เมื่อเช้าวานนี้ (10 ม.ค.) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นำโดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. ออกเดินทางจากรัฐสภามุ่งหน้าไปโรงแรมอิมพีเรียล เลควิว อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เพื่อเตรียมประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ รายมาตรา ระหว่างวันที่ 10-17 ม.ค. ก่อนออกเดินทาง นายมีชัย เปิดเผยว่า เบื้องต้นร่างรัฐธรรมนูญที่ได้ร่างไว้ เสร็จเรียบร้อยแล้วไม่มีเรื่องไหนแขวนไว้ แต่เรื่องจำนวนมาตรายังไม่ชัดเจน เพราะที่ประชุมจะพิจารณากันอีกในเรื่องถ้อยคำ และความสมบูรณ์ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สื่อได้เข้าฟังด้วย
ส่วนกลไกสร้างความปรองดอง นายมีชัย กล่าวว่า จะบัญญัติกระบวนการสร้างความปรองดองสำหรับอนาคตไว้ แต่กลไกปรองดองเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ยังคิดไม่ออกว่าจะบัญญัติอย่างไร และหากรัฐบาลตั้งคณะกรรมการปรองดองขึ้นมา ก็ไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล
** สุวพันธ์ถกสนช.หาแนวทางปรองดอง
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองและสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม โดยเชิญตัวแทนพรรคเมือง กลุ่มการเมืองเข้าร่วม ว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดแนวทางดังกล่าวเป็นอย่างไร แต่เบื้องต้น จะสอบถามเรื่องนี้กับตัวแทนสนช. ในที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 11 ม.ค. ซึ่งเรื่องปรองดองถึงอย่างไรก็ต้องทำ เพราะกำหนดไว้ในโรดแมปรัฐบาล 1 ปี 6 เดือน อยู่แล้ว ขณะที่ กระทรวงมหาดไทยและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้ดำเนินการเรื่องนี้มาโดยตลอด หากสนช.จะตั้งกรรมาธิการชุดดังกล่าวก็ต้องมาดูว่า กำหนดขอบเขตหน้าที่ องค์ประกอบ เป็นอย่างไร ทำอย่างไรให้เดินไปด้วยกันได้ เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความราบรื่น
** "กษิต"ชงแนวทางนิรโทษกรรม
นายกษิต ภิรมย์ รองประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง คนที่หนึ่ง สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เปิดเผยว่า เมื่อช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในการประชุมของกรธ. ปฏิรูปการเมือง ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน ในประเด็นการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ตนได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างความปรองดอง เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ให้แก่ผู้ที่มีความผิด ที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาทิ การประท้วง แสดงออกทางการเมือง ยึดสถานที่ราชการ ฝ่าฝืนพ.ร.บ. ความั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เป็นต้น
โดยเริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี 2549-2557 ตั้งแต่ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน กลุ่มนปช. ขับไล่รัฐบาลพรรคประชาธิปปัตย์ และกปปส. ขับไล่ระบบทักษิณและพรรคเพื่อไทย รวมทั้ง นิรโทษกรรมให้ทหาร และตำรวจที่เข้าไปร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย โดยยกเว้นเพียง 3 ลักษณะความผิด ที่ไม่เข้าสู่การนิรโทษกรรม คือ ผู้ต้องหาคดีอาญา มาตรา 112 , คดีทุจริตคอร์รัปชั่น , จงใจ และเจตนาฆ่าก่ออาชญากรรม
