ผู้จัดการรายวัน360- "วิษณุ"เตรียมถกปมประชามติวันนี้ แย้มถ้ารธน.ตกแบบแพ้น้อย อาจหยิบบางฉบับมาปรับแก้แล้วใช้เลย เผยหน.คสช.คนตัดสินใจใช้รธน.ฉบับไหน หากประชามติไม่ผ่าน พร้อมระบุโอกาสเป็นไปได้หยิบรธน.ฉบับ"มีชัย" ปรับแก้ประกาศใช้ “อานันท์”เชื่อ ร่าง รธน.ยังต้องปรับอีกเพียบ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.ได้สอบถามถึงงบประมาณในการจัดทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสำนักงบประมาณเป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากในวันที่ 18 ก.พ. รัฐบาลจะเสนอ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมประจำปี 2559 ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท โดยการทำประชามติ จะใช้งบอยู่ที่ประมาณ 3 พันล้านบาท
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวจะมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันนี้ (10 ก.พ.) เวลา 15.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ขณะเดียวกัน จะหารือเกี่ยวกับงบประมาณที่จะใช้ในการพิมพ์เอกสารแจกประชาชนให้ได้ 80% ของจำนวนครัวเรือน จากนั้น จึงจะกำหนดวันลงประชามติได้ แต่ที่แน่ๆ วันลงประชามติ จะต้องเป็นวันหยุดราชการ
เมื่อถามว่า ในการประชุมเรื่องประชามติ จะหารือถึงกรณีหากประชามติไม่ผ่านด้วยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คงไม่ เพราะไม่ใช่สิ่งที่จะต้องหารือในเวทีดังกล่าว และนายกฯ ยืนยันว่าปี 2560 ต้องมีการเลือกตั้งจนได้
เมื่อถามต่อว่า มีความเป็นไปได้ที่จะแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวมากกว่า 1 ครั้ง ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นไปได้ ข้อเสนอที่จะให้เอารัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้มาใช้ จะเอาฉบับไหนมา ก็ต้องดูผลประชามติด้วยเช่นกัน และถ้าสมมุติใช้วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทีหลังรู้ผลประชามติ จะต้องใช้เวลา 1 เดือน ว่าจะเอาอย่างไร คราวนี้เอาอย่างไรก็อย่างนั้น”
ต่อข้อถามว่า หากใช้วิธีหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับแก้ ต้องทำประชามติอีกหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ถ้าหยิบรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาแก้ ก็ไม่ต้องทำประชามติอีก ประกาศใช้เลย
** ควบรวมกม.ลูก ร่นเวลาโรดแมป
ทั้งนี้ จุดเดียวที่จะทำให้โรดแมปเร็วขึ้นคือ การร่นเวลาการทำกฎหมายลูก ซึ่งดูไปดูมาการทำกฎหมายลูกอาจจะ 3 ฉบับ ก็พอ ซึ่งตอนนี้เป็นความคิดที่จะเสนอไปยัง กรธ. แต่ยังไม่ได้เขียน โดยตัวเลขนี้เป็นเพียงการสมมุติ ถ้าเรานึกถึงกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. กฎหมายที่มา ส.ว. กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) จะมี 4 ฉบับ อีก 6 ฉบับ ประกาศเลือกตั้งแล้วก็ทำได้ ตอนนี้ตนคิดเองว่ามี 4 ฉบับ แต่หากเอากฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. และกฎหมายที่มา ส.ว. ไปรวมเป็นฉบับเดียวกัน จะเหลือแค่ 3 ฉบับ แต่หากเอากฎหมาย กกต. ไปรวมกับกฎหมายพรรคการเมือง จะเหลือแค่ 2 ฉบับ แต่ถ้าเอาทั้งหมดยำรวมกันเป็นฉบับเดียว จะเหลือ 1 ฉบับ
*** แย้มปรับแก้รธน.ฉบับ"มีชัย"
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 18.00 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ตอบคำถามผู้สื่อข่าวอีกครั้งถึงกรณีที่ที่ระบุว่า หากประชามติไม่ผ่าน ถ้าจะเอาฉบับไหนมา ต้องรอดูคะแนนประชามติ หากคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสูงกว่ารับร่างไม่ได้มาก แสดงว่ามีคนเห็นส่วนดีของมัน และจะเป็นตัวชี้วัดอยู่เหมือนกัน แสดงว่าโอกาสที่จะหยิบร่างรัฐธรรมนูญฉบับกรธ.มาแก้ไขประกาศใช้ใช่หรือไม่ว่า สามารถชวนให้คิดได้หลายแบบ เพียงแค่ไม่สามารถไปกำหนดอะไรก่อนได้ เพราะถ้ากำหนดไปก่อนไปเปลี่ยนอะไรไม่ได้ สมมุติคะแนนต่างกัน 1 ล้านก็ถือว่าน้อยแล้ว เมื่อเทียบกับคะแนนทั้งหมด ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า แสดงว่าโอกาสความเป็นไปได้ในการหยิบร่างรัฐธรรมนูญฉบับกรธ. มาปรับแก้แล้วประกาศใช้ รองนายกฯ กล่าวว่า อาจเป็นอย่างนั้นก็ได้ ถ้าจะเอาเร็วเข้าว่า ก็ต้องเป็นอย่างนั้น โดยไม่ต้องทำประชามติอีก
เมื่อถามว่า หากใช้วิธีการดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่ลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่พอใจหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เมื่อของเก่าไม่ผ่านก็คือไม่ผ่าน ถือว่าจบแล้ว ก็นำอามาปรับปรุงแก้ไข ส่วนจะปรับปรุงอย่างไรนั้น อีกเรื่องหนึ่ง "แต่ผมไม่ได้พูดว่า จะเอาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 59 ขึ้นมาปรับปรุงนะ เพราะวิธีตีความการออกเสียงประชามติมันมีวิธีของมัน ว่านั้นเป็นการแสดงว่าอะไร อย่างน้อยรับหรือไม่รับ ดูได้จากที่พูดๆกันในขณะนี้
สื่อข่าวถามว่า สุดท้ายแล้วใครจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าหากประชามติไม่ผ่านจะยกรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับใช้ นายวิษณุ กล่าวว่า หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเป็นผู้ตัดสินใจ
**“อานันท์”ชี้ร่าง รธน.ต้องปรับเพียบ
ที่สมาคมนักเรียนเก่าอำนวยศิลป์ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงร่างรับธรรมนูญร่างแรกของคณะกรรมการร่างรับธรรมนูญ (กรธ.) ว่า ได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญคร่าวๆแล้ว แต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด เชื่อว่าร่างฉบับนี้คงต้องมีการปรับปรุงอย่างมาก ส่วนกระแสวิพากวิจารณ์ที่มีอยู่ในหลากหลายประเด็น ทั้งการใช้บัตรเดียวเบอร์เดียวในการเลือกตั้ง และที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่เปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอก ส่วนตัวเห็นว่า ทุกประเทศก็เปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอก แต่ในประเทศไทยที่เปิดช่องให้มีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในสภาก็ถือว่ามีนายกรัฐมนตรีทางอ้อมแล้ว
** กกต.ขออำนาจสั่งขรก.ออกนอกพื้นที่
นายธนิศร์ ศรีประเทศ ผู้ทรงวุฒิ สำนักงานกกต. แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกกต. มีมติให้เสนอความเห็น และข้อเสนอแนะของกกต.เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต่อ กรธ. โดยมีประเด็นหลักๆ คือ
1. บทบัญญัติตามมาตรา 99 ที่มีการกำหนดว่าหากมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ ควรเพิ่มข้อความว่า ให้ใช้หลักเกณฑ์ วิธีการ เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ด้วย 2. ขอให้เพิ่มอำนาจ กกต.ในการควบคุมสั่งการข้าราชการ ในกรณีที่ข้าราชการได้กระทำการทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต 3.ขอให้บัญญัติข้อความกรณีการวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจของ กกต.
