ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ประเทศไทยถือว่าโชคดีมากที่ปิโตรเลียมที่ขุดพบได้นั้นมีปริมาณก๊าซธรรมชาติมาก ความโชคดีที่ว่านั้นนอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานที่นอกจากจะนำเป็นพลังงานให้ความร้อนในการหุงต้มแล้ว ยังสามารถนำไปเป็นแหล่งพลังงานสำหรับภาคขนส่งได้อีกด้วย อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตลอดจนนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล
ประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยจำนวนมากโดยเฉพาะในอ่าวไทย จากข้อมูลของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบปริมาณการจัดหาระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2558 มาจากโรงแยกก๊าซในประเทศไทยเองผลิตเป็นก๊าซ LPG ได้ประมาณ 51% (2.64 ล้านตัน) แถมโรงกลั่นน้ำมันไทยเมื่อกลั่นน้ำมันดิบแล้วยังสามารถผลิตก๊าซ LPG ได้อีกประมาณ 27% (1.43 ล้านตัน)
และนั่นหมายถึงว่าประเทศไทยมีแหล่งพลังงานที่เป็นก๊าซ LPG เป็นของตัวเอง และพึ่งพาตัวเองได้มากถึงประมาณ 78% (4.07 ล้านตัน) และต้องจัดหาด้วยการนำเข้าจากต่างประเทศเพียง 22% (1.16 ล้านตัน) เท่านั้น
ขอให้ช่วยจำตัวเลขนี้ให้ขึ้นใจก่อนว่าประเทศไทยมีก๊าซ LPG ผลิตได้จากในประเทศถึง 78% !!!
คำถามที่ตามมาก็คือ การที่เรานำเข้าจากต่างประเทศอีก 22% เพราะประเทศไทยมีก๊าซ LPG ไม่เพียงพอหรือ?
คำตอบที่ได้มีทั้งจริงและไม่จริง เพราะเมื่อพิจารณาปริมาณการใช้แก๊ส LPG ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน พ.ศ. 2558 ก็จะพบว่า
ประเทศไทยใช้แก๊ส LPG เพื่อเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่ม กล่าวคือ มีสัดส่วนเพื่อเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสูงถึง 34% (1.75 ล้านตัน)
รองลงมาอันดับ 2 คือ ใช้ในครัวเรือน 31% (1.56 ล้านตัน)
อันดับที่ 3 คือ เพื่อเป็นพลังงานการขนส่งของภาคยานยนต์ 26% (1.32 ล้านตัน)
และอันดับที่ 4 คือเพื่อให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ 9% (7 แสนตัน)
ดังนั้นปริมาณการใช้ก๊าซ LPG จากภาคครัวเรือน ภาคการขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมรวมกันได้ 66% แต่ประเทศไทยมีก๊าซ LPG ผลิตได้จากในประเทศถึง 78% !!!
แสดงว่า ประเทศไทยมี “ก๊าซ LPG เหลือเกินพอ” ถ้าเพียงแค่บริหารจัดการแยกให้กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศเอง และรับผิดชอบต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าจากต่างประเทศเองทั้งหมดด้วย จริงไหม?
การที่ประเทศไทยมีก๊าซ LPG มากเกินพอที่จะรองรับคนทุกเกือบกลุ่มในประเทศ (ยกเว้นกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) ย่อมแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยอยู่ในวิสัยที่จะกำหนดราคาก๊าซ LPG เป็นของตัวเองให้เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศไทยได้
ดังนั้นอย่าให้ใครเขามาหลอกหรือมาบิดเบือนได้ว่าราคาขายปลีก LPG ประเทศไทย จะต้องนำไปเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาขายปลีกแพงกว่า เพราะคนหล่านั้นมักจะหยิบยกประเทศไม่มี LPG เหมือนกับประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศที่อ้างถึงเหล่านั้นยังต้องนำเข้าก๊าซ LPG จากประเทศไทยเสียด้วยซ้ำ ที่ต้องรวมค่าขนส่ง และการดำเนินการอื่นๆก่อนจะไปขายปลีก ซึ่งย่อมมีราคาขายปลีกสูงกว่าประเทศไทยอยู่แล้ว
แต่การที่เรามีก๊าซ LPG ในประเทศมากขนาดนี้เราควรจะกำหนดราคาอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล
เมื่อธุรกิจก๊าซ LPG ในประเทศไทย เป็นระบบผูกขาด กึ่งผูกขาด หรือธุรกิจไม่กี่กลุ่มซึ่งสามารถชี้นำตลาดได้ จึงไม่ได้มีการแข่งขันราคากันอย่างเสรี ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องมีเกณฑ์กำหนดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวมหัวเอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภคได้ เพราะก๊าซ LPG ถือเป็นแหล่งพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนทุกหมู่เหล่า ด้วยเหตุผลนี้ประเทศไทยจึงมี "คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)" เข้ามาทำหน้าที่ในการกำหนด “สูตรราคาพลังงาน”
แต่สิ่งที่เกิดคำถามมาโดยตลอดก็คือ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนด “สูตรคำนวณราคาพลังงาน” ต่างๆ เหล่านั้นกลับปรากฏบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในคณะกรรมการในธุรกิจพลังงานด้วย
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) แต่ก็เป็นกรรมการ และประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนใน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ด้วย
นายทวารรัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) แต่ก็เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการและกรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการและเลขานุการ บริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน)อยู่ด้วย
นี่คือตัวอย่างข้างต้นถึงข้อสงสัยและคำถามในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งแม้จะข้ออ้างว่าสามารถทำได้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าหากมีคนในคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนมากขึ้นจากกิจการที่ตนเองเป็นกรรมการอยู่เมื่อมีกำไรมากขึ้นแล้ว จะให้ประชาชนเชื่อมั่นในการตัดสินใจในฐานะเป็นคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีความสำคัญในการกำหนดสูตรคำนวณราคาพลังงาน ได้อย่างไร?
