสร้างความปรองดองเฉพาะหน้าเท่านั้น
3. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติไม่มีผู้บัญชาการเหล่าทัพที่อยู่ในราชการมาเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง มีเพียงเป็นกรรมการสรรหา คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพียง 3 ใน 25 คน และมีเสนาธิการทหารเพียง 1 คน เป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง แต่ คปป.มีผู้บัญชาการเหล่าทัพที่อยู่ในราชการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
4. คปป. สามารถใช้อำนาจแทนครม. และรัฐสภาฯในยามวิกฤตร้ายแรงได้ ส่วนคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ไม่มีอำนาจเช่นนั้น ทั้งนี้เห็นว่า อายุของคณะกรรมการยุทศาสตร์ชาติไม่ควรอยู่ครบ 4-8 ปี แต่ให้อยู่จนถึงมีรัฐบาลใหม่ หลังจากนั้นก็สรรหาใหม่
พ.ต.ต.ยงยุทธ ชี้แจงว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ไม่มีอำนาจลงโทษโดยตรง เป็นเพียงเครื่องเอ็กซเรย์เท่านั้น เราไม่ใช่ผู้ผ่าตัด แต่ถ้าพบว่ามีการกระทำการที่ไม่ถูกต้อง ก็จะส่งเรื่องไปยังช่องที่กำหนด ทั้งนี้ มีคนพูดว่า ถ้าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เกิดในยุคที่มีโครงการจำนำข้าว ก็อาจจะไม่เกิดความเสียหายมากขนาดนี้
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบต่อรายงาน และ ร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยคะแนน 164 ต่อ 6 งดออกเสียง 4 โดยกมธ. จะนำข้อคิดเห็นของสมาชิกไปปรับปรุงก่อนส่งให้ประธานสปท. และครม. เพื่อดำเนินการต่อไป
พ.ต.ต. ยงยุทธ สาระสมบัติ ประธาน กมธ.ฯ ชี้แจงว่า ยุทศาสตร์ชาติ 20 ปีที่วางไว้ สามารถแก้ได้ เพราะเป็นแผนการพัฒนาเพื่อให้รัฐบาลทุกสมัยรับช่วงต่อ ส่วนคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 25 คนนั้น ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆ เพราะประกอบไปด้วย นายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ(สปท.) และบุคคลที่สนช. สรรหาและคัดเลือกให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 22 คน เป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ มีหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรก เพื่อเสนอต่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ และใช้บังคับ กำหนดให้คณะรัฐมนตรี และมีคณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 29 คน รวมทั้งดำเนินการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมยุทธศาสตร์ชาติภายใน 90 วัน นับแต่ร่าง พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้
ส่วนวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี แต่ก็ไม่ได้ดำรงอยู่ตลอดไป เพราะเมื่ออยู่ครบ 4 ปี ต้องจับฉลากออกกึ่งหนึ่ง เพื่อไปสรรหาใหม่จาก 7 กลุ่ม อาทิ หัวหน้าจากส่วนราชการ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ กลุ่มภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาชน ซึ่งไม่ใช่มีแต่เจ้าหน้าที่ทหาร อย่างที่เข้าใจกัน
ทั้งนี้ สมาชิกสปท. ได้อภิปรายแสดงความเห็นกว้างขวาง อาทิ นายคำนูณ สิทธิสมาน อภิปรายว่า ในฐานะที่เคยเป็นอดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญยืนยันได้ว่า ยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ใช่อำนาจอธิปไตย 4 หรือ 5 แต่เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของรัฐ เพราะไม่ได้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ต้องผ่านสภาฯ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ได้แฝงอำนาจของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง (คปป.) เพราะ
1. กรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีอายุตลอดไปตราบเท่าที่ พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ยังใช้บังคับอยู่ แต่ คปป.กำหนดอายุอยู่ชั่วคราวเพียง 5 ปีแล้วสิ้นสภาพไปตามรัฐธรรมนูญ อาจต่ออายุได้เพียงครั้งเดียวไม่เกิน 5 ปี โดยต้องมีมติรัฐสภาหรือผลการลงประชามติ
2. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีหน้าที่จัดทำและทบทวนปรับปรุงยุทธศาสตร์ชาติที่ใช้บังคับระยะยาว แต่คปป. มีหน้าที่เฉพาะในการเป็นกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูปและสร้างความปรองดองเฉพาะหน้าเท่านั้น
3. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติไม่มีผู้บัญชาการเหล่าทัพที่อยู่ในราชการมาเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง มีเพียงเป็นกรรมการสรรหา คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพียง 3 ใน 25 คน และมีเสนาธิการทหารเพียง 1 คน เป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง แต่ คปป.มีผู้บัญชาการเหล่าทัพที่อยู่ในราชการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
4. คปป. สามารถใช้อำนาจแทนครม. และรัฐสภาฯในยามวิกฤตร้ายแรงได้ ส่วนคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ไม่มีอำนาจเช่นนั้น ทั้งนี้เห็นว่า อายุของคณะกรรมการยุทศาสตร์ชาติไม่ควรอยู่ครบ 4-8 ปี แต่ให้อยู่จนถึงมีรัฐบาลใหม่ หลังจากนั้นก็สรรหาใหม่
พ.ต.ต.ยงยุทธ ชี้แจงว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ไม่มีอำนาจลงโทษโดยตรง เป็นเพียงเครื่องเอ็กซเรย์เท่านั้น เราไม่ใช่ผู้ผ่าตัด แต่ถ้าพบว่ามีการกระทำการที่ไม่ถูกต้อง ก็จะส่งเรื่องไปยังช่องที่กำหนด ทั้งนี้ มีคนพูดว่า ถ้าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เกิดในยุคที่มีโครงการจำนำข้าว ก็อาจจะไม่เกิดความเสียหายมากขนาดนี้
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบต่อรายงาน และ ร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยคะแนน 164 ต่อ 6 งดออกเสียง 4 โดยกมธ. จะนำข้อคิดเห็นของสมาชิกไปปรับปรุงก่อนส่งให้ประธานสปท. และครม. เพื่อดำเนินการต่อไป