**ตามกำหนดการอย่างเป็นทางการ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะนำคณะชุดใหญ่ไปร่วมประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ที่สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ ซึ่งหากพิจารณาจากวาระในการประชุมก็ถือว่ามีความน่าสนใจ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วจะไม่มีการประชุมหารือกันแบบทวิภาคี หรือสองต่อสองระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ของสหรัฐฯ เพราะยังติดเงื่อนไขเรื่องผู้นำไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ถือว่าวาระระหว่างกลุ่มที่ร่วมประชุมกัน มีความสำคัญ
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์โลก ยุทธศาสตร์โลกที่ผันแปรไปอย่างรวดเร็ว จนปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นสาเหตสำคัญที่ผลักดันให้สหรัฐฯต้องกำหนดวาระการประชุมในครั้งนี้
นั่นเป็นเรื่องยุทธศาสตร์โลก ยุทธศาสตร์ภูมิภาค ที่ถูกกำหนดขึ้นมา แต่สำหรับวาระระหว่างประเทศ ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ก็คงต้องมีการพูดคุยหารือกันทั้งทางตรงและทางอ้อมแน่นอน ขณะเดียวกัน ก็ต้องมองออกว่าการเดินทางไปสหรัฐฯ เที่ยวนี้ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ย่อมต้องเจอกับคำถาม และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเชื่อว่าตัวเขาก็รู้ดี และมีการเตรียมการเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว รวมไปถึงการส่งสัญญานเอาไว้ก่อน เพื่อเตรียมรับกับคำถามที่พรั่งพรูเข้ามาอย่างแน่นอน
และที่ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่า คราวนี้จะเป็นการ "วัดกึ๋น" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้นำประเทศว่ามีแค่ไหน เมื่อต้องเผชิญกับภาวะกดดันภายนอก และแน่นอนว่าสารพัดคำถามที่เขาต้องเจอก็คงต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโรดแมปของ คสช. ว่าจะยืนยันแบบเดิมหรือไม่ หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ หรือการเลือกตั้งจะเกิดวันไหน เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
**แต่ที่ต้องจับตามองมากไม่แพ้กันก็คือ เชื่อว่าในการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มอาเซียน-สหรัฐฯคราวนี้จะต้องมีการทราบท่าทีชัดเจนว่า ไทยจะเข้าร่วมกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) ที่สหรัฐฯ กำลังริเริ่มเพื่อปิดล้อมจีนหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาสหรัฐฯก็สามารถดึง 11 ประเทศ ให้เข้าร่วมไปแล้ว คือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และ เวียดนาม และหากพิจารณาตามจุดยุทธศาสตร์ทางสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยเข้าร่วม
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐบาลและคสช. ก็ได้มีการเตรียมการเพื่อรับมือเอาไว้พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศย้ำว่า ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการลงประชามติหรือไม่ แต่การเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นตามกำหนดเดิมในปี 2560 หรือในเรื่องการออกมาตรการการปราบปรามควบคุมที่เข้มงวดสำหรับการทำประมงผิดกฎหมายที่เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับสินค้าส่งออกด้านอาหารทะเล ซึ่งเรื่องดังกล่าวเชื่อว่าจะเป็นคำถามมากมายที่จะพุ่งเข้าใส่ตัวเขา
ดังนั้น ถ้าจะกล่าวถึงก็ต้องย้ำว่า สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา การเดินทางไปสหรัฐฯ เที่ยวนี้ซึ่งหากพิจารณาจากเส้นทางข้างหน้าที่น่าจะใกล้จะนับถอยหลังในตำแหน่งนายกฯ และผู้นำคสช. ก็อาจพูดแบบนั้นได้ แต่ขณะเดียวกันนี่ก็ถือว่าเป็น "วาระแห่งชาติ" ครั้งสำคัญว่าเขาจะ"ผ่าน"หรือไม่ เพราะถ้าพิจารณาในมุมการเมือง ก็ต้องบอกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่าง ทักษิณ ชินวัตร พวกเขาก็เคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นเช่นเดียวกัน
** มีการเคลื่อนไหวกดดันทั้งภายใน และภายนอกแบบสอดคล้องกัน ภายในเราก็ได้เห็น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร "ร่างทรง" ของพี่ชาย ได้เปิดบ้านเชิญสื่อต่างประเทศชุดใหญ่ เข้าไปสัมภาษณ์ได้อย่างถูกที่ถูกเวลา ในช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางไปสหรัฐฯ พอดี แน่นอนว่า การพูดแต่ละเรื่องของเธอล้วนมีบทกลั่นกรองกันมาล่วงหน้า ทั้งในเรื่องของผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง การถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ทุกอย่างล้วนเข้าเงื่อนไขที่สหรัฐฯ กดดันไทยมาตลอด ขณะที่ ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าใหญ่ ก็โผล่หน้าออกมาส่งสัญญาณให้บรรดาลูกน้องออกมาต่อต้านกันอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ การให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ขณะเดียวกัน ในสหรัฐฯ ก็คงมีความพยายามเคลื่อนไหวจากมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามก่อกวนประเภทที่ว่าต้องการ "ประจาน" ให้ได้อับอายว่าผู้นำเผด็จการของไทยถูกชาวบ้านต่อต้านปฏิเสธ ซึ่งรับรู้จากเสียงเตือนจากฝ่ายรัฐบาลที่ออกมาว่าอย่าทำให้ "เสียชื่อเสียง" อย่างไรก็ตาม จากการรับรู้ที่ผ่านมามันก็มีความเคลื่อนไหวอีกด้านนั่นคือ "ฝ่ายสนับสนุน" จะออกมาเช่นเดียวกัน เหมือนกับการเดินทางของเขาปีก่อนเมื่อครั้งที่ไปร่วมประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก
** หากพิจารณากันในภาพรวม ทั้งทางด้านยุทธศาสตร์ภายใน และภายนอกการเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นการวัดกึ๋นอีกรอบ และเป็นครั้งสำคัญ แต่ขณะเดียวกันเท่าที่เห็นภายนอกเขาก็เตรียมการทำการบ้านเตรียมรับมือเอาไว้เต็มที่อยู่เหมือนกัน เพราะถ้าเขาสอบผ่าน เขาก็สามารถ "กลบรัศมี" ของฝ่าย ทักษิณ ชินวัตร ที่พยายามออกแรงอย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาในช่วงหลังเริ่มถดถอยลงไม่น้อย !!
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์โลก ยุทธศาสตร์โลกที่ผันแปรไปอย่างรวดเร็ว จนปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นสาเหตสำคัญที่ผลักดันให้สหรัฐฯต้องกำหนดวาระการประชุมในครั้งนี้
นั่นเป็นเรื่องยุทธศาสตร์โลก ยุทธศาสตร์ภูมิภาค ที่ถูกกำหนดขึ้นมา แต่สำหรับวาระระหว่างประเทศ ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ก็คงต้องมีการพูดคุยหารือกันทั้งทางตรงและทางอ้อมแน่นอน ขณะเดียวกัน ก็ต้องมองออกว่าการเดินทางไปสหรัฐฯ เที่ยวนี้ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ย่อมต้องเจอกับคำถาม และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเชื่อว่าตัวเขาก็รู้ดี และมีการเตรียมการเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว รวมไปถึงการส่งสัญญานเอาไว้ก่อน เพื่อเตรียมรับกับคำถามที่พรั่งพรูเข้ามาอย่างแน่นอน
และที่ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่า คราวนี้จะเป็นการ "วัดกึ๋น" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้นำประเทศว่ามีแค่ไหน เมื่อต้องเผชิญกับภาวะกดดันภายนอก และแน่นอนว่าสารพัดคำถามที่เขาต้องเจอก็คงต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโรดแมปของ คสช. ว่าจะยืนยันแบบเดิมหรือไม่ หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ หรือการเลือกตั้งจะเกิดวันไหน เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