ด้วยเหตุผลที่ธุรกิจก๊าซ LPG ในประเทศไทยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีลักษณะผูกขาด กึ่งผูกขาด และชี้นำตลาดได้ ดังนั้นเมื่อผนวกกับการที่ต้องมี “สูตรคำนวณราคาพลังงาน” >และ “สูตรคำนวณราคาพลังงาน” ที่ว่านั้นก็มาจากคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่ถูกตั้งคำถามว่ามีบุคคลที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนร่วมด้วยหรือไม่? ดังนั้นประชาชนจึงจำเป็นจะต้องตรวจสอบอ้างอิงราคาตลาดโลกว่าประเทศไทยได้กำหนดสูตรราคาพลังงานเอาเปรียบประชาชนไปหรือไม่?
และการอ้างอิงที่น่าจะยอมรับได้ในฐานะราคาตลาดโลก ก็คือ ราคา CP (Contract Price) ซึ่งก็คือราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ประเทศซาอุดีอาระเบียในเดือนนั้นๆ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)ของไทยก็ให้การยอมรับในการอ้างอิงด้วย จึงต้องยึดถือว่าราคาอ้างอิงนี้ก็คือการเทียบเคียงตลาดโลกที่คนไทยควรจะนำมาใช้อ้างอิงได้
ราคาตลาดโลก CP ประเทศซาอุดิอาระเบีย ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 พบว่าราคาก๊าซ LPG อยู่ที่ 297 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ 35.7994 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือ ราคา LPG ตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 10.63 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น
ขอย้ำว่าราคา LPG ตลาดโลก ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อยู่ที่ 10.63 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น !!!
ทั้งนี้การจัดหาก๊าซ LPG ของประเทศไทยมาจาก 4 แหล่งสำคัญ คือ มาจากโรงแยกก๊าซถึง 51.7% มาจากโรงกลั่นน้ำมันไทย 27.4% นำเข้าจากต่างประเทศอีก 20.9% และมาจาก ปตท.สผ.อีกเล็กน้อย กลุ่มธุรกิจพลังงานเหล่านั้นจะขายส่งเข้าคลังก๊าซเพื่อทำการคิดราคาจากทุกแหล่งที่แตกต่างกันแล้วมาถ่วงน้ำหนักหาค่าเฉลี่ยเป็นราคาจัดหา LPG
ดังนั้นราคาจัดหา LPG จะเป็นเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับราคาและน้ำหนักของที่มาในการจัดหา ซึ่งความจริงแล้วน้ำหนักจากโรงแยกก๊าซ และโรงกลั่นน้ำมันมีน้ำหนักรวมกันมากที่สุด ซึ่งสามารถบริหารจัดการได้ในประเทศไทยเอง
ซึ่งราคาจัดหาก๊าซ LPG เฉลี่ยจากทุกแหล่งที่ประกาศโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อยู่ที่ 13.7306 บาท ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า มีราคาสูงกว่าตลาดโลกได้อย่างไร?
คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติกำหนดราคาขาย LPG เดือนมกราคม 2559 ของ โรงแยกก๊าซซึ่งผลิต LPG ถึง 51% ได้เงินประมาณ 436 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็นเงินประมาณ 15.60 บาทต่อกิโลกรัม ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 มีประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ฉบับที่ 5 พ.ศ.2559 โดยกำหนดให้โรงแยกก๊าซได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมัน ในส่วนบัญชีที่เก็บจากผู้ใช้ LPG กิโลกรัมละ 1.7236 บาทต่อกิโลกรัม
มติดังกล่าวข้างต้นมีหมายความว่าคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)ใช้เงินกองทุนน้ำมันในส่วนผู้ใช้ LPG ที่มีอยู่ประมาณ 7,287 ล้านบาท(ข้อมูล ณ 24 มกราคม 2559) ไปชดเชยรายได้หรืออุดหนุนให้ LPG ที่ขายจากโรงแยกก๊าซจากราคาจัดหาเฉลี่ยในประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่กำหนดไว้เพียงกิโลกรัมละ 13.7306 บาท (ซึ่งก็สูงกว่าราคาตลาดโลกอยู่แล้ว) ให้เพิ่มขึ้นไปอีก กิโลกรัมละ 1.7236 บาท
ผลของการชดเชยเช่นนี้ จึงทำให้โรงแยกก๊าซยังคงได้รับราคาขายสูงถึง 15.45 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าตลาดโลกที่ราคา 10.63 บาทต่อกิโลกรัม ถึง 4.82 บาทต่อกิโลกรัม!!!
