ปัญญาพลวัตร
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
เราก็มักได้ยินผู้บริหารประเทศหลายยุคหลายสมัยพูดอยู่เสมอว่าหน่วยงานของรัฐควรทำงานแบบบูรณาการ แต่ขณะเดียวกันเราก็มักได้ยินอยู่บ่อยไม่แพ้กันโดยเฉพาะยามที่ปัญหาต่างๆไม่อาจแก้ไขลุล่วงไปได้ว่า เกิดจากการ “ขาดการบูรณาการ” ในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ คำถามคือทำไมการทำงานแบบบูรณาการจึงมีสำคัญและเป็นความปรารถนาของผู้บริหารประเทศ และเหตุใดการทำงานแบบบูรณาการจึงเกิดได้ยากเย็นทั้งที่ผู้บริหารประเทศซึ่งมีอำนาจมากประสงค์ให้เกิดขึ้นมา
จากความจริงที่ว่าปัญหาต่างๆของประเทศทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ผมคิดว่ามีผู้คนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องในแวดวงการทำงานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาในเรื่องเหล่านั้นรับรู้ธรรมชาติของปัญหาเหล่านั้นเป็นอย่างดี พวกเขาจึงพยายามพูดและส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหาอย่างถ่องแท้ในทุกมิติ
เมื่อเข้าใจปัญหาทั้งระบบแล้ว การดำเนินการแสวงหายุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติก็ต้องเป็นไปตามวิถีเดียวกัน นั่นคือจะต้องมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆภาครัฐ และภาคส่วนอื่นๆของสังคมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างประสานสอดคล้องกลมกลืนกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดพลังในการบรรเทาและขจัดปัญหาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิผล
ผมคิดว่าผู้บริหารประเทศจำนวนไม่น้อยมีความปรารถนาอย่างจริงใจในการแก้ไขปัญหาของประเทศ และพวกเขาเชื่อการบูรณาการของภาคส่วนต่างๆ เป็นมรรคาอันสำคัญในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
แต่ทำไมการบูรณาการทั้งในแง่ของการวิเคราะห์ปัญหาและการนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติจึงเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากเย็น มีเพียงบางเรื่องและบางหน่วยงานเท่านั้นที่พอจะเห็นร่องรอยของการบูรณาการอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วการคิดวิเคราะห์และการปฏิบัติมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางแบบเสี่ยงเสี้ยวและต่างคนต่างทำกันเสียมากกว่า
ปมปัญหาเริ่มต้นจากวิธีคิดของฝ่ายต่างๆซึ่งมักยึดติดกับตำแหน่งแห่งที่และตัวตนของตนเอง กลุ่มและองค์การที่สังกัด การได้รับการอบรมบ่มเพาะจากระบบการศึกษา ซึ่งมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามวิถีของระบบทุนนิยม ผสมผสานกับการกล่อมเกลาทางสังคมซึ่งกระทำผ่านบทกวีนิพนธ์ของสุนทรภู่อย่างยาวนานที่ว่า “อันความรู้ รู้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” จึงทำให้คนในสังคมให้ความสำคัญกับความรู้เฉพาะทางเป็นอย่างสูง และเมื่อผสมกับลัทธิปัจเจกนิยมสุดขั้วของสังคมไทย ซึ่งถูกเสริมแรงด้วยบทกวีอีกบทหนึ่งที่ว่า “รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” ก็ยิ่งทำให้ “การใช้วิชาความรู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อเอาตัวรอดปลอดภัยไว้ก่อน” เป็นหลักในการดำรงชีวิต
การเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างและการเอาตัวรอดเป็นวิธีคิดที่ได้รับการตอกย้ำอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง และมีตัวอย่างให้เห็นได้ประจักษ์แก่สายตาของผู้คนอยู่มากว่า วิธีคิดนี้สร้างผลลัพธ์ที่เป็นจริงให้เกิดขึ้นได้ สิ่งที่ตามมาคือวิธีคิดนี้กลายเป็นวิธีคิดกระแสหลักที่ครอบงำจิตสำนึกของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม ขณะที่ความคิดเชิงระบบแบบองค์รวมและการเอาสังคมโดยรวมให้รอดเป็นสิ่งถูกละเลย แม้ว่าจะมีการพูดถึงบ้าง ก็มีประปรายและไม่ทรงพลังเท่ากับวิธีคิดแบบแรก
เมื่อใช้วิธีคิดแบบแบบเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการวิเคราะห์ปัญหา ก็จะเห็นปัญหานั้นชัดเจนภายใต้วิธีคิดแบบนั้น แต่จะมองไม่เห็นปัญหาในแง่มุมอื่นๆและไม่เห็นว่าประเด็นปัญหาต่างๆ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารประเทศในยุคหนึ่ง ซึ่งอาจมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์พฤติกรรมของปัจเจกบุคคล วิเคราะห์ปัญหาความยากจนว่า เกิดจากความขี้เกียจของประชาชน เมื่อวิเคราะห์โดยใช้แนวทางพฤติกรรมเขาก็จะเห็นปัญหาเฉพาะในมิติพฤติกรรมที่แสดงออกมาของบุคลเท่านั้น โดยมองไม่เห็นมิติในเชิงโครงสร้างสังคมว่ามีอิทธิพลต่อการเกิดความยากจนอย่างไร
พวกเขาจึงคิดวิธีการในการแก้ปัญหาโดยการรณรงค์ให้ประชาชนขยัน และมีการสร้างคำขวัญที่ว่า “ไม่มีความยากจน ในหมู่คนขยัน” ขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการรณรงค์ แต่ว่ามิอาจแก้ปัญหาได้เพราะความยากจนนั้นมีกลไกเชิงสาเหตุที่ซับซ้อนกว่าเรื่องของความขี้เกียจแต่เพียงอย่างเดียว
หรืออย่างวิธีคิดหลักของหน่วยงานราชการไทยอีกประการหนึ่ง ที่ชอบวิเคราะห์ว่าความยากจนของประชาชนเกิดจาก “การขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ” พวกเขาจึงคิดแก้ไขโดยการจัดตั้งหน่วยงานฝึกอาชีพและโครงการอบรมอาชีพกันอย่างมากมาย เรียกได้ว่าแทบทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม ต่างก็มีศูนย์หรือสถาบันอบรมส่งเสริมการสร้างอาชีพกันทั่วหน้า และมีโครงการอบรมอาชีพชาวบ้านเป็นกิจวัตรประจำปี
โครงการอบรมอาชีพเกือบทั้งหมดของหน่วยงานราชการคือการสอนหรือให้ความรู้ในเรื่องวิธีการผลิตสินค้าหัตกรรม การเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์เท่านั้น โดยไม่ได้วิเคราะห์ความต้องการและความเป็นไปได้ในมิติต่างๆทั้งเรื่องวัตถุดิบ แหล่งทุน การเงิน การบัญชี บุคลากร ระบบการจัดการ และการตลาด ที่จะสามารถทำให้ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพได้อย่างเป็นจริงและต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นคือหน่วยงานราชการอบรมแล้วก็จบกันไป แต่ปัญหาความยากจนก็ยังคงอยู่กับชาวบ้านเหมือนเดิม ยิ่งกว่านั้นบางแห่งก็ยากจนลงไปกว่าเดิม ด้วยเกิดหนี้สินตามมาจากการปฏิบัติตามในสิ่งที่หน่วยงานราชการบางแห่งแนะนำให้ทำ
การติดกับดักของวิธีคิดแบบเสี่ยงเสี้ยวในการวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาจึงกลายมาเป็นตัวปัญหาเสียเอง
