เมื่อเวลา13.00 น.วานนี้ (28ม.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชนสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี ฝั่งสำนักงานก.พ. กลุ่มสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย (รปภ.) กว่า 100 คน นำโดย นายธนพล พลเยี่ยม เลขาธิการสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ผ่านศูนย์บริการประชาชน เพื่อขอให้ชะลอการบังคับใช้ พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 4 มี.ค. นี้ โดยมี นายพันธ์ศักดิ์ เจริญ ผอ.ฝ่ายประสานมวลชน เป็นตัวแทนรับเรื่อง
นายธนพล กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวยังมีข้อบกพร่อง ที่กระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ประกอบการธุรกิจรักษาความความปลอดภัย สุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่เจตนา ของผู้ประกอบการ และบางมาตราเป็นการลิดรอนสิทธิในการเลือกประกอบอาชีพ อาทิ การเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งทางบริษัทได้เสียภาษีให้แก่รัฐ เหมือนกันธุรกิจอื่นๆ การกำหนดให้พนักงานเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการอบรมผ่านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ซึ่งทำให้บริษัทต้องเสียค่าอบรม จำนวน 2,000 - 6,000 บาทต่อคน เห็นว่าบริษัทไม่ควรต้องเสียส่วนต่างตรงนี้ รวมถึงการกำหนดให้ รปภ. มีความรู้ขั้นต่ำตามการศึกษาภาคบังคับไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นผลให้รปภ. ที่ขณะนี้มีอายุ 29 ปีขึ้นไป ไม่สามารถเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยได้ประมาณ 1 แสนคน และจะกระทบต่อสัญญาจ้าง ที่บริษัทรปภ.ไปดำเนินการในเรื่องรักษาความปลอดภัย การกำหนดให้จดทะเบียนบริษัทด้วยคำนำหน้าว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย”เป็นเหตุให้ ไม่มีความคล่องตัวในการนำบริษัทไปประกอบธุรกิจอื่น และจะเป็นการสิ้นเปลืองในการจดทะเบียนอีกชื่อหนึ่ง ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้รัฐ เอาเปรียบเอกชน โดยไม่ครอบคลุมไปถึงองค์การทหารผ่านศึก อาจเป็นการเอาเปรียบทางการค้า ในอนาคต
"ทั้งการเร่งออกกฎหมายดังกล่าว ขาดความรอบคอบในการศึกษา ไม่มีการฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ จึงเชื่อว่าการเร่งรีบดังกล่าว คล้ายกับมีผู้ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากพ.ร.บ.ดังกล่าว จึงเห็นควรให้ศึกษาผลกระทบให้รอบด้านมากกว่านี้ ทั้งนี้ หากบังคับใช้จะทำให้มีคนตกงาน ขอให้รัฐบาลชะลอการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว และควรตั้งคณะกรรมการร่วมแสดงความคิดเห็น แก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงด้วย" นายธนพล กล่าว
นายธนพล กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวยังมีข้อบกพร่อง ที่กระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ประกอบการธุรกิจรักษาความความปลอดภัย สุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่เจตนา ของผู้ประกอบการ และบางมาตราเป็นการลิดรอนสิทธิในการเลือกประกอบอาชีพ อาทิ การเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งทางบริษัทได้เสียภาษีให้แก่รัฐ เหมือนกันธุรกิจอื่นๆ การกำหนดให้พนักงานเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการอบรมผ่านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ซึ่งทำให้บริษัทต้องเสียค่าอบรม จำนวน 2,000 - 6,000 บาทต่อคน เห็นว่าบริษัทไม่ควรต้องเสียส่วนต่างตรงนี้ รวมถึงการกำหนดให้ รปภ. มีความรู้ขั้นต่ำตามการศึกษาภาคบังคับไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นผลให้รปภ. ที่ขณะนี้มีอายุ 29 ปีขึ้นไป ไม่สามารถเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยได้ประมาณ 1 แสนคน และจะกระทบต่อสัญญาจ้าง ที่บริษัทรปภ.ไปดำเนินการในเรื่องรักษาความปลอดภัย การกำหนดให้จดทะเบียนบริษัทด้วยคำนำหน้าว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย”เป็นเหตุให้ ไม่มีความคล่องตัวในการนำบริษัทไปประกอบธุรกิจอื่น และจะเป็นการสิ้นเปลืองในการจดทะเบียนอีกชื่อหนึ่ง ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้รัฐ เอาเปรียบเอกชน โดยไม่ครอบคลุมไปถึงองค์การทหารผ่านศึก อาจเป็นการเอาเปรียบทางการค้า ในอนาคต
"ทั้งการเร่งออกกฎหมายดังกล่าว ขาดความรอบคอบในการศึกษา ไม่มีการฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ จึงเชื่อว่าการเร่งรีบดังกล่าว คล้ายกับมีผู้ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากพ.ร.บ.ดังกล่าว จึงเห็นควรให้ศึกษาผลกระทบให้รอบด้านมากกว่านี้ ทั้งนี้ หากบังคับใช้จะทำให้มีคนตกงาน ขอให้รัฐบาลชะลอการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว และควรตั้งคณะกรรมการร่วมแสดงความคิดเห็น แก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงด้วย" นายธนพล กล่าว