พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามข้อมูลของกรมชลประทานระบุ ปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนทั่วประเทศปี 58/59 เหลือเพียง 4,247 ล้านลบ.ม. ซึ่งเป็นผลมาจากการระบายน้ำออกจำนวนมาก ตั้งแต่ปี 54/55 เพื่อป้องกันน้ำท่วม และจ่ายน้ำเข้าพื้นที่นา ตามโครงการรับจำนำข้าว รวมทั้งฝนทิ้งช่วง ทำให้น้ำในเขื่อนลดลงอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังพบว่าในอดีตที่ผ่านมา มีการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำและระบบส่งน้ำที่ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการน้ำที่แท้จริง โดยมีการจัดสรรงบประมาณสร้างแหล่งน้ำเฉพาะพื้นที่ที่เป็นฐานคะแนนเสียงของนักการเมือง ขาดการวางแผนแยกแยะอย่างเป็นระบบว่า บริเวณใดเป็นพื้นที่การเกษตร หรือบริเวณใดเป็นแหล่งชุมชนที่ประชาชนต้องการใช้น้ำประปา เพื่อการอุปโภคบริโภค ส่งผลให้การเกิดการลงทุนในพื้นที่ซ้ำๆ ขาดความเชื่อมโยงในการบริหารจัดการน้ำ
“ซ้ำร้ายยังไม่เคยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับเกษตรกรว่า พื้นที่ใดควรปลูกพืชชนิดใด จึงจะเหมาะกับสภาพภูมิประเทศ หรือมีน้ำเพียงพอหรือไม่ แต่กลับปล่อยให้เกษตรกรคิดเอง ทำเอง ทำเพื่อขาย ส่งเสริมให้ปลูกพืชราคาดีจำนวนมากเกินไปจนล้นตลาด และราคาตกมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น ข้าว ยางพารา ฯลฯ ถือเป็นการนำเกษตรกรมาเป็นตัวประกัน ให้รอคอยการช่วยเหลือ สร้างบุญคุณ และคะแนนนิยม”
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้พยายามแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด และสร้างความยั่งยืนด้วยแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำระยะยาว 12 ปี ภายใต้หลักประชารัฐ เปลี่ยนมุมมองจากการพิจารณาเฉพาะภาพกว้างในระดับลุ่มน้ำ เป็นการเจาะพื้นที่แคบลงในระดับอำเภอและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้เห็นปัญหาที่แท้จริง
“ท่านนายกฯ มองปัญหาอย่างรอบด้าน และต้องการแก้ไขปัญหาทั้งระบบโดยไม่ได้สนใจคะแนนเสียง แต่การดำเนินงานจำเป็นต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมาก รัฐบาลนี้จึงวางรากฐานเพื่อสร้างความมั่นคงในระยะยาวและส่งให้รัฐบาลต่อไป จึงขอให้ทุกฝ่ายทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังเพื่ออนาคตของประเทศ ทั้งนี้หากไม่ดำเนินการ ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนและเกษตรกรก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุด และกลับเข้าสู่วังวนเดิมๆ คือ การทำเพื่อหวังผลทางการเมืองต่อไป"
นอกจากนี้ ยังพบว่าในอดีตที่ผ่านมา มีการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำและระบบส่งน้ำที่ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการน้ำที่แท้จริง โดยมีการจัดสรรงบประมาณสร้างแหล่งน้ำเฉพาะพื้นที่ที่เป็นฐานคะแนนเสียงของนักการเมือง ขาดการวางแผนแยกแยะอย่างเป็นระบบว่า บริเวณใดเป็นพื้นที่การเกษตร หรือบริเวณใดเป็นแหล่งชุมชนที่ประชาชนต้องการใช้น้ำประปา เพื่อการอุปโภคบริโภค ส่งผลให้การเกิดการลงทุนในพื้นที่ซ้ำๆ ขาดความเชื่อมโยงในการบริหารจัดการน้ำ
“ซ้ำร้ายยังไม่เคยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับเกษตรกรว่า พื้นที่ใดควรปลูกพืชชนิดใด จึงจะเหมาะกับสภาพภูมิประเทศ หรือมีน้ำเพียงพอหรือไม่ แต่กลับปล่อยให้เกษตรกรคิดเอง ทำเอง ทำเพื่อขาย ส่งเสริมให้ปลูกพืชราคาดีจำนวนมากเกินไปจนล้นตลาด และราคาตกมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น ข้าว ยางพารา ฯลฯ ถือเป็นการนำเกษตรกรมาเป็นตัวประกัน ให้รอคอยการช่วยเหลือ สร้างบุญคุณ และคะแนนนิยม”
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้พยายามแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด และสร้างความยั่งยืนด้วยแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำระยะยาว 12 ปี ภายใต้หลักประชารัฐ เปลี่ยนมุมมองจากการพิจารณาเฉพาะภาพกว้างในระดับลุ่มน้ำ เป็นการเจาะพื้นที่แคบลงในระดับอำเภอและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้เห็นปัญหาที่แท้จริง
“ท่านนายกฯ มองปัญหาอย่างรอบด้าน และต้องการแก้ไขปัญหาทั้งระบบโดยไม่ได้สนใจคะแนนเสียง แต่การดำเนินงานจำเป็นต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมาก รัฐบาลนี้จึงวางรากฐานเพื่อสร้างความมั่นคงในระยะยาวและส่งให้รัฐบาลต่อไป จึงขอให้ทุกฝ่ายทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังเพื่ออนาคตของประเทศ ทั้งนี้หากไม่ดำเนินการ ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนและเกษตรกรก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุด และกลับเข้าสู่วังวนเดิมๆ คือ การทำเพื่อหวังผลทางการเมืองต่อไป"