ถ้าย้อนไปในอดีตที่ผ่านมา เมื่อไม่กี่ปีมานี้ก็จะพบว่า ราคายางพาราได้พุ่งขึ้นถึงหลัก 100 บาทต่อกิโลกรัม และค่อยๆ ลดลงมาเมื่อกาลเวลาได้ผ่านไป จนกระทั่งในปัจจุบันเหลือกิโลกรัมละ 20 กว่าบาท จึงทำให้ชาวสวนยางซึ่งเคยมีรายได้จากการขายยางราคาแพง และใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเดือดร้อน เนื่องจากปรับตัวให้เข้ากับความจนจากการมีรายได้ลดลงไม่ได้ ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยการเข้าไปแทรกแซงราคา ด้วยการรับซื้อในราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดเกินเท่าตัว และดูเหมือนว่ารัฐบาลจะสนองข้อเรียกร้องนี้ไม่ได้
อันที่จริง ถ้ามองราคายางที่พุ่งขึ้นในอดีต และลงมาในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลและมีภาวะจิตที่เป็นธรรม ก็จะพบความจริงของเรื่องนี้ว่า การที่ราคายางพาราที่สูงขึ้นในอดีต และลดลงในปัจจุบัน ก็ด้วยเหตุปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นหลัก มิใช่เป็นเพราะนักการเมืองคนใดคนหนึ่งมีความสามารถ และด้วยความสามารถอันเป็นปัจเจกไม่ แต่เป็นเพราะเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
ยางพาราขาขึ้นในอดีตเป็นเพราะ
1. ความต้องการยางพาราของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัว และอุตสาหกรรมซึ่งใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน
2. ราคาน้ำมันดิบได้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ยางเทียมหรือยางสังเคราะห์ซึ่งใช้ผลผลิตจากน้ำมันเป็นวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นตาม
3. ปริมาณยางพาราที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ ทำให้ราคายางพาราสูงขึ้นในอดีต
แต่ในปัจจุบัน ปัจจัย 3 ประการนี้ผันแปรไปในทิศทางกลับกันคือ เศรษฐกิจถดถอย การค้าทางด้านอุตสาหกรรมซึ่งใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบก็ลดลง ราคาน้ำมันก็ลดลงจากบาร์เรลละ 100 เหรียญสหรัฐลดลงเหลือแค่ 30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และที่สำคัญยิ่งกว่านี้ ประเทศไทยได้เพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราจาก 2 ล้านไร่ขึ้นเป็น 5 ล้านไร่ในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำยางพาราราคาลดลง และมีแนวโน้มลดลงหรือไม่ก็คงที่อยู่ในระดับนี้ต่อไปตราบเท่าที่เศรษฐกิจโลกถดถอย และผลผลิตยางยังล้นตลาดดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ การที่ชาวสวนยางออกมาเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือด้านการรับซื้อยางในราคาสูงกว่าตลาดจึงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. การที่ยางพาราคาราลดลงในขณะนี้เป็นไปตามกลไกราคา ซึ่งขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply เป็นหลัก ดังนั้น ถ้ารัฐเข้าไปแทรกแซงด้วยการรับซื้อในราคาสูงกว่าความเป็นจริง และถ้าขายออกไปในราคาตลาด ก็จะขาดทุนในทำนองเดียวกับโครงการรับจำนำข้าว