ในส่วนของก๊าซ LPG จาก “โรงกลั่นน้ำมัน” นั้น คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เคยกำหนดราคาขาย ณ หน้าโรงกลั่น ในราคาสูตรไม่เกิน CP-20 หรือราคาตลาดโลก แล้วลดลงไปอีก 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (ซึ่งที่ผ่านมาโรงกลั่นก็ยังคงมีกำไร) แต่หากคิดไปตามสูตรนี้แล้ว ราคา LPG ตลาดโลกเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงเหลือที่ 297 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อลดไปอีก 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ตามสูตรราคา CP-20 ก็ควรจะเหลือเพียง 277 เหรียญสหรัฐต่อตัน คิดเป็นเงินไทยได้ประมาณ 9.91 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น
แทนที่ราคาก๊าซ LPG ที่โรงกลั่นน้ำมันจะเหลือเพียง 9.91 บาทต่อกิโลกรัมตามสูตรดังกล่าวข้างต้น แต่เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) กลับได้มีมติ กำหนดราคาขาย ณ โรงกลั่นน้ำมัน ที่ราคา 15.706 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยจัดหาในประเทศ ที่กำหนดไว้ที่ 13.7306 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นจึงต้องกำหนดให้โรงกลั่นน้ำมัน ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ในส่วนบัญชีผู้ใช้ LPG กิโลกรัมละ 3.6683 บาท เมื่อหักลบกันแล้วทำให้โรงกลั่นมีราคาขายหรือรายได้สุทธิ์ 12.03 บาทต่อกิโลกรัม
นั่นหมายถึงเมื่อหักเงินเข้ากองทุนแล้วโรงกลั่นน้ำมันก็จะเหลือเงินประมาณ 12.03 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดโลกที่ราคา 10.63 บาทต่อกิโลกรัม ถึง 1.4 บาทต่อกิโลกรัม แต่หนักยิ่งไปกว่านั้นคือโรงกลั่นไม่ต้องลดตามสูตรเดิมให้เหลือเพียง 9.91 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้โรงกลั่นน้ำมันได้ราคาเพิ่มขึ้นจากสูตรเดิม (CP-20) ถึง 2.12 บาทต่อกิโลกรัมอีกด้วย
ความหมายจากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) เหล่านี้ก็คือประชาชนเองจะต้องแบกรับในสัดส่วนราคาของโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่สูตรคำนวณราคาแบบเดิมโรงกลั่นน้ำมันก็ไม่ได้เกินราคาตลาดโลกด้วยซ้ำไป
สำหรับการนำเข้าก๊าซเพื่อมาผลิตเป็นก๊าซ LPG ในรูปของ ปิโตรเลียมเหลว ก๊าซโปรเปน และก๊าซบิวเทนนั้น ปตท.ผูกขาดการนำเข้าแต่เพียงรายเดียว ซึ่งจะนำเข้าในราคาเท่าใดก็ได้ แต่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ประกาศให้ใช้ราคาสูตร CP + 85 เพื่อให้ ปตท. ขายเข้าคลังก๊าซ หมายถึงราคาตลาดโลกแล้วบวกเพิ่มไปอีก 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ดังนั้นราคาตลาดโลกที่ 297 ดอลลาร์ต่อตัน เมื่อบวกไปอีก 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จึงเท่ากับ 382 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็น 13.675 บาทต่อกิโลกรัม ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้กำหนดราคาสำหรับ LPG ที่นำเข้า ที่ 13.7306 บาทต่อกิโลกรัม โดยประกาศให้ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันในส่วนของผู้ใช้ก๊าซ LPG กิโลกรัมละ 0.1460 บาท หรือบวกเพิ่มไปอีกเป็น 13.8766 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งก็สูงเกินกว่าตลาดโลกด้วยการให้ ปตท. ผูกขาดรายเดียวอีกเช่นกัน
และภายใต้สารพัดสูตรตามที่กล่าวมาข้างต้นราคาเฉลี่ยรวมในการจัดหาจึงเริ่มต้นอยู่ที่ 13.73 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งก็ยังแพงกว่าราคาตลาดโลกซึ่งอยู่ที่ 10.63 บาทถึง 3.10 บาทหรือแพงกว่าตลาดโลกถึงประมาณ 29.162%!!!