สำหรับการปฏิบัติงานแบบ “รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” มีให้เห็นกันโดยทั่วไปทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชนและองค์การ ระดับบุคคลคือการมีพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว แสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวเองโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ เข้าทำนอง “ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ ต้องเอาด้วยคาถา” เพื่อให้ตัวเองหลุดรอดปลอดภัย ยิ่งกว่านั้นคนพวกนี้จะไม่ยอมลงทุน ลงแรง และลงปัญญาใดๆทั้งสิ้น รอจังหวะหากเรื่องที่เกิดขึ้นจบสิ้นลงและเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นมา ก็จะสวมรอย ฉกฉวยโอกาสเอาผลงานผู้อื่นมาเป็นผลงานตัวเอง เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด
การรักษาตัวรอดของบุคคลบางคนอาจขยายออกไปเป็นสู่ระดับครอบครัว เครือญาติและพวกพ้อง โดยสร้างอาณาจักรเครือญาติวงศ์ตระกูลและพวกพ้องขึ้นมาเพื่อสืบทอดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อำนาจทางการเมืองและวัฒนธรรม ดังเช่น การผูกขาดด้านธุรกิจของกลุ่มนายทุน การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของนักการเมือง การผูกขาดและสืบทอดอำนาจในหน่วยงานราชการบางหน่วยของบางกลุ่มหรือบางตระกูล และแม้กระทั่งในแวดวงศาสนาก็มีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกันโดยมีการสืบทอดตำแหน่งผู้นำศาสนาไปสู่บุตรหลานเครือญาติของตนเอง
ในระดับชุมชนและองค์การก็เห็นได้อยู่ไม่น้อย ดังการจัดสรรงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลบางแห่ง ตัวแทนหมู่บ้านแต่ละแห่ง ต่างก็พยายามแข่งขันช่วงชิงโครงการมาลงในหมู่บ้านตัวเอง หรือในระดับประเทศ ส.ส.แต่ละเขต แต่ละจังหวัดก็มีพฤติกรรมไม่แตกต่างจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ต่างคนต่างแย่งชิงงบประมาณแผ่น เพื่อนำมาลงในเขตเลือกตั้งของตนเอง ส่วนตัวแทนจากหน่วยงานราชการก็ไม่เบา มีการใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อดึงงบประมาณให้มากที่สุดแก่หน่วยงานของตนเอง
เมื่อต่างคน ต่างองค์การ ต่างพยายามรักษาตัวรอดด้วยการแย่งชิงทรัพยากรให้ได้มากที่สุด การบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่ปัญหานั้นแก้ไขได้สำเร็จ ต่างฝ่ายต่างก็พยายามช่วงชิงเอาไปเป็นผลงานของตนเอง เพื่อนำความสำเร็จเป็นฐานในการขอเลื่อนตำแหน่ง เพิ่มอำนาจ ขยายทรัพยากร และงบประมาณต่อไป
ด้วยปม “อภิปัญหา” ในด้านวิธีคิดที่เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และวิธีการปฏิบัติที่เน้นการรักษาตัวรอดเป็นยอดดี จึงทำให้สังคมไทยมีโอกาสน้อยในการเกิดบูรณาการด้านวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแนวทางแก้ปัญหา และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ปัญหาต่างๆจึงหมักหมมอย่างต่อเนื่อง จนยากที่จะแก้ไขให้สำเร็จได้ในช่วงเวลาสั้นๆ
“วิธีคิดแบบองค์รวมและการรักษาสังคมส่วนรวมให้รอด” เป็นเสาหลักที่จักทำให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติงาน หากวิธีคิดแบบนี้เติบโตและขยายออกไป โอกาสการคิดและทำงานแบบบูรณาการในสังคมไทยก็จะขยายออกไปมากยิ่งขึ้น ยิ่งการทำงานแบบบูรณาการขยายออกไปมากเท่าไร โอกาสที่จะทำให้สังคมมีสมรรถนะในการแก้ปัญหาต่างๆก็มีสูงขึ้นตามไปด้วย และจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของประเทศต่อไป
โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
เราก็มักได้ยินผู้บริหารประเทศหลายยุคหลายสมัยพูดอยู่เสมอว่าหน่วยงานของรัฐควรทำงานแบบบูรณาการ แต่ขณะเดียวกันเราก็มักได้ยินอยู่บ่อยไม่แพ้กันโดยเฉพาะยามที่ปัญหาต่างๆไม่อาจแก้ไขลุล่วงไปได้ว่า เกิดจากการ “ขาดการบูรณาการ” ในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ คำถามคือทำไมการทำงานแบบบูรณาการจึงมีสำคัญและเป็นความปรารถนาของผู้บริหารประเทศ และเหตุใดการทำงานแบบบูรณาการจึงเกิดได้ยากเย็นทั้งที่ผู้บริหารประเทศซึ่งมีอำนาจมากประสงค์ให้เกิดขึ้นมา
จากความจริงที่ว่าปัญหาต่างๆของประเทศทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ผมคิดว่ามีผู้คนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องในแวดวงการทำงานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาในเรื่องเหล่านั้นรับรู้ธรรมชาติของปัญหาเหล่านั้นเป็นอย่างดี พวกเขาจึงพยายามพูดและส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหาอย่างถ่องแท้ในทุกมิติ
เมื่อเข้าใจปัญหาทั้งระบบแล้ว การดำเนินการแสวงหายุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติก็ต้องเป็นไปตามวิถีเดียวกัน นั่นคือจะต้องมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆภาครัฐ และภาคส่วนอื่นๆของสังคมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างประสานสอดคล้องกลมกลืนกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดพลังในการบรรเทาและขจัดปัญหาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิผล
ผมคิดว่าผู้บริหารประเทศจำนวนไม่น้อยมีความปรารถนาอย่างจริงใจในการแก้ไขปัญหาของประเทศ และพวกเขาเชื่อการบูรณาการของภาคส่วนต่างๆ เป็นมรรคาอันสำคัญในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
แต่ทำไมการบูรณาการทั้งในแง่ของการวิเคราะห์ปัญหาและการนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติจึงเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากเย็น มีเพียงบางเรื่องและบางหน่วยงานเท่านั้นที่พอจะเห็นร่องรอยของการบูรณาการอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วการคิดวิเคราะห์และการปฏิบัติมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางแบบเสี่ยงเสี้ยวและต่างคนต่างทำกันเสียมากกว่า
ปมปัญหาเริ่มต้นจากวิธีคิดของฝ่ายต่างๆซึ่งมักยึดติดกับตำแหน่งแห่งที่และตัวตนของตนเอง กลุ่มและองค์การที่สังกัด การได้รับการอบรมบ่มเพาะจากระบบการศึกษา ซึ่งมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามวิถีของระบบทุนนิยม ผสมผสานกับการกล่อมเกลาทางสังคมซึ่งกระทำผ่านบทกวีนิพนธ์ของสุนทรภู่อย่างยาวนานที่ว่า “อันความรู้ รู้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” จึงทำให้คนในสังคมให้ความสำคัญกับความรู้เฉพาะทางเป็นอย่างสูง และเมื่อผสมกับลัทธิปัจเจกนิยมสุดขั้วของสังคมไทย ซึ่งถูกเสริมแรงด้วยบทกวีอีกบทหนึ่งที่ว่า “รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” ก็ยิ่งทำให้ “การใช้วิชาความรู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อเอาตัวรอดปลอดภัยไว้ก่อน” เป็นหลักในการดำรงชีวิต
การเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างและการเอาตัวรอดเป็นวิธีคิดที่ได้รับการตอกย้ำอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง และมีตัวอย่างให้เห็นได้ประจักษ์แก่สายตาของผู้คนอยู่มากว่า วิธีคิดนี้สร้างผลลัพธ์ที่เป็นจริงให้เกิดขึ้นได้ สิ่งที่ตามมาคือวิธีคิดนี้กลายเป็นวิธีคิดกระแสหลักที่ครอบงำจิตสำนึกของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม ขณะที่ความคิดเชิงระบบแบบองค์รวมและการเอาสังคมโดยรวมให้รอดเป็นสิ่งถูกละเลย แม้ว่าจะมีการพูดถึงบ้าง ก็มีประปรายและไม่ทรงพลังเท่ากับวิธีคิดแบบแรก
เมื่อใช้วิธีคิดแบบแบบเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการวิเคราะห์ปัญหา ก็จะเห็นปัญหานั้นชัดเจนภายใต้วิธีคิดแบบนั้น แต่จะมองไม่เห็นปัญหาในแง่มุมอื่นๆและไม่เห็นว่าประเด็นปัญหาต่างๆ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารประเทศในยุคหนึ่ง ซึ่งอาจมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์พฤติกรรมของปัจเจกบุคคล วิเคราะห์ปัญหาความยากจนว่า เกิดจากความขี้เกียจของประชาชน เมื่อวิเคราะห์โดยใช้แนวทางพฤติกรรมเขาก็จะเห็นปัญหาเฉพาะในมิติพฤติกรรมที่แสดงออกมาของบุคลเท่านั้น โดยมองไม่เห็นมิติในเชิงโครงสร้างสังคมว่ามีอิทธิพลต่อการเกิดความยากจนอย่างไร
พวกเขาจึงคิดวิธีการในการแก้ปัญหาโดยการรณรงค์ให้ประชาชนขยัน และมีการสร้างคำขวัญที่ว่า “ไม่มีความยากจน ในหมู่คนขยัน” ขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการรณรงค์ แต่ว่ามิอาจแก้ปัญหาได้เพราะความยากจนนั้นมีกลไกเชิงสาเหตุที่ซับซ้อนกว่าเรื่องของความขี้เกียจแต่เพียงอย่างเดียว
หรืออย่างวิธีคิดหลักของหน่วยงานราชการไทยอีกประการหนึ่ง ที่ชอบวิเคราะห์ว่าความยากจนของประชาชนเกิดจาก “การขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ” พวกเขาจึงคิดแก้ไขโดยการจัดตั้งหน่วยงานฝึกอาชีพและโครงการอบรมอาชีพกันอย่างมากมาย เรียกได้ว่าแทบทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม ต่างก็มีศูนย์หรือสถาบันอบรมส่งเสริมการสร้างอาชีพกันทั่วหน้า และมีโครงการอบรมอาชีพชาวบ้านเป็นกิจวัตรประจำปี
โครงการอบรมอาชีพเกือบทั้งหมดของหน่วยงานราชการคือการสอนหรือให้ความรู้ในเรื่องวิธีการผลิตสินค้าหัตกรรม การเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์เท่านั้น โดยไม่ได้วิเคราะห์ความต้องการและความเป็นไปได้ในมิติต่างๆทั้งเรื่องวัตถุดิบ แหล่งทุน การเงิน การบัญชี บุคลากร ระบบการจัดการ และการตลาด ที่จะสามารถทำให้ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพได้อย่างเป็นจริงและต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นคือหน่วยงานราชการอบรมแล้วก็จบกันไป แต่ปัญหาความยากจนก็ยังคงอยู่กับชาวบ้านเหมือนเดิม ยิ่งกว่านั้นบางแห่งก็ยากจนลงไปกว่าเดิม ด้วยเกิดหนี้สินตามมาจากการปฏิบัติตามในสิ่งที่หน่วยงานราชการบางแห่งแนะนำให้ทำ
การติดกับดักของวิธีคิดแบบเสี่ยงเสี้ยวในการวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาจึงกลายมาเป็นตัวปัญหาเสียเอง
