นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ รองประธานอนุกรรมาธิการศึกษา เสนอแนะมาตรการและกลไกในการปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่มี พล.ร.อ. พะจุณณ์ ตามประทีป เป็นประธาน แถลงชี้แจงเกี่ยวกับความกังวลใน ร่าง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.... ว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว พบว่ามีพิรุธ เพราะมีการปกปิดไม่ให้ประชาชนรับรู้ โดยเฉพาะใน มาตรา 7 ที่ระบุ ยกเว้นไม่ให้ พ.ร.บ.ฉบับนี้บังคับใช้แก่การจัดซื้อจัดจ้างในรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ซึ่งไม่มีการให้นิยามที่ชัดเจนว่า หมายถึงหน่วยงานใดบ้าง อาทิ องค์การตลาดเพื่อการเกษตร(อตก.) องค์การคลังสินค้า(อคส.) จะเกี่ยวข้องกับพาณิชย์โดยตรงหรือไม่
ทั้งยังยกเว้นไม่ให้ใช้กฎหมายนี้กับการวิจัย หรือการจ้างที่ปรึกษา ซึ่งในอดีตพบว่า การจัดจ้างที่ปรึกษา มีการทุจริตมาก แต่ได้รับการยกเว้น เช่น ยกเว้นไม่ให้ใช้กับการดำเนินการโดยใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งการกู้เงินทำรถไฟฟ้า เมกะโปรเจกต์ ก็เข้าข่ายได้รับการยกเว้นด้วย ซ้ำยังปกปิดเนื้อหาและขัดแย้งกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญ ที่ระบุเจตนาว่า ต้องการต่อต้านการทุจริต
นายชาญชัย กล่าวว่า ในมาตรา 60 ที่ระบุว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังยกเว้นไม่ให้ดำเนินการกับการจ้างแบบเหมารวม ซึ่งไม่อาจจัดให้มีรูปแบบรายการก่อสร้างได้ หมายถึง รูปแบบวิธีเทิร์นคีย์ รวมถึงการออกแบบและก่อสร้างไปพร้อมกัน หรือ ดีไซน์แอนด์บิวด์ ได้ซึ่งเป็นช่องทางทุจริตคอร์รัปชัน เช่น โครงการบริหารจัดการน้ำตาม พ.ร.ก. เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ที่ให้บริษัทจากประเทศเกาหลีใต้ดำเนินการ ที่สังคมไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการทุจริตหรือไม่ ที่สำคัญ ครม.ถามเรื่องนี้ไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกาที่มาชี้แจง พบว่า มาตรานี้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เป็นผู้ร่างขึ้นมาเอง เพราะเป็นหัวหน้าคณะกฤฎีกา คณะที่ 1
"โดยเฉพาะกรณีที่ นายกฯ หรือรัฐมนตรี กระทำการเกี่ยวพันตาม มาตรา 60 ยังจะได้รับการยกเว้น ไม่สามารถถูกถอดถอนตามาตรา 63 ของพ.ร.บ. ป.ป.ช. หรือทำได้เพียงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ถอดถอนไม่ได้ ดังนั้นอนุกรรมาธิการฯ จึงได้เสนอให้มีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.นี้ เพื่อให้นายกฯ แก้ไขในมาตราที่เป็นปัญหา เพื่อจะได้ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ที่มีนายมีชัย เป็นผู้ร่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปราบโกง แต่พ.ร.บ.ฉบับนี้ กลับมีการอุ้มการโกง และไม่ให้มีการตรวจสอบการโกง มันกลับสวนทางกันเอง ซึ่งจะเป็นปัญหาในวันหน้าถ้ากฎหมายนี้ออกมาบังคับใช้ " นายชาญชัย กล่าว
ทั้งยังยกเว้นไม่ให้ใช้กฎหมายนี้กับการวิจัย หรือการจ้างที่ปรึกษา ซึ่งในอดีตพบว่า การจัดจ้างที่ปรึกษา มีการทุจริตมาก แต่ได้รับการยกเว้น เช่น ยกเว้นไม่ให้ใช้กับการดำเนินการโดยใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งการกู้เงินทำรถไฟฟ้า เมกะโปรเจกต์ ก็เข้าข่ายได้รับการยกเว้นด้วย ซ้ำยังปกปิดเนื้อหาและขัดแย้งกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญ ที่ระบุเจตนาว่า ต้องการต่อต้านการทุจริต
นายชาญชัย กล่าวว่า ในมาตรา 60 ที่ระบุว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังยกเว้นไม่ให้ดำเนินการกับการจ้างแบบเหมารวม ซึ่งไม่อาจจัดให้มีรูปแบบรายการก่อสร้างได้ หมายถึง รูปแบบวิธีเทิร์นคีย์ รวมถึงการออกแบบและก่อสร้างไปพร้อมกัน หรือ ดีไซน์แอนด์บิวด์ ได้ซึ่งเป็นช่องทางทุจริตคอร์รัปชัน เช่น โครงการบริหารจัดการน้ำตาม พ.ร.ก. เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ที่ให้บริษัทจากประเทศเกาหลีใต้ดำเนินการ ที่สังคมไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการทุจริตหรือไม่ ที่สำคัญ ครม.ถามเรื่องนี้ไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกาที่มาชี้แจง พบว่า มาตรานี้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เป็นผู้ร่างขึ้นมาเอง เพราะเป็นหัวหน้าคณะกฤฎีกา คณะที่ 1
"โดยเฉพาะกรณีที่ นายกฯ หรือรัฐมนตรี กระทำการเกี่ยวพันตาม มาตรา 60 ยังจะได้รับการยกเว้น ไม่สามารถถูกถอดถอนตามาตรา 63 ของพ.ร.บ. ป.ป.ช. หรือทำได้เพียงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ถอดถอนไม่ได้ ดังนั้นอนุกรรมาธิการฯ จึงได้เสนอให้มีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.นี้ เพื่อให้นายกฯ แก้ไขในมาตราที่เป็นปัญหา เพื่อจะได้ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ที่มีนายมีชัย เป็นผู้ร่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปราบโกง แต่พ.ร.บ.ฉบับนี้ กลับมีการอุ้มการโกง และไม่ให้มีการตรวจสอบการโกง มันกลับสวนทางกันเอง ซึ่งจะเป็นปัญหาในวันหน้าถ้ากฎหมายนี้ออกมาบังคับใช้ " นายชาญชัย กล่าว