วานนี้ (20ม.ค.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยก่อนร่วมประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในช่วงบ่ายว่า ไม่จำเป็นต้องเขียนในบทเฉพาะกาล กรณีตัดสิทธิ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี ตามที่นายเจตน์ โทณวณิก หนึ่งในกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เคยเสนอแนวคิดนี้ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เพื่อป้องกันการสืบอำนาจ คสช. เพราะหลายฝ่ายกังวลภายหลังรัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้ ซึ่งประเด็นดังกล่าว ต้องนำหารือที่ประชุมกรธ. อีกครั้ง
ขณะที่การประชุมครั้งนี้ เป็นการทบทวนปรับแก้ไขถ้อยคำร่างรัฐธรรมนูญ รายมาตรา โดยสามารถพิจารณาได้มากกว่าร้อยละ 40 แล้ว และจะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ ก่อนจะเริ่มร่างบทเฉพาะกาล ในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ทันการเผยแพร่ร่างแรก ในวันที่ 29 ม.ค.นี้
** กรธ.เตรียมถกบทเฉพาะกาล
นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษก กรธ. เปิดเผยว่า กรธ. จะเริ่มพิจารณาบทเฉพาะกาลในปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ภาคส่วนคือ
1. กม.ประกอบรัฐธรรมนูญ และกม.ที่เกี่ยวข้อง มีกี่ฉบับ อะไรบ้าง แต่ละฉบับต้องกำหนดให้ต้องร่างแล้วเสร็จมีผลบังคับใช้ภายในเวลาแค่ไหน 2. ประเด็นการปฏิรูป ซึ่งยังต้องรอรับฟังข้อเสนอของสนช.-สปท.-ครม.และคสช. ว่ามีอะไรที่ยังต้องเพิ่มเติมอีก 3 . เรื่องของการเปลี่ยนผ่านระหว่างองค์กรที่มีอยู่เดิม ตั้งแต่ คสช. ว่าช่วงส่งผ่านไปสู่การเลือกตั้ง ยังต้องเผื่อให้มีอำนาจอะไรบ้าง เผื่อการเลือกตั้งเกิดปัญหาจะทำอย่างไร รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้าง จำนวน อำนาจหน้าที่ และวาระที่ต่างไปจากเดิม จะทำอย่างไร
นายชาติชาย ยังกล่าวถึงแผนประชาสัมพันธ์ ที่จะเตรียมการชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญต่อสาธารณะ ภายหลังร่างเสร็จส่งมอบให้รัฐบาลก่อนจะไปทำประชามติว่า หลังจากร่างเสร็จส่งมอบต่อรัฐบาลในวันที่ 29 ม.ค. โดยประธานกรธ. มีนัดหารือกับประธาน สนช. ในบ่ายวันเดียวกัน
เริ่มการประชาสัมพันธ์ในเดือนก.พ.ด้วยการจัดกิจกรรม 2 ส่วนใหญ่ ส่วนแรกชี้แจงองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวแทนสภาองค์กรชุมชนให้เข้าใจและแสดงความเห็นตั้งคำถามต่อร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ที่ห้องประชุมรัฐสภา ในราว 12 ก.พ. เพื่อจะนำความเข้าไปไปกระจายต่อสมาชิกทั่วประเทศ
ส่วนที่สอง ชี้แจงต่อสมาชิกของ สปท. และ สนช. ซึ่งจะเชิญมาประชุมพร้อมกันในห้องประชุมรัฐสภา เพื่อให้ประธาน กรธ. เล่าสาระสำคัญให้ฟัง เพื่อให้สมาชิกสองสภาได้ตั้งคำถาม และมีข้อเสนอแนะ โดยคาดว่าจะเป็นช่วงสัปดาห์แรกของ ก.พ. ระหว่าง 2–5 ก.พ.
นอกจากนี้ กรธ. ยังมีเวทีรับฟังความคิดเห็นกลุ่มจังหวัดรายภาค ตั้งแต่ปลาย ม.ค.จนถึงกลางเดือนก.พ. ทั้ง 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น ภาคกลางที่ กทม. และภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่ออธิบาย รับฟังเสียงประชาชนรายภาค โดยเรากำหนดปฏิทินว่า ทุกภาคส่วนจะต้องสะท้อนความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญกลับมายังกรธ. ภายในวันที่ 15 ก.พ. เพื่อกรธ.จะได้มีเวลาปรับปรุงเป็นครั้งสุดท้าย ระหว่าง 16 – 20 มี.ค. เพื่อให้มีเวลาตรวจสอบความสอดคล้องของถ้อยคำ และมาตรา เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะส่งมองให้กับรัฐบาลอย่างเป็นทางการ และจะมีการจัดงานใหญ่ประชาสัมพันธ์โดยนายกรัฐมนตรี จะมารับมอบในวันที่ 29 มี.ค.59 ถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นการร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ. ภายใน180 วัน
"เราต้องทำให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า เข้าใจชัดเจนถึงเหตุผลของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประเทศชาติประชาชนได้ประโยชน์อะไร และนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างไร นี่คือเป้าหมายใหญ่ของการประชาสัมพันธ์ เพื่อจะได้ใช้วิจารณาณในการไปลงประชามติ" โฆษก กรธ. ระบุ
** "ดิเรก"ซัดร่างรธน.ย้อนยุค ไม่เป็นสากล
นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ อดีต ส.ว.นนทบุรี กล่าวถึง เนื้อหาของร่างรธน. ว่า ในภาพรวมทั้งการเปิดช่องนายกฯคนนอก ที่มาส.ว. ระบบเลือกตั้งส.ส. รวมไปถึงการให้องค์กรอิสระ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจที่ 4 ที่มีอำนาจเหนือกว่าทั้ง อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ จะเป็นปัญหา เพราะเห็นชัดว่า กรธ.ไม่ต้องการให้รัฐบาลเข้มแข็ง ซึ่งอันตรายมาก เพราะถ้ารัฐบาลไม่เข้มแข็งแล้ว จะบริหารประเทศให้พัฒนาได้อย่างไร ขนาด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ มีอำนาจตาม มาตรา 44 ยังพูดเลยว่า กฎหมายบางอย่างไม่เอื้อให้กับรัฐบาล
ทั้งนี้ ตนคิดว่ารธน. ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทุจริตได้ เพราะเป็นเรื่องของคน เรามีกฏหมายมากมายที่สามารถเอาผิดคนทุจริตได้ เพียงแต่ขอให้บังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง และเท่าเทียม ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำอยู่เสมอว่า อยากให้รัฐธรรมนูญเป็นสากล แต่เนื้อหาตามร่างของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยังไม่เป็นสากลเท่าไร เพราะเป็นความคิดที่ย้อนยุคไป
"สิ่งที่ต่างที่เป็นปัญหาควรมาแก้กันที่คน แล้วปล่อยให้กระบวนการของประชาธิปไตยแก้ไขด้วยตัวมันเอง การสร้างรูปแบบใหม่ๆขึ้นมาเรื่อย จะทำให้ความขัดแย้งไม่สิ้นสุด เพราะเมื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามา ก็จะมาแก้รัฐธรรมนูญกันอีก จากนั้นก็จะต้องมีคนมาขว้าง ที่สุดก็จะวนเวียนมาที่การรัฐประหารอีก ซึ่งถ้าจะเขียนรัฐธรรมนูญให้แก้ไขยาก ก็ผิดอีก เพราะรัฐธรรมนูญต้องแก้ได้ มองดูแล้ว เนื้อหาของร่างฉบับนี้ไม่หนีฉบับที่ถูก สปช. คว่ำเท่าไร หากไปถึงประชาชนน่าเป็นห่วง ผมหนักใจแทนรัฐบาล ถ้าเนื้อหายังเป็นแบบนี้ ผ่านประชามติยาก เพราะสวนกระแสประชาชน" นายดิเรก กล่าว
ขณะที่การประชุมครั้งนี้ เป็นการทบทวนปรับแก้ไขถ้อยคำร่างรัฐธรรมนูญ รายมาตรา โดยสามารถพิจารณาได้มากกว่าร้อยละ 40 แล้ว และจะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ ก่อนจะเริ่มร่างบทเฉพาะกาล ในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ทันการเผยแพร่ร่างแรก ในวันที่ 29 ม.ค.นี้
** กรธ.เตรียมถกบทเฉพาะกาล
นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษก กรธ. เปิดเผยว่า กรธ. จะเริ่มพิจารณาบทเฉพาะกาลในปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ภาคส่วนคือ
1. กม.ประกอบรัฐธรรมนูญ และกม.ที่เกี่ยวข้อง มีกี่ฉบับ อะไรบ้าง แต่ละฉบับต้องกำหนดให้ต้องร่างแล้วเสร็จมีผลบังคับใช้ภายในเวลาแค่ไหน 2. ประเด็นการปฏิรูป ซึ่งยังต้องรอรับฟังข้อเสนอของสนช.-สปท.-ครม.และคสช. ว่ามีอะไรที่ยังต้องเพิ่มเติมอีก 3 . เรื่องของการเปลี่ยนผ่านระหว่างองค์กรที่มีอยู่เดิม ตั้งแต่ คสช. ว่าช่วงส่งผ่านไปสู่การเลือกตั้ง ยังต้องเผื่อให้มีอำนาจอะไรบ้าง เผื่อการเลือกตั้งเกิดปัญหาจะทำอย่างไร รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้าง จำนวน อำนาจหน้าที่ และวาระที่ต่างไปจากเดิม จะทำอย่างไร
นายชาติชาย ยังกล่าวถึงแผนประชาสัมพันธ์ ที่จะเตรียมการชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญต่อสาธารณะ ภายหลังร่างเสร็จส่งมอบให้รัฐบาลก่อนจะไปทำประชามติว่า หลังจากร่างเสร็จส่งมอบต่อรัฐบาลในวันที่ 29 ม.ค. โดยประธานกรธ. มีนัดหารือกับประธาน สนช. ในบ่ายวันเดียวกัน
เริ่มการประชาสัมพันธ์ในเดือนก.พ.ด้วยการจัดกิจกรรม 2 ส่วนใหญ่ ส่วนแรกชี้แจงองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวแทนสภาองค์กรชุมชนให้เข้าใจและแสดงความเห็นตั้งคำถามต่อร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ที่ห้องประชุมรัฐสภา ในราว 12 ก.พ. เพื่อจะนำความเข้าไปไปกระจายต่อสมาชิกทั่วประเทศ
ส่วนที่สอง ชี้แจงต่อสมาชิกของ สปท. และ สนช. ซึ่งจะเชิญมาประชุมพร้อมกันในห้องประชุมรัฐสภา เพื่อให้ประธาน กรธ. เล่าสาระสำคัญให้ฟัง เพื่อให้สมาชิกสองสภาได้ตั้งคำถาม และมีข้อเสนอแนะ โดยคาดว่าจะเป็นช่วงสัปดาห์แรกของ ก.พ. ระหว่าง 2–5 ก.พ.
นอกจากนี้ กรธ. ยังมีเวทีรับฟังความคิดเห็นกลุ่มจังหวัดรายภาค ตั้งแต่ปลาย ม.ค.จนถึงกลางเดือนก.พ. ทั้ง 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น ภาคกลางที่ กทม. และภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่ออธิบาย รับฟังเสียงประชาชนรายภาค โดยเรากำหนดปฏิทินว่า ทุกภาคส่วนจะต้องสะท้อนความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญกลับมายังกรธ. ภายในวันที่ 15 ก.พ. เพื่อกรธ.จะได้มีเวลาปรับปรุงเป็นครั้งสุดท้าย ระหว่าง 16 – 20 มี.ค. เพื่อให้มีเวลาตรวจสอบความสอดคล้องของถ้อยคำ และมาตรา เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะส่งมองให้กับรัฐบาลอย่างเป็นทางการ และจะมีการจัดงานใหญ่ประชาสัมพันธ์โดยนายกรัฐมนตรี จะมารับมอบในวันที่ 29 มี.ค.59 ถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นการร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ. ภายใน180 วัน
"เราต้องทำให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า เข้าใจชัดเจนถึงเหตุผลของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประเทศชาติประชาชนได้ประโยชน์อะไร และนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างไร นี่คือเป้าหมายใหญ่ของการประชาสัมพันธ์ เพื่อจะได้ใช้วิจารณาณในการไปลงประชามติ" โฆษก กรธ. ระบุ
** "ดิเรก"ซัดร่างรธน.ย้อนยุค ไม่เป็นสากล
นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ อดีต ส.ว.นนทบุรี กล่าวถึง เนื้อหาของร่างรธน. ว่า ในภาพรวมทั้งการเปิดช่องนายกฯคนนอก ที่มาส.ว. ระบบเลือกตั้งส.ส. รวมไปถึงการให้องค์กรอิสระ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจที่ 4 ที่มีอำนาจเหนือกว่าทั้ง อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ จะเป็นปัญหา เพราะเห็นชัดว่า กรธ.ไม่ต้องการให้รัฐบาลเข้มแข็ง ซึ่งอันตรายมาก เพราะถ้ารัฐบาลไม่เข้มแข็งแล้ว จะบริหารประเทศให้พัฒนาได้อย่างไร ขนาด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ มีอำนาจตาม มาตรา 44 ยังพูดเลยว่า กฎหมายบางอย่างไม่เอื้อให้กับรัฐบาล
ทั้งนี้ ตนคิดว่ารธน. ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทุจริตได้ เพราะเป็นเรื่องของคน เรามีกฏหมายมากมายที่สามารถเอาผิดคนทุจริตได้ เพียงแต่ขอให้บังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง และเท่าเทียม ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำอยู่เสมอว่า อยากให้รัฐธรรมนูญเป็นสากล แต่เนื้อหาตามร่างของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยังไม่เป็นสากลเท่าไร เพราะเป็นความคิดที่ย้อนยุคไป
"สิ่งที่ต่างที่เป็นปัญหาควรมาแก้กันที่คน แล้วปล่อยให้กระบวนการของประชาธิปไตยแก้ไขด้วยตัวมันเอง การสร้างรูปแบบใหม่ๆขึ้นมาเรื่อย จะทำให้ความขัดแย้งไม่สิ้นสุด เพราะเมื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามา ก็จะมาแก้รัฐธรรมนูญกันอีก จากนั้นก็จะต้องมีคนมาขว้าง ที่สุดก็จะวนเวียนมาที่การรัฐประหารอีก ซึ่งถ้าจะเขียนรัฐธรรมนูญให้แก้ไขยาก ก็ผิดอีก เพราะรัฐธรรมนูญต้องแก้ได้ มองดูแล้ว เนื้อหาของร่างฉบับนี้ไม่หนีฉบับที่ถูก สปช. คว่ำเท่าไร หากไปถึงประชาชนน่าเป็นห่วง ผมหนักใจแทนรัฐบาล ถ้าเนื้อหายังเป็นแบบนี้ ผ่านประชามติยาก เพราะสวนกระแสประชาชน" นายดิเรก กล่าว