"สาเหตุที่ต้องนิรโทษกรรมทุกคนทุกหมู่เหล่า เพราะต้องการให้ประเทศได้เริ่มต้นใหม่ และให้อภัยกัน ซึ่งตัวผมเป็นทั้งผู้กระทำและถูกกระทำมากกว่าก็พร้อมที่จะให้อภัย เพราะหากไม่เริ่มต้นกัน ปล่อยให้เกิดการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลใหม่ขึ้น ความวุ่นวายและความรุงรังในอดีต ก็จะกลับมาไม่รู้จบเพราะทุกคนก็จะขัดแย้งกันแต่เรื่องนิรโทษกรรม"
นายกษิต กล่าวว่า มั่นใจว่า การสร้างความปรองดองเป็นประเด็นปฏิรูป ที่สำคัญที่สุดของชาติ หากไม่แก้ปัญหาตรงนี้ ปฏิรูปเรื่องพลังงาน เรื่องการศึกษา หรือเรื่องอื่นๆ ก็ไม่มีประโยชน์ แม้รัฐธรรมนูญใหม่ออกมา ก็แก้ปัญหาความขัดแย้งไม่สำเร็จ
ทั้งนี้สำหรับเนื้อหาการนิรโทษกรรมนั้น นอกจากทำให้ผู้กระทำผิดจากแรงจูงใจทางการเมืองแล้วพ้นโทษแล้ว จะต้องช่วยเหลือญาติของผู้เสียหาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารด้วย ไม่เพียงแค่ให้เงิน อย่างเดียว จะต้องดูแลพวกเขาไปตลอด เช่น หากพ่อแม่เสียชีวิตจากการชุมนุม ก็ต้องดูแล ลูกเขาจนเรียนจบมีงานทำ หากบุตรเสียชีวิตก็ต้องดูแลพ่อแม่เขาตลอดไป หรือใครร่างก่ายพิการก็ต้องไปดูแลให้เขาตลอดเช่นกัน เป็นต้น
นายกษิต กล่าวว่าประเด็นดังกล่าวนี้ หลังจากที่นำเสนอใน กมธ.ปฏิรูปการเมืองของสปท. แล้ว หลายคนก็เห็นด้วยกับตนขณะนี้ สนช. ได้เตรียมตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาศึกษาเสริมสร้างสังคมสันติสุข ตนก็พร้อมจะเข้าไปผลักดันประเด็นเหล่านี้ เพื่อผลักดันเป็นกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ถือว่าตกผลึกในระดับหนึ่ง หลังจากคุยกันหลายฝ่ายรวมทั้งฝ่ายตรงข้าม ก็เห็นชอบกันทั้งสิ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อเสนอนิโทษกรรมครั้งนี้ เหมารวมถึงนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ด้วย หรือไม่ นายกษิต กล่าวว่า หากเป็นคดีที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองที่นายทักษิณ เคยปลุกระดม ในช่วงการชุมนุมทางการเมืองของ นปช. ขับไล่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ก็เข้าเงื่อนไข ที่จะนิรโทษกรรมได้เช่นเดียวกับพี่น้องประชาชน แต่หากเป็นคดีที่ นายทักษิณไปโกงกินบ้านเมือง และพูดจาหมิ่นเหม่ ในคดีหมิ่นกฎหมายอาญา มาตรา 112 ก็ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ตนนำเสนอ ก็ต้องปล่อยเป็นตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
** บี้นิรโทษฯให้ชาวบ้านเหมือน คสช.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง (คศป.) ในสภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งชาติ สปช. ที่มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับนิโทษกรรม และผลักดันเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่ออกมาต่อสู้ทางการเมืองตามความเชื่อโดยสุจริตและยังครอบคุลม ไปถึงผู้ชุมนุมที่ปิดสนามบิน ราชการ เผาอาคารไปบ้าง และทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ เพราะวันนี้เขาได้รับความทุกข์ยากมานานแล้ว เว้นเพียง 3 ฐานความผิดที่สังคมยังไม่ยอมรับ คือคดี ม.112 คดีทุจริต และผู้ที่ทำให้คนตาย
ทั้งนี้ ผู้ที่ควรเริ่มต้นเรื่องนิรโทษกรรม คือ คสช. เพราะมีอำนาจเต็ม แต่หากเขาไม่ทำ ก็เชื่อว่าสุดท้ายก็ต้องมีการนิโทษกรรมอยู่แล้ว
" หากทหารไม่ทำ ก็จะตอบคำถามสังคมไม่ได้ ทำไมตัวเองเข้ามายึดอำนาจ ก็นิรโทษกรรมให้ตัวเองผ่านคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในเวลาอันรวดเร็ว โดยให้เหตุผลว่า ทหารเข้ามาเพื่อบ้านเมือง ขณะที่ชาวบ้านประชาชนก็ออกมาชุมนุมก็ทำเพื่อชาติเช่นกัน และทนทุกข์มานานกว่าทหารเสียอีก แต่ทำไมยังไม่ยอมให้พวกเขาได้นิโทษกรรมเสียที" นายไพบูลย์ กล่าว