4. ขอให้กรรมการร่างฯ เพิ่มข้อความใน มาตรา 80 เพื่อเปิดช่องให้มีการเลือกตั้งรูปแบบอื่นในอนาคตด้วย 5. การจัดการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง ควรกำหนดระยะเวลาว่าสภาจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 180 วัน จึงให้มีการจัดเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง6. ขอให้ กกต.มีอำนาจในการสั่งเลือกตั้งใหม่ และสั่งระงับสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง
**ห่วงม.173 สุ่มเสี่ยงเสียดินแดน
เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ นำโดย พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ยื่นข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตชาติ ต่อนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สปท. และนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษก กรธ. โดยเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีปัญหาอยู่หลายประเด็นหลักๆ เช่น
1. สิทธิในการฟ้องหน่วยงานรัฐทำได้ยากมาก 2. รัฐวิสาหกิจ ไม่ปรากฏข้อบัญญัติให้รัฐต้องถือหุ้นมากกว่า 51% ต่างจากรัฐธรรมนูญปี 50 จะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียรัฐวิสาหกิจไปอยู่ในมือเอกชน
3. การบัญญัติ มาตรา 173 ให้พันธสัญญาระหว่างประเทศ ที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หากไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ จะทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.ได้สอบถามถึงงบประมาณในการจัดทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสำนักงบประมาณเป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากในวันที่ 18 ก.พ. รัฐบาลจะเสนอ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมประจำปี 2559 ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท โดยการทำประชามติ จะใช้งบอยู่ที่ประมาณ 3 พันล้านบาท
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวจะมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันนี้ (10 ก.พ.) เวลา 15.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ขณะเดียวกัน จะหารือเกี่ยวกับงบประมาณที่จะใช้ในการพิมพ์เอกสารแจกประชาชนให้ได้ 80% ของจำนวนครัวเรือน จากนั้น จึงจะกำหนดวันลงประชามติได้ แต่ที่แน่ๆ วันลงประชามติ จะต้องเป็นวันหยุดราชการ
เมื่อถามว่า ในการประชุมเรื่องประชามติ จะหารือถึงกรณีหากประชามติไม่ผ่านด้วยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คงไม่ เพราะไม่ใช่สิ่งที่จะต้องหารือในเวทีดังกล่าว และนายกฯ ยืนยันว่าปี 2560 ต้องมีการเลือกตั้งจนได้
เมื่อถามต่อว่า มีความเป็นไปได้ที่จะแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวมากกว่า 1 ครั้ง ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นไปได้ ข้อเสนอที่จะให้เอารัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้มาใช้ จะเอาฉบับไหนมา ก็ต้องดูผลประชามติด้วยเช่นกัน และถ้าสมมุติใช้วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทีหลังรู้ผลประชามติ จะต้องใช้เวลา 1 เดือน ว่าจะเอาอย่างไร คราวนี้เอาอย่างไรก็อย่างนั้น”
ต่อข้อถามว่า หากใช้วิธีหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับแก้ ต้องทำประชามติอีกหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ถ้าหยิบรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาแก้ ก็ไม่ต้องทำประชามติอีก ประกาศใช้เลย
** ควบรวมกม.ลูก ร่นเวลาโรดแมป
ทั้งนี้ จุดเดียวที่จะทำให้โรดแมปเร็วขึ้นคือ การร่นเวลาการทำกฎหมายลูก ซึ่งดูไปดูมาการทำกฎหมายลูกอาจจะ 3 ฉบับ ก็พอ ซึ่งตอนนี้เป็นความคิดที่จะเสนอไปยัง กรธ. แต่ยังไม่ได้เขียน โดยตัวเลขนี้เป็นเพียงการสมมุติ ถ้าเรานึกถึงกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. กฎหมายที่มา ส.ว. กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) จะมี 4 ฉบับ อีก 6 ฉบับ ประกาศเลือกตั้งแล้วก็ทำได้ ตอนนี้ตนคิดเองว่ามี 4 ฉบับ แต่หากเอากฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. และกฎหมายที่มา ส.ว. ไปรวมเป็นฉบับเดียวกัน จะเหลือแค่ 3 ฉบับ แต่หากเอากฎหมาย กกต. ไปรวมกับกฎหมายพรรคการเมือง จะเหลือแค่ 2 ฉบับ แต่ถ้าเอาทั้งหมดยำรวมกันเป็นฉบับเดียว จะเหลือ 1 ฉบับ
