สัปดาห์นี้ผมมี 4 เรื่องคือ (1) เรื่องอนาคตของประเทศเราซึ่งผมได้แรงบันดาลใจมาจากคำปราศรัยครั้งที่ 8 ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ใน State of the Union เมื่อคืนวันที่ 12 มกราคม 2559 (2) เรื่องพลังงาน (3) เรื่องพืชกัญชงและกัญชา และ (4) เรื่องราคายางพาราตกต่ำซึ่งกำลังเป็นปัญหาหนักอกของชาวสวนยางและของประเทศไทยเราด้วย
ทั้ง 4 เรื่องนี้มาบรรจบกันเนื่องในวันครูแห่งชาติ และถ้ามองจากมุมของผมซึ่งเป็นครูคนหนึ่งมายาวนาน ผมถือว่าทั้ง 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันครับคือเรื่องของการศึกษาที่ไม่ได้ตอบสนองต่อคุณค่าหลัก 2 ประการของความเป็นมนุษย์ คือ ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคม แต่เป็นการศึกษาเพื่อการขึ้นต่อหรือเป็นทาสของระบบทุนสามานย์ที่กำกับเราอยู่
ในด้านการศึกษา เราพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยรวมของประเทศเราได้ตกต่ำลงมาก ในขณะที่นักเรียนทุนจำนวนน้อยที่เก่งมากๆ ทั้งๆ ที่สำเร็จการศึกษามาจากสถาบันชั้นนำของโลก แต่เมื่อเข้ามาสู่ระบบงานของหน่วยงานภาครัฐก็แทบจะสร้างผลงานได้ลำบาก เพราะติดขัดด้วยระเบียบต่างๆ นานา รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กรและนโยบายของรัฐบาล
วิธีการเรียนการสอนก็เน้นที่การท่องจำเป็นหลัก แทนที่จะเน้นกระบวนการคิด การใช้เหตุใช้ผล เช่น วิชาเรขาคณิตของยูคลิด เป็นต้น (คนที่อายุเกิน 50 ปีคงเคยได้เรียน) กระบวนการประเมินผลงานของครูแทนที่จะส่งผลดีต่อคุณภาพการศึกษา แต่กลับเป็นตัวปัญหาต่อคุณภาพด้านการเรียนการสอนเสียเอง
การศึกษาของเรา ได้เปลี่ยนธรรมชาติของเด็กที่เคยช่างคิด ช่างถาม และร่าเริง กลายเป็นคนที่คิดไม่เป็นและเครียด หลานผมคนหนึ่งหลังจากไปโรงเรียนชั้นอนุบาลได้ไม่กี่วัน ก็ได้ตั้งคำถามที่น่าทึ่งว่า “แม่ แม่ โรงเรียนนั้นทำไมต้องไปบ่อย” แต่เดี๋ยวนี้หลานคนนี้กำลังเครียดกับการศึกษาที่ยังไม่รู้ว่าเรียนวิชาตรีโกณมิติไปทำไม
ในโอกาสวันครูแห่งชาติ ผมขอนำการจำแนกครูออกเป็น 4 ระดับ โดย William A. Ward นักประพันธ์ชาวอเมริกัน ที่ข้อคิดดีๆ ของเขาได้ถูกประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลายคนเอาไปใช้ในการหาเสียง (แค่หาเสียงหรือไม่?)
เมื่อพูดถึงการจุดประกายเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ก็คือการสร้างพลังทางความคิด สร้างกำลังใจเพื่อให้ผู้ฟังได้มีพลังในการร่วมมือกันสร้างอนาคตของชาติ ผมว่าประธานาธิบดีโอบามา ทำได้ดีมากๆ ในการปราศรัยครั้งสุดท้ายต่อรัฐสภาในตำแหน่งของเขา แม้จะเหลือเวลาในตำแหน่งเพียงปีเดียว แต่เขาขออนุญาตพูดไปถึงอนาคต 5 ปี 10 ปี และหลังจากนั้นอีก ผมขอสรุปมาเล่าสั้นๆ ไว้ครั้งหนึ่งก่อน
“เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดา การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เราต้องปรับวิถีชีวิตและวิธีการทำงาน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อโลกของเราและสถานที่ต่างๆ ในโลก”
ในฐานะอาจารย์คณิตศาสตร์ ผมรู้สึกชอบประโยคต่อไปนี้มากๆ คือ “การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถขยายโอกาสหรือสร้างความเหลื่อมล้ำได้มากขึ้น และไม่ว่าเราจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม จังหวะก้าวของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปได้อย่างเดียวเท่านั้นคือเร็วขึ้นกว่าเดิมนั่นคืออย่างมีอัตราเร่ง”
“อเมริกาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ มาแล้วหลายครั้ง ทั้งสงครามและความตกต่ำทางเศรษฐกิจ การทะลักเข้ามาของผู้อพยพ การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานเพื่อความยุติธรรม รวมทั้งการเคลื่อนไหวเพื่อขยายเสรีภาพของพลเมือง...นั่นเพราะว่าเรามองเห็นโอกาส ในขณะที่คนอื่นมองเห็นแต่อันตราย เราจึงเข้มแข็งและดีขึ้นกว่าแต่ก่อน"
ประธานาธิบดีโอบามาได้ตั้งคำถามใหญ่ 4 ข้อต่อชาวอเมริกันและสมาชิกรัฐสภาซึ่งได้รับเสียงตบมืออย่างกึกก้องเป็นระยะๆ ดังนี้
ข้อที่หนึ่ง เราจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีโอกาสและความมั่นคงที่เท่าเทียมกันในระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เกิดขึ้น
ข้อที่สอง เราจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีทำงานเพื่อเรา และไม่เกิดผลเสียต่อเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาท้าทายที่เร่งด่วน อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ข้อที่สาม เราจะทำอย่างไรให้ประเทศสหรัฐอเมริกาปลอดภัยและเป็นผู้นำโลกโดยไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจโลก
ข้อที่สี่ เราจะทำอย่างไรเพื่อให้การเมืองของเราสะท้อนว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดของเรา ไม่ใช่สิ่งที่เลวที่สุด
ในบทความนี้ ผมตั้งใจจะกล่าวถึงเฉพาะข้อที่สองเพียงข้อเดียว แต่สิ่งที่อยากจะเรียกร้องต่อท่านนายกรัฐมนตรีและ คสช.รวมทั้งภาคประชาสังคมทั้งประเทศว่า จะดีไหมถ้าเราจะตั้ง “คำถามใหญ่ๆ” ในลักษณะเดียวกันนี้กับสังคมไทย
เรากำลังร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นกรอบในการอยู่ร่วมกัน แต่เรายังพูดได้ไม่เต็มปากว่าสังคมไทยขัดแย้งกันด้วยเหตุใด ไม่ใช่แค่บอกว่า “หยุดทะเลาะกันเสียที” ในขณะที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนได้ขยายออกจนเกือบจะมากที่สุดในโลกซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากๆ นักวิชาการจากอังกฤษสรุปว่า “ช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำทางสังคมคือต้นตอบ่อเกิดของความชั่วร้ายทั้งปวง” แต่ผู้นำไทยก็ยังขาดความเข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหาดังกล่าว การร่างรัฐธรรมนูญก็สักแต่ร่างให้เสร็จๆ โดยที่ยังไม่ชัดเจนในเป้าหมายหลัก