2. ภาวะการเงินการคลังของประเทศในขณะนี้ไม่เอื้ออำนวยให้รัฐก่อหนี้เพื่อแก้ปัญหาให้ชาวสวนยางเพียงกลุ่มเดียวได้ เพราะจะต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตทางด้านเกษตรมิได้มีเพียงยางพาราอย่างเดียว ถ้ามีการช่วยเหลือ ในทำนองเดียวกัน รัฐจะหาเงินจากที่ไหน และสุดท้ายถ้ารัฐก่อหนี้ผู้ที่จะต้องรับภาระในการใช้หนี้ก็คือประชาชนผู้เสียภาษีนั่นเอง
3. การแก้ปัญหาด้วยการแทรกแซงราคาเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และที่ยิ่งกว่านี้ ถ้าราคายางแพงขึ้นก็จะเป็นเหตุจูงใจให้การปลูกยางเพิ่มขึ้น หรือไม่ก็ทำให้นโยบายลดพื้นที่ปลูกยาง ซึ่งควรจะดำเนินการเพื่อรักษาระดับราคามิให้ตกต่ำจะได้ผล
จริงอยู่ ชาวสวนยางเดือดร้อน การได้รับการช่วยเหลือเฉกเช่นสินค้าเกษตรอื่นๆ แต่ไม่ควรช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยหวังคะแนนนิยมทางการเมืองดังเช่นกรณีนักการเมืองกระทำภายใต้โครงการประชานิยม หรือภายใต้ชื่ออื่นใดซึ่งมีเนื้อหาในทำนองเดียวกัน เพียงใช้ชื่อให้แตกต่างกัน
ถ้าไม่ช่วยชาวสวนยางด้วยการแทรกแซงราคาตามคำเรียกร้องแล้วจะช่วยอย่างไร และถ้าช่วยเป็นอย่างอื่นแล้ว ชาวสวนยางไม่รับด้วยเหตุผลว่าไม่เป็นไปตามคำเรียกร้องและออกมาเคลื่อนไหว รัฐบาลจะป้องกันและแก้ไขอย่างไร
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูการแก้ปัญหาในลักษณะประชานิยมในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการรับจำนำข้าว ก็จะพบคำตอบว่า จะต้องไม่แก้ปัญหายางพาราในทำนองเดียวกันกับข้าว แต่ก็มีคำถามต่อไปว่า แล้วจะแก้อย่างไร
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ถ้าจะตอบให้เป็นแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว จะต้องดำเนินการโดยไม่หวังผลทางการเมือง แต่จะต้องยึดประโยชน์ของประเทศโดยรวมเป็นที่ตั้ง ซึ่งสามารถดำเนินการได้เป็นขั้นตอนดังนี้
1. ทำการสำรวจพื้นที่ปลูกยางทั่วประเทศว่ามีที่ใดบ้าง และผู้ปลูกยางแต่ละรายมีพื้นที่ปลูกจำนวนเท่าใด และปลูกมาแล้วนานเท่าไหร่ เพื่อหาผู้เดือดร้อนจริง และให้ความช่วยเหลือโดยตรง
2. แยกชาวสวนยางออกเป็นประเภทดังนี้
2.1 ผู้ปลูกรายย่อยในพื้นที่ไม่เกิน 25 ไร่ และยังไม่เคยได้รับประโยชน์จากยางพาราราคาแพงมาก่อน และไม่มีรายได้จากพืชชนิดอื่นมาจุนเจือด้วยการเข้าไปช่วยเหลือโดยด่วน โดยให้ทุกคนกู้ยืมเพื่อปลูกพืชเสริมในสวนยาง เพื่อเป็นรายได้เฉกเช่นส่วนที่ขาดหายไป และเป็นเหตุให้เดือดร้อน
2.2 ผู้ปลูกยางในระดับปานกลาง คือ มีพื้นที่ปลูกเกิน 25 ไร่ และไม่เกิน 50 ไร่ ควรจัดให้มีการรวมกลุ่มเพื่อลดต้นทุน และทำอาชีพเสริมด้วยการปลูกพืชชนิดอื่นแล้วรวมตัวกันเพื่อต่อรองกับผู้ซื้อ
2.3 ผู้ปลูกยางรายใหญ่ในพื้นที่ 50 ไร่ขึ้นไป ควรลดพื้นที่ปลูกลงและปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทน
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ารัฐจะช่วยด้วยวิธีใด คงจะไม่ทำให้ชาวสวนยางพอใจเท่ากับรับซื้อยางในราคาสูงกว่าท้องตลาด
ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ รีบดำเนินการมาตรการเร่งด่วนตามข้อ 1 เพื่อแยกผู้เดือดร้อนแท้จริงออกไปจากกระบวนการให้ผู้เดือดร้อนเป็นเครื่องมือในทางการเมือง และเป็นเครื่องแสวงหาผลประโยชน์จากการแทรกแซงของรัฐออกไป และดำเนินการตามแผนระยะยาวคือ ลดพื้นที่ปลูกยาง และเร่งแปรรูปยางในประเทศแทนการส่งออกเป็นวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว
อันที่จริง ถ้ามองราคายางที่พุ่งขึ้นในอดีต และลงมาในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลและมีภาวะจิตที่เป็นธรรม ก็จะพบความจริงของเรื่องนี้ว่า การที่ราคายางพาราที่สูงขึ้นในอดีต และลดลงในปัจจุบัน ก็ด้วยเหตุปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นหลัก มิใช่เป็นเพราะนักการเมืองคนใดคนหนึ่งมีความสามารถ และด้วยความสามารถอันเป็นปัจเจกไม่ แต่เป็นเพราะเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
ยางพาราขาขึ้นในอดีตเป็นเพราะ
1. ความต้องการยางพาราของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัว และอุตสาหกรรมซึ่งใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน
2. ราคาน้ำมันดิบได้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ยางเทียมหรือยางสังเคราะห์ซึ่งใช้ผลผลิตจากน้ำมันเป็นวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นตาม
3. ปริมาณยางพาราที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ ทำให้ราคายางพาราสูงขึ้นในอดีต
แต่ในปัจจุบัน ปัจจัย 3 ประการนี้ผันแปรไปในทิศทางกลับกันคือ เศรษฐกิจถดถอย การค้าทางด้านอุตสาหกรรมซึ่งใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบก็ลดลง ราคาน้ำมันก็ลดลงจากบาร์เรลละ 100 เหรียญสหรัฐลดลงเหลือแค่ 30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และที่สำคัญยิ่งกว่านี้ ประเทศไทยได้เพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราจาก 2 ล้านไร่ขึ้นเป็น 5 ล้านไร่ในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำยางพาราราคาลดลง และมีแนวโน้มลดลงหรือไม่ก็คงที่อยู่ในระดับนี้ต่อไปตราบเท่าที่เศรษฐกิจโลกถดถอย และผลผลิตยางยังล้นตลาดดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ การที่ชาวสวนยางออกมาเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือด้านการรับซื้อยางในราคาสูงกว่าตลาดจึงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. การที่ยางพาราคาราลดลงในขณะนี้เป็นไปตามกลไกราคา ซึ่งขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply เป็นหลัก ดังนั้น ถ้ารัฐเข้าไปแทรกแซงด้วยการรับซื้อในราคาสูงกว่าความเป็นจริง และถ้าขายออกไปในราคาตลาด ก็จะขาดทุนในทำนองเดียวกับโครงการรับจำนำข้าว
2. ภาวะการเงินการคลังของประเทศในขณะนี้ไม่เอื้ออำนวยให้รัฐก่อหนี้เพื่อแก้ปัญหาให้ชาวสวนยางเพียงกลุ่มเดียวได้ เพราะจะต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตทางด้านเกษตรมิได้มีเพียงยางพาราอย่างเดียว ถ้ามีการช่วยเหลือ ในทำนองเดียวกัน รัฐจะหาเงินจากที่ไหน และสุดท้ายถ้ารัฐก่อหนี้ผู้ที่จะต้องรับภาระในการใช้หนี้ก็คือประชาชนผู้เสียภาษีนั่นเอง
