เผยยอดคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุปีใหม่ 6 วัน เกิดอุบัติเหตุรวม 3,092 ครั้ง มีผู้เสียชีวติ 340 ศพ จังหวัดเชียงใหม่-นครราชสีมา แชมป์จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด เผยสาเหตุหลัก เมา นายกฯ ยืนยันไม่เลิกใช้ม.44 จัดการพวกเมาแล้วขับรถ เตรียมปรับมาตรการ"เมาแล้วขับ "ยึดใบขับขี่แทนยึดรถ จักรทิพย์ แถลงภาพรวมอำนวยความสะดวกด้านการจราจรช่วงเทศกาลปีใหม่ เป็นไปด้วยดี ยืนยันจะนำมาตรการยึดรถผู้ที่เมาแล้วขับต่อไปในทุกช่วงเทศกาล ปลัด ยธ.เสนอ รบ.ขยายยึดรถเมาแล้วขับต่อเนื่องสงกรานต์
วานนี้ (4 ม.ค.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 3 ม.ค. 59 ซึ่งเป็นวันที่ 6 ของการรณรงค์ “สุขกาย สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย รับปีใหม่ 2559” เกิดอุบัติเหตุ 339 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 48 ราย ผู้บาดเจ็บ 361 คน
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 6 วัน ตั้งแต่ 29 ธ.ค. 58 - 3 ม.ค. 59 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,092 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 340 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,216 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต หรือตายเป็นศูนย์ มี 5 จังหวัด ได้แก่ ตรัง แพร่ ระนอง สิงห์บุรี และสุโขทัย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 125 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 15 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 125 คน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 19.79 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 16.17 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.26 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 68.73 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 40.71 บนถนนใน อบต. หมู่บ้าน ร้อยละ 34.51 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 33.92 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 51.26
โดยได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,101 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,403 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 620,485 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 97,679 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 28,705 ราย ไม่มีใบขับขี่ 27,214 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 17 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา และนครราชสีมา จังหวัดละ 3 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 21 คน
ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีปภ. เลขาฯศปถ. กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 6 วันที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประสบอุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขณะที่ผู้ประสบอุบัติเหตุบางส่วนเป็นกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องขับรถระยะทางไกล จะมีสาเหตุจากการขับรถเร็ว และความอ่อนล้าจากการเดินทางทำให้มีอาการหลับใน
“บิ๊กตู่”ลั่นไม่เลิกใช้ ม.44 จัดการขี้เมาขับรถ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ร่วมมือในช่วงปีใหม่ ทำให้ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น แต่ตนก็ยังกังวลเกี่ยวกับเรื่องกังสูญเสีย และต้องแจ้งเตือนให้ทราบก่อนว่า คำสั่งที่ตนออกไปนั้น ตนเขียน และดำริขึ้นมาเอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้มีเวลา มีอำนาจสั่งการ ซึ่งกฎหมายเดิมก็มีอยู่แล้ว ก็แสดงให้เห็นว่าทั้งกฎหมายเก่า และกฎหมายใหม่ รวมกันมันก็อยู่ที่ ดังนั้นมาตรา 44 ฉบับนี้ อยู่ไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง จะใช้ทุกวัน ให้เข้าใจว่ามันคือกฎหมาย แล้วจนกว่าจะมีการยกเลิก และตนก็คงจะไม่ยกเลิก วันนี้ก็เร่งให้ไปทบทวนเรื่องการยึดรถ ถ้าเอาไว้นานจะมีปัญหาอีก อาจจะต้องคืนไป แล้วใช้วิธีการยึดใบขับขี่แทน จะได้ไม่ไปขับเมาเหล้ากันอีก ก็แล้วแต่ เพราะได้สั่งการไปแล้ว
'จักรทิพย์'ยันยึดรถทุกเทศกาล
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.ท.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา โฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง รอง โฆษก ตร. แถลงภาพรวมดูแลความปลอดภัยและการจราจรให้กับประชาชนในช่วงการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ โดยพล.ต.อ.จักรทิพย์ ได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย และหน่วยร่วมปฏิบัติ ที่ช่วยกันดูแลความปลอดภัย
พล.ต.อ.เดชณรงค์ กล่าวว่า จำนวนประชาชนที่ใช้เส้นทางในช่วงปีใหม่ตลอดเส้นทางเพิ่มเติมจากปีที่แล้วจำนวนมาก ตำรวจทางหลวงรายงานว่าปีนี้มีประมาณ 3 ล้านคน มากกว่าปีก่อนที่มี 2 ล้านคน
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการขยายมาตรการในการยึดรถผู้ที่เมาแล้วขับต่อไปหรือไม่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า มาตรการนี้ผมเชื่อว่าควรจะนำมาใช้ในทุกๆเทศกาล เพราะเป็นการช่วยได้เยอะมาก ถ้าพี่น้องประชาชนปฏิบัติตามกฎจราจรหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ผมเชื่อว่าจะช่วยได้เยอะ แต่ที่เกิดอุบัติเหตุเพราะว่าการฝ่าฝืนกฎจราจร เรื่องการขอความร่วมมือในเรื่องของการยึดรถผมเชื่อว่าในอนาคตต่อไปนั้นจะช่วยลดยอดผู้เสียชีวิตในแต่ละปีแต่ละครั้งได้เยอะ อย่างไรก็ตามการบังคับใช้กฎหมายก็ดี การปฏิบัติตามกฎจราจรตามที่กฎหมายกำหนดผมถือว่ายังต้องปฏิบัติอยู่ ส่วนมาตรการเสริมของทาง คสช ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ไม่ได้เป็นการริดรอน แต่เป็นการรักษาชีวิตของพี่น้องประชาชน ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะดูแลรถให้อย่างดี ทั้งนี้รถที่ถูกยึดไว้จะเริ่มทยอยส่งคืน หลังยึดไว้ 7 - 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกยึด
ยธ.จ่อชงคสช.‘เมาขับยึดรถ’ถึงสงกรานต์
นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงมาตรการยึดรถผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับ ซึ่งนำมาใช้เป็นครั้งแรกปีใหม่นี้ และปรากฏว่าเป็นผลดีได้รับการตอบรับจากสังคม มีรถถูกยึดกว่า 4,000 คัน อย่างไรก็ตามหากจะมีการใช้มาตรการยึดรถอย่างต่อเนื่องไม่เฉพาะเทศกาล ต้องมีการวางแนวปฏิบัติให้มีหลักเกณฑ์ นอกเหนือจากการใช้ดุลยพินิจ เพื่อป้องกันการทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าพนักงาน โดยจะมีการเสนอให้ขยายเวลามาตรการยึดรถไปจนถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์และต่อจากสงกรานต์ไปอีก 7 เดือน โดยส่วนใหญ่ที่เกิดอุบัติเหตุพบว่า มาจากเมาแล้วขับอันดับหนึ่ง และขับรถเร็วรองลงมา ซึ่งช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุมีส่วนสำคัญประเมินได้ว่า เกิดความสูญเสียอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวอีกว่า ช่วง 7 วันอันตราย ที่ผ่านมา มีความชัดเจนของข้อมูลที่นำไปวิเคราะห์และประเมินแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งด้านนโยบายและด้านยุทธศาสตร์ เพราะขณะนี้ มีข้อมูลแล้วว่าปัญหาอยู่ในพื้นที่ใด โดยไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย แต่จะใช้มาตรการทางกฎหมายที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาเดินทางไปกลับตั้งแต่ 27-31 ธ.ค. และช่วงเดินทางกลับเข้ากรุง 29 ธ.ค.-2 ม.ค. สถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลง การสกัดกั้นจึงต้องใช้วิธีที่เหมาะสม เช่น มาตรการควบคุมร้านเหล้า ในช่วงเทศกาลจะไม่ห้ามขาย แต่เข้มงวดช่วงเวลาขาย เช่น ตั้งแต่ 12.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น. และไม่ขายให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปี และจะทำการยึดรถผู้ที่เมาแล้วขับ จากสถิติปี 58 มีรถจดทะเบียนเพิ่ม ร้อยละ 36 สถิติการเกิดอุบัติเหตุเป็นรถปิกอัพและมอเตอร์ไซด์ ผู้เสียชีวิตอายุเฉลี่ย 25-49 ปี แต่กลับพบว่าผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน
วานนี้ (4 ม.ค.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 3 ม.ค. 59 ซึ่งเป็นวันที่ 6 ของการรณรงค์ “สุขกาย สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย รับปีใหม่ 2559” เกิดอุบัติเหตุ 339 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 48 ราย ผู้บาดเจ็บ 361 คน
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 6 วัน ตั้งแต่ 29 ธ.ค. 58 - 3 ม.ค. 59 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,092 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 340 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,216 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต หรือตายเป็นศูนย์ มี 5 จังหวัด ได้แก่ ตรัง แพร่ ระนอง สิงห์บุรี และสุโขทัย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 125 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 15 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 125 คน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 19.79 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 16.17 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.26 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 68.73 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 40.71 บนถนนใน อบต. หมู่บ้าน ร้อยละ 34.51 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 33.92 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 51.26
โดยได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,101 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,403 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 620,485 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 97,679 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 28,705 ราย ไม่มีใบขับขี่ 27,214 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 17 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา และนครราชสีมา จังหวัดละ 3 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 21 คน
ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีปภ. เลขาฯศปถ. กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 6 วันที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประสบอุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขณะที่ผู้ประสบอุบัติเหตุบางส่วนเป็นกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องขับรถระยะทางไกล จะมีสาเหตุจากการขับรถเร็ว และความอ่อนล้าจากการเดินทางทำให้มีอาการหลับใน
“บิ๊กตู่”ลั่นไม่เลิกใช้ ม.44 จัดการขี้เมาขับรถ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ร่วมมือในช่วงปีใหม่ ทำให้ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น แต่ตนก็ยังกังวลเกี่ยวกับเรื่องกังสูญเสีย และต้องแจ้งเตือนให้ทราบก่อนว่า คำสั่งที่ตนออกไปนั้น ตนเขียน และดำริขึ้นมาเอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้มีเวลา มีอำนาจสั่งการ ซึ่งกฎหมายเดิมก็มีอยู่แล้ว ก็แสดงให้เห็นว่าทั้งกฎหมายเก่า และกฎหมายใหม่ รวมกันมันก็อยู่ที่ ดังนั้นมาตรา 44 ฉบับนี้ อยู่ไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง จะใช้ทุกวัน ให้เข้าใจว่ามันคือกฎหมาย แล้วจนกว่าจะมีการยกเลิก และตนก็คงจะไม่ยกเลิก วันนี้ก็เร่งให้ไปทบทวนเรื่องการยึดรถ ถ้าเอาไว้นานจะมีปัญหาอีก อาจจะต้องคืนไป แล้วใช้วิธีการยึดใบขับขี่แทน จะได้ไม่ไปขับเมาเหล้ากันอีก ก็แล้วแต่ เพราะได้สั่งการไปแล้ว