**แต่ที่ต้องจับตามองมากไม่แพ้กันก็คือ เชื่อว่าในการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มอาเซียน-สหรัฐฯคราวนี้จะต้องมีการทราบท่าทีชัดเจนว่า ไทยจะเข้าร่วมกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) ที่สหรัฐฯ กำลังริเริ่มเพื่อปิดล้อมจีนหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาสหรัฐฯก็สามารถดึง 11 ประเทศ ให้เข้าร่วมไปแล้ว คือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และ เวียดนาม และหากพิจารณาตามจุดยุทธศาสตร์ทางสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยเข้าร่วม
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐบาลและคสช. ก็ได้มีการเตรียมการเพื่อรับมือเอาไว้พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศย้ำว่า ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการลงประชามติหรือไม่ แต่การเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นตามกำหนดเดิมในปี 2560 หรือในเรื่องการออกมาตรการการปราบปรามควบคุมที่เข้มงวดสำหรับการทำประมงผิดกฎหมายที่เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับสินค้าส่งออกด้านอาหารทะเล ซึ่งเรื่องดังกล่าวเชื่อว่าจะเป็นคำถามมากมายที่จะพุ่งเข้าใส่ตัวเขา
ดังนั้น ถ้าจะกล่าวถึงก็ต้องย้ำว่า สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา การเดินทางไปสหรัฐฯ เที่ยวนี้ซึ่งหากพิจารณาจากเส้นทางข้างหน้าที่น่าจะใกล้จะนับถอยหลังในตำแหน่งนายกฯ และผู้นำคสช. ก็อาจพูดแบบนั้นได้ แต่ขณะเดียวกันนี่ก็ถือว่าเป็น "วาระแห่งชาติ" ครั้งสำคัญว่าเขาจะ"ผ่าน"หรือไม่ เพราะถ้าพิจารณาในมุมการเมือง ก็ต้องบอกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่าง ทักษิณ ชินวัตร พวกเขาก็เคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นเช่นเดียวกัน
** มีการเคลื่อนไหวกดดันทั้งภายใน และภายนอกแบบสอดคล้องกัน ภายในเราก็ได้เห็น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร "ร่างทรง" ของพี่ชาย ได้เปิดบ้านเชิญสื่อต่างประเทศชุดใหญ่ เข้าไปสัมภาษณ์ได้อย่างถูกที่ถูกเวลา ในช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางไปสหรัฐฯ พอดี แน่นอนว่า การพูดแต่ละเรื่องของเธอล้วนมีบทกลั่นกรองกันมาล่วงหน้า ทั้งในเรื่องของผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง การถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ทุกอย่างล้วนเข้าเงื่อนไขที่สหรัฐฯ กดดันไทยมาตลอด ขณะที่ ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าใหญ่ ก็โผล่หน้าออกมาส่งสัญญาณให้บรรดาลูกน้องออกมาต่อต้านกันอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ การให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ขณะเดียวกัน ในสหรัฐฯ ก็คงมีความพยายามเคลื่อนไหวจากมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามก่อกวนประเภทที่ว่าต้องการ "ประจาน" ให้ได้อับอายว่าผู้นำเผด็จการของไทยถูกชาวบ้านต่อต้านปฏิเสธ ซึ่งรับรู้จากเสียงเตือนจากฝ่ายรัฐบาลที่ออกมาว่าอย่าทำให้ "เสียชื่อเสียง" อย่างไรก็ตาม จากการรับรู้ที่ผ่านมามันก็มีความเคลื่อนไหวอีกด้านนั่นคือ "ฝ่ายสนับสนุน" จะออกมาเช่นเดียวกัน เหมือนกับการเดินทางของเขาปีก่อนเมื่อครั้งที่ไปร่วมประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก
** หากพิจารณากันในภาพรวม ทั้งทางด้านยุทธศาสตร์ภายใน และภายนอกการเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นการวัดกึ๋นอีกรอบ และเป็นครั้งสำคัญ แต่ขณะเดียวกันเท่าที่เห็นภายนอกเขาก็เตรียมการทำการบ้านเตรียมรับมือเอาไว้เต็มที่อยู่เหมือนกัน เพราะถ้าเขาสอบผ่าน เขาก็สามารถ "กลบรัศมี" ของฝ่าย ทักษิณ ชินวัตร ที่พยายามออกแรงอย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาในช่วงหลังเริ่มถดถอยลงไม่น้อย !!