**หนุน กรธ.ใส่"ปรองดอง"ไว้ในรธน.
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึง กรณีที่สนช. เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญเพื่อสร้างความปรองดอง โดยมีการเชิญทุกฝ่ายเข้าร่วมว่า ตนเห็นด้วยถึงแม้ที่ผ่านมาในหลายรัฐบาล จะมีการตั้งคณะกรรมการมาหลายชุดแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เหตุเพราะกรรมการไม่ได้รับความไว้วางใจ และมีบางครั้งมีข้อเสนอที่บิดเบือน และขัดหลักการปรองดอง จนทำให้การปรองดองกลายเป็น
เกมการเมือง และห่างไกลความเป็นจริงมากขึ้น ทั้งที่ปัญหาความแตกแยกในสังคมเป็นเรื่องใหญ่ เพราะสังคมที่ไร้ความสามัคคี ก็ยากที่จะปฏิรูปได้สำเร็จ จึงต้องทำทั้ง 2 เรื่องไปพร้อมๆ กัน ในรัฐบาลนี้โอกาสก็ค่อนข้างเปิดกว่าในรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง เพราะถูกมองว่ามีส่วนได้เสียจนทำให้กระบวนการปรองดองที่ผ่านมาล้มเหลว
"แม้เรื่องนิรโทษกรรมจะเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการปรองดอง แต่ก็ต้องใช้เหตุและผลสูง รวมทั้งการแสวงหาข้อมูลข้อเท็จจริงที่เพียงพอก่อนจะเสนอแนะต่อสังคม ส่วนที่พรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช.บางส่วนออกมาค้านนั้น ไม่แปลกใจ เพราะธงของการปรองดองของคนกลุ่มนี้คือ เซ็ตซีโร่ (Set Zero)ล้างผิดแบบเหมาเข่ง เพื่อให้ใครบางคนได้อานิสงส์ไปด้วยเท่านั้น" นายสุริยะใส กล่าว และว่า เห็นด้วยกับ กรธ.ที่จะบัญญัติกลไก และกระบวนการปรองดองไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และมีเจ้าภาพที่เป็นทางการในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ในระยะยาวด้วย
**เย้ยตั้งกก.ปรองดองแค่ให้สังคมรู้สึกดี
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย นายทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า ตนเคยหวังในการปรองดอง แต่ขณะนี้ยังมองไม่เห็นว่ามันจะเกิดขึ้น ที่ผ่านมาก็ได้ตั้งกรรมการเรื่องปรองดองมานับไม่ถ้วน เสียเงิน เสียเวลาไปมาก แต่ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ การตั้งกรรมการอีกครั้ง เพียงแค่ให้สังคมรู้สึกดี และไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ประเทศไทยเวลามีเรื่องอะไรที่เป็นกระแส ก็มักจะใช้วิธีตั้งกรรมการ แล้วเรื่องก็จะเงียบหาย พอมีกระแสมาใหม่ ก็จะตั้งกรรมการชุดใหม่อยู่เช่นนี้ร่ำไป ที่การปรองดองมันเกิดยาก เพราะแต่ละฝ่ายตีความ และเข้าใจการปรองดองแตกต่างกัน บางฝ่ายมองว่าปรองดอง คือการ เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย บางฝ่ายมองว่า คือการนิรโทษกรรม ตราบใดที่เข้าใจไปคนละเรื่อง ก็คงเกิดขึ้นยาก
ส่วนตนมองว่า เรื่องที่เร่งด่วนคือ สังคมไทยต้องสร้างเงื่อนไข และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรองดองให้เกิดขึ้นก่อน เช่น การมีกติกาการอยู่ร่วมกันที่เป็นประชาธิปไตยและสากล การมีสิทธิ และเสรีภาพ การทำกฎหมายให้เป็นกฎหมาย การยุติการใช้กฎหมายแบบสองมาตรฐาน การเคารพสิทธิ และความเป็นมนุษย์ของคนไทยด้วยกัน ไม่ต้องรักแต่ต้องเคารพสิทธิให้อยู่ด้วยกันได้ เลิกวาทกรรมสร้างความเกลียดชัง เป็นต้น
"เราอยากกินผลไม้วิเศษชื่อปรองดอง แต่เราไม่ใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดิน และฝันลมๆ แล้งๆ ว่าจะเกิดการปรองดอง มันคงไม่เกิดแน่ เราควรเลิกตั้งกรรมการ และลงมือทำ ความปรองดองจึงจะเกิด" นายนพดล กล่าว
ส่วนกลไกสร้างความปรองดอง นายมีชัย กล่าวว่า จะบัญญัติกระบวนการสร้างความปรองดองสำหรับอนาคตไว้ แต่กลไกปรองดองเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ยังคิดไม่ออกว่าจะบัญญัติอย่างไร และหากรัฐบาลตั้งคณะกรรมการปรองดองขึ้นมา ก็ไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล
** สุวพันธ์ถกสนช.หาแนวทางปรองดอง
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองและสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม โดยเชิญตัวแทนพรรคเมือง กลุ่มการเมืองเข้าร่วม ว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดแนวทางดังกล่าวเป็นอย่างไร แต่เบื้องต้น จะสอบถามเรื่องนี้กับตัวแทนสนช. ในที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 11 ม.ค. ซึ่งเรื่องปรองดองถึงอย่างไรก็ต้องทำ เพราะกำหนดไว้ในโรดแมปรัฐบาล 1 ปี 6 เดือน อยู่แล้ว ขณะที่ กระทรวงมหาดไทยและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้ดำเนินการเรื่องนี้มาโดยตลอด หากสนช.จะตั้งกรรมาธิการชุดดังกล่าวก็ต้องมาดูว่า กำหนดขอบเขตหน้าที่ องค์ประกอบ เป็นอย่างไร ทำอย่างไรให้เดินไปด้วยกันได้ เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความราบรื่น
** "กษิต"ชงแนวทางนิรโทษกรรม
นายกษิต ภิรมย์ รองประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง คนที่หนึ่ง สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เปิดเผยว่า เมื่อช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในการประชุมของกรธ. ปฏิรูปการเมือง ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน ในประเด็นการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ตนได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างความปรองดอง เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ให้แก่ผู้ที่มีความผิด ที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาทิ การประท้วง แสดงออกทางการเมือง ยึดสถานที่ราชการ ฝ่าฝืนพ.ร.บ. ความั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เป็นต้น
โดยเริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี 2549-2557 ตั้งแต่ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน กลุ่มนปช. ขับไล่รัฐบาลพรรคประชาธิปปัตย์ และกปปส. ขับไล่ระบบทักษิณและพรรคเพื่อไทย รวมทั้ง นิรโทษกรรมให้ทหาร และตำรวจที่เข้าไปร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย โดยยกเว้นเพียง 3 ลักษณะความผิด ที่ไม่เข้าสู่การนิรโทษกรรม คือ ผู้ต้องหาคดีอาญา มาตรา 112 , คดีทุจริตคอร์รัปชั่น , จงใจ และเจตนาฆ่าก่ออาชญากรรม
"สาเหตุที่ต้องนิรโทษกรรมทุกคนทุกหมู่เหล่า เพราะต้องการให้ประเทศได้เริ่มต้นใหม่ และให้อภัยกัน ซึ่งตัวผมเป็นทั้งผู้กระทำและถูกกระทำมากกว่าก็พร้อมที่จะให้อภัย เพราะหากไม่เริ่มต้นกัน ปล่อยให้เกิดการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลใหม่ขึ้น ความวุ่นวายและความรุงรังในอดีต ก็จะกลับมาไม่รู้จบเพราะทุกคนก็จะขัดแย้งกันแต่เรื่องนิรโทษกรรม"
นายกษิต กล่าวว่า มั่นใจว่า การสร้างความปรองดองเป็นประเด็นปฏิรูป ที่สำคัญที่สุดของชาติ หากไม่แก้ปัญหาตรงนี้ ปฏิรูปเรื่องพลังงาน เรื่องการศึกษา หรือเรื่องอื่นๆ ก็ไม่มีประโยชน์ แม้รัฐธรรมนูญใหม่ออกมา ก็แก้ปัญหาความขัดแย้งไม่สำเร็จ
ทั้งนี้สำหรับเนื้อหาการนิรโทษกรรมนั้น นอกจากทำให้ผู้กระทำผิดจากแรงจูงใจทางการเมืองแล้วพ้นโทษแล้ว จะต้องช่วยเหลือญาติของผู้เสียหาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารด้วย ไม่เพียงแค่ให้เงิน อย่างเดียว จะต้องดูแลพวกเขาไปตลอด เช่น หากพ่อแม่เสียชีวิตจากการชุมนุม ก็ต้องดูแล ลูกเขาจนเรียนจบมีงานทำ หากบุตรเสียชีวิตก็ต้องดูแลพ่อแม่เขาตลอดไป หรือใครร่างก่ายพิการก็ต้องไปดูแลให้เขาตลอดเช่นกัน เป็นต้น
นายกษิต กล่าวว่าประเด็นดังกล่าวนี้ หลังจากที่นำเสนอใน กมธ.ปฏิรูปการเมืองของสปท. แล้ว หลายคนก็เห็นด้วยกับตนขณะนี้ สนช. ได้เตรียมตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาศึกษาเสริมสร้างสังคมสันติสุข ตนก็พร้อมจะเข้าไปผลักดันประเด็นเหล่านี้ เพื่อผลักดันเป็นกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ถือว่าตกผลึกในระดับหนึ่ง หลังจากคุยกันหลายฝ่ายรวมทั้งฝ่ายตรงข้าม ก็เห็นชอบกันทั้งสิ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อเสนอนิโทษกรรมครั้งนี้ เหมารวมถึงนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ด้วย หรือไม่ นายกษิต กล่าวว่า หากเป็นคดีที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองที่นายทักษิณ เคยปลุกระดม ในช่วงการชุมนุมทางการเมืองของ นปช. ขับไล่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ก็เข้าเงื่อนไข ที่จะนิรโทษกรรมได้เช่นเดียวกับพี่น้องประชาชน แต่หากเป็นคดีที่ นายทักษิณไปโกงกินบ้านเมือง และพูดจาหมิ่นเหม่ ในคดีหมิ่นกฎหมายอาญา มาตรา 112 ก็ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ตนนำเสนอ ก็ต้องปล่อยเป็นตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
** บี้นิรโทษฯให้ชาวบ้านเหมือน คสช.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง (คศป.) ในสภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งชาติ สปช. ที่มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับนิโทษกรรม และผลักดันเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่ออกมาต่อสู้ทางการเมืองตามความเชื่อโดยสุจริตและยังครอบคุลม ไปถึงผู้ชุมนุมที่ปิดสนามบิน ราชการ เผาอาคารไปบ้าง และทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ เพราะวันนี้เขาได้รับความทุกข์ยากมานานแล้ว เว้นเพียง 3 ฐานความผิดที่สังคมยังไม่ยอมรับ คือคดี ม.112 คดีทุจริต และผู้ที่ทำให้คนตาย
ทั้งนี้ ผู้ที่ควรเริ่มต้นเรื่องนิรโทษกรรม คือ คสช. เพราะมีอำนาจเต็ม แต่หากเขาไม่ทำ ก็เชื่อว่าสุดท้ายก็ต้องมีการนิโทษกรรมอยู่แล้ว
" หากทหารไม่ทำ ก็จะตอบคำถามสังคมไม่ได้ ทำไมตัวเองเข้ามายึดอำนาจ ก็นิรโทษกรรมให้ตัวเองผ่านคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในเวลาอันรวดเร็ว โดยให้เหตุผลว่า ทหารเข้ามาเพื่อบ้านเมือง ขณะที่ชาวบ้านประชาชนก็ออกมาชุมนุมก็ทำเพื่อชาติเช่นกัน และทนทุกข์มานานกว่าทหารเสียอีก แต่ทำไมยังไม่ยอมให้พวกเขาได้นิโทษกรรมเสียที" นายไพบูลย์ กล่าว
**หนุน กรธ.ใส่"ปรองดอง"ไว้ในรธน.
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึง กรณีที่สนช. เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญเพื่อสร้างความปรองดอง โดยมีการเชิญทุกฝ่ายเข้าร่วมว่า ตนเห็นด้วยถึงแม้ที่ผ่านมาในหลายรัฐบาล จะมีการตั้งคณะกรรมการมาหลายชุดแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เหตุเพราะกรรมการไม่ได้รับความไว้วางใจ และมีบางครั้งมีข้อเสนอที่บิดเบือน และขัดหลักการปรองดอง จนทำให้การปรองดองกลายเป็น
เกมการเมือง และห่างไกลความเป็นจริงมากขึ้น ทั้งที่ปัญหาความแตกแยกในสังคมเป็นเรื่องใหญ่ เพราะสังคมที่ไร้ความสามัคคี ก็ยากที่จะปฏิรูปได้สำเร็จ จึงต้องทำทั้ง 2 เรื่องไปพร้อมๆ กัน ในรัฐบาลนี้โอกาสก็ค่อนข้างเปิดกว่าในรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมือง เพราะถูกมองว่ามีส่วนได้เสียจนทำให้กระบวนการปรองดองที่ผ่านมาล้มเหลว
"แม้เรื่องนิรโทษกรรมจะเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการปรองดอง แต่ก็ต้องใช้เหตุและผลสูง รวมทั้งการแสวงหาข้อมูลข้อเท็จจริงที่เพียงพอก่อนจะเสนอแนะต่อสังคม ส่วนที่พรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช.บางส่วนออกมาค้านนั้น ไม่แปลกใจ เพราะธงของการปรองดองของคนกลุ่มนี้คือ เซ็ตซีโร่ (Set Zero)ล้างผิดแบบเหมาเข่ง เพื่อให้ใครบางคนได้อานิสงส์ไปด้วยเท่านั้น" นายสุริยะใส กล่าว และว่า เห็นด้วยกับ กรธ.ที่จะบัญญัติกลไก และกระบวนการปรองดองไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และมีเจ้าภาพที่เป็นทางการในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ในระยะยาวด้วย
**เย้ยตั้งกก.ปรองดองแค่ให้สังคมรู้สึกดี
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย นายทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า ตนเคยหวังในการปรองดอง แต่ขณะนี้ยังมองไม่เห็นว่ามันจะเกิดขึ้น ที่ผ่านมาก็ได้ตั้งกรรมการเรื่องปรองดองมานับไม่ถ้วน เสียเงิน เสียเวลาไปมาก แต่ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ การตั้งกรรมการอีกครั้ง เพียงแค่ให้สังคมรู้สึกดี และไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ประเทศไทยเวลามีเรื่องอะไรที่เป็นกระแส ก็มักจะใช้วิธีตั้งกรรมการ แล้วเรื่องก็จะเงียบหาย พอมีกระแสมาใหม่ ก็จะตั้งกรรมการชุดใหม่อยู่เช่นนี้ร่ำไป ที่การปรองดองมันเกิดยาก เพราะแต่ละฝ่ายตีความ และเข้าใจการปรองดองแตกต่างกัน บางฝ่ายมองว่าปรองดอง คือการ เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย บางฝ่ายมองว่า คือการนิรโทษกรรม ตราบใดที่เข้าใจไปคนละเรื่อง ก็คงเกิดขึ้นยาก
ส่วนตนมองว่า เรื่องที่เร่งด่วนคือ สังคมไทยต้องสร้างเงื่อนไข และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรองดองให้เกิดขึ้นก่อน เช่น การมีกติกาการอยู่ร่วมกันที่เป็นประชาธิปไตยและสากล การมีสิทธิ และเสรีภาพ การทำกฎหมายให้เป็นกฎหมาย การยุติการใช้กฎหมายแบบสองมาตรฐาน การเคารพสิทธิ และความเป็นมนุษย์ของคนไทยด้วยกัน ไม่ต้องรักแต่ต้องเคารพสิทธิให้อยู่ด้วยกันได้ เลิกวาทกรรมสร้างความเกลียดชัง เป็นต้น
"เราอยากกินผลไม้วิเศษชื่อปรองดอง แต่เราไม่ใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดิน และฝันลมๆ แล้งๆ ว่าจะเกิดการปรองดอง มันคงไม่เกิดแน่ เราควรเลิกตั้งกรรมการ และลงมือทำ ความปรองดองจึงจะเกิด" นายนพดล กล่าว