ราคาจัดหาที่เริ่มต้นที่ 13.73 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อรวมกับภาษีสรรพสามิตอีก 2.17 บาทต่อกิโลกรัม ภาษีเทศบาลอีก 0.217 บาทต่อกิโลกรัม และได้รับชดเชยจากกองทุนน้ำมันสุทธิ 41 สตางค์ต่อกิโลกรัม ค่าการตลาดอีก 3.2566 และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 1.3275 บาทต่อกิโลกรัม จึงส่งผลทำให้ราคาขายปลีกกลายเป็น 20.29 บาทต่อกิโลกรัม
ซึ่งเจ้าของโรงแยกก๊าซที่ผูกขาด LPG ทั้งหมดและได้ราคาสูงกว่าตลาดโลกก็คือ ปตท. แต่เพียงผู้เดียว โรงกลั่นที่ได้สูตรราคาขาย LPG ใหม่ที่มากกว่าสูตรเดิมส่วนใหญ่ก็มี ปตท.ก็ไปถือหุ้นอยู่ด้วย และการนำเข้าก๊าซ LPG ทั้งหมดก็ถูกผูกขาดโดย ปตท.แต่เพียงผู้เดียว ประเด็นนี้จึงย่อมเกิดคำถามถึงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนที่คนที่นั่งเป็นกรรมการนโยบายพลังงงาน (กบง.) บางคนไปนั่งเป็นกรรมการและรับผลประโยชน์จาก ปตท. ด้วยนั้น เหมาะสมและมีความชอบธรรมแล้วหรือไม่?
ประเทศไทยโชคดีมากที่มีก๊าซ LPG อย่างมหาศาลซึ่งเกินพอที่จะใช้ได้เกือบทุกกลุ่มในประเทศนี้ (ยกเว้นกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี)
แต่ก็โชคร้ายที่ยังไม่ได้มีโอกาสใช้ในราคาตลาดโลกในภาวะที่ราคาตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง !!!
กองทุนน้ำมันในส่วนที่แยกเก็บจากผู้ใช้ LPG ภาคครัวเรือน ยานยนต์ อุตสาหกรรม (ยกเว้นกลุ่มปิโตรเคมีที่ มติ กบง. ได้ประกาศยกเลิกไม่ให้มีการจัดเก็บไปเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา) โดยเงินกองทุนดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อชดเชยการนำเข้าและรักษาเสถียรภาพราคาในช่วงเวลาที่ราคาตลาดโลกผันผวนในทางสูงขึ้นอย่างผิดปกติและรุนแรง
แต่เมื่อทบทวนจาก มติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)พบว่า เงินกองทุนดังกล่าว กลับถูกนำมาชดเชยรายได้ให้ผู้ประกอบการในยามราคาตลาดโลกลดลง ทั้งยังเคยนำไปชดเชยค่าขนส่งให้ผู้ประกอบการ จากคลังก๊าซแหล่งผลิตไปยังคลังก๊าซในภูมิภาค เพื่อให้ราคาขายทั่วประเทศเท่ากัน แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่สามารถทำได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง จนเป็นที่มาให้ มิตคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)ล่าสุดยกเลิกการชดเชยไปแล้ว
นั่นแสดงให้เห็นว่า มติต่างๆไม่สามารถจะเข้าถึงประชาชนผู้ที่ถูกจัดเก็บเงินเข้ากองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นยังเป็นที่สงสัยของภาคประชาชน ว่ากลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้นเป็นผู้ใช้ก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซมากที่สุด จนทำให้มีก๊าซไม่พอใช้ในภาคประชาชนและอุตสาหกรรมซึ่งต้องใช้เป็นพลังงาน จนทำให้ต้องนำเข้า LPG และต้องแบกรับภาระการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลทำให้ผู้ใช้ก๊าซ LPG ถูกจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯมาอย่างต่อเนื่องและต้องซื้อ LPG ในราคาแพงขึ้นมากกว่าราคาตลาดโลก นั้นเป็นธรรมต่อประชาชนทั้ง 65 ล้านคนแล้วหรือไม่?
จึงขอตั้งคำถามว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้นซื้อ LPG จากโรงแยกก๊าซในราคาเท่าใด และสมมุติว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 สมมุติว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซื้อในราคาจัดหา ที่ 13.7306 ต่อกิโลกรัม ส่วนต่างราคาที่ 1.7236 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งโรงแยกก๊าซจะได้รับที่ 15.45 บาทต่อกิโลกรัม นั้น ได้นำเงินจากกองทุนฯไปชดเชยหรือไม่ ?
ถึงเวลาที่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) จะต้องประกาศราคาขาย ณ โรงแยกก๊าซ และราคาขาย LPG ให้ภาคปิโตรเคมี อย่างชัดเจนและเปิดเผย
ถึงเวลาที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรจะได้แสดงความกล้าหาญในการเปลี่ยนโครงสร้างราคาใหม่ และสร้างบรรทัดฐานใหม่ไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนในคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้แล้ว!!!
