xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

สภาผัวเมียเตียงหัก!!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ในที่สุดสภาผัวเมีย ที่คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ พยายามจะรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ หลังจากที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ได้สร้างกำแพงกั้นไว้ แต่ก็ไปไม่รอด ต้องยอมยกธงขาวในที่สุด

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ของการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นหลักที่สังคมให้ความสนใจ และมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ก็ยังคงเป็นเรื่องการเข้าสู่การอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาของ ส.ส.-ส.ว.-รัฐมนตรี-นายกรัฐมนตรี

โดยเฉพาะเรื่องที่มาของส.ว. ที่ กรธ.ชุดนี้เคยกำหนดสเปกไว้ว่า ให้มีส.ว.จำนวน 200 คน มีที่มาจาก 20 กลุ่มสาขาอาชีพ เลือกกันเองแบบไขว้ หน้าที่ก็ไม่ได้ทำหน้าที่ "สภาพี่เลี้ยง" เหมือนในอดีตแล้ว แต่ให้นำความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มาช่วยในการบริหารบ้านเมือง และตีกรอบคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็น ส.ว.ไว้ ดังนี้

1.ไม่กำหนดวุฒิการศึกษาว่าต้องจบระดับปริญญาตรี 2. มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในกลุ่มอาชีพนั้นๆไม่ต่ำกว่า 10 ปี ต้องมีความผูกพัน

กับพื้นที่นั้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ การเกิด ที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ประวัติการศึกษาในพื้นที่ ประวัติการทำงานในพื้นที่ 3 . ไม่จำกัดสิทธิคู่สมรส หรือ

บุพการี และบุตร ของผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ 4. สามารถสมัครได้โดยตรงโดยไม่ต้องมี “นิติบุคคลที่ไม่แสวงหา

ผลกำไร”มารับรอง 5. ผู้สมัครต้องเปิดเผยหลักฐานการเสียภาษีย้อนหลัง1 ปี 6. ส.ว.มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และเป็นได้เพียงวาระเดียวตลอด

ชีวิตไม่สามารถกลับมาเป็น ส.ว.ได้อีก 7. ส.ว.หากจะออกไปดำรงตำแหน่งส.ส. หรือรัฐมนตรี จะต้องพ้นจากตำแหน่งส.ว.แล้วเป็นเวลา 5 ปี เพื่อป้องกัน

ไม่ให้ไปผูกพันกับผลประโยชน์ทางการเมือง ในทางกลับกันหากอดีต ส.ส.หากต้องการมาสมัครส.ว.ก็ต้องพ้นจากการเป็นส.ส.มาแล้ว 5 ปีเช่นกัน 8.

คุณสมบัติของวุฒิสภา ห้ามไม่ให้มีคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งเท่านั้น และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจากองค์กรอิสระ หรือศาล แม้คดียังไม่ถึงที่สิ้นสุด เนื่องจาก

มีการ อุทธรณ์ก็ไม่สามารถลงสมัครส.ว.ได้

ในจำนวน 8 ข้อนี้ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด คือ ข้อ 3 ที่เปิดช่องให้ "คู่สมรส-บุพการี-บุตร" ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มา

สมัครส.ว.ได้ ซึ่งเปรียบเหมือนกับเป็นการฟื้น"สภาผัว-เมีย" ขึ้นมาอีกครั้ง

กรธ.ให้เหตุผลว่า หากปิดช่องดังกล่าวไว้ ก็จะเป็นการตัดสิทธิส่วนบุคล อีกทั้งหน้าที่ของส.ว. เน้นเรื่องความรู้ ความเชี่ยวชาญ และ

ประสบการณ์ ในการเข้ามาทำงาน ไม่มีเรื่องการถอดถอนนักการเมืองแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะไปจำกัดสิทธิคนเหล่านี้

เมื่อมีการเผยแพร่ข้อสรุปของกรธ. ออกไป ก็มีผู้แสดงความไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผลโพล หรือการแสดงความเห็นตามเวทีต่างๆ ในระดับจังหวัด รวมทั้งการแสดงความเห็นทักท้วงไปถึง กรธ.โดยตรง โดยให้เหตุผลว่า สภาพสังคมไทยยังติดยึดกับพรรคพวก มีญาติ มีความเกรงใจ เกื้อหนุนกัน บางพื้นที่ก็มีการครองตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับกันทั้งตระกูล สร้างเป็นอาณาจักรทางการเมือง จนเป็นที่มาของปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นเรื่องอุบาทว์ ของระบอบประชาธิปไตย

เจอกระแสคัดค้านอย่างหนักเช่นนี้ กรธ.จำต้องยอมกลับลำ หันมาก่อกำแพงปิดปิดช่องสภาผัวเมียไว้ตามเดิม 

ไม่เพียงเท่านั้น กรณีห้ามบุตร บุพการี คู่สมรส ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการการเมือง ยังจะนำมาบังคับใช้กับกรณีเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจาก กรธ. เห็นว่า ส.ว. ก็เป็นหนึ่งในตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้น บุตร บุพการี คู่สมรส ของ ส.ว. ก็ไม่สามารถลงเลือกตั้งส.ส.ได้ ยกเว้นพ้นจากจากตำแหน่งส.ว.ไปแล้ว

นอกจากนี้ยังยังมีข้อสรุปในเนื้อหาสาระของบางประเด็น บางมาตรา ที่น่าสนใจ อาทิ

ตัดถ้อยคำในเรื่อง เสรีภาพสื่อ ที่เคยระบุว่า รัฐจะเข้าไปตรวจสอบสื่อ หรือเซ็นเซ่อร์ข่าวได้ เมื่อมีการประกาศกฎอัยการศึก หรือ พ.ร.ก.

ฉุกเฉิน จากเดิมที่ระบุเพียงภาวะสงครามเท่านั้น ให้เหลือไว้เพียงในภาวะสงครามตามเดิม   

ในหมวดหน้าที่ของปวงชนชาวไทย มีประเด็นใหม่ คือ กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน นอกจากเหนือจากหน้าที่

ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง รับราชการทหาร ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และการเสียภาษีอากร

เมื่อกำหนดให้เป็นหน้าที่แล้ว ต่อไปนี้ผู้ที่พบเห็น และรู้ว่ากำลังจะมีการทุจริต คอร์รัปชันเกิดขึ้นแล้วเพิกเฉย ก็จะถือว่ามีความผิดด้วย

เพียงแต่ว่า เป็นความผิดในฐานลหุโทษ เท่านั้น

ในประเด็นการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับ มาตรา 68 ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็มีการปรับปรุงองค์ประกอบ โดย

กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจชี้ขาดให้หยุดการกระทำที่เข้าข่ายการล้มล้างการปกครองฯ และเพิ่มขั้นตอนให้อัยการ เป็นผู้รับคำร้อง และตรวจสอบ

ข้อเท็จจริงใน 30 วัน หากไม่ส่งเรื่อง หรือไม่ดำเนินการ ผู้ร้องมีสิทธิ์ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้ ทั้งนี้ คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ทำให้กรณี

หากมีความผิดทางอาญาต้องยุติลง

ส่วนประเด็นความผิดกรณีการได้มาซึ่งอำนาจรัฐ โดยวิธีการที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญนั้น กรธ.ได้ตัดออกไป เพราะเห็นว่าในอดีตที่

ผ่านมา ได้ถูกนำไปใช้เป็นประเด็นการต่อสู้ทางการเมืองจนสร้างปัญหามากมาย และมีการยุบพรรคไปหลายพรรค

สำหรับหมวดนโยบายแห่งรัฐ ใน มาตรา 71 มีการกำหนดให้คลื่นความถี่และสิทธิ์ในวงโคจรของอุปกรณ์สื่อสาร เป็นทรัพยากรของรัฐ จากเดิมที่กำหนดให้เป็นทรัพยากรของชาติ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เห็นว่า คลื่นความถี่ เป็นของประชาชน ไม่ใช่ของ กสทช. ซึ่งการจัดเก็บค่าบริการคลื่นความถี่ ต้องเป็นธรรม ในฐานะเจ้าของคลื่นความถี่ด้วย

อีกเรื่องหนึ่งที่มีผู้พยายามเสนอให้บัญญัติว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ กรธ.ไม่เห็นด้วย และไม่ได้บรรจุไว้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ถึงบัญญัติไป ก็เป็นเพียงการบัญญัติไว้ลอยๆ ไม่ได้เกิดผลในทางปฏิบัติ ในที่สุดก็จะถูกตั้งคำถามว่า เขียนแล้วได้อะไร การล่วงละเมิดศาสนาที่เคยมีการกระทำ ก็ยังคงกระทำอยู่ หากเขียนไว้ ก็จะกลายเป็นการเขียนให้สวยหรู แต่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ จึงเห็นว่าไม่จำเป็น

สำหรับประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญในอดีต ได้แก่

การย้ายความคลุมเครือของ มาตรา 7 กรณีที่ไม่มีบัญญัติตามรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามประเพณีปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตย นั้น ให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด เพื่อไม่ต้องตีความ ถกเถียงกันเอง

ในหมวดพระมหากษัตริย์ ให้ผู้รับโปรดเกล้าฯตำแหน่ง สามารถถวายสัตย์ปฏิญาณตน ต่อองค์รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการได้ด้วย รวมทั้งในกรณีจำเป็น สามารถทำหน้าที่ไปพลางก่อนทันที ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ โดยไม่ต้องรอการถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อน 

เหล่านี้ เป็นความคืบหน้าส่วนหนึ่ง ของการสรุป ร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ก่อนที่นำออกไปประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ และแสดงความคิดเห็น ก่อนที่กรธ. จะนำมาปรับปรุง แก้ไขถ้อยคำอีกครั้ง ก่อนจะเป็นร่างสุดท้าย ที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อนำไปทำประชามติ ต่อไป



กำลังโหลดความคิดเห็น