วานนี้ (8ก.พ.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย พร้อมกลุ่มประชาชน เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยกรณีบทบัญญัติแห่งกฎหมายมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบธรรมด้วยรัฐธรรมนูญ จากกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคสช. ออกคำสั่งคสช.ที่ 3 /2559 เรื่องการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ คำสั่ง คสช.ที่ 4/2559 เรื่องยกเว้นการบังคับใช้กฎกระทรวงให้ใช้บังคบผังเมืองรวม สำหรับการประกอบกิจการบางประเภท โดยอาศัยความตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว มาตรา 44
ทั้งนี้ ทางกลุ่มเห็นว่าคำสั่ง คสช.ทั้ง 2 ฉบับ ไม่เป็นไปตามเหตุผล และเจตนารมณ์ของ มาตรา 44 เพราะปรากฏว่ามีการสร้างความเดือดร้อน และทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ และไม่เห็นเหตุแห่งความจำเป็นตามที่ มาตรา 44 บัญญัติไว้ และเห็นว่าระบบกฎหมายของไทย ได้วางระเบียบขั้นตอน วิธีการที่เหมาะสม เพื่อปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีโอกาสในการมีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะ แต่การออกคำสั่งดังกล่าว กลับทำให้ทำให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่เดือดร้อน อาทิ พื้นที่ ต.เชียงรากใหญ่ จ.ปทุมธานี ที่เดือดร้อนจากกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เป็นต้น ดังนั้นการที่หัวหน้า คสช.ให้อำนาจออกคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการใช้อำนาจเกิน เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการเอกชนโดยมองข้ามเจตนารมของกฎหมายหรือไม่
นอกจากนี้ การออกคำสั่งดังกล่าว ยังพบว่ามีการบิดเบือนข้อมูล ข้อเท็จจริง โดยอ้างว่าประเทศไทยประสบปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน พบว่าในปี 2558 ภาพรวมการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย อยู่ที่ 27,345 เมกะวัตต์ แต่ภาพรวมกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 36,171 เมกะวัตต์ ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอ จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน นำคำร้องนี้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่า การที่หัวหน้าคสช. ออกคำสั่งที่ 3/2559 และ 4/2559 นั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 หรือไม่ และการออกคำสั่งดังกล่าวนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ทั้งนี้ ทางกลุ่มเห็นว่าคำสั่ง คสช.ทั้ง 2 ฉบับ ไม่เป็นไปตามเหตุผล และเจตนารมณ์ของ มาตรา 44 เพราะปรากฏว่ามีการสร้างความเดือดร้อน และทำลายความสมานฉันท์ของคนในชาติ และไม่เห็นเหตุแห่งความจำเป็นตามที่ มาตรา 44 บัญญัติไว้ และเห็นว่าระบบกฎหมายของไทย ได้วางระเบียบขั้นตอน วิธีการที่เหมาะสม เพื่อปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีโอกาสในการมีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะ แต่การออกคำสั่งดังกล่าว กลับทำให้ทำให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่เดือดร้อน อาทิ พื้นที่ ต.เชียงรากใหญ่ จ.ปทุมธานี ที่เดือดร้อนจากกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เป็นต้น ดังนั้นการที่หัวหน้า คสช.ให้อำนาจออกคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการใช้อำนาจเกิน เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการเอกชนโดยมองข้ามเจตนารมของกฎหมายหรือไม่
นอกจากนี้ การออกคำสั่งดังกล่าว ยังพบว่ามีการบิดเบือนข้อมูล ข้อเท็จจริง โดยอ้างว่าประเทศไทยประสบปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน พบว่าในปี 2558 ภาพรวมการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย อยู่ที่ 27,345 เมกะวัตต์ แต่ภาพรวมกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 36,171 เมกะวัตต์ ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอ จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน นำคำร้องนี้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่า การที่หัวหน้าคสช. ออกคำสั่งที่ 3/2559 และ 4/2559 นั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 หรือไม่ และการออกคำสั่งดังกล่าวนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่