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ประเทศไทยถือว่าโชคดีมากที่ปิโตรเลียมที่ขุดพบได้นั้นมีปริมาณก๊าซธรรมชาติมาก ความโชคดีที่ว่านั้นนอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานที่นอกจากจะนำเป็นพลังงานให้ความร้อนในการหุงต้มแล้ว ยังสามารถนำไปเป็นแหล่งพลังงานสำหรับภาคขนส่งได้อีกด้วย อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตลอดจนนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล
ประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยจำนวนมากโดยเฉพาะในอ่าวไทย จากข้อมูลของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบปริมาณการจัดหาระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2558 มาจากโรงแยกก๊าซในประเทศไทยเองผลิตเป็นก๊าซ LPG ได้ประมาณ 51% (2.64 ล้านตัน) แถมโรงกลั่นน้ำมันไทยเมื่อกลั่นน้ำมันดิบแล้วยังสามารถผลิตก๊าซ LPG ได้อีกประมาณ 27% (1.43 ล้านตัน)
และนั่นหมายถึงว่าประเทศไทยมีแหล่งพลังงานที่เป็นก๊าซ LPG เป็นของตัวเอง และพึ่งพาตัวเองได้มากถึงประมาณ 78% (4.07 ล้านตัน) และต้องจัดหาด้วยการนำเข้าจากต่างประเทศเพียง 22% (1.16 ล้านตัน) เท่านั้น
ขอให้ช่วยจำตัวเลขนี้ให้ขึ้นใจก่อนว่าประเทศไทยมีก๊าซ LPG ผลิตได้จากในประเทศถึง 78% !!!
คำถามที่ตามมาก็คือ การที่เรานำเข้าจากต่างประเทศอีก 22% เพราะประเทศไทยมีก๊าซ LPG ไม่เพียงพอหรือ?
คำตอบที่ได้มีทั้งจริงและไม่จริง เพราะเมื่อพิจารณาปริมาณการใช้แก๊ส LPG ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน พ.ศ. 2558 ก็จะพบว่า
ประเทศไทยใช้แก๊ส LPG เพื่อเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่ม กล่าวคือ มีสัดส่วนเพื่อเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสูงถึง 34% (1.75 ล้านตัน)
รองลงมาอันดับ 2 คือ ใช้ในครัวเรือน 31% (1.56 ล้านตัน)
อันดับที่ 3 คือ เพื่อเป็นพลังงานการขนส่งของภาคยานยนต์ 26% (1.32 ล้านตัน)
และอันดับที่ 4 คือเพื่อให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ 9% (7 แสนตัน)
ดังนั้นปริมาณการใช้ก๊าซ LPG จากภาคครัวเรือน ภาคการขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมรวมกันได้ 66% แต่ประเทศไทยมีก๊าซ LPG ผลิตได้จากในประเทศถึง 78% !!!
แสดงว่า ประเทศไทยมี “ก๊าซ LPG เหลือเกินพอ” ถ้าเพียงแค่บริหารจัดการแยกให้กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศเอง และรับผิดชอบต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าจากต่างประเทศเองทั้งหมดด้วย จริงไหม?
การที่ประเทศไทยมีก๊าซ LPG มากเกินพอที่จะรองรับคนทุกเกือบกลุ่มในประเทศ (ยกเว้นกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) ย่อมแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยอยู่ในวิสัยที่จะกำหนดราคาก๊าซ LPG เป็นของตัวเองให้เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศไทยได้
ดังนั้นอย่าให้ใครเขามาหลอกหรือมาบิดเบือนได้ว่าราคาขายปลีก LPG ประเทศไทย จะต้องนำไปเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาขายปลีกแพงกว่า เพราะคนหล่านั้นมักจะหยิบยกประเทศไม่มี LPG เหมือนกับประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศที่อ้างถึงเหล่านั้นยังต้องนำเข้าก๊าซ LPG จากประเทศไทยเสียด้วยซ้ำ ที่ต้องรวมค่าขนส่ง และการดำเนินการอื่นๆก่อนจะไปขายปลีก ซึ่งย่อมมีราคาขายปลีกสูงกว่าประเทศไทยอยู่แล้ว
แต่การที่เรามีก๊าซ LPG ในประเทศมากขนาดนี้เราควรจะกำหนดราคาอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล
เมื่อธุรกิจก๊าซ LPG ในประเทศไทย เป็นระบบผูกขาด กึ่งผูกขาด หรือธุรกิจไม่กี่กลุ่มซึ่งสามารถชี้นำตลาดได้ จึงไม่ได้มีการแข่งขันราคากันอย่างเสรี ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องมีเกณฑ์กำหนดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวมหัวเอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภคได้ เพราะก๊าซ LPG ถือเป็นแหล่งพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนทุกหมู่เหล่า ด้วยเหตุผลนี้ประเทศไทยจึงมี "คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)" เข้ามาทำหน้าที่ในการกำหนด “สูตรราคาพลังงาน”
แต่สิ่งที่เกิดคำถามมาโดยตลอดก็คือ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนด “สูตรคำนวณราคาพลังงาน” ต่างๆ เหล่านั้นกลับปรากฏบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในคณะกรรมการในธุรกิจพลังงานด้วย
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) แต่ก็เป็นกรรมการ และประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนใน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ด้วย
นายทวารรัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) แต่ก็เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการและกรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการและเลขานุการ บริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน)อยู่ด้วย
นี่คือตัวอย่างข้างต้นถึงข้อสงสัยและคำถามในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งแม้จะข้ออ้างว่าสามารถทำได้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าหากมีคนในคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนมากขึ้นจากกิจการที่ตนเองเป็นกรรมการอยู่เมื่อมีกำไรมากขึ้นแล้ว จะให้ประชาชนเชื่อมั่นในการตัดสินใจในฐานะเป็นคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีความสำคัญในการกำหนดสูตรคำนวณราคาพลังงาน ได้อย่างไร?
ด้วยเหตุผลที่ธุรกิจก๊าซ LPG ในประเทศไทยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีลักษณะผูกขาด กึ่งผูกขาด และชี้นำตลาดได้ ดังนั้นเมื่อผนวกกับการที่ต้องมี “สูตรคำนวณราคาพลังงาน” >และ “สูตรคำนวณราคาพลังงาน” ที่ว่านั้นก็มาจากคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่ถูกตั้งคำถามว่ามีบุคคลที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนร่วมด้วยหรือไม่? ดังนั้นประชาชนจึงจำเป็นจะต้องตรวจสอบอ้างอิงราคาตลาดโลกว่าประเทศไทยได้กำหนดสูตรราคาพลังงานเอาเปรียบประชาชนไปหรือไม่?
และการอ้างอิงที่น่าจะยอมรับได้ในฐานะราคาตลาดโลก ก็คือ ราคา CP (Contract Price) ซึ่งก็คือราคาประกาศเปโตรมิน ณ ราสทานูรา ประเทศซาอุดีอาระเบียในเดือนนั้นๆ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)ของไทยก็ให้การยอมรับในการอ้างอิงด้วย จึงต้องยึดถือว่าราคาอ้างอิงนี้ก็คือการเทียบเคียงตลาดโลกที่คนไทยควรจะนำมาใช้อ้างอิงได้
ราคาตลาดโลก CP ประเทศซาอุดิอาระเบีย ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 พบว่าราคาก๊าซ LPG อยู่ที่ 297 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ 35.7994 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือ ราคา LPG ตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 10.63 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น
ขอย้ำว่าราคา LPG ตลาดโลก ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อยู่ที่ 10.63 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น !!!
ทั้งนี้การจัดหาก๊าซ LPG ของประเทศไทยมาจาก 4 แหล่งสำคัญ คือ มาจากโรงแยกก๊าซถึง 51.7% มาจากโรงกลั่นน้ำมันไทย 27.4% นำเข้าจากต่างประเทศอีก 20.9% และมาจาก ปตท.สผ.อีกเล็กน้อย กลุ่มธุรกิจพลังงานเหล่านั้นจะขายส่งเข้าคลังก๊าซเพื่อทำการคิดราคาจากทุกแหล่งที่แตกต่างกันแล้วมาถ่วงน้ำหนักหาค่าเฉลี่ยเป็นราคาจัดหา LPG
ดังนั้นราคาจัดหา LPG จะเป็นเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับราคาและน้ำหนักของที่มาในการจัดหา ซึ่งความจริงแล้วน้ำหนักจากโรงแยกก๊าซ และโรงกลั่นน้ำมันมีน้ำหนักรวมกันมากที่สุด ซึ่งสามารถบริหารจัดการได้ในประเทศไทยเอง
ซึ่งราคาจัดหาก๊าซ LPG เฉลี่ยจากทุกแหล่งที่ประกาศโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อยู่ที่ 13.7306 บาท ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า มีราคาสูงกว่าตลาดโลกได้อย่างไร?
คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติกำหนดราคาขาย LPG เดือนมกราคม 2559 ของ โรงแยกก๊าซซึ่งผลิต LPG ถึง 51% ได้เงินประมาณ 436 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็นเงินประมาณ 15.60 บาทต่อกิโลกรัม ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 มีประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ฉบับที่ 5 พ.ศ.2559 โดยกำหนดให้โรงแยกก๊าซได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมัน ในส่วนบัญชีที่เก็บจากผู้ใช้ LPG กิโลกรัมละ 1.7236 บาทต่อกิโลกรัม
มติดังกล่าวข้างต้นมีหมายความว่าคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)ใช้เงินกองทุนน้ำมันในส่วนผู้ใช้ LPG ที่มีอยู่ประมาณ 7,287 ล้านบาท(ข้อมูล ณ 24 มกราคม 2559) ไปชดเชยรายได้หรืออุดหนุนให้ LPG ที่ขายจากโรงแยกก๊าซจากราคาจัดหาเฉลี่ยในประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่กำหนดไว้เพียงกิโลกรัมละ 13.7306 บาท (ซึ่งก็สูงกว่าราคาตลาดโลกอยู่แล้ว) ให้เพิ่มขึ้นไปอีก กิโลกรัมละ 1.7236 บาท
ผลของการชดเชยเช่นนี้ จึงทำให้โรงแยกก๊าซยังคงได้รับราคาขายสูงถึง 15.45 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าตลาดโลกที่ราคา 10.63 บาทต่อกิโลกรัม ถึง 4.82 บาทต่อกิโลกรัม!!!
ในส่วนของก๊าซ LPG จาก “โรงกลั่นน้ำมัน” นั้น คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เคยกำหนดราคาขาย ณ หน้าโรงกลั่น ในราคาสูตรไม่เกิน CP-20 หรือราคาตลาดโลก แล้วลดลงไปอีก 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (ซึ่งที่ผ่านมาโรงกลั่นก็ยังคงมีกำไร) แต่หากคิดไปตามสูตรนี้แล้ว ราคา LPG ตลาดโลกเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงเหลือที่ 297 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อลดไปอีก 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ตามสูตรราคา CP-20 ก็ควรจะเหลือเพียง 277 เหรียญสหรัฐต่อตัน คิดเป็นเงินไทยได้ประมาณ 9.91 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น
แทนที่ราคาก๊าซ LPG ที่โรงกลั่นน้ำมันจะเหลือเพียง 9.91 บาทต่อกิโลกรัมตามสูตรดังกล่าวข้างต้น แต่เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) กลับได้มีมติ กำหนดราคาขาย ณ โรงกลั่นน้ำมัน ที่ราคา 15.706 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยจัดหาในประเทศ ที่กำหนดไว้ที่ 13.7306 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นจึงต้องกำหนดให้โรงกลั่นน้ำมัน ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ในส่วนบัญชีผู้ใช้ LPG กิโลกรัมละ 3.6683 บาท เมื่อหักลบกันแล้วทำให้โรงกลั่นมีราคาขายหรือรายได้สุทธิ์ 12.03 บาทต่อกิโลกรัม
นั่นหมายถึงเมื่อหักเงินเข้ากองทุนแล้วโรงกลั่นน้ำมันก็จะเหลือเงินประมาณ 12.03 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดโลกที่ราคา 10.63 บาทต่อกิโลกรัม ถึง 1.4 บาทต่อกิโลกรัม แต่หนักยิ่งไปกว่านั้นคือโรงกลั่นไม่ต้องลดตามสูตรเดิมให้เหลือเพียง 9.91 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้โรงกลั่นน้ำมันได้ราคาเพิ่มขึ้นจากสูตรเดิม (CP-20) ถึง 2.12 บาทต่อกิโลกรัมอีกด้วย
ความหมายจากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) เหล่านี้ก็คือประชาชนเองจะต้องแบกรับในสัดส่วนราคาของโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่สูตรคำนวณราคาแบบเดิมโรงกลั่นน้ำมันก็ไม่ได้เกินราคาตลาดโลกด้วยซ้ำไป
สำหรับการนำเข้าก๊าซเพื่อมาผลิตเป็นก๊าซ LPG ในรูปของ ปิโตรเลียมเหลว ก๊าซโปรเปน และก๊าซบิวเทนนั้น ปตท.ผูกขาดการนำเข้าแต่เพียงรายเดียว ซึ่งจะนำเข้าในราคาเท่าใดก็ได้ แต่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ประกาศให้ใช้ราคาสูตร CP + 85 เพื่อให้ ปตท. ขายเข้าคลังก๊าซ หมายถึงราคาตลาดโลกแล้วบวกเพิ่มไปอีก 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ดังนั้นราคาตลาดโลกที่ 297 ดอลลาร์ต่อตัน เมื่อบวกไปอีก 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จึงเท่ากับ 382 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็น 13.675 บาทต่อกิโลกรัม ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้กำหนดราคาสำหรับ LPG ที่นำเข้า ที่ 13.7306 บาทต่อกิโลกรัม โดยประกาศให้ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันในส่วนของผู้ใช้ก๊าซ LPG กิโลกรัมละ 0.1460 บาท หรือบวกเพิ่มไปอีกเป็น 13.8766 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งก็สูงเกินกว่าตลาดโลกด้วยการให้ ปตท. ผูกขาดรายเดียวอีกเช่นกัน
และภายใต้สารพัดสูตรตามที่กล่าวมาข้างต้นราคาเฉลี่ยรวมในการจัดหาจึงเริ่มต้นอยู่ที่ 13.73 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งก็ยังแพงกว่าราคาตลาดโลกซึ่งอยู่ที่ 10.63 บาทถึง 3.10 บาทหรือแพงกว่าตลาดโลกถึงประมาณ 29.162%!!!
