รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
ต่อมทอนซิล เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อ ประเภทต่อมน้ำเหลืองมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด มีหน้าที่ในการจับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางเดินอาหาร รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
ต่อมทอนซิลพบได้หลายตำแหน่ง ได้แก่ บริเวณโคนลิ้น ช่องหลังโพรงจมูก และต่อมที่เราเห็น จะอยู่ด้านข้างของช่องปาก เรียกว่า พาลาทีนทอนซิล
ปกติพาลาทีนทอนซิล จะมีร่องหรือซอก (crypts) ซึ่งเศษอาหารอาจเข้าไปติดหรือตกค้างได้ นอกจากนั้นเซลล์ที่บุร่องหรือซอกนั้น อาจมีการตายและหลุดลอกออกมา คล้ายกับเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุด ที่มีการหลุดออกมาเป็นขี้ไคล แล้วมีแบคทีเรีย, เม็ดเลือดขาวและเอ็นไซม์ในน้ำลายเข้าไปย่อยสลาย เกิดเป็นสารคล้ายเนย สีเหลือง ขาวสะสมอยู่ เรียกว่า “ขี้ไคลทอนซิล”
ผู้ป่วยบางราย อาจมีสารแคลเซียมมาเกาะ ทำให้มีลักษณะคล้ายก้อนแคลเซียม หรือก้อนหิน อยู่ในร่องของต่อมทอนซิลได้ อาจทำให้เกิดปัญหาก่อให้เกิดความรำคาญ รู้สึกคล้ายมีอะไรติดอยู่ในลำคอ ทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บคอเป็น ๆ หายๆ ทำให้มีกลิ่นปาก ทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่หู หรือไอเรื้อรังได้ เนื่องจากอาจไปอุดกั้นการระบายสารคัดหลั่งจากต่อมทอนซิล
แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลอักเสบเป็น ๆ หาย ๆ มักเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่าที่จะเกิดจากขี้ไคลทอนซิล มีผู้ป่วยที่มีขี้ไคลทอนซิลหลายราย ที่ไม่เคยเกิดปัญหาต่อมทอนซิลอักเสบเลย ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างขี้ไคลทอนซิล และการอักเสบของต่อมทอนซิลเป็น ๆ หาย ๆ นั้น จึงยังไม่ทราบแน่ชัด
ปัญหาดังกล่าวที่เกิดจากขี้ไคลทอนซิล มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อก้อนดังกล่าวในร่องของต่อมทอนซิลมีขนาดใหญ่กว่าที่ร่องจะรับได้ ก็อาจหลุดออกมาเองได้ หรือเมื่อผู้ป่วยไอหรือขากเสมหะแรง ๆ อาจหลุดออกมาให้เห็นได้
ขี้ไคลทอนซิลนั้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะไม่เป็นอันตรายใด ๆ เพียงอาจจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเสียไป เช่น อาจรู้สึกไม่มั่นใจ เวลาพูดกับผู้อื่น เนื่องจากมีกลิ่นปาก ปัญหาขี้ไคลทอนซิลนั้น ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร รวมทั้งโรคกรดไหลย้อนไม่ได้มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่ผู้ป่วยอาจสังเกตเองได้ว่า มีพฤติกรรมในการรับประทานอะไรที่อาจกระตุ้นทำให้มีขี้ไคลทอนซิล หรือมีปัญหาที่เกิดจากขี้ไคลทอนซิลมากขึ้น ก็ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั้น
สำหรับการรักษา มี 2 วิธี คือ ไม่ผ่าตัด และผ่าตัด
1. วิธีไม่ผ่าตัด ซึ่งอาจช่วยให้ขี้ไคลทอนซิลหลุดออกมาได้ ได้แก่
- การกลั้วคอแรง ๆ หลังรับประทานอาหารด้วยน้ำยากลั้วคอ, น้ำเกลือหรือน้ำเปล่าธรรมดา
- การใช้นิ้วนวดบริเวณใต้คางบริเวณมุมขากรรไกรล่าง (ซึ่งตรงกับบริเวณต่อมทอนซิล)
- ผู้ป่วยบางราย อาจใช้นิ้วล้วงเข้าไปในช่องปาก แล้วกดบริเวณส่วนล่างของต่อมทอนซิล แล้วดันขึ้นบน หรือใช้ลิ้นดัน หรือใช้ที่พ่นน้ำทำความสะอาดช่องปาก, ฟัน และลิ้น (water pick) ฉีดบริเวณต่อมทอนซิล
สำหรับการใช้ไม้พันสำลี (cotton bud), ปลายของที่หนีบผม, เครื่องมือที่ใช้เขี่ยขี้หูออก (ear curette), แปรงสีฟัน เขี่ยหรือกดบริเวณต่อมทอนซิล เพื่อเอาขี้ไคลทอนซิลออกวิธีนี้ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยทำเอง เนื่องจากอาจมองเห็นไม่ชัด อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณต่อมทอนซิล อาจเกิดแผล หรือมีเลือดออกได้ ควรให้แพทย์เป็นผู้เขี่ยออกให้
2. วิธีผ่าตัด ได้แก่
- ใช้กรด trichloracetic acid หรือเลเซอร์ (laser tonsillotomy) จี้ต่อมทอนซิล เพื่อเปิดขอบร่อง หรือซอกของต่อมทอนซิลให้กว้าง ไม่ให้เป็นซอกหลืบ ที่จะเป็นที่สะสมของสิ่งต่าง ๆ ได้อีก ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่
- ผ่าตัดต่อมทอนซิลออก (tonsillectomy) เป็นการรักษาที่หายขาด มักจะทำในกรณีที่ใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล
ดังนั้น เมื่อท่านสงสัยว่าจะมีขี้ไคลทอนซิล และได้ลองใช้วิธีไม่ผ่าตัดแล้ว แต่ปัญหาดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก เพราะแพทย์ช่วยแก้ปัญหาให้ท่านได้
____________________________
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
จัดงานอายุรแพทย์ศิริราชพบประชาชน 2559 หัวข้อ เมื่อหมอขอแชร์...“ข้อเท็จจริงทางสุขภาพจากโลกโซเชียล” ขอเชิญผู้ป่วย ญาติและผู้สนใจร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00-15.00 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามเพิ่มเติม โทร 0 2419 7767-9 ต่อ 111
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
ต่อมทอนซิล เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อ ประเภทต่อมน้ำเหลืองมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด มีหน้าที่ในการจับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางเดินอาหาร รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
ต่อมทอนซิลพบได้หลายตำแหน่ง ได้แก่ บริเวณโคนลิ้น ช่องหลังโพรงจมูก และต่อมที่เราเห็น จะอยู่ด้านข้างของช่องปาก เรียกว่า พาลาทีนทอนซิล
ปกติพาลาทีนทอนซิล จะมีร่องหรือซอก (crypts) ซึ่งเศษอาหารอาจเข้าไปติดหรือตกค้างได้ นอกจากนั้นเซลล์ที่บุร่องหรือซอกนั้น อาจมีการตายและหลุดลอกออกมา คล้ายกับเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุด ที่มีการหลุดออกมาเป็นขี้ไคล แล้วมีแบคทีเรีย, เม็ดเลือดขาวและเอ็นไซม์ในน้ำลายเข้าไปย่อยสลาย เกิดเป็นสารคล้ายเนย สีเหลือง ขาวสะสมอยู่ เรียกว่า “ขี้ไคลทอนซิล”
ผู้ป่วยบางราย อาจมีสารแคลเซียมมาเกาะ ทำให้มีลักษณะคล้ายก้อนแคลเซียม หรือก้อนหิน อยู่ในร่องของต่อมทอนซิลได้ อาจทำให้เกิดปัญหาก่อให้เกิดความรำคาญ รู้สึกคล้ายมีอะไรติดอยู่ในลำคอ ทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บคอเป็น ๆ หายๆ ทำให้มีกลิ่นปาก ทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่หู หรือไอเรื้อรังได้ เนื่องจากอาจไปอุดกั้นการระบายสารคัดหลั่งจากต่อมทอนซิล
แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลอักเสบเป็น ๆ หาย ๆ มักเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่าที่จะเกิดจากขี้ไคลทอนซิล มีผู้ป่วยที่มีขี้ไคลทอนซิลหลายราย ที่ไม่เคยเกิดปัญหาต่อมทอนซิลอักเสบเลย ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างขี้ไคลทอนซิล และการอักเสบของต่อมทอนซิลเป็น ๆ หาย ๆ นั้น จึงยังไม่ทราบแน่ชัด
ปัญหาดังกล่าวที่เกิดจากขี้ไคลทอนซิล มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อก้อนดังกล่าวในร่องของต่อมทอนซิลมีขนาดใหญ่กว่าที่ร่องจะรับได้ ก็อาจหลุดออกมาเองได้ หรือเมื่อผู้ป่วยไอหรือขากเสมหะแรง ๆ อาจหลุดออกมาให้เห็นได้
ขี้ไคลทอนซิลนั้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะไม่เป็นอันตรายใด ๆ เพียงอาจจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเสียไป เช่น อาจรู้สึกไม่มั่นใจ เวลาพูดกับผู้อื่น เนื่องจากมีกลิ่นปาก ปัญหาขี้ไคลทอนซิลนั้น ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร รวมทั้งโรคกรดไหลย้อนไม่ได้มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่ผู้ป่วยอาจสังเกตเองได้ว่า มีพฤติกรรมในการรับประทานอะไรที่อาจกระตุ้นทำให้มีขี้ไคลทอนซิล หรือมีปัญหาที่เกิดจากขี้ไคลทอนซิลมากขึ้น ก็ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั้น
สำหรับการรักษา มี 2 วิธี คือ ไม่ผ่าตัด และผ่าตัด
1. วิธีไม่ผ่าตัด ซึ่งอาจช่วยให้ขี้ไคลทอนซิลหลุดออกมาได้ ได้แก่
- การกลั้วคอแรง ๆ หลังรับประทานอาหารด้วยน้ำยากลั้วคอ, น้ำเกลือหรือน้ำเปล่าธรรมดา
- การใช้นิ้วนวดบริเวณใต้คางบริเวณมุมขากรรไกรล่าง (ซึ่งตรงกับบริเวณต่อมทอนซิล)
- ผู้ป่วยบางราย อาจใช้นิ้วล้วงเข้าไปในช่องปาก แล้วกดบริเวณส่วนล่างของต่อมทอนซิล แล้วดันขึ้นบน หรือใช้ลิ้นดัน หรือใช้ที่พ่นน้ำทำความสะอาดช่องปาก, ฟัน และลิ้น (water pick) ฉีดบริเวณต่อมทอนซิล
สำหรับการใช้ไม้พันสำลี (cotton bud), ปลายของที่หนีบผม, เครื่องมือที่ใช้เขี่ยขี้หูออก (ear curette), แปรงสีฟัน เขี่ยหรือกดบริเวณต่อมทอนซิล เพื่อเอาขี้ไคลทอนซิลออกวิธีนี้ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยทำเอง เนื่องจากอาจมองเห็นไม่ชัด อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณต่อมทอนซิล อาจเกิดแผล หรือมีเลือดออกได้ ควรให้แพทย์เป็นผู้เขี่ยออกให้
2. วิธีผ่าตัด ได้แก่
- ใช้กรด trichloracetic acid หรือเลเซอร์ (laser tonsillotomy) จี้ต่อมทอนซิล เพื่อเปิดขอบร่อง หรือซอกของต่อมทอนซิลให้กว้าง ไม่ให้เป็นซอกหลืบ ที่จะเป็นที่สะสมของสิ่งต่าง ๆ ได้อีก ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่
- ผ่าตัดต่อมทอนซิลออก (tonsillectomy) เป็นการรักษาที่หายขาด มักจะทำในกรณีที่ใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล
ดังนั้น เมื่อท่านสงสัยว่าจะมีขี้ไคลทอนซิล และได้ลองใช้วิธีไม่ผ่าตัดแล้ว แต่ปัญหาดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก เพราะแพทย์ช่วยแก้ปัญหาให้ท่านได้
____________________________
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
จัดงานอายุรแพทย์ศิริราชพบประชาชน 2559 หัวข้อ เมื่อหมอขอแชร์...“ข้อเท็จจริงทางสุขภาพจากโลกโซเชียล” ขอเชิญผู้ป่วย ญาติและผู้สนใจร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00-15.00 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามเพิ่มเติม โทร 0 2419 7767-9 ต่อ 111