ในการตอบคำถามใหญ่ข้อที่สอง ประธานาธิบดีโอบามาได้ยกเอาประวัติอันน่ายกย่องของนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ไม่ว่าจะเป็นโทมัส เอดิสัน และสองพี่น้องตระกูลไรท์ (ซึ่งคนไทยจำได้ดีเพราะถูกบังคับให้ท่อง) แล้วสรุปว่า “จิตวิญญาณการค้นคว้าอยู่ในดีเอ็นเอของเรา”
ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมอยากจะได้ยินว่า “จิตวิญญาณอะไรอยู่ในดีเอ็นเอของคนไทย” ผมว่าต้องมีแน่นอน เพราะว่า “ชาติไทยนั้นเคยใหญ่ในบูรพา” ลองช่วยกันค้นหาออกมาซิครับ ถ้าไม่เป็นการหลอกลวงเราก็จะภูมิใจในชาติของเรา เช่น ความเป็นคนมีน้ำใจซึ่งต่างชาติเขายกย่องกันมาก เป็นต้น
หลังจากประธานาธิบดีซึ่งจะหมดวาระในต้นปีหน้าได้เล่าถึงปัญหาโลกร้อนจากการประชุมของเกือบ 200 ประเทศที่กรุงปารีสได้ตั้งคำถามย่อยว่า “ทำไมเราจึงปฏิเสธโอกาสทางธุรกิจของชาวอเมริกันในการที่จะผลิตและขายพลังงานของอนาคต”ซึ่งหมายถึงพลังงานหมุนเวียน
“เมื่อ 7 ปีที่แล้ว เราได้ลงทุนในพลังงานสะอาดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์” พร้อมกับแสดงสไลด์ประกอบการพูดที่มีชีวิตชีวาเป็นอย่างยิ่งว่า “เดี๋ยวนี้พลังงานลมมีราคาถูกกว่าพลังงานสกปรกซึ่งเป็นพลังงานดั้งเดิม โซลาร์เซลล์บนหลังคาได้เพิ่มขึ้น 30 เท่าตัว สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าให้ชาวอเมริกันได้ปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ มีการจ้างงานมากกว่าธุรกิจถ่านหิน ค่าแรงก็สูงกว่าด้วย เรากำลังก้าวไปสู่การให้เจ้าของบ้านมีเสรีภาพในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง ในขณะเดียวกัน เราได้ลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ถึง 60% และลดการปล่อยมลพิษลงได้มากกว่าประเทศใดๆ ในโลก”
“เราต้องเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเพื่อหนีออกไปจากพลังงานสกปรกแทนที่จะสนับสนุนชดเชยกันอย่างในอดีต เราควรจะลงทุนในอนาคต” ขอย้ำคำว่า “เร่ง” ครับผมได้นำภาพพร้อมข้อมูลสำคัญมาให้ดูด้วย
ผมยังเหลือเรื่องที่จะเล่าอีก 2 เรื่องซึ่งสำคัญมาก
ในเรื่องพลังงาน ในขณะที่พลังงานลมและพลังงานแสงแดดซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าพลังงานสกปรก แต่คนไทยเราก็ยังถูกพ่อค้าพลังงานหลอกได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น พลังงานลมไม่เสถียร แสงแดดมีเฉพาะกลางวัน กลางคืนจะเอาอะไรใช้ ที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะการศึกษาของเรา ไม่ได้เน้นไปที่กระบวนการคิด การวิเคราะห์และการค้นหาความจริง ดังนั้น เราจึงเชื่อเขาอย่างง่ายๆ
ในเรื่องการปลูกยางพารา เราชอบทำอะไรตามๆ กัน ประกอบกับนักการเมืองที่มุ่งประชานิยมได้ส่งเสริมให้มีการปลูกกันถึง 70 จังหวัด บนพื้นที่กว่า 22 ล้านไร่ ได้ผลผลิตปีละ 4.3 ล้านตัน แต่เราต้องส่งออกไปในรูปวัตถุดิบถึงเกือบ 90% เราใช้เองภายในประเทศเพียงประมาณ 10% เท่านั้น งานวิจัยเพื่อนำยางพารามาทำผลิตภัณฑ์มาใช้ประโยชน์ มาเพิ่มมูลค่าก็ยังมีน้อยมาก ก็ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่ได้สอนให้คนรู้จักคิด ไม่ได้สอนให้พึ่งตนเอง จึงต้องพึ่งตลาดโลก
มาถึงเรื่องสุดท้าย คือเรื่องการปลูกพืชกัญชาและกัญชง ซึ่งเป็นตัวอย่างของการล้างสมองและปล้นทรัพยากรธรรมชาติของประเทศมหาอำนาจได้ดีที่สุด เพราะว่าพืชทั้งสองชนิดเป็นทั้งสมุนไพร เป็นยารักษาโรคและเป็นวัตถุดิบตั้งต้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งธรรมชาติได้คัดสรรให้กับโลกอย่างลงตัว แต่ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติบอกว่าพืชทั้งสองเป็นยาเสพติด และต้องทำให้ผิดกฎหมาย แล้วเราก็ทำตาม มาวันนี้หลายประเทศรวมทั้งหลายรัฐในสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ด้วยความอืดของระบบของเรา เราก็ยังถือว่าเป็นพืชที่ผิดกฎหมาย
ในบทความนี้ ผมได้นำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพจำนวน 3 รายการ รายละเอียดอยู่ในภาพครับ ที่น่าสังเกตก็คือ รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันพืชนั้น ได้ถูกกลุ่มทุนเปลี่ยนไปใช้ปิโตรเลียมที่พวกเขาผูกขาด โอกาสของเกษตรกรที่ปลูกพืช (ซึ่งกัญชงก็เป็นพืชที่ให้น้ำมันสูง) เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ ก็ถูกทำให้หายไป
สรุป
ผมตั้งชื่อบทความนี้ว่า “จากปลูกยางพาราถึง “ปลูกอนาคตของเราเอง” และแรงบันดาลใจในวันครู”ก็เพราะได้รับแรงบันดาลใจมาจากกลุ่มเกษตรชาวอเมริกันที่ชูคำขวัญว่า “Grow our Future” ที่เรียกร้องต่อรัฐบาลกลางเพื่อให้พวกเขาสามารถปลูกต้นกัญชง (Hemp) ได้ นอกจากนี้ เพื่อเสริมเหตุผลถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเรียกร้องเพื่อสิทธิการพึ่งตนเองของชุมชนที่ถูกกลุ่มทุนปล้นเอาไป ผมได้นำเหตุผลในด้านอาหารและโภชนาการมาลงให้ดูด้วยครับ
หากใครคิดว่าบทความของผมมีข้อมูลล้นเกินไปก็ขออภัยด้วยครับ มนุษย์เราต้องคิดอยู่บนฐานของข้อมูลที่เป็นความรู้และจินตนาการครับ
ทั้ง 4 เรื่องนี้มาบรรจบกันเนื่องในวันครูแห่งชาติ และถ้ามองจากมุมของผมซึ่งเป็นครูคนหนึ่งมายาวนาน ผมถือว่าทั้ง 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันครับคือเรื่องของการศึกษาที่ไม่ได้ตอบสนองต่อคุณค่าหลัก 2 ประการของความเป็นมนุษย์ คือ ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคม แต่เป็นการศึกษาเพื่อการขึ้นต่อหรือเป็นทาสของระบบทุนสามานย์ที่กำกับเราอยู่
ในด้านการศึกษา เราพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยรวมของประเทศเราได้ตกต่ำลงมาก ในขณะที่นักเรียนทุนจำนวนน้อยที่เก่งมากๆ ทั้งๆ ที่สำเร็จการศึกษามาจากสถาบันชั้นนำของโลก แต่เมื่อเข้ามาสู่ระบบงานของหน่วยงานภาครัฐก็แทบจะสร้างผลงานได้ลำบาก เพราะติดขัดด้วยระเบียบต่างๆ นานา รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กรและนโยบายของรัฐบาล
วิธีการเรียนการสอนก็เน้นที่การท่องจำเป็นหลัก แทนที่จะเน้นกระบวนการคิด การใช้เหตุใช้ผล เช่น วิชาเรขาคณิตของยูคลิด เป็นต้น (คนที่อายุเกิน 50 ปีคงเคยได้เรียน) กระบวนการประเมินผลงานของครูแทนที่จะส่งผลดีต่อคุณภาพการศึกษา แต่กลับเป็นตัวปัญหาต่อคุณภาพด้านการเรียนการสอนเสียเอง
การศึกษาของเรา ได้เปลี่ยนธรรมชาติของเด็กที่เคยช่างคิด ช่างถาม และร่าเริง กลายเป็นคนที่คิดไม่เป็นและเครียด หลานผมคนหนึ่งหลังจากไปโรงเรียนชั้นอนุบาลได้ไม่กี่วัน ก็ได้ตั้งคำถามที่น่าทึ่งว่า “แม่ แม่ โรงเรียนนั้นทำไมต้องไปบ่อย” แต่เดี๋ยวนี้หลานคนนี้กำลังเครียดกับการศึกษาที่ยังไม่รู้ว่าเรียนวิชาตรีโกณมิติไปทำไม
ในโอกาสวันครูแห่งชาติ ผมขอนำการจำแนกครูออกเป็น 4 ระดับ โดย William A. Ward นักประพันธ์ชาวอเมริกัน ที่ข้อคิดดีๆ ของเขาได้ถูกประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลายคนเอาไปใช้ในการหาเสียง (แค่หาเสียงหรือไม่?)
เมื่อพูดถึงการจุดประกายเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ก็คือการสร้างพลังทางความคิด สร้างกำลังใจเพื่อให้ผู้ฟังได้มีพลังในการร่วมมือกันสร้างอนาคตของชาติ ผมว่าประธานาธิบดีโอบามา ทำได้ดีมากๆ ในการปราศรัยครั้งสุดท้ายต่อรัฐสภาในตำแหน่งของเขา แม้จะเหลือเวลาในตำแหน่งเพียงปีเดียว แต่เขาขออนุญาตพูดไปถึงอนาคต 5 ปี 10 ปี และหลังจากนั้นอีก ผมขอสรุปมาเล่าสั้นๆ ไว้ครั้งหนึ่งก่อน
“เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดา การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เราต้องปรับวิถีชีวิตและวิธีการทำงาน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อโลกของเราและสถานที่ต่างๆ ในโลก”
ในฐานะอาจารย์คณิตศาสตร์ ผมรู้สึกชอบประโยคต่อไปนี้มากๆ คือ “การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถขยายโอกาสหรือสร้างความเหลื่อมล้ำได้มากขึ้น และไม่ว่าเราจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม จังหวะก้าวของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปได้อย่างเดียวเท่านั้นคือเร็วขึ้นกว่าเดิมนั่นคืออย่างมีอัตราเร่ง”
“อเมริกาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ มาแล้วหลายครั้ง ทั้งสงครามและความตกต่ำทางเศรษฐกิจ การทะลักเข้ามาของผู้อพยพ การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานเพื่อความยุติธรรม รวมทั้งการเคลื่อนไหวเพื่อขยายเสรีภาพของพลเมือง...นั่นเพราะว่าเรามองเห็นโอกาส ในขณะที่คนอื่นมองเห็นแต่อันตราย เราจึงเข้มแข็งและดีขึ้นกว่าแต่ก่อน"
ประธานาธิบดีโอบามาได้ตั้งคำถามใหญ่ 4 ข้อต่อชาวอเมริกันและสมาชิกรัฐสภาซึ่งได้รับเสียงตบมืออย่างกึกก้องเป็นระยะๆ ดังนี้
ข้อที่หนึ่ง เราจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีโอกาสและความมั่นคงที่เท่าเทียมกันในระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เกิดขึ้น
ข้อที่สอง เราจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีทำงานเพื่อเรา และไม่เกิดผลเสียต่อเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาท้าทายที่เร่งด่วน อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ข้อที่สาม เราจะทำอย่างไรให้ประเทศสหรัฐอเมริกาปลอดภัยและเป็นผู้นำโลกโดยไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจโลก
ข้อที่สี่ เราจะทำอย่างไรเพื่อให้การเมืองของเราสะท้อนว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดของเรา ไม่ใช่สิ่งที่เลวที่สุด
ในบทความนี้ ผมตั้งใจจะกล่าวถึงเฉพาะข้อที่สองเพียงข้อเดียว แต่สิ่งที่อยากจะเรียกร้องต่อท่านนายกรัฐมนตรีและ คสช.รวมทั้งภาคประชาสังคมทั้งประเทศว่า จะดีไหมถ้าเราจะตั้ง “คำถามใหญ่ๆ” ในลักษณะเดียวกันนี้กับสังคมไทย
เรากำลังร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นกรอบในการอยู่ร่วมกัน แต่เรายังพูดได้ไม่เต็มปากว่าสังคมไทยขัดแย้งกันด้วยเหตุใด ไม่ใช่แค่บอกว่า “หยุดทะเลาะกันเสียที” ในขณะที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนได้ขยายออกจนเกือบจะมากที่สุดในโลกซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากๆ นักวิชาการจากอังกฤษสรุปว่า “ช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำทางสังคมคือต้นตอบ่อเกิดของความชั่วร้ายทั้งปวง” แต่ผู้นำไทยก็ยังขาดความเข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหาดังกล่าว การร่างรัฐธรรมนูญก็สักแต่ร่างให้เสร็จๆ โดยที่ยังไม่ชัดเจนในเป้าหมายหลัก
ในการตอบคำถามใหญ่ข้อที่สอง ประธานาธิบดีโอบามาได้ยกเอาประวัติอันน่ายกย่องของนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ไม่ว่าจะเป็นโทมัส เอดิสัน และสองพี่น้องตระกูลไรท์ (ซึ่งคนไทยจำได้ดีเพราะถูกบังคับให้ท่อง) แล้วสรุปว่า “จิตวิญญาณการค้นคว้าอยู่ในดีเอ็นเอของเรา”
ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมอยากจะได้ยินว่า “จิตวิญญาณอะไรอยู่ในดีเอ็นเอของคนไทย” ผมว่าต้องมีแน่นอน เพราะว่า “ชาติไทยนั้นเคยใหญ่ในบูรพา” ลองช่วยกันค้นหาออกมาซิครับ ถ้าไม่เป็นการหลอกลวงเราก็จะภูมิใจในชาติของเรา เช่น ความเป็นคนมีน้ำใจซึ่งต่างชาติเขายกย่องกันมาก เป็นต้น
หลังจากประธานาธิบดีซึ่งจะหมดวาระในต้นปีหน้าได้เล่าถึงปัญหาโลกร้อนจากการประชุมของเกือบ 200 ประเทศที่กรุงปารีสได้ตั้งคำถามย่อยว่า “ทำไมเราจึงปฏิเสธโอกาสทางธุรกิจของชาวอเมริกันในการที่จะผลิตและขายพลังงานของอนาคต”ซึ่งหมายถึงพลังงานหมุนเวียน
“เมื่อ 7 ปีที่แล้ว เราได้ลงทุนในพลังงานสะอาดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์” พร้อมกับแสดงสไลด์ประกอบการพูดที่มีชีวิตชีวาเป็นอย่างยิ่งว่า “เดี๋ยวนี้พลังงานลมมีราคาถูกกว่าพลังงานสกปรกซึ่งเป็นพลังงานดั้งเดิม โซลาร์เซลล์บนหลังคาได้เพิ่มขึ้น 30 เท่าตัว สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าให้ชาวอเมริกันได้ปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ มีการจ้างงานมากกว่าธุรกิจถ่านหิน ค่าแรงก็สูงกว่าด้วย เรากำลังก้าวไปสู่การให้เจ้าของบ้านมีเสรีภาพในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง ในขณะเดียวกัน เราได้ลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ถึง 60% และลดการปล่อยมลพิษลงได้มากกว่าประเทศใดๆ ในโลก”
“เราต้องเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเพื่อหนีออกไปจากพลังงานสกปรกแทนที่จะสนับสนุนชดเชยกันอย่างในอดีต เราควรจะลงทุนในอนาคต” ขอย้ำคำว่า “เร่ง” ครับผมได้นำภาพพร้อมข้อมูลสำคัญมาให้ดูด้วย
ผมยังเหลือเรื่องที่จะเล่าอีก 2 เรื่องซึ่งสำคัญมาก
ในเรื่องพลังงาน ในขณะที่พลังงานลมและพลังงานแสงแดดซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าพลังงานสกปรก แต่คนไทยเราก็ยังถูกพ่อค้าพลังงานหลอกได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น พลังงานลมไม่เสถียร แสงแดดมีเฉพาะกลางวัน กลางคืนจะเอาอะไรใช้ ที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะการศึกษาของเรา ไม่ได้เน้นไปที่กระบวนการคิด การวิเคราะห์และการค้นหาความจริง ดังนั้น เราจึงเชื่อเขาอย่างง่ายๆ
ในเรื่องการปลูกยางพารา เราชอบทำอะไรตามๆ กัน ประกอบกับนักการเมืองที่มุ่งประชานิยมได้ส่งเสริมให้มีการปลูกกันถึง 70 จังหวัด บนพื้นที่กว่า 22 ล้านไร่ ได้ผลผลิตปีละ 4.3 ล้านตัน แต่เราต้องส่งออกไปในรูปวัตถุดิบถึงเกือบ 90% เราใช้เองภายในประเทศเพียงประมาณ 10% เท่านั้น งานวิจัยเพื่อนำยางพารามาทำผลิตภัณฑ์มาใช้ประโยชน์ มาเพิ่มมูลค่าก็ยังมีน้อยมาก ก็ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่ได้สอนให้คนรู้จักคิด ไม่ได้สอนให้พึ่งตนเอง จึงต้องพึ่งตลาดโลก
มาถึงเรื่องสุดท้าย คือเรื่องการปลูกพืชกัญชาและกัญชง ซึ่งเป็นตัวอย่างของการล้างสมองและปล้นทรัพยากรธรรมชาติของประเทศมหาอำนาจได้ดีที่สุด เพราะว่าพืชทั้งสองชนิดเป็นทั้งสมุนไพร เป็นยารักษาโรคและเป็นวัตถุดิบตั้งต้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งธรรมชาติได้คัดสรรให้กับโลกอย่างลงตัว แต่ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติบอกว่าพืชทั้งสองเป็นยาเสพติด และต้องทำให้ผิดกฎหมาย แล้วเราก็ทำตาม มาวันนี้หลายประเทศรวมทั้งหลายรัฐในสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ด้วยความอืดของระบบของเรา เราก็ยังถือว่าเป็นพืชที่ผิดกฎหมาย
ในบทความนี้ ผมได้นำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพจำนวน 3 รายการ รายละเอียดอยู่ในภาพครับ ที่น่าสังเกตก็คือ รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันพืชนั้น ได้ถูกกลุ่มทุนเปลี่ยนไปใช้ปิโตรเลียมที่พวกเขาผูกขาด โอกาสของเกษตรกรที่ปลูกพืช (ซึ่งกัญชงก็เป็นพืชที่ให้น้ำมันสูง) เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ ก็ถูกทำให้หายไป
สรุป
ผมตั้งชื่อบทความนี้ว่า “จากปลูกยางพาราถึง “ปลูกอนาคตของเราเอง” และแรงบันดาลใจในวันครู”ก็เพราะได้รับแรงบันดาลใจมาจากกลุ่มเกษตรชาวอเมริกันที่ชูคำขวัญว่า “Grow our Future” ที่เรียกร้องต่อรัฐบาลกลางเพื่อให้พวกเขาสามารถปลูกต้นกัญชง (Hemp) ได้ นอกจากนี้ เพื่อเสริมเหตุผลถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเรียกร้องเพื่อสิทธิการพึ่งตนเองของชุมชนที่ถูกกลุ่มทุนปล้นเอาไป ผมได้นำเหตุผลในด้านอาหารและโภชนาการมาลงให้ดูด้วยครับ
หากใครคิดว่าบทความของผมมีข้อมูลล้นเกินไปก็ขออภัยด้วยครับ มนุษย์เราต้องคิดอยู่บนฐานของข้อมูลที่เป็นความรู้และจินตนาการครับ