ราคาจัดหาที่เริ่มต้นที่ 13.73 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อรวมกับภาษีสรรพสามิตอีก 2.17 บาทต่อกิโลกรัม ภาษีเทศบาลอีก 0.217 บาทต่อกิโลกรัม และได้รับชดเชยจากกองทุนน้ำมันสุทธิ 41 สตางค์ต่อกิโลกรัม ค่าการตลาดอีก 3.2566 และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 1.3275 บาทต่อกิโลกรัม จึงส่งผลทำให้ราคาขายปลีกกลายเป็น 20.29 บาทต่อกิโลกรัม
ซึ่งเจ้าของโรงแยกก๊าซที่ผูกขาด LPG ทั้งหมดและได้ราคาสูงกว่าตลาดโลกก็คือ ปตท. แต่เพียงผู้เดียว โรงกลั่นที่ได้สูตรราคาขาย LPG ใหม่ที่มากกว่าสูตรเดิมส่วนใหญ่ก็มี ปตท.ก็ไปถือหุ้นอยู่ด้วย และการนำเข้าก๊าซ LPG ทั้งหมดก็ถูกผูกขาดโดย ปตท.แต่เพียงผู้เดียว ประเด็นนี้จึงย่อมเกิดคำถามถึงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนที่คนที่นั่งเป็นกรรมการนโยบายพลังงงาน (กบง.) บางคนไปนั่งเป็นกรรมการและรับผลประโยชน์จาก ปตท. ด้วยนั้น เหมาะสมและมีความชอบธรรมแล้วหรือไม่?
ประเทศไทยโชคดีมากที่มีก๊าซ LPG อย่างมหาศาลซึ่งเกินพอที่จะใช้ได้เกือบทุกกลุ่มในประเทศนี้ (ยกเว้นกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี)
แต่ก็โชคร้ายที่ยังไม่ได้มีโอกาสใช้ในราคาตลาดโลกในภาวะที่ราคาตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง !!!
กองทุนน้ำมันในส่วนที่แยกเก็บจากผู้ใช้ LPG ภาคครัวเรือน ยานยนต์ อุตสาหกรรม (ยกเว้นกลุ่มปิโตรเคมีที่ มติ กบง. ได้ประกาศยกเลิกไม่ให้มีการจัดเก็บไปเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา) โดยเงินกองทุนดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อชดเชยการนำเข้าและรักษาเสถียรภาพราคาในช่วงเวลาที่ราคาตลาดโลกผันผวนในทางสูงขึ้นอย่างผิดปกติและรุนแรง
แต่เมื่อทบทวนจาก มติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)พบว่า เงินกองทุนดังกล่าว กลับถูกนำมาชดเชยรายได้ให้ผู้ประกอบการในยามราคาตลาดโลกลดลง ทั้งยังเคยนำไปชดเชยค่าขนส่งให้ผู้ประกอบการ จากคลังก๊าซแหล่งผลิตไปยังคลังก๊าซในภูมิภาค เพื่อให้ราคาขายทั่วประเทศเท่ากัน แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่สามารถทำได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง จนเป็นที่มาให้ มิตคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)ล่าสุดยกเลิกการชดเชยไปแล้ว
นั่นแสดงให้เห็นว่า มติต่างๆไม่สามารถจะเข้าถึงประชาชนผู้ที่ถูกจัดเก็บเงินเข้ากองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นยังเป็นที่สงสัยของภาคประชาชน ว่ากลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้นเป็นผู้ใช้ก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซมากที่สุด จนทำให้มีก๊าซไม่พอใช้ในภาคประชาชนและอุตสาหกรรมซึ่งต้องใช้เป็นพลังงาน จนทำให้ต้องนำเข้า LPG และต้องแบกรับภาระการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลทำให้ผู้ใช้ก๊าซ LPG ถูกจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯมาอย่างต่อเนื่องและต้องซื้อ LPG ในราคาแพงขึ้นมากกว่าราคาตลาดโลก นั้นเป็นธรรมต่อประชาชนทั้ง 65 ล้านคนแล้วหรือไม่?
จึงขอตั้งคำถามว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้นซื้อ LPG จากโรงแยกก๊าซในราคาเท่าใด และสมมุติว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 สมมุติว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซื้อในราคาจัดหา ที่ 13.7306 ต่อกิโลกรัม ส่วนต่างราคาที่ 1.7236 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งโรงแยกก๊าซจะได้รับที่ 15.45 บาทต่อกิโลกรัม นั้น ได้นำเงินจากกองทุนฯไปชดเชยหรือไม่ ?
ถึงเวลาที่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) จะต้องประกาศราคาขาย ณ โรงแยกก๊าซ และราคาขาย LPG ให้ภาคปิโตรเคมี อย่างชัดเจนและเปิดเผย
ถึงเวลาที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรจะได้แสดงความกล้าหาญในการเปลี่ยนโครงสร้างราคาใหม่ และสร้างบรรทัดฐานใหม่ไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนในคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้แล้ว!!!