โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
ครูคืออะไร?
นิยามมากมาย!
ในทัศนะของผม... “สิ่งทั้งมวล ล้วนเป็นครู ถ้ารู้คิด พินิจธรรม”
ครูคือนักเรียน
ครูคือผู้สอน...ผู้ถูกสอนคือนักเรียน!
แล้วครูคือนักเรียนได้อย่างไร?
ถ้ามองแบบ 1+1 = 2 ครูจะเป็นนักเรียนไม่ได้ ครูก็เป็นครู นักเรียนก็เป็นนักเรียน นี่คือกรอบที่ยึดถือกันมา
หากมองนอกกรอบ 1+1 = 2 ก็ได้ = ไม่ใช่ 2 ก็ได้ = อย่างอื่นๆ ก็ได้ อย่างนี้เขาเรียกว่า คิดสร้างสรรค์ มีสิ่งแปลกใหม่ที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นได้ ไม่มีที่สิ้นสุด
ตอนเด็กๆ เคยเป็นนักเรียน พอแตกหนุ่มเป็นนักศึกษา พอเป็นผู้ใหญ่ก็เป็นครู ทำมาหากิน พอครบ 60 ปีก็เกษียณ จากครูกลายเป็น ส.ว.แล้วค่อยๆ เปลี่ยนสภาพจากผู้เฒ่ากลายเป็นเด็กน้อย หรือจากครูเกษียณกลายมาเป็นนักเรียนอีก
เพราะทุกวันนี้ ครูปู่ ครูย่า ครูตา ครูยาย จำนวนไม่น้อยกลายเป็นนักเรียน คอยถามคอยฟังครูคนใหม่สอนเรื่องโลกออนไลน์ ไวไฟ อินเทอร์เน็ต 3จี 4จี ทีวีดิจิตอล ฯลฯ จนลูกหลานชักรำคาญ (สอนไม่ค่อยจำ) ครูคนใหม่ก็คือลูกหลาน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับอนุบาล ประถม มัธยม อุดมฯ นั่นเอง
ท่าน ส.ว.ทั้งหลาย เห็นหรือยังว่าครูก็คือนักเรียน และนักเรียนก็คือครู อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมันมากนัก แบกมากก็หนักเปล่าๆ รู้จักปล่อยจักวางบ้างซิ (ลูกหลานสอนไม่ค่อยจำ 55555)
ครูและนักเรียนในอดีตและปัจจุบัน ยังมีปัญหาและความขัดแย้งมากขึ้น ในสภาพดินพอกหางหมูเพราะอะไร และจะแก้ปัญหาอย่างไร?
เนื่องเพราะครูบางคนบางส่วน มีสำนึกผิดๆ ต่อความเป็นครู เห็นนักเรียนเป็นแค่ผู้ถูกสอน เห็นครูเป็นผู้สอน หน้าที่ของนักเรียน คือเรียนตามครูเท่านั้น หน้าที่ของครูคือสอน และเรียนต่อเพื่อพัฒนาอาชีพครูด้วยการเพิ่มวิทยฐานะ และตำแหน่งสูงขึ้น ปริญญาตรีน้อยไป ต้องทิ้งห้องเรียนไปต่อโท จบแล้วยังไม่พอต้องต่อเอกอีก จบเอกแล้วกลับมาโรงเรียน สอนเด็กไม่ได้ ไม่สมเกียรติด็อกเตอร์ ความรู้มากเกินที่จะสอนเด็กประถม มัธยม จึงหาวิธีผันตัวเองไปสู่ตำแหน่งอื่น เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนใหญ่ระดับพรีเมียม หรือผู้บริหารเขตการศึกษาที่อยู่นอกโรงเรียน เป็นต้น
ที่บอกว่าลาไปหรือทิ้งห้องเรียนไปเรียนเพื่อกลับมาพัฒนาการศึกษา จึงสูญเปล่าสำหรับนักเรียน แต่ได้ประโยชน์สำหรับตนเอง คือตำแหน่งสูงขึ้น เงินเดือนและเงินอื่นๆ มากขึ้น อนิจจาการศึกษาไทย นี่คือสำนึกผิดๆ ที่ฮิตกันอยู่ เชิดชูกันอยู่
แล้วสำนึกถูกต้องของครูเป็นอย่างไร?
สำนึกถูกต้องของครูคือ...ต้องเป็นผู้รักสันติภาพ รากฐานของสันติภาพ คือ ความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว
“ความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว” 3 อย่างนี้ จะทำให้ครูและนักเรียนมีความเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เห็นครูเป็นนักเรียน เห็นนักเรียนเป็นครู แบบตื่นรู้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ครูเช่นนี้มีน้อย แต่มีประโยชน์ต่อโลกอย่างกว้างใหญ่ไพศาล
ครูเช่นนี้เหมือนดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอมขจรขจายไปทั่วแบบไร้ขอบเขต และใครๆ ก็อยากชื่นชมดมดอม
“...วันหนึ่งพระพุทธเจ้า ได้ทรงถือดอกไม้ไว้ ณ เบื้องหน้าของเหล่าสาวก 1,250 รูป พระองค์ท่านมิได้ทรงตรัสสิ่งใดเลย เป็นเวลาค่อนข้างนาน เหล่าสาวกต่างก็นิ่งเงียบ สาวกทุกรูปเสมือนจะครุ่นคิด พยายามที่จะเข้าถึงนัยแห่งองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทันใดนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงแย้มสรวล เนื่องด้วยว่ามีสาวกรูปหนึ่งยิ้มแก่พระองค์ และยิ้มให้ดอกไม้ นามสาวกนั้นคือ มหากัสสปะ ท่านเป็นเพียงสาวกองค์เดียวที่ยิ้ม
พระพุทธองค์ทรงแย้มสรวลรับและทรงตรัสว่า... “เรามีขุมทรัพย์ของการหยั่งเห็น และเราได้ส่งต่อไปยังมหากัสสปะ” เรื่องราวนี้ได้เป็นที่ถกเถียงกันหลายชั่วอายุของสานุศิษย์เซ็น และผู้คนก็ยังคงมองหาความหมายของมันอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้...”
สำหรับผมเห็นว่า...มันคือดอกไม้แห่งการหยั่งเห็น เห็นอะไร?... “เห็นหนึ่งคือทั้งหมด-เห็นทั้งหมดคือหนึ่ง” แล้วก็มาจบลงที่... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนเป็นครู-ถ้ารู้คิด-พินิจธรรม”
ดังนั้น การแก้ปัญหาครูที่มีสำนึกผิดๆ ต้องกล้าสร้างครูพันธุ์ใหม่ที่ใฝ่สันติภาพ โดยมีความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว เป็นรากเหง้ารากแก้วให้ได้
นักเรียนคือครู
แถวนี้เป็นการย้อนย้ำ “ครูคือนักเรียน-นักเรียนคือครู” ให้ชัดเจนและหนักแน่นยิ่งขึ้น
จึงไม่แปลกเวลาครูไม่อยู่ นักเรียนก็สอนกันเอง หรือครูที่มีผลงานมากมาย เบื้องหลังนั้นล้วนแต่เป็นผลงานของนักเรียนเกือบทั้งสิ้น
นี่คือ... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนสัมพันธ์กัน”... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนเป็นดั่งกันและกัน”
“The Sun my Heart” เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งของท่าน “ติช นัท ฮันห์” ที่โด่งดังไปทั่วโลก
“...เรารู้ว่า หากหัวใจของเราหยุดเต้น กระแสธารชีวิตของเราก็หยุด เราจึงรักหัวใจของเรามาก เราอาจจะยังไม่ได้ใช้เวลาบ่อยครั้ง เพื่อสังเกตสิ่งอื่นๆ ภายนอกกายว่า สำคัญต่อการอยู่รอดของเราด้วยเช่นกัน
จงดูแสงสว่างอันยิ่งใหญ่มหาศาลที่เราเรียกว่า แสงอาทิตย์ หากอาทิตย์หยุดฉายแสง กระแสธารชีวิตของเราก็จักหยุด
ดังนั้น พระอาทิตย์ก็คือหัวใจดวงที่สองของเรา หัวใจภายนอกกายของเรา หัวใจอันยิ่งใหญ่นี้ให้ความอบอุ่น ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิตบนผืนโลก
เหล่าพืชพันธุ์ดำรงชีพอยู่อย่างรู้คุณของพระอาทิตย์ ใบของมันซึมซาบเอาพลังงานของพระอาทิตย์กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ สังเคราะห์สารอาหารสำหรับต้นไม้ ดอกไม้ และแพลงก์ตอน ขอบคุณต้นไม้ที่เราและสรรพสัตว์ได้อาศัยดำรงชีวิต
เราทั้งหมด ผู้คน สรรพสัตว์ รวมทั้งพืชพันธุ์ทั้งปวง ต่างก็บริโภคพระอาทิตย์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เราไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นได้เลย ในการจะพรรณนาถึงคุณูปการแห่งพระอาทิตย์ หัวใจอันยิ่งใหญ่ภายนอกกายของเรา
ร่างกายของเรา มิได้เป็นเพียงสิ่งซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะภายใต้ขอบเขตของผิวหนัง หากมันมีความมโหฬารยิ่งไปกว่านั้น มันรวมเอาแม้แต่ชั้นบรรยากาศรอบๆ ผืนโลก เพราะว่าหากปราศจากอากาศแม้เพียงชั่วครู่ ชีวิตของเราก็จะสิ้นสุด ไม่มีปรากฏการณ์อะไรในจักรวาลนี้ ที่ไม่ข้องเกี่ยวกับเราอย่างใกล้ชิด จากก้อนกรวดก้อนหินที่จมนิ่งอยู่ในมหาสมุทร จนถึงการเคลื่อนของระบบกาแล็กซีซึ่งไกลออกไปตั้งล้านปีแสง
วอลท์ วิทแมน กล่าวไว้ว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่า ใบหญ้าใบหนึ่ง มิได้เป็นสิ่งเล็กน้อยไปกว่าการโคจรของดวงดาว” ถ้อยคำนี้มิใช่ปรัชญา หากมันเป็นคำกล่าวที่ออกมาจากส่วนลึกในจิตวิญญาณของเรา เขาพูดว่า... “ฉันใหญ่ ฉันบรรจุเอาหลายๆ อย่างไว้ด้วยกัน”...”
...(สันติภาพทุกย่างก้าว-Pace is Every Step โดย ติช นัท ฮันห์-Thich Nhat Hanh)
ถ้านักเรียนพูดว่า... “ฉันมีหัวใจสองดวง”... “พระอาทิตย์คือหัวใจของฉัน”... “ฉันคือต้นไม้”... “ฉันคือจักรวาล”...ฯลฯ คุณครูทั้งหลาย จะว่านักเรียนเพ้อเจ้อไหม? วิกลจริตไหม?
ครูและนักเรียนเป็นหนึ่งเดียวกัน จะเรียกว่า “ครูคือนักเรียน” หรือ “นักเรียนคือครู” ก็ได้ เพราะ “สิ่งทั้งมวล-ล้วนอาศัยกัน”... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนเป็นดั่งกันและกัน”
มองให้ลึกซึ้งอย่างนี้ นั่นแหละคือสันติภาพ นั่นแหละคือความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว ทุกชีวิตต่างก็เป็นดอกไม้ที่คอยมอบให้กันและกัน
ต่างเขียนเรียนรู้
คำว่า “เขียน” เป็นหนึ่งคำใน 4 คำของคาถาหัวใจนักปราชญ์ “สุ.จิ.ปุ.ลิ.” ย่อมาจาก...สุตะ (ฟัง) จิตตะ (คิด) ปุจฉา (ถาม) ลิขิต (เขียน)
“นักปราชญ์” คือผู้รอบรู้อย่างลึกซึ้ง
“พหูสูต” คือผู้ได้ยินได้ฟังมามาก หรือปราชญ์ผู้รู้ทั่วนั่นเอง
“การศึกษา หรือการเรียนรู้” คือความเจริญงอกงาม
คำว่า “ศึกษา” มาจากภาษาบาลีว่า “สิกฺขา” และภาษาสันสกฤตว่า “ศึกฺษา”
สิกขา คือข้อที่จะต้องศึกษา หรือข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือพระนิพพานด้วยหลัก 3 หลักคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
นี่คือ รากเหง้าเหล่ากอของการศึกษาอย่างแท้จริง
นี่คือ หัวใจของการเรียนรู้
ไม่ว่าครู นักเรียน นักศึกษา ต่างก็เรียนรู้ด้วยกันทั้งนั้น ต่างก็มีหัวใจเดียวกัน คือ สุ. จิ. ปุ. ลิ.
ต่างก็มีหัวใจเดียวกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ห้องเรียนในยุคปัจจุบัน มิใช่ห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ มีครูคอยบอกคอยสอนอยู่หน้าชั้น เป็นพระเอก นางเอกเพียงคนเดียวอีกต่อไป
ครูของนักเรียน พระเอกนางเอกของนักเรียน คือ โลก คือจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นครูทั้งนั้น สื่อ ทีวี โลกออนไลน์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ล้วนเป็นครู เป็นนักเรียนที่เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
สิ่งชั่ว ก็เป็นครู เพื่อเราจะได้รู้ทัน ไม่เอาเยี่ยงอย่าง
สิ่งดี ก็เป็นครู เพื่อเราจะได้ชื่นชม รับเอามาเป็นแบบอย่าง
สรุปง่ายๆ ก็คือ... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนเป็นครู-ถ้ารู้คิด-พินิจธรรม”
ทั้งครูและนักเรียน ต่างก็เรียนรู้อยู่เสมอ ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ หายใจเข้า-เรียนรู้ หายใจออก-เรียนรู้ รู้แล้วละ (ถ้าชั่ว) รู้แล้วทำ (ถ้าดี)
เป็นอยู่พอเพียง
คำว่า “พอ” แปลว่า เท่าที่ต้องการ, เต็มความต้องการ, ควร, เพียง, ถูก, ชอบ
“พอ” มีความหมายตรงกับคำว่า “สันโดษ”
สันโดษ คือความยินดี, ความพอใจ, ความยินดีด้วยของของตนซึ่งได้มาด้วยเรี่ยวแรงความเพียรโดยชอบธรรม, ความยินดีด้วยปัจจัย 4 ตามมีตามได้, ความรู้จักอิ่มรู้จักพอ
สันโดษมี 3 อย่าง...
1. ยถาลาภสันโดษ คือยินดีตามที่ได้ หรือพึงได้ของตน
2. ยถาพลสันโดษ คือยินดีตามกำลังของตน
3. ยถาสารุปปสันโดษ คือยินดีตามสมควรความเหมาะสมกับตน
“...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด-อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ-มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็จะอยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”
...(พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2541)
คนเราไม่ว่าอยู่ไหน ต่างก็อยากรวยด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครอยากจนเลย
“คนรวยที่ไม่รู้จักพอ ก็เป็นคนจนอยู่ตลอดเวลา คนจนที่รู้จักพอ ก็เป็นคนมั่งมีอยู่ตลอดเวลา”
...(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
“...มนุษย์เราทั้งหลาย ไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข ความจริงสุขนั้นก็คือ ทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง ส่วนทุกข์คือทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่ายๆ สุขและทุกข์นี้ ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่งทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา ไปจับทางมัน ก็ดูเหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน คือตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง...”
...(หลวงปู่ชา สุภัทโท...สอนเรื่องตัณหา เปรียบเหมือนงู)
วิชาทางโลก-ไม่รู้จบ แต่วิชาทางธรรม-รู้จบ
“ครูคือนักเรียน
นักเรียนคือครู
ต่างเขียนเรียนรู้
เป็นอยู่พอเพียง”
ไม่ว่าใครทั้งนั้น หากมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ก็เหมือนกับได้ชื่นชมดมดอมดอกไม้อยู่เป็นนิจ
ชีวิตก็เบิกบานด้วยความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว อันเป็นรากเหง้าแห่งสันติภาพ ชีวิตจึงรู้จักจบ เมื่อพบ “พอ” คำเดียว
ครูคืออะไร?
นิยามมากมาย!
ในทัศนะของผม... “สิ่งทั้งมวล ล้วนเป็นครู ถ้ารู้คิด พินิจธรรม”
ครูคือนักเรียน
ครูคือผู้สอน...ผู้ถูกสอนคือนักเรียน!
แล้วครูคือนักเรียนได้อย่างไร?
ถ้ามองแบบ 1+1 = 2 ครูจะเป็นนักเรียนไม่ได้ ครูก็เป็นครู นักเรียนก็เป็นนักเรียน นี่คือกรอบที่ยึดถือกันมา
หากมองนอกกรอบ 1+1 = 2 ก็ได้ = ไม่ใช่ 2 ก็ได้ = อย่างอื่นๆ ก็ได้ อย่างนี้เขาเรียกว่า คิดสร้างสรรค์ มีสิ่งแปลกใหม่ที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นได้ ไม่มีที่สิ้นสุด
ตอนเด็กๆ เคยเป็นนักเรียน พอแตกหนุ่มเป็นนักศึกษา พอเป็นผู้ใหญ่ก็เป็นครู ทำมาหากิน พอครบ 60 ปีก็เกษียณ จากครูกลายเป็น ส.ว.แล้วค่อยๆ เปลี่ยนสภาพจากผู้เฒ่ากลายเป็นเด็กน้อย หรือจากครูเกษียณกลายมาเป็นนักเรียนอีก
เพราะทุกวันนี้ ครูปู่ ครูย่า ครูตา ครูยาย จำนวนไม่น้อยกลายเป็นนักเรียน คอยถามคอยฟังครูคนใหม่สอนเรื่องโลกออนไลน์ ไวไฟ อินเทอร์เน็ต 3จี 4จี ทีวีดิจิตอล ฯลฯ จนลูกหลานชักรำคาญ (สอนไม่ค่อยจำ) ครูคนใหม่ก็คือลูกหลาน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับอนุบาล ประถม มัธยม อุดมฯ นั่นเอง
ท่าน ส.ว.ทั้งหลาย เห็นหรือยังว่าครูก็คือนักเรียน และนักเรียนก็คือครู อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมันมากนัก แบกมากก็หนักเปล่าๆ รู้จักปล่อยจักวางบ้างซิ (ลูกหลานสอนไม่ค่อยจำ 55555)
ครูและนักเรียนในอดีตและปัจจุบัน ยังมีปัญหาและความขัดแย้งมากขึ้น ในสภาพดินพอกหางหมูเพราะอะไร และจะแก้ปัญหาอย่างไร?
เนื่องเพราะครูบางคนบางส่วน มีสำนึกผิดๆ ต่อความเป็นครู เห็นนักเรียนเป็นแค่ผู้ถูกสอน เห็นครูเป็นผู้สอน หน้าที่ของนักเรียน คือเรียนตามครูเท่านั้น หน้าที่ของครูคือสอน และเรียนต่อเพื่อพัฒนาอาชีพครูด้วยการเพิ่มวิทยฐานะ และตำแหน่งสูงขึ้น ปริญญาตรีน้อยไป ต้องทิ้งห้องเรียนไปต่อโท จบแล้วยังไม่พอต้องต่อเอกอีก จบเอกแล้วกลับมาโรงเรียน สอนเด็กไม่ได้ ไม่สมเกียรติด็อกเตอร์ ความรู้มากเกินที่จะสอนเด็กประถม มัธยม จึงหาวิธีผันตัวเองไปสู่ตำแหน่งอื่น เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนใหญ่ระดับพรีเมียม หรือผู้บริหารเขตการศึกษาที่อยู่นอกโรงเรียน เป็นต้น
ที่บอกว่าลาไปหรือทิ้งห้องเรียนไปเรียนเพื่อกลับมาพัฒนาการศึกษา จึงสูญเปล่าสำหรับนักเรียน แต่ได้ประโยชน์สำหรับตนเอง คือตำแหน่งสูงขึ้น เงินเดือนและเงินอื่นๆ มากขึ้น อนิจจาการศึกษาไทย นี่คือสำนึกผิดๆ ที่ฮิตกันอยู่ เชิดชูกันอยู่
แล้วสำนึกถูกต้องของครูเป็นอย่างไร?
สำนึกถูกต้องของครูคือ...ต้องเป็นผู้รักสันติภาพ รากฐานของสันติภาพ คือ ความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว
“ความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว” 3 อย่างนี้ จะทำให้ครูและนักเรียนมีความเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เห็นครูเป็นนักเรียน เห็นนักเรียนเป็นครู แบบตื่นรู้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ครูเช่นนี้มีน้อย แต่มีประโยชน์ต่อโลกอย่างกว้างใหญ่ไพศาล
ครูเช่นนี้เหมือนดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอมขจรขจายไปทั่วแบบไร้ขอบเขต และใครๆ ก็อยากชื่นชมดมดอม
“...วันหนึ่งพระพุทธเจ้า ได้ทรงถือดอกไม้ไว้ ณ เบื้องหน้าของเหล่าสาวก 1,250 รูป พระองค์ท่านมิได้ทรงตรัสสิ่งใดเลย เป็นเวลาค่อนข้างนาน เหล่าสาวกต่างก็นิ่งเงียบ สาวกทุกรูปเสมือนจะครุ่นคิด พยายามที่จะเข้าถึงนัยแห่งองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทันใดนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงแย้มสรวล เนื่องด้วยว่ามีสาวกรูปหนึ่งยิ้มแก่พระองค์ และยิ้มให้ดอกไม้ นามสาวกนั้นคือ มหากัสสปะ ท่านเป็นเพียงสาวกองค์เดียวที่ยิ้ม
พระพุทธองค์ทรงแย้มสรวลรับและทรงตรัสว่า... “เรามีขุมทรัพย์ของการหยั่งเห็น และเราได้ส่งต่อไปยังมหากัสสปะ” เรื่องราวนี้ได้เป็นที่ถกเถียงกันหลายชั่วอายุของสานุศิษย์เซ็น และผู้คนก็ยังคงมองหาความหมายของมันอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้...”
สำหรับผมเห็นว่า...มันคือดอกไม้แห่งการหยั่งเห็น เห็นอะไร?... “เห็นหนึ่งคือทั้งหมด-เห็นทั้งหมดคือหนึ่ง” แล้วก็มาจบลงที่... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนเป็นครู-ถ้ารู้คิด-พินิจธรรม”
ดังนั้น การแก้ปัญหาครูที่มีสำนึกผิดๆ ต้องกล้าสร้างครูพันธุ์ใหม่ที่ใฝ่สันติภาพ โดยมีความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว เป็นรากเหง้ารากแก้วให้ได้
นักเรียนคือครู
แถวนี้เป็นการย้อนย้ำ “ครูคือนักเรียน-นักเรียนคือครู” ให้ชัดเจนและหนักแน่นยิ่งขึ้น
จึงไม่แปลกเวลาครูไม่อยู่ นักเรียนก็สอนกันเอง หรือครูที่มีผลงานมากมาย เบื้องหลังนั้นล้วนแต่เป็นผลงานของนักเรียนเกือบทั้งสิ้น
นี่คือ... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนสัมพันธ์กัน”... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนเป็นดั่งกันและกัน”
“The Sun my Heart” เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งของท่าน “ติช นัท ฮันห์” ที่โด่งดังไปทั่วโลก
“...เรารู้ว่า หากหัวใจของเราหยุดเต้น กระแสธารชีวิตของเราก็หยุด เราจึงรักหัวใจของเรามาก เราอาจจะยังไม่ได้ใช้เวลาบ่อยครั้ง เพื่อสังเกตสิ่งอื่นๆ ภายนอกกายว่า สำคัญต่อการอยู่รอดของเราด้วยเช่นกัน
จงดูแสงสว่างอันยิ่งใหญ่มหาศาลที่เราเรียกว่า แสงอาทิตย์ หากอาทิตย์หยุดฉายแสง กระแสธารชีวิตของเราก็จักหยุด
ดังนั้น พระอาทิตย์ก็คือหัวใจดวงที่สองของเรา หัวใจภายนอกกายของเรา หัวใจอันยิ่งใหญ่นี้ให้ความอบอุ่น ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิตบนผืนโลก
เหล่าพืชพันธุ์ดำรงชีพอยู่อย่างรู้คุณของพระอาทิตย์ ใบของมันซึมซาบเอาพลังงานของพระอาทิตย์กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ สังเคราะห์สารอาหารสำหรับต้นไม้ ดอกไม้ และแพลงก์ตอน ขอบคุณต้นไม้ที่เราและสรรพสัตว์ได้อาศัยดำรงชีวิต
เราทั้งหมด ผู้คน สรรพสัตว์ รวมทั้งพืชพันธุ์ทั้งปวง ต่างก็บริโภคพระอาทิตย์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เราไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นได้เลย ในการจะพรรณนาถึงคุณูปการแห่งพระอาทิตย์ หัวใจอันยิ่งใหญ่ภายนอกกายของเรา
ร่างกายของเรา มิได้เป็นเพียงสิ่งซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะภายใต้ขอบเขตของผิวหนัง หากมันมีความมโหฬารยิ่งไปกว่านั้น มันรวมเอาแม้แต่ชั้นบรรยากาศรอบๆ ผืนโลก เพราะว่าหากปราศจากอากาศแม้เพียงชั่วครู่ ชีวิตของเราก็จะสิ้นสุด ไม่มีปรากฏการณ์อะไรในจักรวาลนี้ ที่ไม่ข้องเกี่ยวกับเราอย่างใกล้ชิด จากก้อนกรวดก้อนหินที่จมนิ่งอยู่ในมหาสมุทร จนถึงการเคลื่อนของระบบกาแล็กซีซึ่งไกลออกไปตั้งล้านปีแสง
วอลท์ วิทแมน กล่าวไว้ว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่า ใบหญ้าใบหนึ่ง มิได้เป็นสิ่งเล็กน้อยไปกว่าการโคจรของดวงดาว” ถ้อยคำนี้มิใช่ปรัชญา หากมันเป็นคำกล่าวที่ออกมาจากส่วนลึกในจิตวิญญาณของเรา เขาพูดว่า... “ฉันใหญ่ ฉันบรรจุเอาหลายๆ อย่างไว้ด้วยกัน”...”
...(สันติภาพทุกย่างก้าว-Pace is Every Step โดย ติช นัท ฮันห์-Thich Nhat Hanh)
ถ้านักเรียนพูดว่า... “ฉันมีหัวใจสองดวง”... “พระอาทิตย์คือหัวใจของฉัน”... “ฉันคือต้นไม้”... “ฉันคือจักรวาล”...ฯลฯ คุณครูทั้งหลาย จะว่านักเรียนเพ้อเจ้อไหม? วิกลจริตไหม?
ครูและนักเรียนเป็นหนึ่งเดียวกัน จะเรียกว่า “ครูคือนักเรียน” หรือ “นักเรียนคือครู” ก็ได้ เพราะ “สิ่งทั้งมวล-ล้วนอาศัยกัน”... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนเป็นดั่งกันและกัน”
มองให้ลึกซึ้งอย่างนี้ นั่นแหละคือสันติภาพ นั่นแหละคือความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว ทุกชีวิตต่างก็เป็นดอกไม้ที่คอยมอบให้กันและกัน
ต่างเขียนเรียนรู้
คำว่า “เขียน” เป็นหนึ่งคำใน 4 คำของคาถาหัวใจนักปราชญ์ “สุ.จิ.ปุ.ลิ.” ย่อมาจาก...สุตะ (ฟัง) จิตตะ (คิด) ปุจฉา (ถาม) ลิขิต (เขียน)
“นักปราชญ์” คือผู้รอบรู้อย่างลึกซึ้ง
“พหูสูต” คือผู้ได้ยินได้ฟังมามาก หรือปราชญ์ผู้รู้ทั่วนั่นเอง
“การศึกษา หรือการเรียนรู้” คือความเจริญงอกงาม
คำว่า “ศึกษา” มาจากภาษาบาลีว่า “สิกฺขา” และภาษาสันสกฤตว่า “ศึกฺษา”
สิกขา คือข้อที่จะต้องศึกษา หรือข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือพระนิพพานด้วยหลัก 3 หลักคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
นี่คือ รากเหง้าเหล่ากอของการศึกษาอย่างแท้จริง
นี่คือ หัวใจของการเรียนรู้
ไม่ว่าครู นักเรียน นักศึกษา ต่างก็เรียนรู้ด้วยกันทั้งนั้น ต่างก็มีหัวใจเดียวกัน คือ สุ. จิ. ปุ. ลิ.
ต่างก็มีหัวใจเดียวกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ห้องเรียนในยุคปัจจุบัน มิใช่ห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ มีครูคอยบอกคอยสอนอยู่หน้าชั้น เป็นพระเอก นางเอกเพียงคนเดียวอีกต่อไป
ครูของนักเรียน พระเอกนางเอกของนักเรียน คือ โลก คือจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นครูทั้งนั้น สื่อ ทีวี โลกออนไลน์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ล้วนเป็นครู เป็นนักเรียนที่เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
สิ่งชั่ว ก็เป็นครู เพื่อเราจะได้รู้ทัน ไม่เอาเยี่ยงอย่าง
สิ่งดี ก็เป็นครู เพื่อเราจะได้ชื่นชม รับเอามาเป็นแบบอย่าง
สรุปง่ายๆ ก็คือ... “สิ่งทั้งมวล-ล้วนเป็นครู-ถ้ารู้คิด-พินิจธรรม”
ทั้งครูและนักเรียน ต่างก็เรียนรู้อยู่เสมอ ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ หายใจเข้า-เรียนรู้ หายใจออก-เรียนรู้ รู้แล้วละ (ถ้าชั่ว) รู้แล้วทำ (ถ้าดี)
เป็นอยู่พอเพียง
คำว่า “พอ” แปลว่า เท่าที่ต้องการ, เต็มความต้องการ, ควร, เพียง, ถูก, ชอบ
“พอ” มีความหมายตรงกับคำว่า “สันโดษ”
สันโดษ คือความยินดี, ความพอใจ, ความยินดีด้วยของของตนซึ่งได้มาด้วยเรี่ยวแรงความเพียรโดยชอบธรรม, ความยินดีด้วยปัจจัย 4 ตามมีตามได้, ความรู้จักอิ่มรู้จักพอ
สันโดษมี 3 อย่าง...
1. ยถาลาภสันโดษ คือยินดีตามที่ได้ หรือพึงได้ของตน
2. ยถาพลสันโดษ คือยินดีตามกำลังของตน
3. ยถาสารุปปสันโดษ คือยินดีตามสมควรความเหมาะสมกับตน
“...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด-อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ-มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็จะอยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”
...(พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2541)
คนเราไม่ว่าอยู่ไหน ต่างก็อยากรวยด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครอยากจนเลย
“คนรวยที่ไม่รู้จักพอ ก็เป็นคนจนอยู่ตลอดเวลา คนจนที่รู้จักพอ ก็เป็นคนมั่งมีอยู่ตลอดเวลา”
...(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
“...มนุษย์เราทั้งหลาย ไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข ความจริงสุขนั้นก็คือ ทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง ส่วนทุกข์คือทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่ายๆ สุขและทุกข์นี้ ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่งทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา ไปจับทางมัน ก็ดูเหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน คือตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง...”
...(หลวงปู่ชา สุภัทโท...สอนเรื่องตัณหา เปรียบเหมือนงู)
วิชาทางโลก-ไม่รู้จบ แต่วิชาทางธรรม-รู้จบ
“ครูคือนักเรียน
นักเรียนคือครู
ต่างเขียนเรียนรู้
เป็นอยู่พอเพียง”
ไม่ว่าใครทั้งนั้น หากมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ก็เหมือนกับได้ชื่นชมดมดอมดอกไม้อยู่เป็นนิจ
ชีวิตก็เบิกบานด้วยความรัก ความเมตตาการุณย์ และความไม่เห็นแก่ตัว อันเป็นรากเหง้าแห่งสันติภาพ ชีวิตจึงรู้จักจบ เมื่อพบ “พอ” คำเดียว