3. การแก้ปัญหาด้วยการแทรกแซงราคาเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และที่ยิ่งกว่านี้ ถ้าราคายางแพงขึ้นก็จะเป็นเหตุจูงใจให้การปลูกยางเพิ่มขึ้น หรือไม่ก็ทำให้นโยบายลดพื้นที่ปลูกยาง ซึ่งควรจะดำเนินการเพื่อรักษาระดับราคามิให้ตกต่ำจะได้ผล
จริงอยู่ ชาวสวนยางเดือดร้อน การได้รับการช่วยเหลือเฉกเช่นสินค้าเกษตรอื่นๆ แต่ไม่ควรช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยหวังคะแนนนิยมทางการเมืองดังเช่นกรณีนักการเมืองกระทำภายใต้โครงการประชานิยม หรือภายใต้ชื่ออื่นใดซึ่งมีเนื้อหาในทำนองเดียวกัน เพียงใช้ชื่อให้แตกต่างกัน
ถ้าไม่ช่วยชาวสวนยางด้วยการแทรกแซงราคาตามคำเรียกร้องแล้วจะช่วยอย่างไร และถ้าช่วยเป็นอย่างอื่นแล้ว ชาวสวนยางไม่รับด้วยเหตุผลว่าไม่เป็นไปตามคำเรียกร้องและออกมาเคลื่อนไหว รัฐบาลจะป้องกันและแก้ไขอย่างไร
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูการแก้ปัญหาในลักษณะประชานิยมในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการรับจำนำข้าว ก็จะพบคำตอบว่า จะต้องไม่แก้ปัญหายางพาราในทำนองเดียวกันกับข้าว แต่ก็มีคำถามต่อไปว่า แล้วจะแก้อย่างไร
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ถ้าจะตอบให้เป็นแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว จะต้องดำเนินการโดยไม่หวังผลทางการเมือง แต่จะต้องยึดประโยชน์ของประเทศโดยรวมเป็นที่ตั้ง ซึ่งสามารถดำเนินการได้เป็นขั้นตอนดังนี้
1. ทำการสำรวจพื้นที่ปลูกยางทั่วประเทศว่ามีที่ใดบ้าง และผู้ปลูกยางแต่ละรายมีพื้นที่ปลูกจำนวนเท่าใด และปลูกมาแล้วนานเท่าไหร่ เพื่อหาผู้เดือดร้อนจริง และให้ความช่วยเหลือโดยตรง
2. แยกชาวสวนยางออกเป็นประเภทดังนี้
2.1 ผู้ปลูกรายย่อยในพื้นที่ไม่เกิน 25 ไร่ และยังไม่เคยได้รับประโยชน์จากยางพาราราคาแพงมาก่อน และไม่มีรายได้จากพืชชนิดอื่นมาจุนเจือด้วยการเข้าไปช่วยเหลือโดยด่วน โดยให้ทุกคนกู้ยืมเพื่อปลูกพืชเสริมในสวนยาง เพื่อเป็นรายได้เฉกเช่นส่วนที่ขาดหายไป และเป็นเหตุให้เดือดร้อน
2.2 ผู้ปลูกยางในระดับปานกลาง คือ มีพื้นที่ปลูกเกิน 25 ไร่ และไม่เกิน 50 ไร่ ควรจัดให้มีการรวมกลุ่มเพื่อลดต้นทุน และทำอาชีพเสริมด้วยการปลูกพืชชนิดอื่นแล้วรวมตัวกันเพื่อต่อรองกับผู้ซื้อ
2.3 ผู้ปลูกยางรายใหญ่ในพื้นที่ 50 ไร่ขึ้นไป ควรลดพื้นที่ปลูกลงและปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทน
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ารัฐจะช่วยด้วยวิธีใด คงจะไม่ทำให้ชาวสวนยางพอใจเท่ากับรับซื้อยางในราคาสูงกว่าท้องตลาด
ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ รีบดำเนินการมาตรการเร่งด่วนตามข้อ 1 เพื่อแยกผู้เดือดร้อนแท้จริงออกไปจากกระบวนการให้ผู้เดือดร้อนเป็นเครื่องมือในทางการเมือง และเป็นเครื่องแสวงหาผลประโยชน์จากการแทรกแซงของรัฐออกไป และดำเนินการตามแผนระยะยาวคือ ลดพื้นที่ปลูกยาง และเร่งแปรรูปยางในประเทศแทนการส่งออกเป็นวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว