วานนี้ (27ม.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงกรณีว่า เป็นห่วงเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้หรือไม่ ว่า "ไม่ห่วงเลยมั้ง ถามอยู่ได้ ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ ว่าห่วงมั๊ย ถ้าไม่ห่วงจะเข้ามายืนอยู่ตรงนี้หรือ ส่วนแผนสำรองก็มีไว้อยู่แล้ว คิดไว้ในหัวทั้งหมด แต่ถ้าเป็นคำสั่ง ก็จะต้องมีการปฏิบัติตามนั้นถึงจะเป็นข่าว และประชาสัมพันธ์ได้ สื่ออย่าทำเป็นคนใจร้อน ถ้าใจร้อนมันก็วุ่นไปหมด"
เมื่อถามว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้มาปรึกษาอะไรบ้างหรือยัง หลังจากที่มีการพูดถึงกรณีก่อนมีการทำประชามติ จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตอนนี้ฝ่ายกฎหมายเขากำลังดูอยู่ "แล้วมันจะต้องแก้ตรงไหนล่ะ วันนี้ยังไม่มีใครมาปรึกษาอะไร"
เมื่อถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อรองรับการออกมาใช้เสียงในการทำประชามติ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่รู้ เพียงแต่ตนต้องการให้คนออกมาใช้สิทธิ์ให้มาก แล้วทำไมจะให้ถอยหลังกลับไปที่เดิมอีก หรือพวกสื่อคิดว่าไม่จำเป็น เห็นบางคนถึงกับเสนอว่า ให้ลดภาษีกับคนที่ออกมาเลือกตั้ง แล้วให้คนที่ไม่ออกมาเลือกตั้ง ถูกขึ้นภาษี สอนคนอย่างนี้หรือ ที่ผ่านมาตามใจกันทุกเรื่อง วันนี้หน้าที่ ก็คือหน้าที่ หน้าที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องเสีย ส่วนการเลือกตั้งก็คือหน้าที่ในการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย แต่กลายเป็นว่าเอาหน้าที่ เอาสิทธิมาปนกันไปหมด ทำไมจะต้องจ้างกันทุกเรื่องหรืออย่างไร เลือกตั้งก็ต้องจ้าง เลือกผู้แทนฯ ก็ต้องจ้าง ประชามติ ก็ต้องจ้างอีก แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาจ้าง สิ่งนี้เป็นบ่อเกิดที่ทำให้ไม่มีธรรมาภิบาล เป็นบ่อเกิดของการเป็นประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ใช่เสียงคนทั้งประเทศ ทุกคนก็รู้อยู่แล้ว อย่าไปสอนคนให้คิดง่ายๆ
" ผมต้องการให้คนรับรู้เรื่องในระยะยาว ประเทศชาติจะต้องอยู่อย่างไร สิทธิ เสรีภาพ ควรมีแค่ไหน ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร ถ้าเป็นกฎหมายที่ถูกต้อง ไม่ใช่เอาไปปนรวมกันหมด ทั้งสิทธมนุษยชน กับการกระทำผิดกฎหมาย"
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ก็จะยังคงยึดโรดแมปเดิม คือ เลือกตั้งเดือนก.ค.60 ว่า ไม่ทราบจริงๆว่าแผนของนายกฯ เป็นอย่างไร แต่ยืนยันว่า ไม่มีร่างสำรองอะไรไว้เลย เพียงแต่ว่าอย่างไรก็ต้องแก้ปัญหาให้ได้ แต่จะเป็นปัญหาในส่วนไหนบ้างนั้น ตนไม่รู้ ส่วนเรื่องความชัดเจนการออกเสียงประชามติ ว่าจะใช้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ์ หรือผู้มาใช้สิทธิ์นั้น ตรงนี้ต้องพิจารณาว่า จะแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ให้เกิดความชัดเจนด้วยหรือไม่ แต่ยังไม่จำเป็นต้องแก้ในตอนนี้ เอาไว้เมื่อ ไรมีความชัดเจนแล้ว ตนจะบอกให้ทราบ
