วานนี้ (4 ก.พ.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)เปิดเผยว่า คณะกรธ. มีแนวความคิดปรับปรุงเนื้อหาของบทเฉพาะกาล ในร่างรธน. เพื่อให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้นในปี 2560 ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ประกาศเอาไว้ โดยอาจจะให้มีการเร่งพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรธน. เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ประมาณ 5-6 ฉบับ ให้เสร็จ และมีผลบังคับใช้ก่อน เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องให้กฎหมายลูกต้องมีผลบังคับใช้ทั้ง 10 ฉบับ ตามที่บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล ของร่างรธน.
" ท่านนายกฯ ออกมาพูดในเรื่องของการเริ่มกระบวนการเลือกตั้ง ท่านไม่ได้บอกว่าต้องให้มีการเลือกตั้งในวันที่เท่าไร ในเดือนกรกฎาคม แต่บอกว่า ให้เข้าสู่โหมดของการเลือกตั้ง ดังนั้น เดือนกรกฎาคม หรือสิงหาคม ก็น่าจะไปได้ เราก็จะมาดูว่าที่เรากำหนดทำกม.ลูก เวลา 8 เดือน มันก็หืดขึ้นคอ แต่ว่าเราจะบริหารจัดการอย่างไร ที่จะทำให้กม.ที่จำเป็นในการเลือกตั้งสามารถออกมาให้ได้ภายในระยะเวลาตามโรดแมปของนายกฯ หรือจะล่าช้าไป 10-20 วัน ก็ค่อยมาว่ากันอีกที ก็กำลังไปดูอยู่ " นายมีชัย กล่าว
เมื่อถามว่า การเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง หมายความว่า เดือนก.ค. หรือ ส.ค.ปี 60 จะมีการเลือกตั้ง ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า คงจะอยู่ราวๆนั้น หากพล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันอย่างนั้น แต่ว่าคณะกรธ. ต้องมาปรับดูว่า จะทำอย่างไรให้เกิดความเป็นไปได้ตามนั้น
" อย่างน้อยต้องให้กฎหมายลูกเสร็จ 5-6 ฉบับ ถ้าทำฉบับละเดือน ก็น่าจะเสร็จ และก็น่าอยู่ในวิสัยที่จะจัดการเลือกตั้งช่วงนั้นได้" นายมีชัย กล่าว
เมื่อถามว่า แล้วกฎหมายลูกฉบับที่เหลือ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จะดำเนินการอย่างไร นายมีชัย กล่าวว่าในระหว่างการดำเนินการเลือกตั้ง อาจต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง ก็น่าจะใช้ช่วงเวลานั้นดำเนินการให้เสร็จ เพราะถ้าไม่ทำเอาไว้ จะส่งผลให้เกิดปัญหาเหมือนในอดีตอีก จนกลไกต่างๆ ที่วางเอาไว้ไม่สมบูรณ์
" กรธ.รับรู้ถึงความกังวลของท่านนายกฯแล้ว และก็กำลังพยายามมาดูว่า จะปรับและเขียนให้เกิดความมั่นใจได้อย่างไร" นายมีชัย กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่ คสช. ห้ามสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ห้ามจัดเวทีวิชาการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรธน. นายมีชัย กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่เวลาที่ กรธ.ไปจัดเวทีในต่างจังหวัด ได้มีการขออนุญาต คสช. ทุกครั้ง
สำหรับข้อท้วงติงของ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตประธาน สปช. ที่แสดงความคิดเห็นว่า ร่างรธน. ฉบับนี้ ให้อำนาจองค์กรอิสระมากเกินไป นายมีชัย กล่าว ยืนยันว่า ไม่ได้มีการให้อำนาจเพิ่ม อย่างกรณีของศาลรธน. ก็มีอำนาจตามรธน.ปี40 และปี 50 เพียงแต่ในร่างรธน.ฉบับนี้ ศาลรธน. มีอำนาจเพิ่มตรงที่การทำหน้าที่วินิจฉัยกรณีที่องค์กรอิสระ กระทำการทีเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง หรือไม่ ซึ่งเป็นหลักการที่ต้องการให้องค์กรอิสระถูกตรวจสอบถ่วงดุล
" มันก็น่ากังวลนะ เพราะว่าระดับท่านเนี่ย ท่านฟังจากคนวิพากษ์วิจารณ์ และก็ไปวิจารณ์ต่อ ถ้าท่านจะกรุณาอ่านสักนิด ก็จะพบว่าศาลรธน. ไม่ได้มีอำนาจมากขึ้นไปจากที่เคยมีอยู่ " นายมีชัย กล่าว
** ทหารให้รด.ช่วยโปรโมต ร่างรธน.
พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.กล่าวถึง การส่งทหารลงพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนประเด็นร่างรธน. ว่า เพื่อให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของร่างรธน. ว่าเป็นอย่างไร จะช่วยแก้ปัญหาการทุจริตได้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนรับรู้และฟังเสียงของรัฐบาลเป็นหลัก เพราะรัฐบาลมีความตั้งใจในการปฏิรูปประเทศ
เมื่อถามว่าส่วนตัวได้ดูร่างรธน.ครบทุกมาตรา แล้วหรือยัง และ วิเคราะห์อย่างไร พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ทหารจะดูในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทหารเป็นหลัก ว่ามาตราใดที่เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบหรือไม่ อย่างไร จากนั้นจะเสนอไปยัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม เพราะขณะนี้ยังสามารถแก้ไขได้
" ตอนนี้กองทัพดูแลกำลังพลเป็นอันดับหนึ่ง ว่าสวัสดิการและครอบครัวเขาเป็นอย่างไร ให้เขาทำงานอย่างมีความสุขทุกเรื่อง เราให้ทุกหน่วยรวมถึง นักศึกษาวิชาทหาร ที่เป็นส่วนหนึ่งไปช่วยทำความเข้าใจกับคนกลุ่มวัยเดียวกันว่า ร่างรัฐธรรมนูญ มีประโยชน์ต่อเขาอย่างไร และได้รับผลกระทบอย่างไร แล้วมาช่วยกันแก้ไข" พล.อ.ธีรชัย กล่าว
พล.ท.วีรชัย อินทุโศภน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) กล่าวว่า ได้ดำเนินโครงการ "รด.จิตอาสา" ที่จะช่วยรัฐบาลทำความเข้าใจเรื่องร่างรธน. กับประชาชน การรับรู้เรื่องโรดแมปของ คสช. และผลงานที่สำคัญของรัฐบาล ให้กับพ่อแม่ พี่น้อง และเพื่อนบ้านในชุมชน โดยที่ผ่านมามีการประสานกับ กรธ. มาช่วยชี้แจงให้กับนักศึกษาวิชาทหารได้รับทราบในประเด็นที่สำคัญ และนำไปขยายความต่อ
"ถึงเวลาลงประชามติ เด็กๆ เหล่านี้ก็จะไปช่วยประชาสัมพันธ์อยู่หน้าหน่วยลงประชามติ เด็กๆ จะได้มีโอกาสช่วยปฏิรูปประเทศ ที่จะได้เห็น และเข้าใจเพื่อไปบอกต่อ ความเป็นเด็กไปพูดกับคนในวัยเดียวกัน ก็จะเข้าใจกันง่ายมากขึ้น ต่อไป นรด. มีแนวคิดจะทำแอพพลิเคชั่นขึ้น เพื่อไว้ใช้ติดต่อกันได้ โดยมีสัสดีจังหวัด ศูนย์ฝึก หน่วยฝึกทั่วประเทศ และสถานศึกษาร่วมกันจัดทำบัญชีควบคุมให้ชัดเจน อีกทั้งเด็กๆ ไม่ต้องกลัวเสียเวลาเรียน เพราะจะนำเวลาไปชดเชยกับการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าโครงการดังกล่าว จะไม่ได้ใช้เด็กเป็นผู้ชี้นำ แต่เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ที่มีสิทธิ์ออกมาใช้สิทธิ์ให้ได้มากที่สุด" พล.ท.วีรชัย กล่าว
**สปท.เตรียมชำแหละร่างรธน. 8-9 ก.พ.
นายคำนูณ สิทธิสมาน เลขานุการ และโฆษกวิป สปท. แถลงข่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางในการอภิปรายร่างรธน. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8-9 ก.พ.นี้ โดยกำหนดให้กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง อภิปราย 2 ชม. และด้านการบริหารราชการแผ่นดิน อภิปราย 1ชั่วโมง 30 นาที ส่วนกมธ.ที่เหลือ อภิปรายคณะละ 1ชม. โดยประธานแต่ละคณะ มีเวลาอภิปรายพิเศษแยกจากกมธ. คนละ 20 นาที ซึ่ง สมาชิกสามารถอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือเป็นรายมาตราก็ได้ รวมทั้งให้กมธ.แต่ละคณะเสนอเรื่องปฏิรูปที่ควรบรรจุไว้ในมาตรา 269 ของ ร่าง รธน. ฉบับนี้ อย่างน้อยคณะละ 1 อนุมาตรา โดยเป็นข้อความที่สั้น และกระชับ ส่งให้ประธานสปท. ภายในวันที่ 11 ก.พ.
นอกจากนี้ ให้กมธ.แต่ละคณะสรุปข้อคิดเห็นต่อร่างรธน. ที่ได้อภิปรายในวันที่ 8-9 ก.พ. เสนอต่อประธานสปท. ภายในวันที่ 12 ก.พ. ก่อนเวลา 12.00 น.เพื่อส่งความเห็นไปยังกรธ. ภายในวันที่ 15 ก.พ.
ด้าน นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการยกเลิกงานสัมมนาวิชาการ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับกรธ. ...ปฏิรูปได้จริงหรือ" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 ก.พ.นี้แล้ว เนื่องจาก คสช. เกรงว่าจะกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
" ท่านนายกฯ ออกมาพูดในเรื่องของการเริ่มกระบวนการเลือกตั้ง ท่านไม่ได้บอกว่าต้องให้มีการเลือกตั้งในวันที่เท่าไร ในเดือนกรกฎาคม แต่บอกว่า ให้เข้าสู่โหมดของการเลือกตั้ง ดังนั้น เดือนกรกฎาคม หรือสิงหาคม ก็น่าจะไปได้ เราก็จะมาดูว่าที่เรากำหนดทำกม.ลูก เวลา 8 เดือน มันก็หืดขึ้นคอ แต่ว่าเราจะบริหารจัดการอย่างไร ที่จะทำให้กม.ที่จำเป็นในการเลือกตั้งสามารถออกมาให้ได้ภายในระยะเวลาตามโรดแมปของนายกฯ หรือจะล่าช้าไป 10-20 วัน ก็ค่อยมาว่ากันอีกที ก็กำลังไปดูอยู่ " นายมีชัย กล่าว
เมื่อถามว่า การเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง หมายความว่า เดือนก.ค. หรือ ส.ค.ปี 60 จะมีการเลือกตั้ง ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า คงจะอยู่ราวๆนั้น หากพล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันอย่างนั้น แต่ว่าคณะกรธ. ต้องมาปรับดูว่า จะทำอย่างไรให้เกิดความเป็นไปได้ตามนั้น
" อย่างน้อยต้องให้กฎหมายลูกเสร็จ 5-6 ฉบับ ถ้าทำฉบับละเดือน ก็น่าจะเสร็จ และก็น่าอยู่ในวิสัยที่จะจัดการเลือกตั้งช่วงนั้นได้" นายมีชัย กล่าว
เมื่อถามว่า แล้วกฎหมายลูกฉบับที่เหลือ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จะดำเนินการอย่างไร นายมีชัย กล่าวว่าในระหว่างการดำเนินการเลือกตั้ง อาจต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง ก็น่าจะใช้ช่วงเวลานั้นดำเนินการให้เสร็จ เพราะถ้าไม่ทำเอาไว้ จะส่งผลให้เกิดปัญหาเหมือนในอดีตอีก จนกลไกต่างๆ ที่วางเอาไว้ไม่สมบูรณ์
" กรธ.รับรู้ถึงความกังวลของท่านนายกฯแล้ว และก็กำลังพยายามมาดูว่า จะปรับและเขียนให้เกิดความมั่นใจได้อย่างไร" นายมีชัย กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่ คสช. ห้ามสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ห้ามจัดเวทีวิชาการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรธน. นายมีชัย กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่เวลาที่ กรธ.ไปจัดเวทีในต่างจังหวัด ได้มีการขออนุญาต คสช. ทุกครั้ง
สำหรับข้อท้วงติงของ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตประธาน สปช. ที่แสดงความคิดเห็นว่า ร่างรธน. ฉบับนี้ ให้อำนาจองค์กรอิสระมากเกินไป นายมีชัย กล่าว ยืนยันว่า ไม่ได้มีการให้อำนาจเพิ่ม อย่างกรณีของศาลรธน. ก็มีอำนาจตามรธน.ปี40 และปี 50 เพียงแต่ในร่างรธน.ฉบับนี้ ศาลรธน. มีอำนาจเพิ่มตรงที่การทำหน้าที่วินิจฉัยกรณีที่องค์กรอิสระ กระทำการทีเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง หรือไม่ ซึ่งเป็นหลักการที่ต้องการให้องค์กรอิสระถูกตรวจสอบถ่วงดุล
" มันก็น่ากังวลนะ เพราะว่าระดับท่านเนี่ย ท่านฟังจากคนวิพากษ์วิจารณ์ และก็ไปวิจารณ์ต่อ ถ้าท่านจะกรุณาอ่านสักนิด ก็จะพบว่าศาลรธน. ไม่ได้มีอำนาจมากขึ้นไปจากที่เคยมีอยู่ " นายมีชัย กล่าว
** ทหารให้รด.ช่วยโปรโมต ร่างรธน.
พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.กล่าวถึง การส่งทหารลงพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนประเด็นร่างรธน. ว่า เพื่อให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของร่างรธน. ว่าเป็นอย่างไร จะช่วยแก้ปัญหาการทุจริตได้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนรับรู้และฟังเสียงของรัฐบาลเป็นหลัก เพราะรัฐบาลมีความตั้งใจในการปฏิรูปประเทศ
เมื่อถามว่าส่วนตัวได้ดูร่างรธน.ครบทุกมาตรา แล้วหรือยัง และ วิเคราะห์อย่างไร พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ทหารจะดูในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทหารเป็นหลัก ว่ามาตราใดที่เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบหรือไม่ อย่างไร จากนั้นจะเสนอไปยัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม เพราะขณะนี้ยังสามารถแก้ไขได้
" ตอนนี้กองทัพดูแลกำลังพลเป็นอันดับหนึ่ง ว่าสวัสดิการและครอบครัวเขาเป็นอย่างไร ให้เขาทำงานอย่างมีความสุขทุกเรื่อง เราให้ทุกหน่วยรวมถึง นักศึกษาวิชาทหาร ที่เป็นส่วนหนึ่งไปช่วยทำความเข้าใจกับคนกลุ่มวัยเดียวกันว่า ร่างรัฐธรรมนูญ มีประโยชน์ต่อเขาอย่างไร และได้รับผลกระทบอย่างไร แล้วมาช่วยกันแก้ไข" พล.อ.ธีรชัย กล่าว
พล.ท.วีรชัย อินทุโศภน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) กล่าวว่า ได้ดำเนินโครงการ "รด.จิตอาสา" ที่จะช่วยรัฐบาลทำความเข้าใจเรื่องร่างรธน. กับประชาชน การรับรู้เรื่องโรดแมปของ คสช. และผลงานที่สำคัญของรัฐบาล ให้กับพ่อแม่ พี่น้อง และเพื่อนบ้านในชุมชน โดยที่ผ่านมามีการประสานกับ กรธ. มาช่วยชี้แจงให้กับนักศึกษาวิชาทหารได้รับทราบในประเด็นที่สำคัญ และนำไปขยายความต่อ
"ถึงเวลาลงประชามติ เด็กๆ เหล่านี้ก็จะไปช่วยประชาสัมพันธ์อยู่หน้าหน่วยลงประชามติ เด็กๆ จะได้มีโอกาสช่วยปฏิรูปประเทศ ที่จะได้เห็น และเข้าใจเพื่อไปบอกต่อ ความเป็นเด็กไปพูดกับคนในวัยเดียวกัน ก็จะเข้าใจกันง่ายมากขึ้น ต่อไป นรด. มีแนวคิดจะทำแอพพลิเคชั่นขึ้น เพื่อไว้ใช้ติดต่อกันได้ โดยมีสัสดีจังหวัด ศูนย์ฝึก หน่วยฝึกทั่วประเทศ และสถานศึกษาร่วมกันจัดทำบัญชีควบคุมให้ชัดเจน อีกทั้งเด็กๆ ไม่ต้องกลัวเสียเวลาเรียน เพราะจะนำเวลาไปชดเชยกับการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าโครงการดังกล่าว จะไม่ได้ใช้เด็กเป็นผู้ชี้นำ แต่เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ที่มีสิทธิ์ออกมาใช้สิทธิ์ให้ได้มากที่สุด" พล.ท.วีรชัย กล่าว
**สปท.เตรียมชำแหละร่างรธน. 8-9 ก.พ.
นายคำนูณ สิทธิสมาน เลขานุการ และโฆษกวิป สปท. แถลงข่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางในการอภิปรายร่างรธน. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8-9 ก.พ.นี้ โดยกำหนดให้กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง อภิปราย 2 ชม. และด้านการบริหารราชการแผ่นดิน อภิปราย 1ชั่วโมง 30 นาที ส่วนกมธ.ที่เหลือ อภิปรายคณะละ 1ชม. โดยประธานแต่ละคณะ มีเวลาอภิปรายพิเศษแยกจากกมธ. คนละ 20 นาที ซึ่ง สมาชิกสามารถอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือเป็นรายมาตราก็ได้ รวมทั้งให้กมธ.แต่ละคณะเสนอเรื่องปฏิรูปที่ควรบรรจุไว้ในมาตรา 269 ของ ร่าง รธน. ฉบับนี้ อย่างน้อยคณะละ 1 อนุมาตรา โดยเป็นข้อความที่สั้น และกระชับ ส่งให้ประธานสปท. ภายในวันที่ 11 ก.พ.
นอกจากนี้ ให้กมธ.แต่ละคณะสรุปข้อคิดเห็นต่อร่างรธน. ที่ได้อภิปรายในวันที่ 8-9 ก.พ. เสนอต่อประธานสปท. ภายในวันที่ 12 ก.พ. ก่อนเวลา 12.00 น.เพื่อส่งความเห็นไปยังกรธ. ภายในวันที่ 15 ก.พ.
ด้าน นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการยกเลิกงานสัมมนาวิชาการ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับกรธ. ...ปฏิรูปได้จริงหรือ" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 ก.พ.นี้แล้ว เนื่องจาก คสช. เกรงว่าจะกระทบต่อความมั่นคงของชาติ