วานนี้ (12ม.ค.) นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ชี้แจงกรณี กรธ. เห็นชอบให้เพิ่มเงื่อนไขการเซ็นเซอร์ข่าว ในภาวะที่บ้านเมืองไม่ปกติตาม มาตรา 45 ของรธน.ปี 50 เป็น มีอำนาจเซ็นเซอร์ข่าวได้เมื่อมีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือมีการใช้กฎอัยการศึก เพิ่มเติมจากเดิมระบุไว้ว่า เป็นกรณีที่มีภาวะสงครามเท่านั้น เพราะปกติผู้ที่ประกาศกฎอัยการศึก ก็มีอำนาจในการล่วงล้ำไปในสิทธิ เสรีภาพ ของบุคคลได้อยู่แล้ว ในกรณีที่พบว่ามีการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคง หรือการกระทำความผิด จึงคิดว่าควรจะเขียนไว้ให้เห็นว่า ในภาวะที่บ้านเมืองไม่ปกติ สื่อมวลชนก็ควรจะให้ความร่วมมือกับบ้านเมือง ไม่อย่างนั้นบ้านเมืองจะมีกติกาได้ลำบาก
ทั้งนี้ กรธ.ได้พิจารณาจากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงจนนำไปสู่ความขัดแย้ง ในปี 56–57 โดยมองว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้สื่อ เพื่อยุยง ปลุกปั่น โดยที่องค์กรสื่อมวลชนเองไม่สามารถควบคุมกันเองได้ แม้แต่หนังสือพิมพ์ใหญ่บางฉบับ เมื่อถูกสภาการหนังสือพิมพ์เตือน ก็ใช้วิธีลาออกจากสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์
" สภาพบ้านเมืองที่ผ่านมา เห็นอยู่ว่าไม่ใช่ภาวะสงคราม แต่เป็นสภาพที่ไม่รู้ใครเป็นใคร เราจะเอาเกณฑ์ของสากลมาวัด แต่ผู้คนของเราก็ไม่เหมือนกันในต่างประเทศ เราต้องคิดในบริบทที่บ้านเมืองเราเป็นอยู่ ความสามารถของรัฐในการดูแลความสงบ กรธ.ไม่ได้คิดเข้าข้างรัฐ แต่คิดในสภาพสังคมทั้งหมด " โฆษกกรธ.กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากรัฐบาลเป็นคู่กรณีของความขัดแย้ง แล้วใช้อำนาจ ออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อเซ็นเซอร์ แทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อ ที่มุ่งตรวจสอบพฤติกรรมทุจริตของรัฐบาล จะทำอย่างไร นายอุดม รับว่าเป็นประเด็นที่ กรธ. จะต้องนำกลับไปทบทวนให้มีเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ของการใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือการประกาศกฎอัยการศึก ที่ชัดเจน มีเหตุผลมากขึ้น
" เห็นด้วยในสิ่งที่ทักท้วง ว่าในรายละเอียด สมควรที่จะมีการพูดถึงกรอบของการอ้างเหตุออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อขัดขวางการทำงานของสื่อ ซึ่งต้องวางกรอบกติกาในการอ้างเหตุเพื่อออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือกฎอัยการศึก ให้ชัดเจนว่าต้องมีเหตุผลอะไร ถึงจะเข้าไปตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อได้ ไม่ใช่ตรวจได้หมดทุกกรณี ส่วนรัฐธรรมนูญเพียงวางหลักไว้ให้เท่านั้น จำเป็นต้องมีกรอบมีเกณฑ์อีกชั้นที่วางรายละเอียดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง " นายอุดม กล่าว
นอกจากนี้ กรธ. ยังได้กำหนดมาตรการควบคุมการใช้งบฯโฆษณาประชาสัมพันธ์ของรัฐ โดยกำหนดให้ต้องแจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะอีกด้วย โดยนายอุดม กล่าวว่า เป็นการใช้การแซงก์ชั่นทางสังคม ด้วยการเปิดเผยว่า มีสื่อใดที่ได้รับเงินค่าจ้างจากรัฐมากเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อให้สังคมตรวจตรา ว่าจะเข้าข่ายเป็นการทุ่มซื้อสื่อด้วยงบประมาณของรัฐหรือไม่ โดยไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปบังคับ หรือห้ามแต่อย่างใด
" สังคมจะได้เห็นและตั้งข้อสังเกตและคำถาม ว่า ทำไมสื่อบางสื่อได้ค่าจ้างจากงบประมาณส่วนนี้ไปมาก บางส่วนไม่ได้เลย เป็นเพราะอะไร มีหลักการพิจารณาอย่างไร แต่เราไม่ได้ไปห้ามไม่ให้ลงโฆษณา หรือติดต่อสัมพันธ์กับสื่อแต่อย่างใด เพียงแต่ทำให้สื่อด้วยกัน และประชาชนสบายใจ ว่าการทำหน้าที่เป็นไปด้วยความโปร่งใสหรือไม่" นายอุดม กล่าว
**ต่อต้านทุจริต เป็นหน้าที่ของคนไทย
นายอุดม ยังกล่าวถึงผลการพิจารณา ในหมวดหน้าที่ของปวงชนชาวไทย โดยมีประเด็นใหม่ คือ กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ต่อต้านการทุจริต นอกจากเหนือจากหน้าที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง รับราชการทหาร ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และการเสียภาษีอากร
เมื่อ กรธ.กำหนดให้เป็นหน้าที่แล้ว แปลว่า จะต้องมีมาตรการสำหรับผู้ที่ละเลย ไม่ทำตามหน้าที่ตามมา เช่นเดียวกับความผิดทางกฎหมายอาญา ในกรณีที่พบเห็นคนกำลังจะจมน้ำตายแล้วไม่พยายามช่วยเหลือ ก็จะมีความผิด โดยจะเป็นความผิดในฐานลหุโทษ
เราถือว่าเรื่องการทุจริต คอร์รัปชัน เป็นเรื่องที่ร้ายแรงในสังคมไทย ที่คนไทยทุกคนต้องมีหน้าที่ร่วมกันต่อต้าน ดังนั้นต่อไปนี้ ผู้ที่พบเห็น และรู้ว่ากำลังจะมีการทุจริต คอร์รับชันเกิดขึ้นแล้วเพิกเฉย ก็จะถือว่ามีความผิดด้วย โดยจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขความร้ายแรง และบทลงโทษไว้ในกฎหมายที่ตามมาอีกครั้ง แต่เบื้องต้น น่าจะเป็นความผิดในฐานลหุโทษ" นายอุดม กล่าว
นอกจากนี้ กรธ. ยังได้กำหนดให้การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ต่อเนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 แต่บทลงโทษ จะไปพิจารณาอีกครั้ง เมื่อมีการร่างกฎหมายประกอบรธน.
ทั้งนี้ กรธ.ได้พิจารณาจากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงจนนำไปสู่ความขัดแย้ง ในปี 56–57 โดยมองว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้สื่อ เพื่อยุยง ปลุกปั่น โดยที่องค์กรสื่อมวลชนเองไม่สามารถควบคุมกันเองได้ แม้แต่หนังสือพิมพ์ใหญ่บางฉบับ เมื่อถูกสภาการหนังสือพิมพ์เตือน ก็ใช้วิธีลาออกจากสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์
" สภาพบ้านเมืองที่ผ่านมา เห็นอยู่ว่าไม่ใช่ภาวะสงคราม แต่เป็นสภาพที่ไม่รู้ใครเป็นใคร เราจะเอาเกณฑ์ของสากลมาวัด แต่ผู้คนของเราก็ไม่เหมือนกันในต่างประเทศ เราต้องคิดในบริบทที่บ้านเมืองเราเป็นอยู่ ความสามารถของรัฐในการดูแลความสงบ กรธ.ไม่ได้คิดเข้าข้างรัฐ แต่คิดในสภาพสังคมทั้งหมด " โฆษกกรธ.กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากรัฐบาลเป็นคู่กรณีของความขัดแย้ง แล้วใช้อำนาจ ออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อเซ็นเซอร์ แทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อ ที่มุ่งตรวจสอบพฤติกรรมทุจริตของรัฐบาล จะทำอย่างไร นายอุดม รับว่าเป็นประเด็นที่ กรธ. จะต้องนำกลับไปทบทวนให้มีเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ของการใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือการประกาศกฎอัยการศึก ที่ชัดเจน มีเหตุผลมากขึ้น
" เห็นด้วยในสิ่งที่ทักท้วง ว่าในรายละเอียด สมควรที่จะมีการพูดถึงกรอบของการอ้างเหตุออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อขัดขวางการทำงานของสื่อ ซึ่งต้องวางกรอบกติกาในการอ้างเหตุเพื่อออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือกฎอัยการศึก ให้ชัดเจนว่าต้องมีเหตุผลอะไร ถึงจะเข้าไปตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อได้ ไม่ใช่ตรวจได้หมดทุกกรณี ส่วนรัฐธรรมนูญเพียงวางหลักไว้ให้เท่านั้น จำเป็นต้องมีกรอบมีเกณฑ์อีกชั้นที่วางรายละเอียดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง " นายอุดม กล่าว
นอกจากนี้ กรธ. ยังได้กำหนดมาตรการควบคุมการใช้งบฯโฆษณาประชาสัมพันธ์ของรัฐ โดยกำหนดให้ต้องแจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะอีกด้วย โดยนายอุดม กล่าวว่า เป็นการใช้การแซงก์ชั่นทางสังคม ด้วยการเปิดเผยว่า มีสื่อใดที่ได้รับเงินค่าจ้างจากรัฐมากเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อให้สังคมตรวจตรา ว่าจะเข้าข่ายเป็นการทุ่มซื้อสื่อด้วยงบประมาณของรัฐหรือไม่ โดยไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปบังคับ หรือห้ามแต่อย่างใด
" สังคมจะได้เห็นและตั้งข้อสังเกตและคำถาม ว่า ทำไมสื่อบางสื่อได้ค่าจ้างจากงบประมาณส่วนนี้ไปมาก บางส่วนไม่ได้เลย เป็นเพราะอะไร มีหลักการพิจารณาอย่างไร แต่เราไม่ได้ไปห้ามไม่ให้ลงโฆษณา หรือติดต่อสัมพันธ์กับสื่อแต่อย่างใด เพียงแต่ทำให้สื่อด้วยกัน และประชาชนสบายใจ ว่าการทำหน้าที่เป็นไปด้วยความโปร่งใสหรือไม่" นายอุดม กล่าว
**ต่อต้านทุจริต เป็นหน้าที่ของคนไทย
นายอุดม ยังกล่าวถึงผลการพิจารณา ในหมวดหน้าที่ของปวงชนชาวไทย โดยมีประเด็นใหม่ คือ กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ต่อต้านการทุจริต นอกจากเหนือจากหน้าที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง รับราชการทหาร ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และการเสียภาษีอากร
เมื่อ กรธ.กำหนดให้เป็นหน้าที่แล้ว แปลว่า จะต้องมีมาตรการสำหรับผู้ที่ละเลย ไม่ทำตามหน้าที่ตามมา เช่นเดียวกับความผิดทางกฎหมายอาญา ในกรณีที่พบเห็นคนกำลังจะจมน้ำตายแล้วไม่พยายามช่วยเหลือ ก็จะมีความผิด โดยจะเป็นความผิดในฐานลหุโทษ
เราถือว่าเรื่องการทุจริต คอร์รัปชัน เป็นเรื่องที่ร้ายแรงในสังคมไทย ที่คนไทยทุกคนต้องมีหน้าที่ร่วมกันต่อต้าน ดังนั้นต่อไปนี้ ผู้ที่พบเห็น และรู้ว่ากำลังจะมีการทุจริต คอร์รับชันเกิดขึ้นแล้วเพิกเฉย ก็จะถือว่ามีความผิดด้วย โดยจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขความร้ายแรง และบทลงโทษไว้ในกฎหมายที่ตามมาอีกครั้ง แต่เบื้องต้น น่าจะเป็นความผิดในฐานลหุโทษ" นายอุดม กล่าว
นอกจากนี้ กรธ. ยังได้กำหนดให้การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ต่อเนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 แต่บทลงโทษ จะไปพิจารณาอีกครั้ง เมื่อมีการร่างกฎหมายประกอบรธน.