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ดูเหมือนนายกฯ มีข้อสรุปตั้งแต่ต้นว่า การแก้ปัญหาของประเทศ ต้องเป็นไปตามที่ตัวเองต้องการเท่านั้น การประกาศว่ามีแนวทางไปสู่การเลือกตั้งตามโรดแมป หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ คือ การเน้นย้ำอำนาจของตัวเองว่า อยู่เหนืออำนาจอธิปไตยของประชาชน ถ้าหากเป็นเช่นนี้ เท่ากับเรากำลังจะทำประชามติแบบเปิดถ้วยแทง คือ ถ้ารับ ก็ได้รัฐธรรมนูญฉบับตามใจแป๊ะ ถ้าไม่รับ ก็ต้องเดินตามใจแป๊ะ ซึ่งคงไม่ต่างกับสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญนี้อยู่ดี จึงไม่ทราบว่าจะประชามติกันเพื่ออะไร
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า นัยของการโหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กินความกว้างไปถึงการไม่ยอมรับกระบวนการอำนาจของ คสช. ดังนั้น 1 ปี จากประชามติ ก.ค. 59 ถึงเลือกตั้งก.ค.60 จึงมากด้วยแรงเสียดทานระหว่างผู้มีอำนาจ กับประชาชน เปรียบเหมือนช่วงแรกๆ คนบางส่วนอาจเห็นว่าอำนาจ ม. 44 ดูน่ารัก เหมือนนายกฯ อุ้มตุ๊กตา แต่หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ม.44 อาจถูกมองเหมือนตุ๊กตาลูกเทพ ที่เจ้าของคิดว่า มีอิทธิปาฏิหาริย์ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น
"สิ่งที่ควรจะเป็น คือเร่งคืนอำนาจให้ประชาชน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 40 ให้มีการเลือกตั้งภายในปี 59 โดยมีบทเฉพาะกาล ให้รัฐสภาของประชาชนจัดการเลือกตั้งส.ส.ร. แล้วจัดทำรัฐธรรมนูญพร้อมลงประชามติให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แบบนี้ถึงจะเดินไปข้างหน้าได้ " นายณัฐวุฒิกล่าว
เมื่อถามว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้มาปรึกษาอะไรบ้างหรือยัง หลังจากที่มีการพูดถึงกรณีก่อนมีการทำประชามติ จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตอนนี้ฝ่ายกฎหมายเขากำลังดูอยู่ "แล้วมันจะต้องแก้ตรงไหนล่ะ วันนี้ยังไม่มีใครมาปรึกษาอะไร"
เมื่อถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อรองรับการออกมาใช้เสียงในการทำประชามติ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่รู้ เพียงแต่ตนต้องการให้คนออกมาใช้สิทธิ์ให้มาก แล้วทำไมจะให้ถอยหลังกลับไปที่เดิมอีก หรือพวกสื่อคิดว่าไม่จำเป็น เห็นบางคนถึงกับเสนอว่า ให้ลดภาษีกับคนที่ออกมาเลือกตั้ง แล้วให้คนที่ไม่ออกมาเลือกตั้ง ถูกขึ้นภาษี สอนคนอย่างนี้หรือ ที่ผ่านมาตามใจกันทุกเรื่อง วันนี้หน้าที่ ก็คือหน้าที่ หน้าที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องเสีย ส่วนการเลือกตั้งก็คือหน้าที่ในการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย แต่กลายเป็นว่าเอาหน้าที่ เอาสิทธิมาปนกันไปหมด ทำไมจะต้องจ้างกันทุกเรื่องหรืออย่างไร เลือกตั้งก็ต้องจ้าง เลือกผู้แทนฯ ก็ต้องจ้าง ประชามติ ก็ต้องจ้างอีก แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาจ้าง สิ่งนี้เป็นบ่อเกิดที่ทำให้ไม่มีธรรมาภิบาล เป็นบ่อเกิดของการเป็นประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ใช่เสียงคนทั้งประเทศ ทุกคนก็รู้อยู่แล้ว อย่าไปสอนคนให้คิดง่ายๆ