'จักรทิพย์'ยันยึดรถทุกเทศกาล
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.ท.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา โฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง รอง โฆษก ตร. แถลงภาพรวมดูแลความปลอดภัยและการจราจรให้กับประชาชนในช่วงการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ โดยพล.ต.อ.จักรทิพย์ ได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย และหน่วยร่วมปฏิบัติ ที่ช่วยกันดูแลความปลอดภัย
พล.ต.อ.เดชณรงค์ กล่าวว่า จำนวนประชาชนที่ใช้เส้นทางในช่วงปีใหม่ตลอดเส้นทางเพิ่มเติมจากปีที่แล้วจำนวนมาก ตำรวจทางหลวงรายงานว่าปีนี้มีประมาณ 3 ล้านคน มากกว่าปีก่อนที่มี 2 ล้านคน
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการขยายมาตรการในการยึดรถผู้ที่เมาแล้วขับต่อไปหรือไม่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า มาตรการนี้ผมเชื่อว่าควรจะนำมาใช้ในทุกๆเทศกาล เพราะเป็นการช่วยได้เยอะมาก ถ้าพี่น้องประชาชนปฏิบัติตามกฎจราจรหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ผมเชื่อว่าจะช่วยได้เยอะ แต่ที่เกิดอุบัติเหตุเพราะว่าการฝ่าฝืนกฎจราจร เรื่องการขอความร่วมมือในเรื่องของการยึดรถผมเชื่อว่าในอนาคตต่อไปนั้นจะช่วยลดยอดผู้เสียชีวิตในแต่ละปีแต่ละครั้งได้เยอะ อย่างไรก็ตามการบังคับใช้กฎหมายก็ดี การปฏิบัติตามกฎจราจรตามที่กฎหมายกำหนดผมถือว่ายังต้องปฏิบัติอยู่ ส่วนมาตรการเสริมของทาง คสช ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ไม่ได้เป็นการริดรอน แต่เป็นการรักษาชีวิตของพี่น้องประชาชน ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะดูแลรถให้อย่างดี ทั้งนี้รถที่ถูกยึดไว้จะเริ่มทยอยส่งคืน หลังยึดไว้ 7 - 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกยึด
ยธ.จ่อชงคสช.‘เมาขับยึดรถ’ถึงสงกรานต์
นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงมาตรการยึดรถผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับ ซึ่งนำมาใช้เป็นครั้งแรกปีใหม่นี้ และปรากฏว่าเป็นผลดีได้รับการตอบรับจากสังคม มีรถถูกยึดกว่า 4,000 คัน อย่างไรก็ตามหากจะมีการใช้มาตรการยึดรถอย่างต่อเนื่องไม่เฉพาะเทศกาล ต้องมีการวางแนวปฏิบัติให้มีหลักเกณฑ์ นอกเหนือจากการใช้ดุลยพินิจ เพื่อป้องกันการทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าพนักงาน โดยจะมีการเสนอให้ขยายเวลามาตรการยึดรถไปจนถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์และต่อจากสงกรานต์ไปอีก 7 เดือน โดยส่วนใหญ่ที่เกิดอุบัติเหตุพบว่า มาจากเมาแล้วขับอันดับหนึ่ง และขับรถเร็วรองลงมา ซึ่งช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุมีส่วนสำคัญประเมินได้ว่า เกิดความสูญเสียอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวอีกว่า ช่วง 7 วันอันตราย ที่ผ่านมา มีความชัดเจนของข้อมูลที่นำไปวิเคราะห์และประเมินแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งด้านนโยบายและด้านยุทธศาสตร์ เพราะขณะนี้ มีข้อมูลแล้วว่าปัญหาอยู่ในพื้นที่ใด โดยไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย แต่จะใช้มาตรการทางกฎหมายที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาเดินทางไปกลับตั้งแต่ 27-31 ธ.ค. และช่วงเดินทางกลับเข้ากรุง 29 ธ.ค.-2 ม.ค. สถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลง การสกัดกั้นจึงต้องใช้วิธีที่เหมาะสม เช่น มาตรการควบคุมร้านเหล้า ในช่วงเทศกาลจะไม่ห้ามขาย แต่เข้มงวดช่วงเวลาขาย เช่น ตั้งแต่ 12.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น. และไม่ขายให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปี และจะทำการยึดรถผู้ที่เมาแล้วขับ จากสถิติปี 58 มีรถจดทะเบียนเพิ่ม ร้อยละ 36 สถิติการเกิดอุบัติเหตุเป็นรถปิกอัพและมอเตอร์ไซด์ ผู้เสียชีวิตอายุเฉลี่ย 25-49 ปี แต่กลับพบว่าผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน