นางรัตนา กิจวรรณ ผู้ว่าการ กปภ. เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้เริ่มต้นขึ้นเร็วกว่าทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำหลักที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาลดลงมาก ทั้งนี้ กปภ.ได้บูรณาการสถานการณ์น้ำร่วมกับกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด เพื่อบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งให้เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำของประชาชนให้น้อยที่สุด โดยจุดที่ต้องเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์เป็นพิเศษในขณะนี้ ประกอบด้วย กปภ.สาขาเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังคงผลิตจ่ายน้ำให้ประชาชนกว่า 101,000 ราย ในพื้นที่บริการ 8 อำเภอได้ตามปกติ ได้แก่ อ.เมือง สันทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง สารภี หางดง สันป่าตอง และ อ.แม่วาง ด้วยอัตราการผลิตประมาณ 175,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน แม้ว่าปริมาณน้ำในเขื่อนแม่กวงและเขื่อนแม่งัด ซึ่งเป็น 2 เขื่อนหลักที่นำมาใช้ผลิตน้ำประปาจะมีปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง กปภ.มีแผนงานสอดคล้องกับการจัดการน้ำของกรมชลประทาน ขอให้ประชาชนไม่ต้องกังวลว่าจะขาดแคลนน้ำประปาใช้รวมถึงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ด้วย เนื่องจากประเมินแล้วว่าแผนจัดการน้ำและแผนสำรองที่เตรียมไว้จะช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งนี้ไปได้ เช่นเดียวกับ กปภ. 6 สาขา ในพื้นที่ จ.เชียงราย คือ กปภ.สาขาเชียงราย พาน เทิง เวียงเชียงของ แม่สาย และแม่ขะจาน ยังคงผลิตจ่ายน้ำได้ตามปกติ ด้าน กปภ.สาขาพะเยา แม้ว่าจะใช้กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำดิบแห่งเดียวในการผลิตน้ำประปา ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้ำเหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ของความจุหรือประมาณ 15.15 ล้าน ลูกบาศก์เมตร และบางส่วนต้องเก็บไว้เพื่อรักษาระบบนิเวศ ในเบื้องต้นประเมินว่าเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค 3 – 5 เดือน สิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง คือ ปัญหาวัชพืชจำพวกสาหร่ายที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มส่งผลต่อคุณภาพน้ำบ้างแล้ว รวมถึงปัญหาการปล่อยน้ำเสียลงสู่กว๊านพะเยา ทั้งนี้ในบริเวณจุดสูบน้ำของ กปภ.สาขาพะเยายังคงมีคุณภาพในเกณฑ์ใช้การได้ ซึ่งทางจังหวัดได้ประชุมขอความร่วมมือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังและแก้ปัญหาร่วมกันแล้ว
อย่างไรก็ตาม กปภ.สาขาพะเยาได้เตรียมแหล่งน้ำสำรองไว้ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำหนองขวาง อ.ดอกคำใต้ ความจุ 2.3 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำร่องติ้ว อ.ภูกามยาว พื้นที่กว่า 400 ไร่ เพื่อใช้ผลิตน้ำประปากรณีระดับน้ำในกว๊านพะเยามีปริมาณไม่เพียงพอ
สำหรับ กปภ.สาขาลำพูน ใช้น้ำจากแม่น้ำปิงที่รับน้ำมาจากเขื่อนแม่งัด ผลิตน้ำประปาประมาณ 17,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขณะนี้สามารถผลิตจ่ายน้ำได้ตามปกติ แม้ว่าเขื่อนแม่งัดเริ่มจำกัดปริมาณการปล่อยน้ำแล้วก็ตาม กรมชลประทานได้คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำจะเพียงพอจนถึงเดือนพฤษภาคม 2559 กปภ.สาขาลำพูนจึงได้ปรับปรุงบ่อบาดาล 2 บ่อ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้สำรองกรณีแหล่งน้ำดิบหลักมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และได้ประสานงานกับกรมชลประทาน ฝ่ายทหาร และฝ่ายปกครองในพื้นที่เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด
นายหลักชัย พัฒนเจริญ ผู้อำนวยการ กปภ.เขต 9 กล่าวเพิ่มเติมว่า กปภ.ต้องขอความร่วมมือประชาชน ใช้น้ำประปาอย่างประหยัดและตระหนักถึงวิกฤตภัยแล้งที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีน้ำเหลือใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง แม้ว่าขณะนี้ กปภ.จะยังผลิตจ่ายน้ำได้ตามปกติ และต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่มีความเข้าใจและพร้อมให้ความร่วมมือกับ กปภ. ในการจัดสรรน้ำให้กับภาคการอุปโภคบริโภคเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม กปภ.สาขาพะเยาได้เตรียมแหล่งน้ำสำรองไว้ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำหนองขวาง อ.ดอกคำใต้ ความจุ 2.3 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำร่องติ้ว อ.ภูกามยาว พื้นที่กว่า 400 ไร่ เพื่อใช้ผลิตน้ำประปากรณีระดับน้ำในกว๊านพะเยามีปริมาณไม่เพียงพอ
สำหรับ กปภ.สาขาลำพูน ใช้น้ำจากแม่น้ำปิงที่รับน้ำมาจากเขื่อนแม่งัด ผลิตน้ำประปาประมาณ 17,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขณะนี้สามารถผลิตจ่ายน้ำได้ตามปกติ แม้ว่าเขื่อนแม่งัดเริ่มจำกัดปริมาณการปล่อยน้ำแล้วก็ตาม กรมชลประทานได้คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำจะเพียงพอจนถึงเดือนพฤษภาคม 2559 กปภ.สาขาลำพูนจึงได้ปรับปรุงบ่อบาดาล 2 บ่อ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้สำรองกรณีแหล่งน้ำดิบหลักมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และได้ประสานงานกับกรมชลประทาน ฝ่ายทหาร และฝ่ายปกครองในพื้นที่เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด
นายหลักชัย พัฒนเจริญ ผู้อำนวยการ กปภ.เขต 9 กล่าวเพิ่มเติมว่า กปภ.ต้องขอความร่วมมือประชาชน ใช้น้ำประปาอย่างประหยัดและตระหนักถึงวิกฤตภัยแล้งที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีน้ำเหลือใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง แม้ว่าขณะนี้ กปภ.จะยังผลิตจ่ายน้ำได้ตามปกติ และต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่มีความเข้าใจและพร้อมให้ความร่วมมือกับ กปภ. ในการจัดสรรน้ำให้กับภาคการอุปโภคบริโภคเป็นอย่างดี