" ผมต้องการให้คนรับรู้เรื่องในระยะยาว ประเทศชาติจะต้องอยู่อย่างไร สิทธิ เสรีภาพ ควรมีแค่ไหน ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร ถ้าเป็นกฎหมายที่ถูกต้อง ไม่ใช่เอาไปปนรวมกันหมด ทั้งสิทธมนุษยชน กับการกระทำผิดกฎหมาย"
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ก็จะยังคงยึดโรดแมปเดิม คือ เลือกตั้งเดือนก.ค.60 ว่า ไม่ทราบจริงๆว่าแผนของนายกฯ เป็นอย่างไร แต่ยืนยันว่า ไม่มีร่างสำรองอะไรไว้เลย เพียงแต่ว่าอย่างไรก็ต้องแก้ปัญหาให้ได้ แต่จะเป็นปัญหาในส่วนไหนบ้างนั้น ตนไม่รู้ ส่วนเรื่องความชัดเจนการออกเสียงประชามติ ว่าจะใช้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ์ หรือผู้มาใช้สิทธิ์นั้น ตรงนี้ต้องพิจารณาว่า จะแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ให้เกิดความชัดเจนด้วยหรือไม่ แต่ยังไม่จำเป็นต้องแก้ในตอนนี้ เอาไว้เมื่อ ไรมีความชัดเจนแล้ว ตนจะบอกให้ทราบ
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ดูเหมือนนายกฯ มีข้อสรุปตั้งแต่ต้นว่า การแก้ปัญหาของประเทศ ต้องเป็นไปตามที่ตัวเองต้องการเท่านั้น การประกาศว่ามีแนวทางไปสู่การเลือกตั้งตามโรดแมป หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ คือ การเน้นย้ำอำนาจของตัวเองว่า อยู่เหนืออำนาจอธิปไตยของประชาชน ถ้าหากเป็นเช่นนี้ เท่ากับเรากำลังจะทำประชามติแบบเปิดถ้วยแทง คือ ถ้ารับ ก็ได้รัฐธรรมนูญฉบับตามใจแป๊ะ ถ้าไม่รับ ก็ต้องเดินตามใจแป๊ะ ซึ่งคงไม่ต่างกับสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญนี้อยู่ดี จึงไม่ทราบว่าจะประชามติกันเพื่ออะไร
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า นัยของการโหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กินความกว้างไปถึงการไม่ยอมรับกระบวนการอำนาจของ คสช. ดังนั้น 1 ปี จากประชามติ ก.ค. 59 ถึงเลือกตั้งก.ค.60 จึงมากด้วยแรงเสียดทานระหว่างผู้มีอำนาจ กับประชาชน เปรียบเหมือนช่วงแรกๆ คนบางส่วนอาจเห็นว่าอำนาจ ม. 44 ดูน่ารัก เหมือนนายกฯ อุ้มตุ๊กตา แต่หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ม.44 อาจถูกมองเหมือนตุ๊กตาลูกเทพ ที่เจ้าของคิดว่า มีอิทธิปาฏิหาริย์ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น
"สิ่งที่ควรจะเป็น คือเร่งคืนอำนาจให้ประชาชน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 40 ให้มีการเลือกตั้งภายในปี 59 โดยมีบทเฉพาะกาล ให้รัฐสภาของประชาชนจัดการเลือกตั้งส.ส.ร. แล้วจัดทำรัฐธรรมนูญพร้อมลงประชามติให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แบบนี้ถึงจะเดินไปข้างหน้าได้ " นายณัฐวุฒิกล่าว