สำหรับการปฏิบัติงานแบบ “รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” มีให้เห็นกันโดยทั่วไปทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชนและองค์การ ระดับบุคคลคือการมีพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว แสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวเองโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ เข้าทำนอง “ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ ต้องเอาด้วยคาถา” เพื่อให้ตัวเองหลุดรอดปลอดภัย ยิ่งกว่านั้นคนพวกนี้จะไม่ยอมลงทุน ลงแรง และลงปัญญาใดๆทั้งสิ้น รอจังหวะหากเรื่องที่เกิดขึ้นจบสิ้นลงและเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นมา ก็จะสวมรอย ฉกฉวยโอกาสเอาผลงานผู้อื่นมาเป็นผลงานตัวเอง เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด
การรักษาตัวรอดของบุคคลบางคนอาจขยายออกไปเป็นสู่ระดับครอบครัว เครือญาติและพวกพ้อง โดยสร้างอาณาจักรเครือญาติวงศ์ตระกูลและพวกพ้องขึ้นมาเพื่อสืบทอดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อำนาจทางการเมืองและวัฒนธรรม ดังเช่น การผูกขาดด้านธุรกิจของกลุ่มนายทุน การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของนักการเมือง การผูกขาดและสืบทอดอำนาจในหน่วยงานราชการบางหน่วยของบางกลุ่มหรือบางตระกูล และแม้กระทั่งในแวดวงศาสนาก็มีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกันโดยมีการสืบทอดตำแหน่งผู้นำศาสนาไปสู่บุตรหลานเครือญาติของตนเอง
ในระดับชุมชนและองค์การก็เห็นได้อยู่ไม่น้อย ดังการจัดสรรงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลบางแห่ง ตัวแทนหมู่บ้านแต่ละแห่ง ต่างก็พยายามแข่งขันช่วงชิงโครงการมาลงในหมู่บ้านตัวเอง หรือในระดับประเทศ ส.ส.แต่ละเขต แต่ละจังหวัดก็มีพฤติกรรมไม่แตกต่างจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ต่างคนต่างแย่งชิงงบประมาณแผ่น เพื่อนำมาลงในเขตเลือกตั้งของตนเอง ส่วนตัวแทนจากหน่วยงานราชการก็ไม่เบา มีการใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อดึงงบประมาณให้มากที่สุดแก่หน่วยงานของตนเอง
เมื่อต่างคน ต่างองค์การ ต่างพยายามรักษาตัวรอดด้วยการแย่งชิงทรัพยากรให้ได้มากที่สุด การบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่ปัญหานั้นแก้ไขได้สำเร็จ ต่างฝ่ายต่างก็พยายามช่วงชิงเอาไปเป็นผลงานของตนเอง เพื่อนำความสำเร็จเป็นฐานในการขอเลื่อนตำแหน่ง เพิ่มอำนาจ ขยายทรัพยากร และงบประมาณต่อไป
ด้วยปม “อภิปัญหา” ในด้านวิธีคิดที่เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และวิธีการปฏิบัติที่เน้นการรักษาตัวรอดเป็นยอดดี จึงทำให้สังคมไทยมีโอกาสน้อยในการเกิดบูรณาการด้านวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแนวทางแก้ปัญหา และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ปัญหาต่างๆจึงหมักหมมอย่างต่อเนื่อง จนยากที่จะแก้ไขให้สำเร็จได้ในช่วงเวลาสั้นๆ
“วิธีคิดแบบองค์รวมและการรักษาสังคมส่วนรวมให้รอด” เป็นเสาหลักที่จักทำให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติงาน หากวิธีคิดแบบนี้เติบโตและขยายออกไป โอกาสการคิดและทำงานแบบบูรณาการในสังคมไทยก็จะขยายออกไปมากยิ่งขึ้น ยิ่งการทำงานแบบบูรณาการขยายออกไปมากเท่าไร โอกาสที่จะทำให้สังคมมีสมรรถนะในการแก้ปัญหาต่างๆก็มีสูงขึ้นตามไปด้วย และจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของประเทศต่อไป