*** แย้มปรับแก้รธน.ฉบับ"มีชัย"
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 18.00 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ตอบคำถามผู้สื่อข่าวอีกครั้งถึงกรณีที่ที่ระบุว่า หากประชามติไม่ผ่าน ถ้าจะเอาฉบับไหนมา ต้องรอดูคะแนนประชามติ หากคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสูงกว่ารับร่างไม่ได้มาก แสดงว่ามีคนเห็นส่วนดีของมัน และจะเป็นตัวชี้วัดอยู่เหมือนกัน แสดงว่าโอกาสที่จะหยิบร่างรัฐธรรมนูญฉบับกรธ.มาแก้ไขประกาศใช้ใช่หรือไม่ว่า สามารถชวนให้คิดได้หลายแบบ เพียงแค่ไม่สามารถไปกำหนดอะไรก่อนได้ เพราะถ้ากำหนดไปก่อนไปเปลี่ยนอะไรไม่ได้ สมมุติคะแนนต่างกัน 1 ล้านก็ถือว่าน้อยแล้ว เมื่อเทียบกับคะแนนทั้งหมด ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า แสดงว่าโอกาสความเป็นไปได้ในการหยิบร่างรัฐธรรมนูญฉบับกรธ. มาปรับแก้แล้วประกาศใช้ รองนายกฯ กล่าวว่า อาจเป็นอย่างนั้นก็ได้ ถ้าจะเอาเร็วเข้าว่า ก็ต้องเป็นอย่างนั้น โดยไม่ต้องทำประชามติอีก
เมื่อถามว่า หากใช้วิธีการดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่ลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่พอใจหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เมื่อของเก่าไม่ผ่านก็คือไม่ผ่าน ถือว่าจบแล้ว ก็นำอามาปรับปรุงแก้ไข ส่วนจะปรับปรุงอย่างไรนั้น อีกเรื่องหนึ่ง "แต่ผมไม่ได้พูดว่า จะเอาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 59 ขึ้นมาปรับปรุงนะ เพราะวิธีตีความการออกเสียงประชามติมันมีวิธีของมัน ว่านั้นเป็นการแสดงว่าอะไร อย่างน้อยรับหรือไม่รับ ดูได้จากที่พูดๆกันในขณะนี้
สื่อข่าวถามว่า สุดท้ายแล้วใครจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าหากประชามติไม่ผ่านจะยกรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับใช้ นายวิษณุ กล่าวว่า หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเป็นผู้ตัดสินใจ
**“อานันท์”ชี้ร่าง รธน.ต้องปรับเพียบ
ที่สมาคมนักเรียนเก่าอำนวยศิลป์ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงร่างรับธรรมนูญร่างแรกของคณะกรรมการร่างรับธรรมนูญ (กรธ.) ว่า ได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญคร่าวๆแล้ว แต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด เชื่อว่าร่างฉบับนี้คงต้องมีการปรับปรุงอย่างมาก ส่วนกระแสวิพากวิจารณ์ที่มีอยู่ในหลากหลายประเด็น ทั้งการใช้บัตรเดียวเบอร์เดียวในการเลือกตั้ง และที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่เปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอก ส่วนตัวเห็นว่า ทุกประเทศก็เปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอก แต่ในประเทศไทยที่เปิดช่องให้มีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในสภาก็ถือว่ามีนายกรัฐมนตรีทางอ้อมแล้ว
** กกต.ขออำนาจสั่งขรก.ออกนอกพื้นที่
นายธนิศร์ ศรีประเทศ ผู้ทรงวุฒิ สำนักงานกกต. แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกกต. มีมติให้เสนอความเห็น และข้อเสนอแนะของกกต.เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต่อ กรธ. โดยมีประเด็นหลักๆ คือ
1. บทบัญญัติตามมาตรา 99 ที่มีการกำหนดว่าหากมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ ควรเพิ่มข้อความว่า ให้ใช้หลักเกณฑ์ วิธีการ เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ด้วย 2. ขอให้เพิ่มอำนาจ กกต.ในการควบคุมสั่งการข้าราชการ ในกรณีที่ข้าราชการได้กระทำการทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต 3.ขอให้บัญญัติข้อความกรณีการวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจของ กกต.
4. ขอให้กรรมการร่างฯ เพิ่มข้อความใน มาตรา 80 เพื่อเปิดช่องให้มีการเลือกตั้งรูปแบบอื่นในอนาคตด้วย 5. การจัดการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง ควรกำหนดระยะเวลาว่าสภาจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 180 วัน จึงให้มีการจัดเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง6. ขอให้ กกต.มีอำนาจในการสั่งเลือกตั้งใหม่ และสั่งระงับสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง
**ห่วงม.173 สุ่มเสี่ยงเสียดินแดน
เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ นำโดย พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ยื่นข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตชาติ ต่อนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สปท. และนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษก กรธ. โดยเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีปัญหาอยู่หลายประเด็นหลักๆ เช่น
1. สิทธิในการฟ้องหน่วยงานรัฐทำได้ยากมาก 2. รัฐวิสาหกิจ ไม่ปรากฏข้อบัญญัติให้รัฐต้องถือหุ้นมากกว่า 51% ต่างจากรัฐธรรมนูญปี 50 จะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียรัฐวิสาหกิจไปอยู่ในมือเอกชน
3. การบัญญัติ มาตรา 173 ให้พันธสัญญาระหว่างประเทศ ที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หากไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ จะทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน