เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (15ก.พ.) ที่ห้องพิจารณา 703 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ 5034/2557 ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง หลวงปู่พุทธะอิสระ หรือ พระสุวิทย์ ธีรธัมโม , พล.ต.สมเกียรติ วัฒนวิกย์กิจ, นายชุมพล จุลใส, นายนิติธร ล้ำเหลือ และน.ส.อัญชะลี ไพรีรัก แกนนำ กปปส. เป็นจำเลยที่ 1-5 เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย 2,663,409 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากกรณีระหว่างเดือนพ.ย. 56 - ม.ค. 57 จำเลยทั้งห้าเป็นแกนนำพาผู้ชุมนุมกปปส.ร่วมกันบุกเข้าไปในอาคาร ดีเอสไอ ถ.แจ้งวัฒนะ แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สายไฟ กล้องวงจรปิด ที่อยู่ในความครอบครองของดีเอสไอ โจทก์
โดยโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 57 ขณะที่จำเลยให้การปฏิเสธ พร้อมต่อสู้คดี ว่าการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลดำเนินการโดยปราศจากอาวุธ ซึ่งการแสดงออกถือเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ศาลพิเคราะห์พยาน หลักฐาน ที่โจทก์-จำเลย นำสืบแล้วเห็นว่า กลุ่มกปปส.ได้จัดการชุมนุมตั้งแต่ช่วงเดือนพ.ค. 56 และสิ้นสุดวันที่ 22 พ.ค. 57 เมื่อมีการยึดอำนาจ โดยระหว่างนั้นจำเลยทั้งห้า เป็นผู้นำชุมนุมที่บริเวณอาคารสำนักงานดีเอสไอ ของโจทก์ ทำให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ โดยระหว่างการชุมนุมมีการตัดสายไฟฟ้าเมนหลัก และทำให้เครือข่ายระบบอินเตอร์กับคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหายด้วย ซึ่งระหว่างนั้น ดีเอสไอ โจทก์ต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อจัดให้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องมาดูแลความปลอดภัยบริเวณอาคารโจทก์ในการดูแลอาคารและทรัพย์สินตามหน้าที่ของโจทก์
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้า พาผู้ชุมนุมมายังอาคารโจทก์แล้วมีการตัดสายไฟ แล้วไล่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ออกจากบริเวณนั้น ทำให้ข้าราชการโจทก์ ไม่สามารถงานปฏิบัติหน้าที่งานได้ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย จนโจทก์ต้องย้ายสถานที่ปฏิบัติงาน และย้ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์-ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งโจทก์ได้เช่าพื้นที่ของทีโอที ในการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระหว่างการชุมนุม ยังทำให้กล้องวงจรปิดในอาคารโจทก์ได้รับความเสียหายด้วย
ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่า ค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน ที่กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถได้รับเบี้ยเลี้ยงจากหน่วยราชการอยู่แล้ว ศาลเห็นว่า ค่าใช้จ่ายนี้เป็นคนละส่วนกัน เพราะเบี้ยเลี้ยงที่เจ้าหน้าที่ได้รับเป็นไปตามกฎหมายจากการปฏิบัติงาน แต่ที่จำเลยบุกเข้าอาคาร ทำให้โจทก์ต้องมีค่าใช้จ่ายโดยตรงในส่วนนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิดของพวกจำเลย และที่จำเลยต่อสู้ว่า การชุมนุมกระทำโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ถือเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนั้น ศาลเห็นว่าสิทธิดังกล่าวกระทำได้ แต่ต้องไม่กระทำสิทธิอื่นของบุคคลอื่นด้วย
เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยแต่ละคนแล้วให้จำเลยต้องร่วมกันชดใช้ให้โจทก์ ในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายเครื่องดื่ม-อาหาร ในการจัดกำลังพลดูแลอาคาร ค่าเสียหายต่ออุปกรณ์ในสำนักงาน โดยเห็นสมควรกำหนดตามพฤติการณ์จำเลยในการเข้าชุมนุม จึงให้หลวงปู่พุทธะอิสระ และ พล.ต.สมเกียรติ จำเลยที่ 1-2 ที่ได้เข้าชุมนุมที่ ดีเอสไอ ระหว่างวันที่ 13 ม.ค. - พ.ค. 57 ร่วมกันชดใช้ให้โจทก์ 899,203 บาท ส่วนนายชุมพล จำเลยที่ 3 ให้ชดใช้ 365,000 บาท และนายนิติธร กับ น.ส.อัญชะลี จำเลยที่ 4-5 ให้ชดใช้ 184,931.35 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,449,134.35 บาท พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันถัดฟ้อง คือวันที่ 19 พ.ย. 57 จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยร่วมกันจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมศาล และค่าทนายความแก่โจทก์อีก 10,000 บาท
โดยโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 57 ขณะที่จำเลยให้การปฏิเสธ พร้อมต่อสู้คดี ว่าการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลดำเนินการโดยปราศจากอาวุธ ซึ่งการแสดงออกถือเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ศาลพิเคราะห์พยาน หลักฐาน ที่โจทก์-จำเลย นำสืบแล้วเห็นว่า กลุ่มกปปส.ได้จัดการชุมนุมตั้งแต่ช่วงเดือนพ.ค. 56 และสิ้นสุดวันที่ 22 พ.ค. 57 เมื่อมีการยึดอำนาจ โดยระหว่างนั้นจำเลยทั้งห้า เป็นผู้นำชุมนุมที่บริเวณอาคารสำนักงานดีเอสไอ ของโจทก์ ทำให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ โดยระหว่างการชุมนุมมีการตัดสายไฟฟ้าเมนหลัก และทำให้เครือข่ายระบบอินเตอร์กับคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหายด้วย ซึ่งระหว่างนั้น ดีเอสไอ โจทก์ต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อจัดให้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องมาดูแลความปลอดภัยบริเวณอาคารโจทก์ในการดูแลอาคารและทรัพย์สินตามหน้าที่ของโจทก์
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้า พาผู้ชุมนุมมายังอาคารโจทก์แล้วมีการตัดสายไฟ แล้วไล่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ออกจากบริเวณนั้น ทำให้ข้าราชการโจทก์ ไม่สามารถงานปฏิบัติหน้าที่งานได้ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย จนโจทก์ต้องย้ายสถานที่ปฏิบัติงาน และย้ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์-ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งโจทก์ได้เช่าพื้นที่ของทีโอที ในการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระหว่างการชุมนุม ยังทำให้กล้องวงจรปิดในอาคารโจทก์ได้รับความเสียหายด้วย
ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่า ค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน ที่กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถได้รับเบี้ยเลี้ยงจากหน่วยราชการอยู่แล้ว ศาลเห็นว่า ค่าใช้จ่ายนี้เป็นคนละส่วนกัน เพราะเบี้ยเลี้ยงที่เจ้าหน้าที่ได้รับเป็นไปตามกฎหมายจากการปฏิบัติงาน แต่ที่จำเลยบุกเข้าอาคาร ทำให้โจทก์ต้องมีค่าใช้จ่ายโดยตรงในส่วนนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิดของพวกจำเลย และที่จำเลยต่อสู้ว่า การชุมนุมกระทำโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ถือเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนั้น ศาลเห็นว่าสิทธิดังกล่าวกระทำได้ แต่ต้องไม่กระทำสิทธิอื่นของบุคคลอื่นด้วย
เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยแต่ละคนแล้วให้จำเลยต้องร่วมกันชดใช้ให้โจทก์ ในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายเครื่องดื่ม-อาหาร ในการจัดกำลังพลดูแลอาคาร ค่าเสียหายต่ออุปกรณ์ในสำนักงาน โดยเห็นสมควรกำหนดตามพฤติการณ์จำเลยในการเข้าชุมนุม จึงให้หลวงปู่พุทธะอิสระ และ พล.ต.สมเกียรติ จำเลยที่ 1-2 ที่ได้เข้าชุมนุมที่ ดีเอสไอ ระหว่างวันที่ 13 ม.ค. - พ.ค. 57 ร่วมกันชดใช้ให้โจทก์ 899,203 บาท ส่วนนายชุมพล จำเลยที่ 3 ให้ชดใช้ 365,000 บาท และนายนิติธร กับ น.ส.อัญชะลี จำเลยที่ 4-5 ให้ชดใช้ 184,931.35 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,449,134.35 บาท พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันถัดฟ้อง คือวันที่ 19 พ.ย. 57 จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยร่วมกันจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมศาล และค่าทนายความแก่โจทก์อีก 10,000 บาท